"นักค้าทักษะแรงงานอีสานต่างแดน” ผู้ได้ฝึก/ใช้/ลอง/เรียนรู้ เครื่องจักรที่ทันสมัยก่อนใครในไทย

เคยคุยกับ “นักขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์” มีประเด็นเรื่อง คนอีสานมักออกไป “ขุดทอง” นอกพื้นที่ โดยเฉพาะการออกไปทำงานต่างถิ่น ต่างแดน ถึงต่างประเทศเพื่อเงินและชีวิตที่สมบูรณ์

ผมได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวไปเล็กๆ น้อยๆ คิดว่าน่าสนใจ

ใช่ ยอมรับว่าในยุคหนึ่งช่วงทศวรรษที่ 2530 ชายไทยอีสานนิยมออกไปทำงานต่างประเทศ อาจจะเพราะถูกกดดัน/ผลักดันให้ออกไปทำงานนอกพื้นที่ จาก เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ความยากจน การไม่มีงานที่ให้รายได้ดี ไม่มีสถานที่ทำงานให้ทำในพื้นที่ 

หรืออีกเหตุผล คือคนอีสานต้องการออกไปทำงานนอกพื้นที่เอง เพราะเกิดจากความอยากหาประสบการณ์ ความสนุก ความท้าทายในชีวิต ฯลฯ ยังไงก็แล้วแต่ 

แต่มันมีสิ่งที่น่าสนใจ

เคยคุยกับคุณน้าคนหนึ่งที่เคยมีประสบการณ์ “ค้าทักษะแรงงาน” 

ต่างแดน - แรงงานในระบบการผลิตอุตสาหกรรม มีน้าคนนึงพูดได้น่าคิด น่าสนใจ 

รวมถึงผมได้อ่านบทสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ดังกล่าวประกอบด้วย

แกบอกว่า การได้ออกไปทำงานประเภทช่างต่างๆ ในประเทศพัฒนาและประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเครื่องจักรและการผลิตอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพนั้น 

ทำให้ “นักค้าทักษะแรงงานไทอีสาน” หลายคนที่เรียนจบ “สายช่าง” ทั้งในระดับ ปวช. ปวส. ได้มีโอกาสฝึก/ใช้/ลอง/เรียนรู้ เครื่องจักรที่ทันสมัยที่นั่น 

ทั้งที่เครื่องจักรบางเครื่องยังไม่มีใช้ในอุตสาหกรรมประเทศไทยเลย 

แกบอกว่าแต่ละคนที่ได้ไปต่างมีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 5 - 7 ปีขึ้นไป ทำให้หลายคนได้ความรู้การควบคุมเครื่องจักรที่ทันสมัยนั้นติดตัวกลับมาบ้านเกิด

ทำให้ทักษะงานช่างของเขามีมากกว่าช่างในไทยบางคน 

หลายคนกลับมาแล้วไปทำงานในบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม ได้อยู่ในตำแหน่งผู้คุมงาน หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมเครื่องจักรในการผลิตไปเลย

แต่ถ้าคนไหนไม่ได้กลับมาก็อาจจะได้ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยคุมงาน หรือบางอาจได้ไปทำงานตำแหน่งเดิมในบริษัทหรือไซต์งานที่ประเทศอื่น 

แต่ในยุคนี้เป็นอย่างไรไม่ทราบ ยุคที่ต้องควบคุมเครื่องจักรในการผลิตที่ต้องใช้ทักษะการคำนวนและทักษะการรู้ระบบการป้อนคำสั่งในระบบปัญญาประดิษฐ์