Skip to main content
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง


ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด

 

ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง บ้างก็ซดเอ็ม กระทิง หรือเป็นเป๊ก(สุราขาว) ก็แล้วแต่รสนิยม


เสียงคุยขโมงโฉงเฉงในแต่ละวัน หนีไม่พ้นเรื่องการบ้านการเมือง

หมู่บ้านเล็กแค่นี้ จึงรู้ๆ กันอยู่ว่าใครเป็นพวกเสื้อเหลือง และใครเป็นพวกเสื้อแดง

พวกใครก็พวกมัน

ทีแรก ต่างคนต่างอยู่ ต่างพูดชื่นชมฝ่ายตัวเองในหมู่พวกตัวเองเท่านั้น แต่เมื่อสถานการณ์แรงขึ้นเรื่อยๆ อารมณ์ร่วมก็เลยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องมีการปะทะคารมกันพอหอมปากหอมคอ

"...ลูกสาวข้าเพิ่งโดนให้ซองขาว ต้องออกจากโรงงาน...ทำงานมาตั้งหลายปี จู่ๆ เจ้านายเขาก็บอกว่า ไม่มีออเดอร์แล้ว ต้องปิดโรงงาน...นี่ก็เห็นว่ารอเงินชดเชยอะไรอยู่..." ลุงไฉ นั่งรำพึงอย่างเศร้าๆ

"...แล้วโดนออกกันเยอะไหมเล่า?" น้าติ่ง ถาม

"...ก็เห็นว่า ร่วมพันคน ก็ทั้งโรงงานนั่นแหละ...เห็นมันว่า เขาทยอยปิดกันไปตั้งหลายโรงแล้ว ยังไม่เห็นรัฐบาลจะเข้ามาช่วยอะไรได้เลย..."


"...อย่าไปหวังเล้ย...รัฐบง รัฐบาล วันๆ คิดแต่เรื่องผลประโยชน์ คิดแต่เรื่องจะกอดเก้าอี้ตัวเองไว้ ชาวบ้านเดือดร้อนจะตาย ไม่เห็นมาดูดำดูดี..." ตาใบ ส่ายหน้าเบะปาก แกเป็นพวกไม่เอาคนหน้าเหลี่ยม

"...น้ำเน่ากันมาตั้งนานนมเน ซื้อเสียงกันเข้าไปโกงกินบ้านเมือง ไอ้พวกนี้มันไม่เคยคิดแก้ปัญหาอะไรจริงๆ จัง หรอก..." ตาใบว่า อย่างใส่อารมณ์


พี่อุ้ย กับ ไอ้ปุ๋ย หัวคะแนนอดีตนักการเมืองซีกรัฐบาล(ปัจจุบันโดนดอง) กำลังซดกระทิงแดงยืนอยู่หน้าร้าน ยืนฟังมานาน อดรนทนไม่ได้ เลยต้องเดินเข้าไปร่วมวงบ้าง


"...ตาใบ ฉันว่าแกก็พูดเกินไป รัฐบาลเขามีงานเยอะแยะ ก็ต้องเห็นใจกันบ้าง จะให้แก้ปัญหาได้ภายในสามวันเจ็ดวันก็มีแต่เทวดาเท่านั้นแหละ..." พี่อุ้ย แก้ต่างแทนเจ้านาย


ตาใบหันขวับมอง เบะปากแล้วส่ายหน้า

"...ไม่ต้องเป็นเทวดา ไม่ต้องแก้ภายในสามวันเจ็ดวันก็ได้ แค่ขอให้แก้ ไม่ใช่เตะถ่วงไปเรื่อย...ข้ายังไม่เห็นมันจะแก้อะไรสำเร็จสักอย่าง..."

"...แหม...ลุงก็พูดเกินไป..." ไอ้ปุ๋ยผสมโรงช่วยลูกพี่ "...รัฐบาลเขาเพิ่งมาเป็นแค่ไม่กี่เดือน แถมยังไม่มีทำเนียบจะอยู่ ได้แค่นี้ก็ดีถมแล้ว ลุงจะเอายังไงอีก..."


คราวนี้ ตาใบ ชักจะฉุน น้ำเสียงเริ่มใส่อารมณ์

"...มาเป็นแค่ไม่กี่เดือนก็จริง แต่มันก็ไอ้พรรคเดิมที่เคยเป็นรัฐบาลไม่ใช่เรอะ?... จะมาอ้างนู่นอ้างนี่ได้ยังไง แล้วที่ไม่มีทำเนียบอยู่มันก็สมควรแล้ว มันจะได้เข้าใจชีวิต คนพเนจรไม่มีบ้านจะอยู่มั่ง ว่าเขารู้สึกยังไง...ที่จริง มันไม่น่าจะได้เงินเดือนกันเสียด้วยซ้ำ โกงกินกันทีเป็นสิบๆ ล้าน..."

"อ้าวๆ...ลุง พูดให้มันดีๆ นา เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน มาว่าคนนั้นคนนี้โกง ไม่มีหลักฐาน ระวังเขาจะฟ้องติดคุกหัวโตตอนแก่นะลุง..." ไอ้ปุ๋ย ชี้หน้า


ตาใบ ลุกพรวด เงื้อหมัดขยับจะเข้าหา ไอ้ปุ๋ยผงะถอยหนีด้วยไม่คิดว่าคนแก่จะเลือดร้อนขนาดนี้ คนอื่นๆ ในร้านเลยต้องเข้าห้ามกันวุ่นวาย

พี่อุ้ยรีบพาไอ้ปุ๋ยเผ่นออกจากร้าน ขณะที่ตาใบร้องท้า ตะโกนด่าไอ้ปุ๋ยถึงพ่อถึงแม่

งานนี้ คนที่ถูกมองว่าผิดเต็มๆ คือไอ้ปุ๋ย เพราะตาใบ เป็นพี่ชายแท้ๆ ของแม่มันเอง

 

เรื่องตาใบจะชกไอ้ปุ๋ย แค่ครึ่งวัน คนก็รู้กันไปทั่ว น้าแป้น กับยายจุก ยืนคุยกันอยู่ข้างถนน

"...ก็ไอ้อุ้ยไอ้ปุ๋ยมันพวกรัฐบาล ก็รู้ๆ กันอยู่...แต่ว่าก็ว่าเถอะนะ พวกตาใบเขานั่งคุยกันอยู่ก่อนแล้ว เข้ามาสอดทีหลังเขามันก็ไม่ถูก..." น้าแป้น วิเคราะห์สถานการณ์

"...อ๋อ...ตาใบแกไม่ชอบรัฐบาล เป็นพวกเสื้อเหลืองว่างั้นสิ..." ยายจุกว่า

"...งั้นสิ อาทิตย์ที่แล้ว แกไปร่วมชุมนุมตั้งหลายคืน ยังกลับมาเล่าให้ฉันฟังเลย..." น้าแป้นว่า น้ำเสียงแฝงความชื่นชมเล็กน้อย


แต่ยายจุก ส่ายหัว

"...พวกไร้สาระ...งานการไม่มีจะทำ ไปนั่งชุมนุมตะโกนโหวกเหวกกันอยู่ได้ บ้านเมืองถอยหลังก็เพราะไอ้พวกนี้แหละ..."


พอยายจุกแสดงตัวว่าอยู่ฝ่ายตรงข้าม น้าแป้นชักหน้าตึง เพราะแม้แกจะไม่เคยใส่เสื้อสีเหลือง แต่ก็แอบเชียร์อยู่ห่างๆ

"...แหม...ยาย พูดแบบนี้มันก็ไม่ถูกนา...พวกนี้เขาเสียสละเพื่อไปเรียกร้องความเป็นธรรมให้ชาติบ้านเมือง ไอ้คนอยู่ข้างบนหัวเรา ไอ้พวกรอมอตอ สอสอ สอวอ สอพลอ อะไรทั้งหลาย มันก็ไม่เคยมาเห็นหัวคนอย่างเราหรอก นี่ถ้าไม่มีการชุมนุมขึ้นมา พวกเราก็ไม่มีทางรู้หรอกว่า ไอ้พวกนี้มันโกงมันกินกันมากมายขนาดไหน..."


"...ไม่จริงหรอก...ข้าว่า มันก็โกหกทั้งเพ ปั้นน้ำเป็นตัวกันไปวันๆ ใครมันจะมีเรื่องเลวๆ ของคนอื่นมาพูดอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืนเป็นเดือนๆ แบบนี้...ถ้าไม่แต่งเรื่องขึ้นมา มันก็จะเก่งเกินไปละ..." ยายจุกทำท่าจะเดินหนี แต่น้าแป้นไม่ยอม

"...นี่ยาย ฉันว่ายายกับฉันนี่มันคนละพวกกันแล้วล่ะ ต่อไปยายไม่ต้องมาขอยืมอะไรบ้านฉันอีกนะ ต่างคนต่างอยู่ดีกว่า..."


ยายจุกหันขวับ

"...เออ...งั้นเอ็งก็ไม่ต้องมาเดินผ่านบ้านข้าอีก วันหลังจะออกถนนน่ะ เดินอ้อมไปทางนู้นก็แล้วกัน อย่าผ่านมาให้ข้าเห็นเชียว..."


น้าแป้นกับยายจุก เถียงกันอีกหลายประโยค แต่ละประโยคก็เริ่มออกห่างจากเรื่องที่เถียงกันตอนต้น กลายเป็นทวงบุญทวงคุณ กระทั่งกลายเป็นการแจกคำด่าแรงๆ โชคดี ที่เพื่อนบ้านมาช่วยแยก ก่อนที่จะมีใครทนไม่ได้ ลงมือตบตีฝ่ายตรงข้ามเสียก่อน

 

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ใครต่อใครก็เริ่มแสดงตัวชัดเจนว่า ถือหางข้างไหน โชคดีที่ไม่มีเรื่องกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้นอีก แต่บรรยากาศในหมู่บ้านก็เริ่มตึงเครียดมากขึ้น เวลาพวกใคร-พวกใคร ต้องมาเจอกัน ที่เคยทักทายกันก็ไม่ทัก ที่เคยคุยกันก็ไม่คุย ที่เคยไหว้วานกันได้ก็ไม่มีอีกแล้ว หากต่างพวกต่างสีก็ต้องจ้างอย่างเดียว


กระทั่งญาติพี่น้อง เคยไปมาหาสู่กันก็ไม่ไปอีกแล้ว บ้านไหนมีจานดาวเทียมสีเหลือง หรือบ้านไหนเปิดแต่ช่องที่เคยเป็นอดีตช่องสิบเอ็ด ก็เป็นที่รู้กัน


คนเดือดร้อน ก็น่าจะเป็นคนที่ไม่เข้าข้างฝ่ายไหน เวลาไปประชุมหมู่บ้าน หรือไปงานตามบ้าน จะรู้สึกถึงบรรยากาศ "มาคุ" มึนๆ ตึงๆ ชวนอึดอัดพิลึก ยิ่งถ้ามีวงสุราแล้วด้วย ต้องเลียบๆ เคียงๆ ดูดีๆ ว่าเป็นพวกไหน เดี๋ยวเข้าไปผิดวง จะลุกหนีไม่ทัน


"...เฮ้อ...พี่น้องกันแท้ๆ...ยังแทบจะตีกันตาย...เมื่อไรมันจะเลิกๆ กันเสียทีวะ... " ผู้ใหญ่บ้าน บ่นอย่างเหนื่อยหน่าย ก่อนซดเบียร์(คนเดียว)อึกใหญ่


รอยร้าวนี้ แผ่ลามไปทั่วหมู่บ้าน และคงไม่ใช่แค่หมู่บ้านเดียว หลายหมู่บ้าน หลายชุมชน ทุกหัวระแหง แม้แต่คนที่ฉลาดปราดเปรื่องที่สุด ก็คงจะคิดไม่ออกว่า ทำอย่างไร จึงจะประสานรอยร้าวนี้ให้กลับมาดีดังเดิมได้อีกครั้งหนึ่ง


งานนี้ไม่ว่า ใครจะชนะ แต่ที่แพ้และพังยับเยินแน่ๆ คือ ประเทศชาติ

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…