Skip to main content

ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ

 
ที่จริงประเทศชาติเสียหายตั้งแต่ท่านยังไม่ได้ยึดอำนาจแล้ว ตั้งแต่ท่านไม่ปกป้องประชาชนยังไม่พอแต่กลับร่วมสังหารประชาชนเมื่อปี 2553 แล้ว แต่ท่านไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง แล้วยังมาก่อความเสียหายเพิ่มอีก 
 
แต่ก็เอาล่ะ พูดกันดีๆ ก็ได้ คงมีหลายคนตอบคำถามนี้ไปแล้ว ผมแค่อยากตอบในแบบของผมบ้าง
 
ข้อแรก "ประชาชนสูญเสียสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน" สิ่งนี้ชาวโลกปัจจุบันเขาเรียกกันว่าสิทธิมนุษยชน (ไม่ทราบว่าเรียนกันบ้างไหมในโรงเรียนทหารน่ะ แล้วเรียนเพื่อให้ดื่มด่ำซึมซับหรือเรียนเพื่อหาวิธีละเมิดแบบนุ่มนวลไร้ร่องรอยกันแน่) ประเทศไทยก็ยอมรับสิ่งนี้ ถ้ารัฐบาลของท่านจะไม่ยอมรับก็ประกาศมาเลยตรงๆ ไม่ต้องอ้อมค้อมว่าเคารพแต่จะไม่ปฏิบัติตาม
 
เอาง่ายๆ นักวิชาการจะจัดสัมมนาให้ความรู้นักศึกษาและประชาชนเรื่องประชาธิปไตยแม้แต่ในรั้วมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ ใครจะเดินขบวนประท้วงโดยสงบแม้ว่าจะเป็นเรื่องปากท้องก็ไม่ได้ ใครจะวิจารณ์ก็ไม่ได้ ฯลฯ แถมท่านยังไม่เคลียร์ว่าคนที่ถูกจับไปทำไมเขาต้องหนีเมื่อถูกปล่อยตัวมา ทำไมถูกจับเกินกำหนดเวลาของกฎหมาย ทำไมมีคำบอกเล่ามากมายว่าลูกน้องท่านทรมานหรือคุกคามว่าจะทำร้ายพวกเขา นี่ยังไม่นับการอ้างกฎหมาย 112 มาใช้คุกคามประชาชน
 
ข้อสอง "วิถีประชาธิปไตยหยุดชะงักลง" โดยไม่มีทีท่าว่าจะกลับมาได้ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น พัฒนาการในระดับท้องถิ่นในระยะ 20 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสำคัญ จนทำให้ประชาธิปไตยเริ่มลงหลักปักฐานในท้องถิ่น การระงับการเลือกตั้งท้องถิ่นส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการกระจายอำนาจ กระทบกระบวนการตัดสินใจในท้องถิ่น กระทบพัฒนาการของเครือข่ายประชาชนในท้องถิ่น
 
ผลเสียร้ายแรงคือการทำให้การเมืองแบบตัวแทนไร้ความหมาย ทำให้การเมืองไทยย้อนกลับไปสู่การเมืองที่ระบบตัวแทนล้มเหลวอีกครั้ง เนื่องจากการรวบอำนาจกลับคืนสู่กลุ่มบุคคลไม่กี่คน รวบอำนาจสู่ข้าราชการ นักธุรกิจ และนักวิชาการไม่กี่คน ยิ่งพวกท่านคงอำนาจไว้นานเท่าไหร่ ระบบประชาธิปไตยก็จะยิ่งเสื่อมทรามลง ประชาธิปไตยสมบูรณ์อะไรของท่านน่ะ ไม่ต้องพูดถึงหรอก ดูจากที่ท่านบริหารประเทศมาเกือบ 4 เดือนแล้ว ท่านไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประชาธิปไตยคืออะไร จะมาสร้างความสมบูรณ์ให้ได้อย่างไร
 
ข้อสาม "สูญเสียธรรมาภิบาลของการบริหารประเทศ" หลักการข้อหนึ่งทำสำคัญของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันคือการแยกอำนาจเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลกันและกัน ทุกวันนี้ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นอะไรได้เลย เพราะไม่มีทางที่ประชาชนจะตรวจสอบการบริหารงานของพวกท่านได้ สภานิติบัญญัติพวกท่านก็ตั้งขึ้นเอง รัฐบาลพวกท่านก็ตั้งขึ้นเอง พวกท่านไม่มีโยงใยอะไรกับประชาชนเลย จะให้ประชาชนเชื่ออะไรได้ ท่านจะอยู่ในตำแหน่งนานแค่ไหนก็ไม่มีใครรู้ ขณะนี้แม้แต่อัยการสูงสูดยังหวั่นเกรงว่าท่านจะเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญของพวกเขาเลย
 
เมื่อไม่มีการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยประชาชน แม้แต่วิจารณ์ก็ยังไม่ได้ ไม่ชอบ ไม่อยากฟัง หงุดหงิดไปหมด อยากจับไปหมด แล้วใครจะรับรองพวกท่าน จะให้เชื่อตามเพลงท่านอย่างเดียวน่ะเหรอ ไม่ตลกฝืดไปหน่อยหรือ มีเด็กอมมือที่ไหนเชื่อท่านบ้างถ้าท่านไม่มีปืนน่ะ ธรรมาภิบาลตามเสียงเพลงท่านน่ะเหรอ
 
ข้อสี่ "ทิศทางของประเทศสั่นคลอน" เมื่อไม่มีการตรวจสอบอำนาจรัฐได้อีกต่อไป อนาคตของประเทศจะไปทางไหนไม่มีทางรู้ ระบบเส้นสายจะกลับมาในระบบราชการ ทั้งจะมีสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่เอื้อกับคนบางกลุ่มบางพวก ท่านบอกเองว่าท่านไม่ได้มาจากประชาชน นโยบายท่านก็จึงไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน พวกคนเก่งรายล้อมท่านน่ะ มีสักกี่คนกันที่เข้าใจตาสีตาสา มีสักกี่คนที่เอาใจชาวบ้านมาใส่ในนโยบาย 
 
เมื่ออำนาจการกำหนดชะตาของประเทศอยู่ในมือพวกท่านไม่กี่คนอย่างลึกลับตรวจสอบไม่ได้ ใครที่ไหนจะอยากมาลงทุนในประเทศนี้อีกต่อไป ท่านคิดว่าเงินทองที่ท่านใช้อยู่มาจากน้ำพักน้ำแรงของชาวไร่ชาวนาแล้วขายข้าวพวกนั้นมาซื้ออาวุธ มาหาน้องๆ หนูๆ บำเรอปรนเปรอพวกท่านได้เหรอ ท่านไม่ได้เข้าใจอะไรง่ายๆ แค่นั้นใช่ไหม เงินตราต่างประเทศที่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในรูปการท่องเที่ยว ที่มาลงทุนในโครงการต่างๆ ท่านจะบอกว่าไม่สำคัญเหรอ แล้วถ้าพวกเขาไม่มั่นใจที่จะมาเที่ยว ไม่รู้ว่าลงทุนไปแล้วอนาคตพวกคนเก่งรอบตัวท่านจะเสนอนโยบายอะไร ใครจะอยากมาลงทุน
 
ข้อห้า "ทำลายการศึกษา" ข้อนี้เป็นความสนใจส่วนตัวของผมเองในฐานะคนในระบบการศึกษา ค่านิยม 12 ประการของท่านไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความคิดความอ่านเลย หากไม่นับการลิดรอนเสรีภาพที่พวกท่านทำกันรายวันแล้ว ค่านิยม 12 ประการกลับส่งเสริมระบบคุณค่าแบบอาวุโส อำนาจนิยม และลดทอนคุณค่าความเป็นคนให้อยู่ใต้ความนิยมต่อความเชื่อไร้เหตุผล สร้างความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ความเป็นไทย ทั้งยังส่งเสริมระบอบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความก้าวหน้าของสังคม
 
นอกจากนั้น การหว่านโปรยเศษอำนาจของพวกท่านให้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัยส่งผลเสียต่อการบริหารมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง เอาง่ายๆ ว่า จะเป็นไปได้อย่างไรที่ใครจะสามารถทำงานเต็มเวลาได้มากกว่าหนึ่งงาน ท่านนายกรัฐมนตรีเองก็เหมือนกัน ที่ทำอยู่ทุกวันนี้หลายๆ ตำแหน่งน่ะ ทำได้ดีสักตำแหน่งหรือ ผลเสียอีกประการที่สำคัญคือ เมื่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าไปรับใช้เผด็จการแล้ว เสรีภาพในการแสดงออกในมหาวิทยาลัยจะยังมีอยู่ได้อย่างไร หากการศึกษาไม่ได้วางอยู่บนเสรีภาพในการแสดงออก การศึกษาจะก้าวหน้าไปได้อย่างไร
 
ข้อหก "ทำลายชื่อเสียงของประเทศชาติ" ชื่อเสียงของประเทศชาติย่อยยับไปตั้งแต่วินาทีที่ท่านทำรัฐประหารแล้ว นี่ท่านยังไม่รู้ตัวอีกหรือ ไม่มีใครบอกความจริงข้อนี้กับท่านบ้างเลยหรือ แล้วการแสดงปาฐกถารายสัปดาห์ของท่าน การแสดงทัศนะต่อเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ของท่าน การใช้คำพูดดูถูกผู้เคราะห์ร้ายเสียชีวิตของท่าน การพูดจาดูหมิ่นคนที่ท่านกล่าวหาว่าเป็นอาชญากร ตลอดจนการใช้วาจาที่ไม่รู้จักระงับควบคุมตัวเอง ตีสำนวนราวกับไม่รู้ฐานะว่าตนเองเป็นผู้นำของชาติอยู่ ใช้วาจาไม่เคารพให้เกียรติประชาชนที่จ่ายภาษีเลี้ยงดูพวกท่านอยู่
 
เหล่านี้ทำลายชื่อเสียงของประเทศชาติอย่างย่อยยับ ทำให้ไทยกลายเป็นเมืองที่น่าขบขันปนน่าสมเพชมากกว่าตลกอย่างบันเทิง ทำให้คนไทยทั้งชาติดูเป็นคนไม่รู้กาละเทศะแบบผู้นำ ทำให้คนไทยดูเสื่อมทรามทางมนุษยธรรมที่กล่าวร้ายได้แม้กระทั่งเหยื่อของอาชญากรรม ฯลฯ เสื่อมเสียความน่าคบหา ไม่น่ามาเยี่ยมเยือน น่าอับอายในหลายด้านเสียจนสุดจะพรรณนาในพื้นที่แคบๆ ได้
 
แค่นี้เพียงพอไหมที่จะตอบว่าประเทศชาติเสียหายอะไรบ้างตั้งแต่วินาทีที่ท่านทำรัฐประหารเข้ามาบริหารประเทศ
 
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน