Skip to main content

เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้

 
เข้าเรื่องครูดีกว่า จะว่าเรื่อง "ครู" ก็ไม่ถูกนัก เพราะผมอยากเล่าเรื่องความอับจนของโลกวิชาการไทย ที่มาเล่าวันนี้ก็เพราะมันพอจะมีอะไรโยงกับวันครูอยู่บ้าง อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งก็เป็นครูสอนหนังสือ อีกส่วนหนึ่งก็ทำงานวิชาการผลิตความรู้ อีกส่วนก็บริการสังคม ให้ความรู้กับสาธารณชน แต่ทั้งสามส่วนนั้น มีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่การทำงานวิชาการ
 
อะไรคืองานวิชาการ งานวิชาการคือการ "ผลิต" ความรู้ ได้แก่การวิจัย การพิมพ์บทความวิชาการในวารสารวิชาการ การพิมพ์หนังสือและตำรา การเสนอผลงานวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเขียนและการนำเสนอผลงานต่อสาธารณะ ไม่ใช่งานสำคัญก็จริง แต่ก็จำเป็น เพราะเป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนนักวิชาการและฝึกให้ความรู้กับประชาชน โดยรวมแล้ว หากอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ทำงานวิชาการ ความรู้ก็จะย่ำอยู่กับที่ ความรู้ที่สอนปาวๆ ที่บรรยายต่อสาธารณชนปาวๆ ก็เป็นความรู้เก่าๆ สังคมก็ไม่ก้าวหน้าไปไหน
 
หลักคิดที่ว่านั้นใครๆ ก็รู้ แต่คำถามคือ ทำไมโลกวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้า ทำไมมหาวิทยาลัยไทยจึงไม่ติดอันดับสูงๆ ในโลกวิชาการสากล ทำไมนักวิชาการไทยจึงแทบไม่มีชื่ออยู่ในทำเนียบนักวิชาการระดับโลก ถึงมีบ้าง ก็มักเป็นนักวิชาการไทยที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ หรือไม่อย่างนั้นก็ได้รับการยกย่องจากโลกวิชาการสากลก่อนหรือในคนละบริบทกับโลกวิชาการไทย บางคนเป็นที่รู้จักดีในโลกวิชาการสากล แต่ไม่มีใครรู้จักในโลกวิชาการไทย แต่นักวิชาการที่รู้จักกันดีในไทย ส่วนใหญ่กลับไม่มีใครในโลกรู้จักกัน
 
เอาเป็นว่าจำกัดเฉพาะอาจารย์ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็แล้วกัน ผมสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมครูบาอาจารย์ที่ผมร่ำเรียนมาในประเทศไทยจึงไม่กลายเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นส่วนใหญ่หรือแทบทุกคนก็จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะจบจากมหาวิทยาลัย C, H, C-B, หรือแม้แต่ S และอีกสอง Cs ในอเมริกา รวมทั้งมหาวิทยาลัย O, C, L และ L ในอังกฤษ 
 
ถามว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนพวกเขาล่ะเป็นใคร ทำไมในขณะที่พวกครูบาอาจารย์ผมจบแล้วส่วนใหญ่จึงหายจ้อยไปจากเวทีระดับโลก เพื่อนๆ ร่วมห้องของคณาจารย์ผมกลับโด่งดังระดับโลก หรือที่จริงเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันกับอาจารย์เหล่านี้ ต่างก็เรียนแย่เหมือนกันหมด คงไม่จริงหรอก เพราะบรรดานักวิชาการที่โด่งดังระดับโลกในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็อายุอานามพอๆ กับครูบาอาจารย์ของผมกันทั้งสิ้น
 
เมื่อผมมาเรียนที่สหรัฐอเมริกาด้วยตนเอง เท่าที่เห็น ผมก็ว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกัน ทั้งร่วมสาถบันเดียวกัน หรือเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย ที่ว่ามหาวิทยาลัยดีๆ เข้ายากเย็น หรือเรียนกันโหดมหาโหดอย่างไร เมื่อเจอกันในระหว่างเรียนระดับสูง ในงานสัมมนาวิชาการ ในห้องเรียนภาษาต่างประเทศ (อย่างผมก็ห้องเรียนภาษาเวียดนาม) ก็ไม่เห็นว่าเพื่อนร่วมรุ่นจะเก่งกาจแตกต่างไปจากกันมากนัก ความรู้ ความไม่รู้ ก็มีพอๆ กัน แต่ทำไมเมื่อเรียนจบกันไปแล้ว โดยรวมๆ แล้วงานวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้าแบบงานวิชากรในโลกสากล
 
ที่จริงมีปัจจัยหลายอย่าง แต่ผมอยากจะเน้นที่กลไกทางวิชาการของไทยที่ปิดกั้นการทำงานวิชาการในระดับสากล ผมจะละเว้นไม่พูดถึงบรรยากาศที่ไร้เสรีภาพทางวิชาการอย่างในปัจจุบัน ละไว้ไม่กล่าวถึงความไร้เสรีภาพทางวิชาการในการพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ แต่ผมอยากพูดถึงระบบระเบียบบางอย่างที่ปิดกั้นพัฒนาการของโลกวิชาการไทย เอาไว้จะมาเล่าตอนต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)