อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ประจำวันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553 มีข่าวหนึ่งสะดุดตาและสมอง หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวว่า
“ ทึ่ง ‘ ข้าวไม่ต้องหุง’ ศูนย์วิจัยคิดค้นรายแรกของไทย.” มันสะดุดตาตรงที่ ข้าวไม่ต้องหุง ข้าวอะไรไม่ต้องหุง ? ต้องเป็นข้าวที่มีคุณภาพพิเศษมากๆแน่นอน สะดุดยิ่งขึ้นอีก เมื่อบอกว่า ศูนย์วิจัยคิดค้นรายแรกของไทย อะไรที่มีคำว่าวิจัย ผมสนใจเสมอ เพราะมันหมายถึง การค้นหาคำตอบในเชิงวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ความจริงได้ อ่านรายละเอียดข่าวแล้ว พอจะตกผลึกได้ว่า ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่คิดค้นข้าวไม่ต้องหุง สำเร็จรายแรกของไทย อ่านมาถึงตอนนี้ หัวใจชักพองโตด้วยความภาคภูมิใจ คนไทยเก่งนะ เกิดความอยากไปดูให้เห็นกับตา ที่ศูนย์วิจัยแห่งนี้ อยากดูข้าวที่ไม่ต้องหุง มันมีลักษณะอย่างไรหนอ ข่าวบอกว่า ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่อยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ โถ ! อยู่ใกล้ๆบ้านผมนี่เอง ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่อยู่ที่ถนนโค้งก่อนถึงสี่แยกตลาดมะจำโรง ฝั่งตะวันออก ถนนสันป่าตอง เชียงใหม่ ผมบอกตนเอง ต้องขับรถยนต์ไปดู ไปหาข้อมูลรายละเอียดให้ได้ บ้านผมอยู่บ้านทุ่งแป้งแค่นี้เอง
6 กรกฎาคม 2553
ผมขับรถยนต์พร้อมภรรยาออกจากบ้าน พารถคดเคี้ยวไปตามถนนเป็นหลุมเล็กทะลุถึงตลาดต้นแหน ตรงมุมถนนข้างตลาดต้นแหน จะเป็นหลักกิโลเมตรที่ 33 พอดีครับ ผมขับรถเลี้ยวซ้าย ขึ้นเหนือเข้าอำเภอสันป่าตอง ราว 5 กิโลเมตรก็ถึงหน้าศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ หมู่ 3 ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ เปิดไฟเลี้ยวขวา จอดรถนิ่งกลางถนน พอถนนว่าง ขับรถเข้าไปช้าๆ จอดที่ป้อมยาม ถามยามถึงคุณสกุล มูลคำ นักวิชาการศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ยามชี้ตรงเข้าไปตามถนน พร้อมเปิดเสาที่ขวางทางเข้า ผมกล่าวขอบคุณ ขับรถเข้าไปช้าๆ ตากวาดมองซ้ายขวา ตามประสาคนแปลกสถานที่ ถนนเป็นคอนกรีต มีต้นไม้ใหญ่น้อยมากมาย มีอาคารสวยงามปลูกเป็นระยะ เป็นระเบียบ บรรยากาศเงียบสงบ มองจากข้างนอก คาดว่าคงมีอาคารสัก 2-3 หลัง มีเนื้อที่แคบๆ พอขับรถเข้ามาเห็น เนื้อที่กว้างขวางทีเดียว อาคารหลายหลัง บ้านพักอีก จอดรถหน้าอาคารหลังหนึ่ง น่าจะเป็นอาคารที่ติดกับด้านหลังสุดของศูนย์วิจัย ฯ จอดรถเดินข้ามถนนไปยังอาคารชั้นเดียว มีผู้หญิงต่างวัย 2 คนต้อนรับ ได้ความว่า
คุณสกุล มูลคำ นักวิชาการชำนาญการศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ เดินทางไปประชุมที่เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่อัธยาศัยดีบอกว่า หากจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้าวไม่ต้องหุง คงไม่เหมาะสมเพราะเป็นผู้น้อย ขอให้มาพบหัวหน้าฯ ดีกว่า เธอให้หมายเลขโทรศัพท์คุณสกุล มูลคำ หมายเลข 089-9509061
บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
อ่านกวีนิพนธ์
ของโอมาร์ คัยยัม กวีชาวเปอร์เซียหรืออิหร่าน โดยแคน สังคีต แปลเป็นภาษาไทย ได้เนื้อหาเกี่ยวกับความรักว่า
อันความรัก คืออะไร ควรใคร่คิด
…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เนาวรัตน์กวาดสายตา
เข้าไปในตัวบ้านไม้ชั้นเดียว พื้นบ้านต่ำกว่าระดับถนนคอนกรีตเล็กน้อย ข้างฝามีปฏิทิน มีรูปคณะซอ มีรูปแม่จันทร์สม สายธารา นั่งคู่กับผู้ชายวัยใกล้เคียงกัน เนาวรัตน์คาดคะเนว่า คงเป็นครูคำผาย นุปิง ทั้งคู่อยู่ในชุดคนเมือง ข้างหลังนั่งล้อมวง สวมเสื้อหม้อฮ่อม ปี่ 3 คน ซึง 1 คน เนาวรัตน์มองดูที่หน้าบ้านริมถนน มีสิ่งก่อสร้าง คล้ายโรงครัวเล็กๆ มีป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดข้างฝา บอกชื่อแม่จันทร์สม สายธารา ที่อยู่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เสียงปี่ผสมเสียงซึงดังขึ้น
รับกับเสียงผู้ขับซอ เสียงปีและซึงผสมกลมกลืนมีทั้งหวานแหลมและนุ่มนวล ก่อเกิดบรรยากาศความเป็นชาวเหนือขึ้นมาทันที ผู้ขับซอชายนั่งขัดสมาธิ มือถือไมโครโฟนไร้สาย ผู้หญิงนั่งพับเพียบเคียงกัน หันหน้าอวดผู้ชม ยามผู้ชายขับซอ ผู้หญิงเอียงตัวไปมา มือไม้ขยับรับเสียงดนตรี ทำนองดนตรีนั้นเนาวรัตน์ฟังไม่ออก เป็นเพลงอะไร สมัยเด็กๆเขาเข้าใจว่า คนเป่าปี่และคนดีดซึง คงเล่นเพลงเดียวตลอดงาน เพราะฟังทีไรก็เหมือนเดิมทุกที …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เนารัตน์ข้าราชการบำนาญ
นั่งเก้าอี้พลาสติกของวัด ดูซอที่ตั้งเวทีข้างประตูวัด สถานที่ซอเป็นยกพื้นขึ้นสูงราวคอผู้ใหญ่ ปูพื้นด้วยไม้กระดาน ล้อมสามด้านด้วยไม้ไผ่ลำโตขนาดข้อมือเด็ก ด้านละ 2 ต้น คล้ายเชือกกั้นเวทีมวย อีกด้านมีบันไดพาด สำหรับให้คณะซอปีนขึ้นไป สถานที่ขับซอเรียกว่า “ผามซอ” พื้นจะปูด้วยเสื่อ ความจริงเนาวรัตน์ไม่อยากมาชมเท่าไร อยากได้เรื่องราวเกี่ยวกับด้านบันเทิงของชาวเหนือ นำไปเขียนลงเวบเพื่อเผยแพร่ หรือส่งไปยังหนังสือที่เขาต้องการ...ในวัยเด็กย่าบอกว่า ซอสนุกมาก …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผู้ใหญ่บ้านได้พูดเสริมต่อจากเจ้าอาวาส
“กรรมการวัด ได้มีการประชุมหารือกันก่อนแล้วแล้วรอบหนึ่ง มีเจ้าอาวาสเป็นประธาน คณะกรรมการวัด มีข้อคิดความเห็นว่า จะขอความร่วมมือร่วมใจจากศรัทธาญาติโยมทุกคน ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อจัดงานบวช ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 โดยจะขอเก็บหลังคาละ 140 บาท เงิน 40 บาทจะเป็นค่าจัดทำอาหารกลางวัน เลี้ยงศรัทธาทั้งหมู่บ้าน ส่วนอีก 100 บาท จะเป็นค่าทำบุญและค่าจ้างซอมาเล่นเฉลิมฉลอง จึงอยากถามหมู่เฮาชาวบ้านว่า จะเห็นด้วยไหม ?”
มีเสียงพึมพำอึงในวิหาร …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เสียงเคาะลำโพงปลายเสาไฟฟ้า
ในหมู่บ้านทุ่งแป้ง ดังขึ้น 3 ครั้ง แล้วมีเสียงพูด
“ ฮัลโหล ! ฮัลโหล ! ครับ ! ขอประชาสัมพันธ์ วันนี้กินข้าวแลงแล้ว เวลาประมาณ 1 ทุ่มเศษ ขอเชิญทุกบ้านทุกหลังคาเรือน มาประชุมพร้อมกันที่วัดทุ่งแป้งนะครับ มีหลายเรื่องที่จะประชุมหารือกัน อย่าได้ขาดกันเน้อ บอกต่อๆกันไปด้วยเน้อครับ...ขอขอบคุณครับ”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ได้ยินเสียงหมอเรียก
เราทั้งคู่รีบเข้าไป เห็นเจ้าเหมียวนอนตะแคงนิ่งเหมือนท่อนไม้ ลิ้นแดงเล็กห้อยคาปาก หมอบอกว่า เอาลิ้นมันคาปากไว้ หากลิ้นค้างในปากขณะมันสลบ ลิ้นอาจจุกปากหายใจไม่ออกอาจตายได้ มันจะสลบสัก 1 ชั่วโมง ลุงกับป้าช่วยกันอุ้มมันขึ้นรถ วางมันบนเบาะหลังที่มีผ้าขนหนูรอง พอถึงบ้านอุ้มมันไปวางราบบนม้ายาวที่มีหมอนรอง ลิ้นยังคาปากเหมือนเดิม อดนึกไม่ได้ว่าตอนแมว
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมมองผ่านทางเดิน
ไปห้องครัว เห็นแมวต่างบ้าน เดินย่องเงียบกริบออกมา เจ้าตัวนี้มาขโมยอะไรกินบ่อยๆ ผมหมายตาจะเล่นงานมันหลายครั้ง แต่มันรอดปลอดภัยทุกที ไม่ทำร้ายอะไรมากมายหรอก จะหาไม้เล็กๆไม่ทันแล้ว เราก็นักฟุตบอล ใช้เท้าเคลื่อนไหวประจำ เตะได้ทั้งซ้ายขวา ไม่รู้จักศูนย์หน้าทีมโรงเรียนดังซะแล้ว จะหลบซ้ายขวาเจอหมด ฮะฮ่า !..เสร็จแน่เจ้าเหมียว แมวขาวดอกลายเดินกลับออกมาใกล้ถึงมุมห้องแล้ว ผมโผล่พรวดออกไป มันตกใจยืนตลึง ผมส่งเสียงข่มขวัญ มันตั้งหลักได้ขยับวิ่งไปทางขวาแล้วแวบมาทางซ้าย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พออากาศเริ่มเย็น
เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว นกเอี้ยงที่เคยหายไป เริ่มกลับมาส่งเสียงแก๋ๆ ตามยอดต้นโพธิ์ข้างวัด ส่วนนกเขาอยู่ประจำถิ่นในหมู่บ้าน ฤดูไหนผมก็ยังเห็นนกเขาเสมอ เดินไปมาตามถนนบ้าง เกาะสายไฟบ้าง บ้านนี้นกเขามากจริงๆ คนแปลกหน้าเข้ามา จะได้ยินเสียงนกเขาคูระงมหมู่บ้าน คงนึกว่าหมู่บ้านนี้เลี้ยงนกเขา ความจริงไม่เห็นใครเลี้ยงนกเขาเลย มันเป็นนกที่หากินเอง ว่างจากหาอาหาร มันจะคูเสียงขับกล่อมผู้คนชาวทุ่งแป้ง ขณะผมพิมพ์หนังสือ ยังได้ยินเสียงคูทุ้มๆ มาจากทิศเหนือ ละแวกบ้านน้าบุญแว่วมา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
แปรงฟันล้างหน้าเสร็จเรียบร้อย
ผมกลับมายืนดูที่หน้าต่างดังเดิม ฝูงนกยางยังคงบินตามกันเต็มท้องฟ้า ไม่รู้จักหมดสิ้น อากาศเริ่มเย็น ลมเย็นพัดมาจากทุ่งหน้าบ้านเอื่อยๆ บอกสัญญาณย่างเข้าสู่ฤดูหนาว นกมากมายไม่รู้มันมาจากไหน มาไกลแค่ไหน บ้างว่ามันมาจากไซบีเรีย จีน มองโกล หิมาลัย มันเป็นนกปากห่าง นกยาง ฯลฯ จำนวนเป็นแสนตัวทีเดียว สิ่งที่ตามมาคือโรคติดต่อ ต้องระวังไข้หวัดนก ที่มันนำมาฝากเจ้าของบ้าน