Skip to main content

สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน

บางคนถามผมว่าทำไมไปไหนต่อไหนนักหนา คำตอบเฉพาะหน้าคือ ผมไปเสนอผลงานบ้าง ไปทำงานบ้าง ไปพบเพื่อนบ้าง ไปเยี่ยมครูบ้าง แต่ตอบอย่างกว้างๆ คือ ผมไปหาอะไรใหม่ๆ

เมื่อตอบอย่างนั้นแล้วก็นึกถึงตัวเองเมื่อร่วมยี่สิบปีก่อน ที่ไม่ค่อยชอบไปท่องเที่ยว ผมอธิบายตัวเองว่า ไม่อยากไปเพราะเมื่อไปแล้วก็ต้องกลับมาอยู่ที่เดิม ไม่เห็นได้อะไรขึ้นมา แต่ส่วนหนึ่งของการอธิบายอย่างนั้นก็เพราะ การเดินทางต้องอาศัยอำนาจ เบื้องต้นคืออำนาจทางเศรษฐกิจ มากกว่านั้นคืออำนาจทางสังคมและการเมือง

นิสัยชอบเดินทางของผมคงได้มาจากการเรียนมานุษยวิทยาด้วยส่วนหนึ่ง ถ้าจะมีใครที่แยกการท่องเที่ยวกับการทำงานออกจากกันไม่ค่อยถูก ก็คงจะเป็นนักมานุษยวิทยานี่แหละ ผมถูกพี่สาวกระแนะกระแหนว่า "พวกเธอไม่เคยไปเที่ยวกันในความหมายที่คนทั่วไปเขาเที่ยวกันสักที เห็นไปไหนทีไรก็คือไปทำงานทุกที" พี่สาวก็เลยเตือนแม่ว่า อย่าคิดไปเที่ยวกับลูกชายคนนี้เลย เพราะจะไม่สนุกในแบบของนักท่องเที่ยวหรอก แถมเขาจะพาไปที่ลำบากๆ กินอะไรแปลกๆ 

ผมเคยรู้จักกวีคนหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นเพื่อนกันได้ เธอเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา สอน creative writing หรือการเขียนวรรณกรรมสร้างสรรค์ เพื่อนคนนี้มีประวัติชีวิตสุดเหวี่ยงทีเดียว เธอเป็นคนผิวสี เกิดในเวียดนามช่วงสงคราม แล้วได้รับการเลี้ยงดูโดยครอบครัวคนขาวในสหรัฐฯ แต่เธอพูดภาษาอังกฤษเลียนแบบสำเนียงคนดำ บทกวีเธอมักเกี่ยวกับสถานที่ เธอบอกว่า "ฉันต้องเดินทางทุกปี ไม่ใช่ว่าเพื่อเขียนเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ หรอก แต่เพื่อให้ได้มุมมองใหม่ ๆ สำหรับงานเขียน" ผมฟังตอนนั้นแล้วเหมือนจะเข้าใจ แต่ก็งงๆ 

นั่นชวนให้นึกถึงอมิทาฟ กอช (Amitav Ghosh) นักเขียนอินเดียชื่อดังในปัจจุบัน คนทั่วไปรู้จักกอชในฐานะนักเขียนนิยายแนวประวัติศาสตร์ ที่จริงเขาจบปริญญาเอกมานุษยวิทยาจากออกซ์ฟอร์ด กอชเคยให้สัมภาษณ์ว่า "ที่เลือกเรียนมานุษยาก็เพราะชอบเดินทาง แล้ววิธีเดียวที่จะเดินทางได้ดีที่สุดคือการเป็นนักมานุษยวิทยา" เพราะนักมานุษยวิทยามีอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง สุดท้าย กอชบอกว่า "งานเขียนทุกชิ้นของผมคืองานวิจัยทางมานุษยวิทยา ผมไม่ได้ถือว่ามันเป็นเรื่องแต่ง (fiction) เลย"

กลับมาที่ผมเอง จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้เขียนอะไรยิ่งใหญ่ได้เท่ากอช ยังไม่คิดเป็นกวีอย่างเพื่อนคนนั้น แต่ก็ยังสนุกกับการเรียนรู้ผ่านการเดินทาง ถ้าจะลองตอบตัวเองอีกทีว่า ทุกวันนี้เดินทางไปโน่นมานี่มากมายเพื่ออะไร ผมก็อยากตอบว่า ส่วนหนึ่งเพื่อหาคำตอบใหม่ๆ ให้กับคำถามเดิมๆ อีกส่วนหนึ่งคือเพื่อตั้งคำถามใหม่ๆ ให้กับเรื่องราวคุ้นเคยเดิมๆ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)