Skip to main content

อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ผมรู้จักอาจารย์ชาญวิทย์มาตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นรองอธิการบดีฝ่่ายการนักศึกษา ผมทำกิจกรรมนักศึกษา จึงมีโอกาสโต้เถียงท้าทายท่านบ้าง ตามประสาคู่กัด "รองฯ ฝ่ายการฯ กับเด็กกิจกรรม" สมัยนั้น

แต่ผมน่ะเป็นเพียงระดับรองบ่อน พวกพี่ๆ ที่ปะทะคารมกับอาจารย์ซึ่งๆ หน้า สมันนั้นน่ะเหรอ เอ่ยชื่อมาก็ล้วนแต่เป็นคนที่ทำกิจกรรมสังคมร่วมกันกับอาจารย์ชาญวิทย์ในขณะนี้แทบจะทั้งสิ้น

ผมไม่ได้เคยทำงานใกล้ชิดอาจารย์เลย ส่วนใหญ่ก็เห็นท่านเพียงห่างๆ แต่ก็ได้ร่วมสนทนากับท่านบ้างก็เมื่อผมศึกษาปริญญาเอกจบแล้ว ท่านมักให้โอกาสไปบรรยายในงานวิชาการที่ท่านจัดขึ้นบ่อยๆ

เวที "วิชาการสไตล์อาจารย์ชาญวิทย์" นั้นเป็นเวทีพิเศษ แตกต่างจากเวทีวิชาการที่ผมคุ้นเคยตรงที่มีผู้คนสนใจกว้างขวาง ผู้เข้ารับฟังส่วนใหญ่เรียนรู้ประเด็นและเนื้อหาใหม่ๆ ที่ต้องนำเสนอแบบ "เคี้ยวได้ ย่อยง่าย ไม่ต้องปีนบันไดเรียน" ผมไม่มีทางนำเสนองานแบบท่านได้ แต่ก็ได้เรียนรู้และพยายามปรับวิธีการสื่อสารกับสังคม จากการได้เข้าร่วมเวทีวิชาการของอาจารย์ชาญวิทย์

แต่ที่ประทับใจมากคือครั้งหนึ่งและทำให้ผมรู้สึกสนิทใจที่จะพูดคุยสนทนากับอาจารย์เสมอมาคือ เมื่อหลายปีก่อนที่อาจารย์ไปประชุมที่ฮานอย ระหว่างนั้นผมยังค้นคว้าและเก็บข้อมูลภาคสนามอยู่ที่นั่น ช่วงนั้นมีเพื่อนๆ นักวิชาการไทยวิจัยที่เวียดนามอยู่พร้อมๆ กันหลายคน พวกเรา 4-5 คนชวนอาจารย์ไปนั่งกินดื่มเบียร์สดสไตล์ฮานอยกันที่ร้านข้างถนนแห่งหนึ่ง 

ผมทึ่งว่าอาจารย์สุขภาพดีมาก คอแข็งมาก คุยสนุกมาก อาจารย์เปรยว่า "พวกที่เมืองไทยมันไม่กล้ามาคุยกับผมแบบนี้หรอก มันกลัว เลยไม่สนุก" เราพูดคุยกันจนดึกดื่น แล้วพวกเราก็เดินจากร้านมาส่งอาจารย์ถึงที่พัก ฮานอยเดือนนั้นอากาศดี เดิน 4-5 กิโลฯ ก็ยังไม่เหนอะหนะ

จนเมื่อเร็วๆ นี้ ผมแทบไม่เชื่อว่าอาจารย์จะก้าวออกมาอยู่แนวหน้าของการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องหลักการประชาธิปไตย ความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนอย่างแข็งขัน 

อาจารย์ชาญวิทย์ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพียงในฐานะ "นักวิชาการบัญชีหางว่าว" อาจารย์ไม่เพียงเคลื่อนไหวแต่ในนาม หากแต่ท่านยังแสดงตัว พูด เขียน ออกสื่อ เผยแพร่ความคิดให้ประชาชน เพื่อนนักวิชาการ และสหายใน "สังคมชนชั้นนำ" ให้เข้าใจชีวิต ความหวัง และความเดือดร้อนของประชาชนสามัญ

ข้อเขียนนี้สั้นเกินไปที่จะบอกกล่าวความนับถือที่ผมมีต่ออาจารย์ชาญวิทย์ น้อยไปที่จะบอกเล่าความภูมิใจที่ได้ร่วมงานแม้เพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของกิจกรรมต่างๆ ที่อาจารย์สร้างสรรค์ขึ้น 

แต่ผมก็อยากใช้พื้นที่เล็กน้อยนี้กล่าวว่า อาจารย์ชาญวิทย์เป็นแบบอย่างของนักวิชาการที่ไม่หวาดหวั่นต่อความสุ่มเสี่ยงในการนำชื่อเสียงของตนเองมาปกป้องเพื่อนมนุษย์ ไม่กอดกุมเสวยสุขจากบารมีทางวิชาการของตนเองจนหันหลังให้ประชาชนในที่สุด

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)