Skip to main content

ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 

 
ความดีแบบไทยๆ มีลักษณะเฉพาะอย่างไร 
 
1. ทำดีเพื่อใครบางคน คนไทยมักต้องหาเหตุที่จะทำดี ปกติไม่จำเป็นต้องดี แต่เมื่อสูญเสียคนที่รัก จึงคิดอยากทำดีขึ้นมา การทำดีเพื่อใครบางคนส่วนมากก็ไม่ได้จะต้องก่อประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง เพียงการไปบริจาคทาน แจกของทั้งที่ผู้รีบแจกไม่ได้ขาดแคลนจริงๆ ก็กลายเป็นความดีได้ ที่เป็นอย่างนี้เพราะคนไทยแค่อยากทำอะไรดีๆ เพื่อคนที่รัก โดยไม่ได้คำนึงว่าสิ่งที่ทำนั้นดีจริงแล้วหรือ เหมาะสมแล้วหรือ
 
2. ทำดีเพื่อตนเอง การทำดีของคนไทยโดยมากจึงเป็นการทำดีเพื่อตนเอง คนไทยให้ทานโดยไม่ได้หวังให้คนรับได้ประโยชน์เท่ากับอยากได้บุญมาสะสมไว้ คนไทยทำบุญเพื่อประโยชน์สุขของตนเอง อย่างหยาบหน่อย ทำบุญเสร็จแล้วก็ต้องขอพร ขออะไรจากการทำบุญ หรือไม่ก็ติดสินบนผี ต้องได้สิ่งที่ต้องการก่อนจึงจะทำบุญ อย่างละเอียดขึ้นก็เก็บไว้เป็นบุญคุณของเอง คิดหนี้ให้ผู้รับ บางครั้งทึกทักว่าเป็นหนี้คนไปทั่วแผ่นดิน ทั้งๆ ที่คนรับไม่มีอำนาจปฏิเสธบุญคุณที่ถูกยัดเยียดมานั้น 
 
3. ความดีเฉพาะหน้า ความดีแบบไทยมักเป็นความดีแบบฉับพลัน ทำแล้วได้ดีเลย ไม่คิดถึงผลดีในระยะยาว ในวงกว้าง ความดียากๆ อย่างการคิดถึงระบบสังคมที่เป็นธรรมขึ้น ด้วยการเคารพความเท่าเทียมกัน อันนั้นเป็นความดีที่ยากเกินไป ทำไปแล้วไม่รู้จะได้อะไรกับตนเองหรือเปล่า ไม่สุขใจทันทีเหมือนเอาน้ำขวดหนึ่งยัดใส่มือคนที่เดินไปเดินมาโดยที่เขาไม่ได้ขอ ไม่เหมือนเอาอาหารไปแจกคนในที่ชุมนุมชนทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นไม่ได้เดือดร้อนอดอยากอะไร ความดีแบบนี้ตรงไปตรงมา คนไทยเข้าใจได้มากกว่า
 
4. ความดีแบบแสดงตน ความดีฉับพลันจึงต้องการการรับรู้จากคนอื่น ทำแล้วต้องมีคนเห็น ทำดีก็ต้องมีคนชื่นชมทันที ต้องมีคนทำข่าว ต้องมีรางวัล ความดีแบบไทยสร้างรางวัลให้คนมากมาย การทำอะไรดีๆ ไม่เพียงพอ แต่ต้องเป็นคนดีที่สาธารณชนรับรู้ ทำดีแล้วคนเห็นสำคัญกว่าทำดีตามหลักความดีแล้วก่อผลดีแม้คนไม่รับรู้ ทำดีแล้วคนเห็นกลบเกลื่อนความชั่วร้ายที่คนไม่เห็นได้
 
5. ความดีแบบสงเคราะห์ ความดีแบบไทยจึงเป็นทำดีแบบสงเคราะห์ ไม่เป็นระบบ เน้นการให้ แจกจ่าย ไม่สนใจว่าผู้รับจะได้ประโยชน์หรือไม่ ผู้รับจะต้องการหรือไม่ แค่ได้ให้ก็ดีแล้ว เครื่องสังฆทานจึงไม่จำป็นต้องเป็นของจำเป็นจริงๆ เพราะขอแค่ได้ถวายพระก็พอแล้ว อาหารถวายพระจึงเหลือเฟือ เพราะถวายพระได้บุญกว่าให้คนยากคนจน แล้วคนจนอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ยุ่งยากที่จะทำทาน
 
6. ความดีที่ถูกยัดเยียด ความดีแบบไทยจึงเป็นความดีฝ่ายเดียว เป็นความดีที่ถูกยัดเยียดจากคนให้ บางทีการเปิดเพลงสวดมนต์ดังๆ ก็เป็นความดีแล้ว เพราะถือว่าให้สิ่งดีๆ ส่วนคนฟัง คนรับ จะต้องการหรือไม่ ไม่จำเป็น ความดีแบบนี้จึงเป็นความดีจากเบื้องบน เป็นความดีที่คนรู้ดี คนมั่งมีกว่า เป็นคนกำหนดว่าอะไรดี แล้วพวกเธอก็จงก้มหน้าก้มตารับสิ่งที่ฉันคิดว่าดีไป ไม่ต้องไต่ถามว่าสิ่งที่ผู้ให้คิดว่าดีนั้น ดีสำหรับผู้รับด้วยหรือไม่ ความต้องการของผู้รับไม่สำคัญเท่ากับความกระสันอยากทำดีของผู้ให้
 
7. ไม่ใช่ความดีเชิงโครงสร้าง ความดีแบบไทยๆ ไม่มีคติเรื่องความเท่าเทียม การลดความเหลื่อมล้ำ การกระจายรายได้ การคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ความดีแบบนี้ส่งเสริมกันเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น เพราะความดีเหล่านี้เป็นความดีเชิงโครงสร้าง ต้องสร้างระบบสังคมที่ดี จึงจะเกิดได้ ต้องเป็นสังคมที่เป็นประชาธิปไตย เคารพผู้อื่น รักเพื่อนมนุษย์อย่างเสมอหน้ากัน จึงจะ้กิดขึ้นได้ ความดีแบบนี่เข้ากันไม่ได้กับสังคมไทย ความดีแบบไทยจึงไม่นำไปสู่สังคมที่ดีขึ้นได้
 
ความดีแบบไทยวางอยู่บนระบบอำนาจนิยม ระบบอาวุโส ระบบเงินเป็นใหญ่ ระบบศรัทธาเชื่อมั่นตัวบุคคลอย่างงมงาย ระบบยึดมั่นแต่ประโยชน์ของผู้ให้ซึ่งเป็นคนชนชั้นบนของสังคม
 
ความไม่สากลของความดีแบบไทย จนกระทั่งรวมไปถึงว่า ตกลงความดีนั้นดีจริง ดีในขอบเขตของสังคม ดีเฉพาะเมื่อบางคนทำและทำเพื่อบางคนเท่านั้นหรือเปล่า ทำให้สังคมคนดีแบบไทยๆ ไม่ใช่สังคมที่ดีของทุกๆ คนอย่างเสมอหน้ากัน เป็นเพียงสังคมที่ดีของเหล่าคนทำดีแบบไทยๆ บางคนเท่านั้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)