Skip to main content

 

ยศพนธ์ เกิดวิบูลย์ เรียบเรียง

“Amazon Smart Home” ไม่เพียงแค่แอบมอง หรือแอบฟังเก็บข้อมูลส่วนตัวของคุณเพื่อการตลาดเท่านั้น แต่อาจเพื่อเจ้าหน้าที่รัฐ

 

ช่วงเย็นวันหนึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อน ผมได้นั่งอ่านบทความภายในแอพฯ Medium ซึ่งก็คล้ายๆ กับบล๊อคที่เปิดให้ใครก็ได้เขียนบทความเกี่ยวกับอะไรก็ได้ เพื่อหวังให้คนแชร์ต่อในสังคมออนไลน์ 

 

มีบทความคิดเห็นชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ พาดหัวบอกว่า “Amazon Is Watching” หรืออเมซอนกำลังมองคุณอยู่ เขียนโดย Will Oremus นักเขียนอาวุโสของ Blog ชื่อ OneZero ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในโลกดิจิทัล 

 

ประเด็นบางส่วนน่าสนใจที่พูดถึง อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันภายในบ้านที่ติดตั้งระบบอัจฉริยะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และสั่งการผ่านแอพฯ ในโทรศัพท์มือถือ smartphone ซึ่งผู้ใช้สามารถสั่งการให้อุปกรณ์ดังกล่าวทำงานได้เพียงใช้เสียงสั่งการ (voice control system) บอกให้เครื่องทำงาน และเครื่องมือนั้นจะขานรับคำสั่งก่อนการปฏิบัติงานที่บริษัท Amazon ผลิตนั้น เช่นพวก Amazon Echo, Echo Dot, Echo Show ที่สั่งการด้วยเสียงผ่านซอฟแวร์ที่ชื่อว่า “Alexa” ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของคนในยุคนี้

 

นักเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว (privacy activists) กังวลกันว่าอุปกรณ์อัจฉริยะที่มีระบบรับเสียงรวมถึงตอบกลับผู้ใช้งานมีการแอบบันทึกเสียงและเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งานในบ้าน ซึ่งก็มีหลายๆ คนที่รู้ตัวว่ากำลังถูกเครื่องเหล่านั้นแอบบันทึกเสียงอยู่ก็พยายามจะลบไฟล์เสียงและข้อมูลดังกล่าวออกแต่ก็ลบไม่ได้ 

 

ทำให้องค์กรดังกล่าวเริ่มทำการเคลื่อนไหวเพื่อตรวจสอบ Amazon ว่าได้กระทำการดังกล่าวจนกลายเป็นประเด็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวผู้ใช้สินค้าหรือไม่ แต่ Amazon ก็อธิบายเพียงว่าการที่ลบไฟล์ไม่ได้นั้นอาจจะเพราะว่าคำสั่งควบคุมโปรแกรมอาจมีปัญหา 

 

คนเขียนยังบอกว่าไม่เพียงแค่อุปกรณ์ที่สั่งการด้วยเสียงที่อาจกระทำการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน อุปกรณ์ที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด เช่น ออดประตู กล้องติดรถยนต์ กล้องวงจรปิดในบ้านไว้ดูลูก รวมถึงอุปกรณ์นึกไม่ถึงว่าจะมีคือ โดรนตรวจตราความปลอดภัยให้คนในบ้านหรือหมู่บ้าน อุปกรณ์ทั้งหมดนี้ Amazon จัดให้สินค้านี้อยู่ในหมวด “อุปกรณ์การให้บริการเพื่อความปลอดภัย” (surveillance as a service) 

 

ประเด็นมันอยู่ที่ว่า อุปกรณ์ที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดเหล่านี้ก็ไม่น่าแปลกตรงไหน เพราะปกติ CCTV ก็ต้องบันทึกภาพเป็นหลักฐานถ้าเกิดเหตุโจรขึ้นบ้าน หรืออุบัติเหตุต่างๆ ซึ่ง CCTV แบบที่เราใช้กันนั้นมันส่งข้อมูลไปเก็บไว้ที่เครื่องของเจ้าของบ้าน แต่อุปกรณ์ของ Amazon นี่มันผ่านโทรศัพท์ ไวไฟที่เชื่อมต่อไปแอพฯ ของบริษัท Amazon เนี่ยน่ะสิ) 

 

คำถามใหญ่คือว่า Amazon จะนำข้อมูลเสียง ภาพและข้อมูลส่วนตัวไปใช้ทำอะไร 

 

ผู้เขียนบทความเรื่องนี้บอกประมาณว่า บริษัทอาจนำข้อมูลส่วนตัวที่ถูกเก็บรวบรวมลักษณะ Big Data ไปใช้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งานและบริโภคสินค้าของบริษัท จากนั้นจะผลิตสินค้าให้ตรงตามพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้งานที่ถูก AI วิเคราะห์

 

แต่รู้ไหมปัจจุบัน มีการพูดถึงประเด็นว่า หน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคงก็ต้องการอยากเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่อุปกรณ์อัจริยะของบริษัทเหล่านี้จัดเก็บไว้ด้วยเช่นกัน ด้วยการออกกฎหมายเพื่อขอบริษัทเข้าถึงข้อมูลนั้น

 

พวกเจ้าหน้าที่อยากเข้าถึงข้อมูลอัตลักษณ์ส่วนบุคคล สถานที่ตั้ง เสียงสนทนา ภาพเคลื่อนไหว เจ้าหน้าที่ต้องการเข้าถึงอุปกรณ์ โดยอ้างว่าเป็นหนึ่งในมาตรการรักษาความปลอดภัย ป้องกันการก่อการร้าย รวมถึงสืบสวนสอบสวนผู้ก่อเหตุในคดีอาญาและคดีความมั่นคงต่างๆ 

 

ซึ่งเมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว การกระทำเหล่านี้อาจเข้าข่ายการพยายามละเมิดความเป็นส่วนตัวของคนในยุคดิจิทัลโดยรัฐซึ่งร่วมมือกับบริษัทก็เป็นได้

 

ภาพจาก http://www.verifyrecruitment.com

 

บล็อกของ Breaking all illusions

Breaking all illusions
เคยคุยกับ “นักขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์” มีประเด็นเรื่อง คนอีสานมักออกไป “ขุดทอง” นอกพื้นที่ โ
Breaking all illusions
หรือมนุษย์ไม่ต้องทำงานให้พวกนายจ้าง นายทุนแล้ว? เพราะมีหุ่นยนต์ทำงานให้ เราจะสบาย พวกนายทุนอยู่ไม่ได้แน่ๆ ทุนนิยมมึงล่มสลายแน่??