Skip to main content

 

 

ยศพนธ์ เกิดวิบูลย์ 

เห็นมีพี่ๆ นักข่าวแชร์เวทีเสวนา “อนาคตเมืองเพชรและมอเตอร์เวย์สายใต้” ซึ่งเกี่ยวกับ "ถนน" จึงอยากร่วมวงบ้าง แต่ไม่ใช่ที่เมืองเพชรนะ

 

ได้คุยกับ “นักขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์” เกี่ยวกับศักยภาพของอีสานในระดับโลก มีการพูดถึงภาคอีสานอยู่ในเส้นทางการค้าระดับโลกในศตวรรษ 21 อาจจะทำให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่คนที่นี่ผลิตส่งขายระดับโลกได้

 

“ขยายถนน 4 เลนอีสาน” บนถนนทางหลวงหมายเลข 22 ช่วง อ.หนองหาน-อ.พังโคน ทางหลวงหมายเลข 22 ช่วงสกลนคร-นครพนม และทางหลวงหมายเลข 23 ช่วงร้อยเอ็ด-ยโสธร รวม 125 กม. ถือเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนารัฐขนาดใหญ่ที่รัฐบาลที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีกลาง 2561 

 

จริงๆ โครงการนี้ไม่ใช่โครงการขยายถนนเพื่อการสัญจรสะดวกสบายและลดอุบัติเหตุปกติธรรมดา เพราะโครงการมันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งเพื่อเสริมศักยภาพการคมนาคมขนส่ง หวังเพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจในภาคอีสาน 

 

ถนนทางหลวงหมายเลข 22 ช่วงสกลนคร-นครพนม จะอยู่ในประเภทถนน “มาตรฐานทางชั้นพิเศษ” - ความกว้าง ความลึกและพื้นผิวถนนจะดีกว่า รับน้ำหนักได้เยอะกว่า

 

ถนนเส้นนี้จะเชื่อมต่อเส้นทางหลวงสายเอเชีย หมายเลข 15 (AH15) โดยเส้นทางดังกล่างจะผ่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 3 ข้ามแม่น้ำโขงที่ จ.นครพนม เชื่อมต่อไปยังเมืองท่าแขก สปป.ลาว และเมืองวินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และยังสามารถเชื่อมต่อไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้

 

และความไม่ธรรมดาอีกอย่างคือ โครงการขยายถนนนี้อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงอินโดจีนตามแนวตะวันออกและตะวันตก (East-West Economic Corridor) และโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ซึ่งถือเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ระดับภูมิภาคที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่เส้นทางการค้าสายไหมใหม่ศตวรรษ 21 ของจีน 

 

ถ้าพูดถึงประโยชน์ที่คนในพื้นที่และผู้ใช้รถใช้ถนนถือว่าได้ความสะดวกสบายในการเดินทางแน่นอน “ถนน” คือโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอยู่แล้ว “ถนนมาถึงก็จำนำความเจริญมาให้”

 

แต่อีกมุม ถนนอาจจะนำผู้คน สินค้าเข้ามาในอีสานได้ ประเด็นสินค้าการเกษตรจากต่างประเทศ กำลังเป็นประเด็นในพื้นที่ตอนนี้ 

 

สินค้าทางการเกษตรจากต่างประเทศเข้ามาแทนที่สินค้าทางการเกษตรของคนภูมิภาคนี้ได้ คิดว่าไม่ใช่แค่สินค้าทางการเกษตร 

 

ถนนอาจจะนำเข้า “คน” เข้ามาประกอบการ ประกอบอาชีพ รวมถึงทำงานในทักษะแรงงานระดับต่ำก็ได้ 

 

ถนนอาจจะทำให้ “ใคร” สามารถขนเอาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ ต่างๆ ออกไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วได้ 

 

**โครงการเหมืองแร่ทองคำ เหมืองแร่โพแทชและเกลือหินในภาคอีสานอีก 7 แหล่ง คือ แหล่งชัยภูมิ แหล่งตลาดแค แหล่งนครราชสีมา แหล่งมหาสารคาม แหล่งกุลาร้องไห้ แหล่งบําเหน็จณรงค์ แหล่งอุบล และแหล่งหนองคาย 

 

**มีข่าวว่าในอีสานมีแหล่งทรัพยากรปิโตเลียมในอีสานด้วยเด้อ 

 

*ได้ประเด็นนี้มาจากพี่นักข่าวคนหนึ่ง

 

*มีประเด็นตัดต้นไม้ริมทาง ซึ่งแต่ละต้นอายุมากพอสมควร

 

บล็อกของ Breaking all illusions

Breaking all illusions
เคยคุยกับ “นักขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์” มีประเด็นเรื่อง คนอีสานมักออกไป “ขุดทอง” นอกพื้นที่ โ
Breaking all illusions
หรือมนุษย์ไม่ต้องทำงานให้พวกนายจ้าง นายทุนแล้ว? เพราะมีหุ่นยนต์ทำงานให้ เราจะสบาย พวกนายทุนอยู่ไม่ได้แน่ๆ ทุนนิยมมึงล่มสลายแน่??