Skip to main content

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล TCIJ

เป็นอีกครั้งที่วัดธรรมกายออกมาธุดงค์กลางนคร แล้วก็ถูกสวดยับไปตามระเบียบ ซึ่งคงห้ามปรามกันไม่ได้

ลองทบทวนภาพจำในอดีตดูว่า นี้เป็นครั้งแรกที่พื้นที่ทางศาสนาหรือความเชื่อเข้ามายุ่งย่ามในพื้นที่สาธารณะหรือ? แห่เทียนเข้าพรรษา (นี่งานใหญ่ระดับจังหวัดเชียวนะ), แห่นางแมว, แห่เทศกาลกินเจ, แห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ตามศาลเจ้าในชุมชนต่างๆ, แห่กฐิน หรือขบวนแห่พระเกจิผู้ล่วงลับ ผมยังเชื่อว่าศาสนาและความเชื่ออื่นๆ ล้วนเคยก้ำเกินเข้าสู่พื้นที่สาธารณะบ้างไม่มากก็น้อยและล้วนสร้างความเดือดร้อนรำคาญใจแก่ผู้คนไม่น้อยก็มาก

เพียงแต่ความเดือดร้อน รำคาญ ล่วงเลยสู่การด่าทอพฤติกรรมของสำนักนี้ จัดวางอยู่บนฐานความเชื่อชนิดหนึ่ง...

...........

ผมเป็นมนุษย์คนหนึ่งในรัฐนี้ที่เกิดมาพร้อมถูกประทับว่าเป็นพุทธศาสนิก โตขึ้นมาได้ศึกษาแนวคิดของพุทธ ชอบ จึงพูดได้ว่านับถือพุทธเพราะปลื้มปริ่มกับแนวคิดนี้ ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีใครล่วงละเมิดได้ แต่ผมดันเป็นชาวพุทธที่เชื่อในความเป็นรัฐฆราวาส คือเราควรแยกความเชื่อทางศาสนาออกจากการอำนาจรัฐ เพราะเวลาเอาสองสิ่งนี้มาปะปนกัน การใช้อำนาจรัฐมักบิดๆ และศาสนาก็มักเบี้ยวๆ

ในโลกฆราวาส ศาสนาหรือลัทธิความเชื่อไม่ต่างจากสินค้าในตลาดเสรีที่ขึ้นกับความชอบ ความเชื่อ และรสนิยมในการเสพ นักบวชของศาสนาหรือลัทธิต่างๆ ล้วนมีสิทธิเผยแผ่ หรือโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์-ตามแต่จะเรียก-คำสอนของตนผ่านตลาดเสรี ต้องสร้างความแตกต่าง ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ปรับปรุงสินค้าและบริการต่อเนื่อง ต้องส่งเสริมการตลาด สร้างภาพลักษณ์ กระจายสินค้าและบริการผ่านสารพัดช่องทาง เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อหา...หรือศรัทธา ซึ่งไม่ว่าจะทำใจยอมรับได้หรือไม่ มันก็กำลังเกิดขึ้น

ผมขอเรียกว่าตลาดสินค้าทางจิตวิญญาณ

นี้จึงไม่ใช่ครั้งแรกที่การโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการสร้างความเดือดร้อนต่อสาธารณชน เมื่อเดือดร้อนก็ถูกด่าทอ ถูกต่อต้านกันไปตามประสา เช่น เจ้าพ่อชาเขียวโดน เป็นต้น

หากเรามองธรรมกายคือบริการทางจิตวิญญาณรูปแบบหนึ่ง ดังคำสอนของพระเกจิท่านอื่นๆ หรือสำนักอื่นๆ เป็นสินค้าในตลาดเสรีที่ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกเชื่อ เราจะเดือดร้อน รำคาญ ล่วงเลยสู่การด่าทอ บนฐานคิดอีกแบบ

............

งานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จเกี่ยว อุปเสโณ ก็มีการแห่แหนและจัดพิธีการอย่างเอิกเกริก จำได้มั้ยครับ รถก็ติดกันอย่างเอิกเกริกเช่นกัน แต่ตอนนั้นไม่มีกระแสต่อต้าน ผมขออนุญาตลองมโนดูว่าเพราะอะไร?

ดังที่ทุกคนทราบ นับจากสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทรงตีความพุทธศาสนาใหม่และใช้เป็นฐานอำนาจ (มีผู้รู้มากกว่าผมเคยเขียนเรื่องทำนองนี้ไว้แล้ว) พุทธและรัฐก็ถูกกลืนเป็นเนื้อเดียวกันเรื่อยมา พ.ศ.นี้ ถึงไม่ถูกระบุให้พุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ก็ใกล้เคียงเต็มที ถึงยามเข้าสู่เทศกาลร่างรัฐธรรมนูญคราใด มักมีม็อบสงฆ์กดดันให้ประทับลงไปเสมอ พอพุทธกับรัฐ-ชาติผูกกันแน่นหนา ความมั่นคงของพุทธจึงกลายเป็นความมั่นคงของรัฐ-ชาติไปโดยปริยาย ทั้งที่ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อส่วนบุคคล ส่วนรัฐ-ชาติเป็นเรื่องของคนทั้งสังคม

ไม่ว่าธรรมกายจะมีข้าราชการระดับสูง มีไฮโซโก้หรูศรัทธา มีผู้นับถือมากเพียงใด แต่ชาวพุทธที่ไม่เชื่อมีมากกว่า เมื่อพุทธคือความมั่นคงของรัฐ-ชาติ เมื่อคำสอนของธรรมกายถูกมองว่านอกรีต นอกรอย และมิใช่พุทธ มันจึงยุ่ง ผมเดาว่าความเดือดร้อนรำคาญจากการกระทำของธรรมกายส่วนหนึ่งวางอยู่บนความเชื่อที่ว่า นี้จะบ่อนทำลายพุทธศาสนา ซึ่งจะบ่อนทำลายรัฐ-ชาติไปด้วย

…………

แน่นอนว่าวิธีการของธรรมกาย โดยเฉพาะการบริจาคมาก ได้บุญมาก ได้ไปสวรรค์พร้อมเครื่องแต่งกายอลังการ ฯลฯ อาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวผู้ศรัทธาตามที่ได้ยินฟัง หรือมีการกล่าวหาใดๆ ก็ตาม แต่เรามีสิทธิเข้าไปห้ามปรามไม่ให้เขาเชื่อในแนวทางของธรรมกายได้หรือครับ?

ผมว่ามันก็เป็นเรื่องของเขาและถ้าบุคคลรอบข้างเห็นว่ากระทบก็ต้องหาวิธีทางกฎหมายของโลกสมัยใหม่ไปจัดการกันเอง เพราะเราทำอะไรไม่ได้จริงๆ กับความเชื่อของมนุษย์ แม้ว่าจะรู้สึกคันไม้คันมือแค่ไหนก็ตาม

แม้ผมจะรู้สึกคันไม้คันมือเช่นกัน ไม่รู้สึกชื่นมื่นกับแนวทางของธรรมกายสักน้อยนิด แต่ผมทำได้มากที่สุดเพียงไม่ซื้อสินค้าและบริการชิ้นนี้ ส่วนคนอื่นก็ต่อต้าน หาข้อมูลมาดิสเครดิต โน้มน้าวคนรอบตัว บลาๆๆ แต่ถึงที่สุด เราห้ามคนไม่ให้เชื่อไม่ได้

ทว่า เมื่อเราเอาศาสนากับรัฐ-ชาติไปขยำรวมกัน คนที่ออกมาโปรยดอกไม้จึงกลายเป็นคนโง่ โง่นี่ไม่เท่าไหร่ แต่กลายเป็นคนทำลายศาสนาพุทธและทำลายชาติไปด้วย ใช่หรือ? และเพราะเรานำสองสิ่งนี้ขยำรวมกันใช่หรือไม่ จึงทำให้มีเสียงเล่าลือว่าธรรมกายมีความสัมพันธ์อันดีกับพระผู้ใหญ่ระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และนักการเมือง คงมิต้องสาธยายว่าเพราะอะไร

การไม่พอใจธุดงค์กลางเมืองเพราะสร้างความเดือดร้อน ไม่แปลกครับ แต่ถ้าไม่เอาธรรมกายมาโยงกับความเป็นพุทธและรัฐ-ชาติ แล้วเห็นเป็นแค่สินค้าและบริการประเภทหนึ่งในตลาดสินค้าทางจิตวิญญาณที่มีอยู่มากมาย…

บางทีอาจช่วยลดความหงุดหงิดรำคาญใจลงได้เยอะทีเดียว

บล็อกของ กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
ขณะที่เขียนอยู่นี้ #ประเทศกูมี มียอดวิวเกือบ 7 ล้านแล้ว ผมนี่ฟังหลายรอบมาก พร้อมโยกเยกไปตามจังหวะและซึมซับเนื้อหาเข้าไปในหัวใจ
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
ตั้งแต่วัยรุ่นที่พอจะรับรู้ความเป็นไปของสังคมบ้าง ผมพบเจอ ‘วิธีคิด’ ในการใช้ชีวิตประมาณห้าหกชนิด ตั้งแต่สโลว์ไลฟ์ สโลว์ฟู้ด การกลับไปใช้ชีวิตเป็นชาวนา มินิมัลลิสม์ ฮุกกะ และล่าสุดที่ออกมาไล่เรี่ยกันคือลุกกะและอิคิไก แล้วยังมีการเผยแพร่ลัทธิความฝันแบบเข้มข้นของสื่อมวลชน สินค้า บริการ จนถึงโค้ช นัก
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
 กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล 
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล วันนี้มีเหตุให้ไปร่วมวงแลกเปลี่ยน ถกเถียง ประเด็นการไม่นับถือศาสนา มีหลายบทสนทนาที่น่าสนใจเลยคิดว่าน่าจะนำมาแบ่งปันและถกเถียงกันต่อ
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุลในหนังสือ 'SUM 40 เรื่องเล่าหลังความตาย' ของ David Eagleman มีอยู่ตอนหนึ่งกล่าวถึงสรวงสวรรค์ที่ดวงวิญญาณของบุคคลผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ยังคงว่ายเวียนอยู่บนสรวงสวรรค์แห่งนั้น
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล รับงานเลี้ยงชีพชิ้นเล็กๆ มาชิ้นหนึ่ง เนื้องานคือการสัมภาษณ์เรื่องราวชีวิตบุคคล นำมาร้อยเรียงบอกกล่าวสู่คนอ่าน ปรากฏว่าบทสนทนาที่ดำเนินไป ชักพาให้เกิดความคิดคำนึงอันหลากหลาย ณ ส่วนใดส่วนหนึ่งของสมองและหัวใจ
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล ‘วัยหนุ่ม ข้าต้องการมีเพื่อนมากมายวัยกลางคน ข้าต้องการมีเพื่อนที่ดีวัยชรา ข้าเพียงต้องการเป็นเพื่อนที่ดีของใครสักคน’
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
 กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล"ถึงผมจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณพูด แต่ผมจะปกป้องสิทธิในการพูดของคุณด้วยชีวิต" วอลแตร์“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” อัลเบิร์ต ไอสไตน์
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล TCIJเป็นอีกครั้งที่วัดธรรมกายออกมาธุดงค์กลางนคร แล้วก็ถูกสวดยับไปตามระเบียบ ซึ่งคงห้ามปรามกันไม่ได้
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
 กฤษฎา ศุภวรรธนะกุลพนักงานบริการหญิงหรือ Sex Worker นางหนึ่งเดินจับจ่ายซื้อหากับชาวต่างประเทศ เธอพูดกับลูกค้าของเธอว่าI shop. You pay.
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล TCIJมนุษย์ล้วนตั้งจุดหมายปลายทางของตนเองและพยายามฟันฝ่าไปให้ถึง โดยส่วนใหญ่ล้มลุกคลุกคลาน บ้างล้มแรงเสียจนไร้แรงยืนอีกครั้ง เป็นสัดส่วนน้อยกว่ามากที่ถึงจุดหมายปลายทาง นี่คงเป็นเหตุผลทำให้ ‘ความฝัน’ เป็นสิ่งสูงค่าในสายตามนุษย์ยุคปัจจุบัน
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล TCIJ