Skip to main content

หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์

หนังสือเล่มนี้เป็นผลจากการนั่งอ่านทำความเข้าใจประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง จากมุมมองของพวกเขาเอง จากคำบอกเล่า จากบันทึกของพวกเขาเอง ผมได้แปลเอกสาร 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาษาไทดำ อีกชิ้นหนึ่งเป็นภาษาเวียดนาม แล้วเขียนบทความอธิบายที่มาที่ไปของเอกสารและเนื้อหาของเอกสาร

ความเข้าใจที่สำคัญส่วนหนึ่งคือ ความเข้าใจถึงวิธีการเล่าประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง นิทาน-ตำนานในถิ่นหนึ่งของเวียดนามปัจจุบัน ความเป็นมาอันยาวนานของกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง สำนวนภาษาของคนไทในเวียดนามเทียบกับสำนวนภาษาไทยสยาม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปรากฏตัวของหนังสือเล่มนี้ยังความสุขมาให้กับผมท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในบ้านเมืองประเทศไทย หนังสือนี้เป็นผลงานที่รัก ผมรักที่ได้อ่าน ได้เขียน ได้ใช้ภาษาและอักษรหลายๆ ภาษา แม้ว่างานชิ้นนี้จะทำไปโดยไม่ได้ผลตอบแทนใดๆ แต่การได้เห็นหนังสือเป็นรูปเล่มออกมานี้ ก็นับเป็นผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่แล้ว

ผมยังมีงานลักษณะนี้ที่ตั้งใจจะทำก่อนพ้นวัยที่จะสามารถทำได้อีก 2 ชิ้น เป็นการอ่านเอกสารโบราณของชาวไทในเวียดนาม ชิ้นหนึ่งว่าด้วยการทำขวัญ อีกชิ้นหนึ่งเป็นนิทานคำกลอนขนาดยาวที่เล่าเรื่องราวชีวิตพื้นบ้านมากมาย งานทั้งสองชิ้นยังไม่เป็นที่รู้จักนอกประเทศเวียดนามมากนัก จะค่อยๆ ทยอยทำออกมาต่อไป

หนังสือเล่มนี้ไม่มีขาย พิมพ์จำนวนจำกัดเพียง 500 เล่ม เพราะได้ทุนมาเพียงเท่านั้น และก็ไม่คาดคิดว่าจะมีคนสนใจอ่านเกิน 10 คน ไม่แน่ใจว่าใครกันจะสนใจเรื่องเก่าๆ เรื่องไกลตัว เรื่องเฉพาะเจาะจงขนาดนี้ อย่างไรก็ดี ก็ต้องขอบคุณสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ที่ให้ทุนจัดพิมพ์ 

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งวารสารศิลปวัฒนธรรม มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการตีพืมพ์หนังสือเล่มนี้ ทั้งยังได้ให้เกียรติเขียนคำนำเสนอให้อย่างละเอียดพิสดาร

ขอฝากให้นักศึกษา เพื่อนๆ และนักอ่านทั่วไปได้อ่าน ติติง และเผยแพร่หนังสือเล่มนี้กันต่อๆ ไปครับ เชิญผู้สนใจดาวน์โหลดไปอ่านได้ฟรีจากที่นี่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)