Skip to main content

คนรุ่นใหม่ครับ... 

ข้อแรก ในยุคของการต่อสู้ของพวกคุณ ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งคือ คุณมีสื่อมวลชนของคุณเอง คือ social media คนรุ่นคุณคือคนที่รู้พลังของมันดีที่สุด คุณรู้ดีว่าลักษณะพิเศษของสื่อใหม่นี้คือการที่คุณสร้างการรวมตัวทางไกลได้ คุณสร้างความเคลื่อนไหวที่เผด็จการไม่สามารถเด็ดหัวทิ้งง่านๆ ได้ เพราะมันเป็นการเคลื่อนไหวแบบ "รากฝอย" (ถ้าอ่านหนังสือบ้างก็คงรู้นะว่าที่มามันมาอย่างไร) การเคลื่อนไหวของคนรุ่นคุณมันจึงเป็นการเคลื่อนไหวที่ป่วนเผด็จการได้ดีกว่าคนรุ่นเก่าด้วยซ้ำ

 

ข้อสอง แต่คุณอย่าไปอ่อนไหวกับสื่อใหม่นี้มาก คุณอย่าไปหล่อเลี้ยงตัวตนคุณด้วยสื่อนี้เลย คุณอย่าไปคิดว่าการเป็น influential persons ต้องได้มาด้วยการเป็น celebrity สิ คุณอยากทำแค่ดังชั่วช้ามคืนแล้วดับไปอีกนานเหรอ คุณทำอะไรได้ไกลและลึกกว่านั้นเยอะ ขอให้คุณคิดถึงขบวนการระยะยาว ค่อยๆ สู้ไป ถ้าริจะทำงานใหญ่แล้วก็อย่าอ่อนแอสิครับ ขออย่าได้คอยออดอ้อนมวลชนด้วยโซเชียลมีเดียจนเสียขบวนการสิครับ คิดถึงคนอื่นและโลกที่คุณคาดหวังระยะยาวให้มากเข้าไว้ คุณไม่ได้อยากจะมีชีวิตอยู่แค่ชั่วดราม่าที่ปัจจุบันนี้ไม่เกินสัปดาห์เดียวกับหมดอายุไขแล้วไม่ใช่เหรอ  

 

ข้อสาม เราต่างรู้กันดีกว่าเราต่อสู้เพื่ออนาคตของเราเอง และในบางจุด เราปะทะกันบ้าง แต่ถึงจุดของการเคลื่อนไหวที่ต้องการขบวนการขนาดใหญ่ เราต้องยอมอ่อนข้อกับการสร้างแนวร่วมขยายเครือข่ายบ้าง อย่าจุกจิกกับเรื่องเล็กน้อยมาก อย่าทำตัวเป็นไม้บรรทัดกับทุกสิ่ง คุณดูสิ คนที่ทำตัวเป็นไม้บรรทัดทุกสิ่งน่ะ ทุกวันนี้เขาสร้างขบวนการอะไรได้ เขาเองยังแทบเอาตัวไม่รอด ถ้าจะสู้กับอะไรใหญ่ๆ ก็ขอให้รู้จักฟังบ้าง และบางครั้งก็ต้องกล้ำกลืนเก็บหลักการอันแข็งแกร่งของตัวเองไว้ในใจบ้าง อย่างน้อยก็ในระยะที่เรายังอหังการที่อาจจะเป็นไปอย่างผิดๆ ว่าหลักการอันแข็งแกร่งของเรายังไม่มีใครหยั่งรู้กี่มากนัก

 

ข้อสี่ พวกคุณควรประเมินสถานการณ์ของตนเอง สร้างประวัติศาสตร์ของตนเอง การเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์ไม่มีทางเหมือนกัน โลกปัจจุบันนี้แค่ 10 ปีก็จำกันไม่ได้แล้วว่า 10 ปีที่แล้วเกิดอะไรขึ้น เพราะเงื่อนไขไม่เคยเหมือนกัน แต่แน่นอน เราสรุปบทเรียนจากที่อื่นหรือยุคอื่นมาเพื่อการเคลื่อนไหวของเราเองได้ แต่อย่ายึดติดข้อสรุปอย่างตายตัว เรื่องแบบนี้มันไม่ต่างจากการทำงานทางวิชาการ หรือการทำงานสร้างสรรค์ต่างๆ เราต้องรู้แนวทางทั่วไปพร้อมๆ กับรู้ข้อจำกัดเฉพาะตัวของเรา ต้องคิดว่าเงื่อนไขเฉพาะของเราคืออะไร แล้วจะเอาบทเรียนจากคนในอดีต จากคนที่อื่น มาต่อยอดพัฒนาการเคลื่อนไหวของเราเองอย่างไร

 

คนรุ่นเก่าครับ...  

 

ข้อแรก ขอทีเถอะครับ อย่าถามซ้ำซากว่า "คนรุ่นใหม่ทำอะไร" "คนรุ่นใหม่หายไปไหนในการต่อสู้ทางการเมือง" คนทุกรุ่นเขามีแนวทางการดิ้นรนของเขาเอง คนแต่ละรุ่นมีการเมืองในขอบเขตของเขาเอง พวกคุณคงตกยุคแล้วที่ไม่รู้ว่าการเมืองมันมีมากกว่าที่คุณเข้าใจ การเมืองทางการมันเป็นแค่การเมืองเดียวที่คนรุ่นคุณคาดหวัง  

 

ถ้าคุณก้าวผ่านยุคการเมืองของ "ซ้ายใหม่" มา คุณน่าจะรู้ว่าตั้งแต่ทศวรรษ 1970 มาแล้วที่การเมืองมันกระจัดกระจายและเป็นเรื่องระยะยาว คุณจะคาดหวังว่าคนรุ่นใหม่จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันในแบบคนรุ่นคุณทำน่ะเหรอ นั่นแสดงว่าคุณไม่เข้าใจว่าการเมืองสมัยนี้มันซับซ้อนกว่ายุคของคุณมากแล้วล่ะ ไม่มีการโค่นล้ม การปฏิวัติใด ที่นำไปสู่สังคมที่ดีกว่าในทุกด้านอย่างแท้จริงอีกต่อไป ถ้าคุณยังคาดหวังให้คนรุ่นใหม่ลุกฮือต่อสู้ในแนวทางที่คุณต้องการ แสดงว่าคุณล้มเหลวในการประเมินการเมืองปัจจุบัน

 

ข้อสอง แทนที่คุณจะถามคนรุ่นใหม่ คุณควรจะถามตัวเองว่า "แล้วคุณล่ะทำอะไรบ้าง" "แล้วพวกคุณหดหัวไปอยู่ที่ไหนล่ะ" สำหรับคนรุ่นเก่าที่คอยฝากความหวังไว้กับคนรุ่นใหม่น่ะ พวกคุณเป็นคนไม่รับผิดชอบต่อสังคมที่คุณอยู่ไม่น้อยไปกว่าคนรุ่นใหม่ที่เฉยเมยหรอก  

 

ทุกวันนี้คนเราไม่ตายกันง่ายๆ สักที พวกคุณคนรุ่นเก่าจะเป็นประชากรหลักของสังคมชราภาพ อนาคตอันใกล้และอีกไกลมันไม่ใช่อนาคตของคนรุ่นใหม่เท่านั้นหรอก แต่มันจะมันอนาคตของพวกเราที่กำลังก้าวสู่ภาวะชรานี่แหละ ถ้าคุณไม่ออกมาสู้ด้วยตนเอง ก็อย่าผลักภาระเสี่ยงให้กับคนรุ่นใหม่ ขอร้องว่า ถ้าคุณไม่เรียกร้องกับตนเองเสียก่อน ก็ไม่ต้องไปคาดหวังคนรุ่นใหม่

 

ไม่ว่าจะรุ่นไหน ถ้าไม่ร่วมกันสู้ เราก็จะต้องอยู่ใต้เงื่อนไขกะลาแคบๆ กันต่อไป

 

ด้วยรักและนับถือ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)