Skip to main content

 

 

 

*หมายเหตุ ข้อเขียนนี้เป็นข้อเขียนสรุปความเข้าใจจากงานวิจัย บทความที่ผู้เขียนได้อ่านมา มุ่งหมายทำให้อ่านเข้าใจง่าย หวังให้ผู้อ่านไปอ่านต่อและวิเคราะห์เพิ่มเติม

 

ความเหลื่อมล้ำและการเข้าถึงทรัพยากรอย่างไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคมไทยปรากฏชัดช่วงที่เกิดปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัส COVID- 19 โดยเฉพาะกรณีประชาชนต่อว่า ด่าทอการบริหารจัดการปัญหาและการจัดสรรทรัพยากร อย่างหน้ากากอนามัย สบู่ล้างมือ เจลแอลกอฮอล์ ที่กลายเป็นสิ่งของจำเป็นของประชาชนในเวลานี้ของรัฐล้มเหลว เช่น ก่อนหน้ามีข่าวว่าประชาชนที่มีเงินและมีอำนาจกักตุนสิ่งของจำเป็นเหล่านี้เพื่อเก็งราคาไว้ขายหากำไรได้ แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจับกุมผู้กระทำผิดเหล่านั้นได้อย่างแท้จริง ทำให้ตอนนี้ก็ยังมีข่าวผู้หวังผลประโยชน์หากำไรทางการค้าจากการความกลัว ความกังวลว่าจะติดเชื้อโรคจากคนจำนวนมากเช่นเคย ประมาณว่าความขาดแคลนทำให้บริษัทผลิตสินค้าได้กำไรที่มากขึ้น

 

พูดง่ายๆ คือ ทุกคน ทุกอาชีพ ทุกชนชั้นต้องเข้าถึง ยา ประกันความเจ็บป่วย ประกันชีวิต เพราะเป็นสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่ต้องมีเงิน มีฐานะเท่านั้นถึงจะเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ (ไม่ใช่ให้บริษัทยา บริษัทประกันมีการทำโฆษณายา ผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อสร้างมูลค่า เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมโฆษณายาและอุตสาหกรรมประกันสุขภาพ!)

 

นอกจากกรณีการกักตูนหากำไรจากสิ่งของจำเป็นในช่วงวิกฤตของเหล่าคนรวย นายทุน ผู้มีเงินมีอำนาจในสังคมแล้ว ความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมในสังคมสะท้อนผ่านกรณีที่รัฐบาลสั่งปิดสถานบริการ สถานบันเทิง สถานที่ที่จะมีการรวมตัวใกล้ชิดกันของผู้คนเกิน 2 คนขึ้นไปทั่วประเทศ รวมทั้งออกมาตรการอยู่ห่างกัน (Social Distancing) หยุดการเดินทาง (แต่ดีที่ไทยยังไม่มีมาตรการให้งดใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถบัส ถ้างดคงลำบากสำหรับคนยากจน คนงาน แรงงานที่ไม่มีรถส่วนตัว) และทำงานที่บ้านอย่างไม่มีกำหนด เพื่อทุเลาและลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ก็ทำให้เห็นภาพคนทำงานในสถานบริการ แรงงานนอกระบบแรงงานหาเช้ากินค่ำตกงานจำนวนมาก โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่าง กทม. เมืองหลวงและเมืองอุตสาหกรรมต่างๆ ที่คนเหล่านี้ต้องการเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด (ที่บ้านยังมีข้าวสาร ผักที่ปลูก ปลา ไก่ หมูที่เอามาทำอาหารกินได้) เพราะถ้าอยู่ในเมืองหลวงต่ออาจไม่มีรายได้ ทำให้ไม่มีเงินจ่ายค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาลห่างเจ็บป่วยขึ้น เป็นต้น 

 

*แต่ดีที่ยังไม่มี (หรือมี) กรณีคนจน แรงงาน (อาจติดเชื้อแล้ว) แต่ยังต้องทำงานในอยู่เพราะความจำเป็น ถ้าไม่ทำไม่มีเงิน มิหน้ำซ้ำแม้จะรู้ว่าตัวเองอาจติดเชื้อแต่ยังก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไม่เปิดเผยให้หัวหน้า ผู้ร่วมงานรู้ เพราะกลัวที่จะตกงาน ขาดรายได้

 

*จริงๆ ก็น่าคิดที่มีนักวิเคราะห์บอกว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อของไทยน่าจะสูงกว่านี้ เพราะเป็นประเทศอันแรกๆ ในช่วงเกิดการระบาดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรองจากจีนและเป็นประเทศในเอเชียด้วย ถ้าไม่ใช่การปิดบังข้อมูลของรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ ก็อาจเป็นเพราะคนยากจน แรงงานนอกระบบเลี่ยงที่จะไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส เพราะอย่างที่ทราบแม้แต่ค่าเดินทางไปโรงพยาบาลของคนเหล่านี้อาจจะยังไม่พอ ยังไม่ต้องพูดถึงค่าตรวจที่ราคาสูง - หากคนนั้นไม่ใช่ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อและต้องการตรวจเพื่อความมั่นใจว่าเป็นไข้ธรรมดาหรือ COVID-19 เพราะมันมีอาการคล้ายกันจนอาจแยกไม่ออก 

 

ทำให้เกิดคำถามใหญ่ตามมาว่า คนจนอาจตรวจไม่พบว่าติด COVID-19 หรอก? ทำไมล่ะ? ก็เพราะไม่มีเงินไปตรวจไง

 

ประเด็นข้างต้น มีนักวิเคราะห์บางคนสรุปว่าต้นต่อของปัญหาทั้งหมดต้องโทษระบอบการเมือง การปกครองและเศรษฐกิจ สังคมแบบ “ทุนนิยม” ที่คนรวย คนมีโอกาสทางสังคม (จากความร่ำรวย) เท่านั้นที่เข้าถึงการตรวจหาเชื้อ เข้าถึงสิ่งของป้องกันการติดเชื้อ เข้าถึงการรักษาและสามารถกักตัวเองไม่ให้ได้รับเชื้อ เพราะมีเงิน มีอาหาร มีที่พักที่ปลอดภัยได้ 

 

ซึ่งทางออกของปัญหาเหล่านี้คือ ต้องทำให้ทุกประเทศในโลกมีระบอบการเมือง การปกครองและเศรษฐกิจ สังคมแบบ “สังคมนิยม” เพื่อจะแก้ไขปัญหาได้ 

 

ข้อเสนอที่น่าเสนอคือ ให้เปลี่ยนกรรมสิทธิ์โรงงานอุตสาหกรรมผลิตสิ่งของจำเป็นในการป้องกันเชื้อไวรัส (สบู่ล้างมือ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย ชุดป้องกันไวรัส) ที่มีเจ้าของเป็นเอกชน บริษัท มาเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนรวม เปลี่ยนการผลิตสินค้าจำเป็นในเวลานี้เพื่อสังคม ไม่ใช่เพื่อผลกำไรจากการได้ขายสิ่งของเหล่านี้ (จะเห็นว่าสิ่งของป้องกันเชื้อไวรัสในช่วงนี้ราคาสูงมากเพราะมีความต้องการสูง)  

 

อย่างที่บอก ยกเลิกกรรมสิทธิ์เอกชนการควบคุมการผลิตมาให้สังคมส่วนรวมควบคุมการผลิตแทน 

 

“จัดสรรทรัพยากรทั้งหมดตามความต้องการคนในสังคม ไม่ใช่ผลิตและจัดสรรทรัพยากรตามกำลังซื้อของคนในสังคม”

 

โจทย์ใหญ่ คือจะทำให้ประเทศทั่วโลกนำแนวคิดการปกครองทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาใช้ในประเทศตัวเองได้อย่างไร เพราะถ้ามีไม่กี่ประเทศที่ทำแบบนี้ ก็ไม่สามารถนำพาสังคมโลกผ่านวิกฤตโรคระบาดนี้ได้ พูดง่ายๆ เราต้องทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ว่าหากประเทศใดประเทศหนึ่งประสบปัญหาขาดแคลนสิ่งของจำเป็นในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส ประเทศที่มีกำลังการผลิตสิ่งของเหล่านี้ก็ต้องส่งไปช่วยเหลือ

 

สุดท้ายแล้วจะเห็นว่า ทุนนิยมสร้างเงื่อนไข (การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตเป็นสินค้าหากำไร ความมั่งคั่ง จนทำลายธรรมชาติ ทำลายป่า ที่อยู่ของสัตว์ป่า ทำให้เกิดการอพยพของสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสเข้าสู่เขตเมือง คนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในที่สุด) ให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส มิหน้ำซ้ำยังแก้ไขปัญหาหายนะดังกล่าวไม่ได้ แต่กลับยังทำให้ปัญหามีรุนแรงขึ้น เกิดการเจ็บป่วยล้มตายมากขึ้น


ข้อเขียนนี้ได้ไอเดียการเขียนจากบทความชื่อ Capitalism is an Incubator for Pandemics. Socialism is the Solution. ของ MICHAEL PAPPAS ที่เผยแพร่ใน เว็บไซต์ counterpunch.org

บล็อกของ Breaking all illusions

Breaking all illusions
เคยคุยกับ “นักขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์” มีประเด็นเรื่อง คนอีสานมักออกไป “ขุดทอง” นอกพื้นที่ โ
Breaking all illusions
หรือมนุษย์ไม่ต้องทำงานให้พวกนายจ้าง นายทุนแล้ว? เพราะมีหุ่นยนต์ทำงานให้ เราจะสบาย พวกนายทุนอยู่ไม่ได้แน่ๆ ทุนนิยมมึงล่มสลายแน่??