Skip to main content

เปิดข้อมูลอีกด้านก่อนจะปลื้มไปกับ พล.อ.ประยุทธ์ ที่โชว์ว่าไทยมีระดับความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก หรือมีความสุขที่สุด 3 ปีซื้อ ขณะที่ปัจจัยที่ใช้วัด อย่าง อัตราการว่างงาน ไทยมีปัญหาในการนับ เพราะทำงานอะไรก็ได้แค่ 1 ชม./สัปดาห์ รวมทั้งเศรษฐกิจนอกระบบเราใหญ่มาก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ กลับเป็นการสะท้อนปัญหาที่จะเป็นเงินฝืด

จากกรณีเมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล รายงานว่า พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (ฺBloomberg) ได้เผยแพร่ดัชนีความทุกข์ยาก (Misery Index) ประจำปี 2560 ว่า ประเทศไทยมีระดับความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก หรือมีความสุขที่สุดนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบข้อมูลแล้ว โดยรู้สึกพอใจและชื่นชมหน่วยงานของรัฐที่สามารถรักษาระดับอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อได้ดีเป็นปีที่ 3 ต่อเนื่องกัน
 
สำหรับ 10 ประเทศที่มีระดับความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก ประกอบด้วย 1.ไทย 2.สิงคโปร์ 3.สวิตเซอร์แลนด์ 4.ญี่ปุ่น 5.ไอซ์แลนด์ 6.ไต้หวัน 7.เดนมาร์ก 8.อิสราเอล 9.เกาหลีใต้ 10.ฮ่องกง
 
อย่างไรก็ตามการจัดอันดับดังกล่าว ยังมีข้อถกเถียงจากการใช้เกณฑ์ของตัวเลขอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อ 
 

บลูมเบิร์ก ตั้งข้อสังเกตไทยมีเศรษฐกิจนอกระบบที่ใหญ่มาก

บลูมเบิร์ก รายงานว่า ไทยมีอัตราว่างงานต่ำกว่า 1 เปอร์เซนต์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นว่า มีสาเหตุมาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ดังนี้ เศรษฐกิจนอกระบบของไทยมีอัตราส่วนแรงงานสูงถึง 64 เปอร์เซนต์จากจำนวนแรงงานทั้งหมดในปี พ.ศ. 2556 สะท้อนถึงขนาดเศรษฐกิจนอกระบบที่สามารถดูดซับแรงงานที่หลุดจากการจ้างงานในระบบ แรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบยังรวมถึงร้านค้ารถเข็น แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้างและเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคลบางจำพวก ประกอบกับไทยไม่มีโครงสร้างสวัสดิการเพื่อรองรับผู้ว่างงาน จึงไม่มีแรงจูงใจต่อภาวะตกงานเป็นเวลานาน ท้ายที่สุดจึงต้องไปเข้าตลาดแรงงานนอกระบบซึ่งจะไม่ถูกนับเป็นบุคคลว่างงาน
ประชากรไทยมากกว่า 40 เปอร์เซนต์ทำงานอยู่ในภาคการเกษตร โดยภาคส่วนนี้จะมีสัดส่วนของแรงงานไม่เต็มเวลา (Underemployment) และอัตราว่างงานนอกฤดูเกษตรกรรมสูง โดยแรงงานไม่เต็มเวลาถูกรวมอยู่กับแรงงานปรกติ และมีสัดส่วนถึง 0.5 เปอร์เซนต์ ยกตัวอย่างเช่น คนตกงานที่กลับไปทำการเกษตรที่บ้านเกิดวันละไม่กี่ชั่วโมงก็ถูกนับว่าได้รับการว่าจ้าง
 

วิโรจน์ชี้ว่างงานต่ำเป็นภาพลวงตา 

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้เคยให้สัมภาษณ์กับประชาไทไว้เมื่อปี 2556 ถึงประเด็นอัตราการว่างงานที่ต่ำ โดย ดร.วิโรจน์ ตั้งข้อสังเกตุว่า ปัจจุบันเรามีอัตราการว่างงานที่ต่ำมาก ซึ่งตนก็คิดว่าจริง แต่ที่บอกว่าไม่ค่อยไว้ใจสถิติของเมืองไทยก็เพราะว่า ตนเข้าใจว่าในการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังคงกำหนดนิยามคนที่มีงานทำ ว่าคือคนทำงานมากกว่า 1 ชม.ต่อสัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งพอใช้นิยามแบบนี้ ก็จะแยกคนมีงานทำกับคนที่ว่างงานได้ไม่ชัดพอ  ดังนั้นการที่เราบอกว่าเรามีอัตราการว่างงานน้อยมาก แค่ 1%ก็อาจจะเป็นภาพลวงตา
 

พิชิต ไขว่างงานต่ำเขาทำกันอย่างไร

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ปีที่ล้ว นี้ด้วยเช่นกันถึงประเด็นนนี้ว่า คำถามคือ เขานับยังไงว่า คนนี้มีงานทำ คนโน้นว่างงาน “คนมีงานทำ” เขานิยามว่า มีอายุ 15 ปีขึ้นไปและในช่วง 7 วันก่อนถูกสัมภาษณ์ทำงานตั้งแต่ 1 ชม.ขึ้นไปโดยได้ค่าจ้าง หรือทำงานอย่างน้อย 1 ชม.ในกิจการของครอบครัวโดยไม่ได้ค่าจ้าง
 

ทำงานอะไรก็ได้แค่ 1 ชม./สัปดาห์ ก็ถูกนับว่า 'มีงานทำ'

พิชิต ยังระบุต่อว่า ผู้ว่างงาน นิยามไว้สองอย่างคือ อายุ 15 ปีขึ้นไปและในช่วง 7 วันก่อนถูกสัมภาษณ์ ไม่ทำงานและกำลังหางานในระหว่าง 30 วันก่อนสัมภาษณ์หรือไม่ทำงานและไม่ได้หางานทำในระหว่าง 30 วัน แต่พร้อมจะทำงานในช่วง 7 วันก่อนสัมภาษณ์ ฉะนั้น ถ้าคนที่กำลังตกงานหรือเป็นบัณฑิตจบการศึกษาแล้ว อยู่ในระหว่างหางานประจำทำ แต่มีลักษณะต่อไปนี้ ถือว่า “มีงานทำ” ทำงานไม่ประจำ รับงานจร เป็นจ๊อบ สัพเพเหระ อย่างน้อย 1 ชม.ในสัปดาห์ ช่วยงานพ่อแม่ญาติพี่น้อง ในไร่นา ร้านค้าของครอบครัว 1 ชม.ในสัปดาห์ เปิดท้ายรถขายของ แผงลอย เดินเร่ขายของริมถนน 1 ชม.ในสัปดาห์ เปิดเว็บไซต์ ขายของทางเน็ต ไลน์ เฟซบุ๊คโดยใช้เวลา 1 ชม.ในสัปดาห์ คนพวกนี้จัดเป็น “แรงงานนอกระบบ” ซึ่งมีขนาดใหญ่มากในประเทศไทย ถึง 21.4 ล้านคน ราว 56% ของแรงงานทั้งหมด ทำให้ตัวเลขคนว่างงานในไทยต่ำมาก ทั้งที่คนพวกนี้มีรายได้ต่ำ ไม่แน่นอน ไม่มีสวัสดิการมั่นคงใดๆ 
 

เงินเฟ้อที่ต่ำ หรือสะท้อนปัญหาที่จะเป็นเงินฝืด

 
เรื่องนี้ เมื่อมี.ค.ปีที่แล้ว มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทการจัดการภาครัฐและเอกชน (MPPM) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า จากการประเมินตัวเลขเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ส่งสัญญาณไม่ดีนัก สะท้อนได้จากระดับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลงลดติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน จากระดับเงินเฟ้อพื้นฐานที่ปรับตัวลดลงจาก 0.96 ในเดือน ก.ย.58 มาอยู่ที่ 0.68% ในเดือน ก.พ.59 และระดับเงินเฟ้อทั่วไปในปัจจุบันอยู่ที่ -0.5% ผันผวนติดลบติดต่อกันเป็นเวลานานถึง 14 เดือน นับตั้งแต่ต้นปี 2558 ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน ก.พ.59 ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน มาอยู่ที่ระดับ 63.5 ซึ่งเป็นการปรับลดลงติดต่อกันตั้งแต่เดือน ธ.ค.8
       
ทั้งนี้ จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ภาคครัวเรือนมีความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม และปัญหาระดับหนี้ภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง และยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยในภาคครัวเรือนซบเซา เกิดการชะลอตัวในอุปสงค์ภายในประเทศ บ่งชี้ได้ว่าภาวะเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้
 
เรื่องที่เกี่ยวข้อง : 
- ไทยมีความสุขเชิงเศรษฐกิจที่สุดในโลก? 'บลูมเบิร์ก' ตั้งข้อสังเกตว่างงานต่ำ เหตุนอกระบบใหญ่มาก http://prachatai.org/journal/2017/03/70500
- ศก.ไทย Q1 ยังซึมตัว และเข้าข่ายภาวะเงินฝืด แนะใช้เครื่องมือทางการคลังกระตุ้น http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000030112
- ตัวเลขว่างงานต่ำ มาจากไหน ทำงานอะไรก็ได้ 1ชม./สัปดาห์ ก็ถูกนับว่า 'มีงานทำ' แล้ว http://prachatai.com/journal/2016/03/64910
 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
"สื่อที่อิสระย่อมเป็นได้ทั้งสื่อที่ดีและสื่อที่เลว แต่ถ้าหากปราศจากเสรีภาพ สื่อ นั้นจะไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากการเป็นสื่อที่เลว"
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รวมคำอธิบายอารมณ์-นิสัยตัวเองของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า เป็นคนอารมณ์ดี เป็นคนตลก ใจร้อน ขี้โมโห น้อยใจ เสียใจ กล้าหาญ ตอบไปเรื่อย เป็นมนุษย์ปุตุชนธรรมดาคนหนึ่ง สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม ฯลฯ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถามนักข่าวปมดำเนินคดี 14 นักศึกษานักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในศาลทหาร ว่า ทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหนไหม คำตอบคือ ผิด มาตรา 4 รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 รัฐธรรมนูญที่คณะท่านเขียนมาเลยครับ #จบข่าว  
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ต้นไม้พิษย่อมให้ผลไม้พิษ และผลไม้พิษย่อมเป็นผลไม้พิษไม่ว่ามันจะเคลือบด้วย "ประชามติ" กี่ชั้น / ผู้มีบทบาทในการร่างส่วนมากโน้มเอียงไปทางฝั่งฝ่ายเดียว / เนื้อหาที่ร่างออกมามีหลายอย่างที่มีปัญหา / หากผ่านก็จะน้ำท่วมปาก / คสช.ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง มีแนวโน้มว่าจะทำและถ้าทำก็จะผ่าน แต่ไม่ผ่านก็เท่ากับต่ออายุ คสช. 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว แต่ยังมีคนงานและ SMEs รวมอยู่ด้วย หากการบอยคอตมีพลังคนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจเหล่านั้นก็จะซวยด้วย ปัญหาผูกขาดอยู่ที่ระบบไม่ใช่เจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง เสนอ ผลักดัน กม.การแข่งขันทางการค้าให้ฟังก์ชั่น ตั้งสหภาพแรงงานและเก็บภาษีทรัพย์สินมากขึ้น ฯลฯ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ขณะที่เรายังไม่มีเสรีภาพ แต่องค์กรสื่อรณรงค์ 'เสรีภาพบนความรับผิดชอบ' จะกลายกระบวนการเซ็นเซอร์สร้างสังคมที่ขาด ‘วิจารณญาณ’ หรือไม่? พร้อมสำรวจประเด็นการจำกัดเสรีภาพสื่อหลังรัฐประการ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97, 103 วิจารณ์ คสช.ก็ต้องโดยสุจริต การปิด PEACE TV และ ร่าง รธน. ฉบับใหม่
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ