Skip to main content

“...พูดอย่างกว้างที่สุดคือ สิ่งเลวร้ายทั้งหมดเกิดจากการเลือกของเธอเอง ความผิดพลาดไม่ได้อยู่ที่การเลือกนั้นแต่อยู่ที่การเรียกว่าเลวร้าย เพราะเมื่อเธอบอกว่ามันเลวร้ายก็เท่ากับบอกว่าตัวเธอเองเลวร้ายด้วย เพราะเธอเป็นคนสร้างขึ้นมาเอง เธอไม่อาจยอมรับการตราหน้านี้ได้ ดังนั้น แทนที่จะตราหน้าตัวเองว่าเป็นคนเลวร้าย เธอกลับปฏิเสธสิ่งต่างๆ ที่ตนสร้างขึ้นมาเสียเลย

อสัตย์ทางสติปัญญาและจิตวิญญาณนี้เองที่ทำให้เธอยอมรับโลกอันมีสภาพอย่างนี้ หากเธอจะยอมรับหรือแม้เพียงรู้สึกลึกๆ ข้างในว่าตนมีส่วนต้องรับผิดชอบต่อโลกใบนี้บ้าง โลกจะต่างออกไปกว่านี้มาก มันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ หากทุกคนรู้สึกถึงความรับผิดชอบ การที่สิ่งเหล่านี้ชัดเจนเหลือเกินทำให้เป็นเรื่องสุดแสนเจ็บปวดและน่าขันสิ้นดี

ภัยพิบัติและหายนะภัยทางธรรมชาติต่างๆ เช่นพายุทอร์นาโด เฮอริเคน ภูเขาไประเบิด อุทกภัย หรือความโกลาหลเชิงกายภาพของโลก ไม่ได้เกิดจากเธอคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะหรอก เธอมีส่วนทำให้เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนให้ดูจากระดับที่เหตุการณ์เหล่านั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตเธอ...”

(สนทนากับพระเจ้า : นีล โดนัล วอลซ์ ,รวิวาร โฉมเฉลา แปล ,สำนักพิมพ์ โอ้ มายก๊อด พิมพ์ครั้งที่ 2 มีค.50)

เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะยอมรับและเชื่อว่า
1. สิ่งเลวร้าย เกิดขึ้นเพราะเราเรียกมันว่า เลวร้าย
2. เราแต่ละคนมีส่วนรับผิดชอบต่อสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นบนโลก
3. เรามีส่วนต่อความเลวร้ายที่เกิดบนโลกมากน้อยแค่ไหน ดูจากผลกระทบของมันที่มีต่อเรา

คำอธิบายเรื่องกรรม น่าจะใกล้เคียงที่สุดแล้วกับข้อความนี้ แน่นอน เราแต่ละคนมีสิทธิ์ไม่เชื่อ และสามารถหาเหตุผลตั้งร้อยแปดพันเก้าเพื่อโต้แย้ง แต่ข้อโต้แย้งเหล่านั้น สามารถเปลี่ยนวิธีการมองโลก และ/หรือ เปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดีขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่ ?

การประณามนั้นง่ายกว่าการลงมือเปลี่ยนแปลงมากมายนัก เมื่อเกิดสิ่งใดที่ถูกเรียกว่าเลวร้ายขึ้น ผู้คนจึงยินดีที่จะกล่าวโทษ ซึ่งโดยนัยยะของมันก็คือการผลักความรับผิดชอบออกไปให้พ้นตัว เมื่อเราผลักความรับผิดชอบออกไป โดยบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากสิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเรา นั่นหมายความว่า เรากำลังปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้น

เมื่อเราปฏิเสธความเกี่ยวข้อง ปฏิเสธความรับผิดชอบเสียแล้ว เราจึงไร้พลังที่จะเปลี่ยนแปลง หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง เรายกย่องการประณามสิ่งเลวร้าย และละอายที่จะรับผิดชอบว่าเรามีส่วนทำให้มันเกิดขึ้น

เราจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย ถ้าเรายังกล่าวโทษสิ่งนั้นอยู่
เราจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย ถ้าเราไม่เริ่มต้น รับผิดชอบ

มนุษย์ทุกคนบนโลกล้วนเกี่ยวข้องกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย ทั้งไม่ง่ายที่จะเชื่อ และยังยากยิ่งกว่าที่จะเชื่อว่าเราทั้งหมด “ล้วนเป็นหนึ่งเดียว” แต่ความจริงที่เราต้องยอมรับคือ อำนาจแห่งการเปลี่ยนแปลงของคนๆ หนึ่งนั้นมากมายมหาศาลยิ่งนัก ทั้งยังยิ่งใหญ่และส่งผลสะเทือนต่อคนทั้งโลก ทั้งเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่และเมื่อเขาได้สิ้นชีวิตไปแล้ว

หากไม่มี มหาตมคานธี ประเทศอินเดียจะเป็นอย่างไร
หากไม่มี เช กูวารา เราคงไม่รู้จักคำว่า ปฏิวัติ ดีเท่านี้
หากไม่มีแม่ชีเทเรซา ผู้ทุกข์ยากนับล้านๆ อาจไม่พบแสงสว่างตลอดชีวิต
หากไม่มีท่านพุทธทาส สังคมไทยในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา อาจมืดมนยิ่งกว่านี้

บุคคลสำคัญของโลกทั้งหลายล้วนเป็นคนธรรมดาเช่นเดียวกับเรา แต่สิ่งที่ท่านเหล่านั้นมีมากกว่า คนธรรมดาคือความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลง มิใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อผู้อื่น บุคคลสำคัญของโลกคือผู้ลงมือเปลี่ยนแปลง มิใช่ผู้ได้แต่กล่าวประณามสิ่งต่างๆ เราทุกคนล้วนเป็นบุคคลสำคัญของโลกทั้งสิ้น หากเรามีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ต่อสิ่งที่เราเรียกมันว่า เลวร้าย เลิกกล่าวโทษแล้วลงมือเปลี่ยนแปลงมัน ลงมือทำ มิใช่เพียงกล่าวประณาม โลกนี้ไม่มีวันดีขึ้นมาได้จากการกล่าวโทษกัน เมื่อถึงจุดหนึ่งของความรู้สึกรับผิดชอบ อาจต้องอาศัย ความกล้าหาญ และพลังใจอย่างมหาศาลเพื่อที่จะกระทำ แต่ทั้งสองสิ่งนี้ก็คล้ายพลังงานอย่างหนึ่ง เหมือนดวงไฟที่รอให้มีคนจุด เมื่อผู้อื่นมองเห็นเขาก็จะเดินตามมา และช่วยทำให้ไฟดวงนี้สว่างมากยิ่งขึ้น

แท้จริงแล้ว มนุษย์ไม่เคยเดียวดาย แต่ความเห็นแก่ตัวมักจะทำให้มนุษย์โดดเดี่ยวตนเองอยู่เสมอ ขณะที่ถูกเหวี่ยงไปมาระหว่างขั้วของ “ความรัก” และ “ความเกลียด” เราจึงสับสนกับการแสดงออกต่อสิ่งที่เกิดขึ้น แต่หากเราเชื่อว่า ความรักเท่านั้นที่จะทำให้ทุกสิ่งดีขึ้น ไม่ใช่ความเกลียด เชื่ออย่างลึกซึ้งแท้จริง เรา และ โลก จะไม่ใช่สิ่งแปลกแยกต่อกันอีกต่อไป

ความรักเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทุกสิ่ง ไม่ใช่ความเกลียด

บล็อกของ ฐาปนา

ฐาปนา
พี่หวี จอดรถเครื่องที่ใต้ร่มมะขาม แกเดินหน้าเซ็งมานั่งที่เปล คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง นอนแกว่งเปลถอนหายใจสามเฮือกใหญ่ ก่อนจะระบายความในใจออกมาด้วยประโยคเดิมๆ ว่า "...เบื่อว่ะ...ไอ้เปี๊ยกกับเมียมันทะเลาะกันอีกแล้ว..."เจ้าบุญ น้าเปีย เจ้าปุ๊ก ที่กำลังนั่งแกะมะขามสุกเอาไว้ทำมะขามเปียก ก็หันมาพยักหน้ารับรู้ แล้วก็ปล่อยให้พี่หวีได้พูดระบายความเครียดไป ถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะนั่งฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ
ฐาปนา
  ปลายสัปดาห์นั้น หมู่บ้านคึกคักเป็นพิเศษ เพราะผู้ใหญ่บ้านประกาศล่วงหน้ามานานหลายวันแล้วว่า วันศุกร์สุดท้ายของเดือน ผู้ว่าราชการจังหวัดจะลงพื้นที่มาตรวจเยี่ยมชาวบ้าน มารับฟังปัญหา จึงขอเชิญชาวบ้านมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุขดิบกันซึ่งอันที่จริง การขอเชิญ นั้น ก็มีการขอร้อง กึ่งๆ ขอแรง ปะปนอยู่ด้วย เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังวุ่นกับงานในไร่ เตรียมจะปลูกแตงกวา มะเขือเทศ ถั่วฝักยาวกันนานๆ จะมีเจ้าใหญ่นายโตมาเยี่ยมหมู่บ้าน ใครต่อใครก็เลยต้องทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านกันใหญ่ เพราะเดี๋ยวถ้าเกิดแจ๊กพ็อต ผู้ว่าฯ เดินเข้ามาหาถึงบ้าน แล้วบ้านรกยังกับรังนก เป็นได้อายเขาตายเลย…
ฐาปนา
ชาวนาชาวไร่ ฟังวิทยุ มากกว่าดูโทรทัศน์ มากกว่าดูหนัง มากกว่าอ่านหนังสือ เพราะการงานในไร่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ไม่เอื้ออำนวยให้เอาสายตาและเวลาไปใช้อย่างอื่น เสียงเพลงและ เสียงข่าว จึงดังแว่วมาตามลมตั้งแต่ริมคลองส่งน้ำด้านทิศเหนือไปจนจรดทุ่งนาติดชายป่า ด้านทิศใต้ สมัยนี้วิทยุเครื่องเล็กๆ ใช้ถ่านก้อนเดียว เครื่องละแค่ไม่กี่ร้อย ใครๆ ก็ซื้อได้ ขนาดเจ้าโหน่ง เด็กเลี้ยงวัว ยังห้อยโทรศัพท์มือถือฟังวิทยุได้ ... น่าน! เท่ห์ซะไม่มี ฟังกันมากที่สุด ก็ต้องเป็นเพลงลูกทุ่งทั้งเก่าทั้งใหม่ รองลงมาก็สตริง ส่วนคนมีอายุก็ชอบฟังข่าว ฟังเทศน์ฟังธรรม
ฐาปนา
สองเดือนผ่านไป คณะลิเก กลายเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน กลายเป็นมหรสพประจำหมู่บ้าน ซึ่งไม่เพียงแค่คนในหมู่ แต่คนต่างหมู่ ต่างตำบลยังพากันมาดู แต่ละคืน ที่ศาลาประจำหมู่บ้านซึ่งกลายสภาพเป็นโรงลิเก จะมีเก้าอี้พลาสติกสะอาดสะอ้านจำนวนสิบกว่าตัววางไว้อย่างมีระเบียบ รอผู้ชมขาประจำมานั่ง
ฐาปนา
ปลายเดือนตุลาคม ผมกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งที่จริง ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องไปแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของผม บ้านของผม ไม่ได้อยู่ที่นี่แล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงความทรงจำตลอดสิบแปดปีที่ผมได้เติบโตมา โรงเรียน บ้านพักอาจารย์ สนามเด็กเล่น หอนาฬิกา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถาบันราชภัฎซึ่งเมื่อก่อนคือวิทยาลัยครู ทุกๆ สถานที่ที่คุ้นเคย ยังปรากฎภาพชัดเจนทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่กับสิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ เหลือเพียงแค่ร่องรอยบางส่วนจากอดีต เพราะวันนี้ เมืองเติบโตขึ้นมาก อาคารเก่าๆ ถูกรื้อถอนกลายเป็นห้างสรรพสินค้า พื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เห็นมาตั้งแต่เล็ก…
ฐาปนา
คณะลิเกมาสู่หมู่บ้านด้วยเหตุบังเอิญวันหนึ่ง ยายนุ้ยทำบุญที่บ้านตอนเช้า พอตกบ่าย ก็นิมนต์พระหลานชายที่บวชมาได้สามพรรษาสอบได้นักธรรมโท มาเทศน์ พอตกค่ำ แกก็จ้างลิเกมาเล่นที่ศาลากลางหมู่บ้านวันนั้น ที่บ้านยายนุ้ยจึงมีคนหนาตา โดยเฉพาะช่วงที่มีลิเก เพราะนานนักหนาแล้วที่ไม่มีลิเกมาเล่นในหมู่บ้าน สมัยนี้เวลามีงาน ถ้าไม่ใช่วงดนตรี(อิเลกโทน)นุ่งน้อยห่มน้อย ก็เป็นหนังกลางแปลง ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ใครต่อใครก็อยากดู พระเอกรูปหล่อ นางเอกนัยตาคม ตัวโกงหน้าโหด ตัวตลกน่าเตะ เครื่องเพชรแวววับทิ่มทะแยงตา เสียงระนาด ตะโพน รัวเร้าใจ “แหม...ถ้าเป็นไชยา มิตรชัย ละก้อ...เหมาะเลยนิ..…
ฐาปนา
เรื่องมันเริ่มจากคำบอกเล่าของทิดช่วง ในงานศพงานหนึ่ง แกเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า กลางดึกคืนก่อน แกลุกจากที่นอนมายืนฉี่ที่ริมรั้ว อากาศเย็น น้ำค้างกำลังลง ขณะที่แกกำลังระบายน้ำทิ้งอย่างสบายอารมณ์ สายตาของแกก็เหลือบไปเห็น ดวงไฟดวงใหญ่ ลอยขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในความมืดที่ปลายรั้วอีกด้านหนึ่ง ห่างจากตัวแกไปสักสี่ห้าสิบเมตร พอแกเสร็จภารกิจ ชะรอยจะคิดว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างมาหากิน แกเลยออกปากไล่ว่า “ชิ้วๆ” เท่านั้นเอง ดวงไฟนั้นก็พุ่งตรงเข้ามาหาแก ทำเอาแกสะดุ้งโหยงจนต้องเผ่นเข้าไปใต้ถุนบ้าน แกกดสวิทช์เปิดไฟใต้ถุน สว่างพรึบ มองซ้าย...มองขวา...มองหน้า...มองหลัง มันคืออะไรกันวะ...? หรือว่า...…
ฐาปนา
บ้านนอก แม้จะไม่สะดวกแต่ก็สบาย ถึงจะร้อนแดดแต่พอเข้าร่มก็เย็น ผิดกับเมืองใหญ่ ที่ร้อนอบอ้าวตลอดปี ฝนจะตกแดดจะออก ความร้อนก็ยังคงสถิตย์อยู่เสมือนเป็นอุณหภูมิประจำเมือง ใครเลยจะคิดว่า ความร้อนจากในเมืองจะแผ่ลามเข้ามาถึงหมู่บ้านที่ปราศจากกลิ่นฟาสต์ฟู้ด ข้อมูลข่าวสารปรากฎทั้งรูปและเรื่องบนหนังสือพิมพ์ในร้านกาแฟ เสียงรายงานข่าวลอยมาจากวิทยุที่แขวนอยู่ข้างตัวเด็กเลี้ยงวัว ทั้งภาพเคลื่อนไหวทั้งเสียงส่งตรงมาเข้าจานดาวเทียมสีเหลืองสดใสเหนือหลังคาร้านค้าของป้านุ้ย ที่ๆ ใครต่อใครก็มาชุมนุมกันตั้งแต่เช้า บ้างซื้อยาสูบ ซื้อขนมเป็นเสบียงก่อนไปนาน บ้างตั้งวงกาแฟกระป๋อง เขียวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง…
ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน…
ฐาปนา
แต่ไหนแต่ไรมา ราคาข้าวแต่ละปีไม่เคยห่างไปจากระดับเกวียนละสี่พัน ห้าพัน อย่างดีที่สุดคือหกพัน เขยิบขึ้นๆ ลงๆ อยู่แค่ สองร้อยบ้าง สามร้อยบ้าง ชาวนาได้ข้าวพอกิน เหลือก็ขาย แต่พอหักค่าปุ๋ยค่ายา ค่าไถ ค่าเกี่ยว ก็ไม่พอกิน สุดท้ายก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำอยู่ดี หน้านาก็ทำนา หมดหน้านาก็เข้ากรุง เป็นวัฎจักรชีวิตสืบทอดจาก ชาวนาเจเนอเรชั่นปู่ จนถึง รุ่นหลาน ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง มาปีนี้ ข้าวเกวียนละหมื่นต้นๆ พอหายใจหายคอได้บ้าง กระนั้นหนี้สินก้อนโตก็ยังยืนค้ำหัวให้กลุ้มใจทุกครั้งที่คิดถึง ตาจิ้มเกี่ยวข้าวได้แปดเกวียน หักนู่นหักนี่ไปแล้วเหลือเข้ากระเป๋าสามหมื่นกว่า บางคนว่า…
ฐาปนา
ยุคข้าวยากหมากแพง สินค้าเกษตรจำพวกพืชผักเวลานี้ ราคาดีแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ข้าวซี่งแม้จะราคาตกมาหน่อย แต่ก็ดีกว่าปีก่อนๆ มากอื่นๆ ก็อาทิเช่นกะเพรา-ผักใบ ขาดไม่ได้สำหรับร้านอาหารตามสั่ง แม่ค้าขายที่หน้าแผงกำละ 5-7 บาท แต่แม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่หน้าไร่กิโลกรัมละ 5-10 บาทบวบ-ผักธรรมดาแต่ราคาไม่เคยตก ราคาจากสวนกิโลกรัมละ 7-10 บาทกล้วยน้ำว้า-ผลไม้บ้านๆ ธรรมดาสุดๆ แต่ขอโทษที-นาทีนี้ พ่อค้ามารับซื้อถึงสวนกล้วย หวีละ 8 บาทเป็นอย่างน้อย(ลูกเล็ก) เครือหนึ่งมีสักสิบหวี ก็เกือบร้อยบาทแล้ว
ฐาปนา
สังคมชาวบ้าน แม้จะอยู่คนละหมู่บ้าน คนละตำบล คนละอำเภอ หรือแม้แต่คนละจังหวัด ถ้าได้ชื่อว่าเป็น “คนมีตังค์” ต่อให้ไกลแค่ไหน เมื่อมีใครสักคนพูดถึง ก็จะมีคนจดจำไว้ ถ้าอยู่ใกล้หน่อยก็มีคนรู้จัก เผลอๆ รู้ไปถึงวงศ์วานว่านเครือนู่น เหมือนที่เขาว่า มีเงินก็นับเป็นญาติ ใส่ผ้าขาดถึงเป็นญาติก็ไม่นับ อย่าง ตาผล คนตำบลใกล้เคียงไปได้เมียที่สมุทรสาคร ทำบ่อเลี้ยงปลา จนกระทั่งมีรถกระบะ 2-3 คัน เปิดร้านคอมพิวเตอร์ให้น้องเมียดูแล ลุงเปลี่ยน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ใครก็รู้ว่ามีหนี้เยอะ แต่พอไปเป็นพ่อค้าคนกลางตระเวนซื้อของจากแถวบ้านไปขายที่กรุงเทพฯ ก็เริ่มมีตังค์ ปลดหนี้สินไปจนหมด แถมกำลังจะปลูกบ้านใหม่…