Skip to main content

“ฉันจะต้องไม่พิการ”
ฉันคำรามหนักแน่นอยู่ในใจ ในคืนวันหนึ่ง เมื่อนอนอยู่ในท่าทีเอาขาขวาพาดไว้บนกำแพง เพื่อดัดขาไล่ความเมื่อยล้า จากงานหนัก

จากวันนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้เข่าของฉันเจ็บน้อยลง ฉันจะทำทันที เริ่มจากการค้นหาวิธีแก้ไข ควบคู่ไปกับการยอมรับความเจ็บปวดของขาข้างขวาว่าเป็นคู่แท้ของชีวิต

ปีแรก ฉันเดินกะเผลกแบบคนขาเป๋ เพราะขาขวาสั้นกว่าขาซ้าย และยังไม่มีพละกำลัง เวลาเดินจึงเห็นว่าตัวเอียงมาก เป็นที่เวทนาตัวเองยามคนจ้องมอง ทำให้ฉันเข้าใจหัวอกคนพิการมากขึ้น

แต่แล้ววันหนึ่ง เหมือนพระมาโปรด ฉันกลับมากรุงเทพฯ แล้วไปเยี่ยมเพื่อนๆที่มหาวิทยาลัย ขณะนั่งอยู่ริมสนามฟุตบอล มองคนอื่นๆเล่นกิฬา อย่างเสียดาย ห่อเหี่ยวในหัวใจ

พี่บลู นักฮอกกี้ทีมชาติ หันมาเห็น จึงหยุดวิ่ง แล้วเดินมาหาฉัน เมื่อเขารู้ว่าฉันขาหัก เขาจึงเปิดขาข้างหักให้ฉันดู มันมีร่องรอยคล้ายๆของฉัน
“อย่าไปเชื่อหมอนะน้อง หมอก็ห้ามพี่เล่นกิฬาแรงๆ แต่พี่ไม่เชื่อ ในที่สุดพี่ก็กลับมาลงทีมชาติได้เหมือนเดิม”

คำของพี่บลู กังวานอยู่ในความทรงจำ คู่ขนานไปกับคำของหมอ หากไม่ใช่พี่บลู ฉันคงไม่เชื่อ แต่เพราะเขาเป็นนักกิฬา และเป็นนักกิฬาที่เอาจริงเอาจังมากกว่าฉัน ฉันจึงต้องเชื่อและเริ่มมีความหวังว่าจะเอาชนะความพิการได้

อีกสิ่งหนึ่งที่พี่บลูมอบให้ เมื่อรู้ว่าฉันท้อแท้ถึงขนาดเข้าไปอยู่ในวัดปฏิบัติธรรมเพื่อลดความเศร้าโศกมาระยะหนึ่งแล้ว พี่บลูหัวเราะฮึ ฮึ เหมือนฉันเป็นเด็กน้อย
“จะอยู่ในวัดหรือนอกวัดก็ต้องมีสติ การมีสติเหมือนการขับรถ ประคองพวงมาลัยไปให้สบายๆ พี่เรียนรู้การมีสติจากการขับรถ อย่าให้ตัวเองเครียดกับอะไรๆ ก็ใช้ได้แล้ว”

สองสิ่งที่ฉันได้มา มีคุณค่ามหาศาล โดยที่พี่บลูอาจไม่รู้ เพราะนับแต่นั้น ฉันไม่ได้เจอกับพี่บลูอีกเลย

แต่ความหวาดหวั่นยังมีอยู่ ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างไรหากเดินไม่ได้ หรือต้องเดินขาเดียวพร้อมไม้ค้ำยัน แต่ที่แย่กว่านั้นคือตอนนี้ ฉันจะต้องมีคนช่วยนวดขาให้ทุกคืนก่อนนอน จึงจะนอนหลับได้ เมื่อไม่มีใครนวดให้ฉันต้องเรียนรู้การนวดตัวเอง

เหมือนโชคช่วยอีกหน ในปีที่สี่ของการบาดเจ็บ งานที่เข้ามาให้เลือกในขณะนั้นคือ โครงการศึกษาวิจัย และสร้างเครือข่ายหมอยาพื้นบ้าน ฉันรับทำงานทันที มันช่างสอดคล้องกับปัญหาของฉัน เหมือนฟ้าประทานมาทีเดียว

ฉันตระเวนเก็บข้อมูล สัมภาษณ์หมอยาสมุนไพร หมอนวดพื้นบ้าน และหมอตำแย ในภาคอีสานหลายจังหวัด มีโอกาสเรียนรู้เคล็ดวิชานวดของแต่ละหมอ และได้สูตรยาสมุนไพร หลายขนาน

ตอนนั้น ฉันคิดว่า เราเริ่มทำงานช้าไป ในราวๆ ปี พ.ศ. 2531 บางหมู่บ้านเมื่อฉันไปถึง คำตอบที่ได้คือ หมอยาเสียชีวิตไปแล้ว เมื่อปีที่แล้ว เหลือแต่ห่อยา “ฮากไม้” ไว้ให้ลูกหลานดูต่างหน้า หรือบางรายชราภาพมากจนไม่สามารถรักษาใครได้อีก แต่ก็ยังโชคดี ที่ยังเหลือหมอยาเก่งๆ ให้ฉันได้พบ จนกระทั่งเกิดเป็นเครือข่ายหมอพื้นบ้านขึ้นในที่สุด

กลุ่มหมอยา มีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งได้ถ่ายทอดวิชาให้แก่คนหนุ่มสาว และได้เดินป่าศึกษาสมุนไพรหลายครั้ง

บางครั้งพ่อใหญ่สม พ่อหมอใหญ่แห่งอำเภอพล พาฉันเดินลุยตามป่าโคกเป็นวันๆ เพื่อรู้จักกับต้นยาและสรรพคุณยา แม้แข้งขาของฉันจะโอดโอยฉันก็ไม่ย่อท้อ ด้วยความอยากรู้

ฉันได้รับการถ่ายทอดวิชาแบบวิถีโบราณอย่างน่าภูมิใจ แต่บางวิชาต้องใช้คาถา ฉันไม่กล้าที่จะรับเพราะพ่อหมอบอกว่า ต้องมีข้อปฏิบัติ ที่ทางอีสานเรียกว่า “คะลำ” หรือข้อห้าม สำหรับคนที่จะใช้คาถานั้น เช่น ห้ามนั่งบนกี่ทอผ้า ห้ามนั่งหัวบันได ห้ามลอดราวตากผ้า หรืออื่นๆ อีก ...ฉันพิจารณาตัวเองแล้ว คงรับมาปฏิบัติไม่ได้ จึงไม่ได้มาสักคาถาเดียว

เรื่องคาถา น่าเชื่อถือไม่น้อย เพราะเจอกับตัวเอง

ครั้งหนึ่ง ตอนไปช่วยชาวบ้านเกี่ยวข้าว ฉันถูกแมลงป่อง ต่อยที่ปลายนิ้ว หมอเป่ามาเป่าให้เพี้ยงเดียว หายเป็นปลิดทิ้ง ฉันเชื่ออย่างไม่สงสัย เพราะว่ามันหายปวดในบัดดล (ไม่กล้าถามว่าคาถาอะไร กลัวความเจ็บปวดจะกลับมา)

การทำงานกับหมอพื้นบ้านฉันมีความสุขมาก ได้ความรู้ ได้รับความเอ็นดูจากพ่อหมอแม่หมอ และที่สำคัญเหนืออื่นใด เขาไม่รำคาญยามฉันขอร้องให้ช่วยนวดขาที่แสนจะเจ็บปวดของฉัน จนฉันรู้ว่าวิธีการนวดของแต่ละคน ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ข้อดีของคนที่ใกล้พิการ คือความต้องการจะหาย ฉันจึงกระหายที่จะเรียนรู้วิชานวด และในที่สุดฉันก็ทำได้...ฉันเป็นหมอนวด ที่รู้จักภาวะความเจ็บปวดของคนประเภทเดียวกับฉัน ฉันรู้ว่าลักษณะกล้ามเนื้อแบบนี้ สภาพเอ็นและกระดูกอย่างนี้ ควรจะนวดอย่างไร

ฉันนวดให้คนอื่นได้ แต่ฉันก็ยังเจ็บปวดขาอยู่ดี

ผ่านมาหลายปี ฉันได้วิชามากขึ้น ทั้งการนวด การอบสมุนไพร การทำยาหม่อง การทำน้ำมันนวดชนิดพิเศษ โดยเอาความต้องการของเองเป็นที่ตั้ง ฉันได้ใช้สิ่งเหล่านี้มาเพื่อการดูแลตัวเอง คิดว่า ถ้าฉันจะกลายเป็นคนพิการ แต่ฉันก็ยังทำอะไรได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนอื่นๆ

การเป็นหมอนวดที่ทำอย่างไม่หวังผลตอบแทนทางการเงิน กลับทำให้ฉันมีเงิน

การเป็นคนที่รู้จักสมุนไพร ทำให้ฉันมีความสุข ที่ได้อยู่กับต้นไม้อย่างรู้จักคุณค่าของเขามากกว่าแค่เป็นต้นไม้ต้นหนึ่ง

การปลูกสมุนไพรและเฝ้าดูเขาเติบโตเป็นสมบัติของโลก ฉันว่าแค่นี้ก็น่าจะพอสำหรับคนอย่างฉัน

ทุกวันนี้ เวลาใครถามว่า เรียนวิชาเหล่านี้มาจากไหน ฉันจะบอกว่า “เรียนจากหมอพื้นบ้านภาคอีสาน” เพราะที่ฉันเรียนรู้ไม่ใช่แค่วิชาหมอ แต่ฉันได้เรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของความเป็นหมอพื้นบ้าน ที่มีค่าครูค่าคายในการรักษาเพียงไม่กี่บาท แต่หมอได้รับการดูแลเรื่องอื่นๆ เช่น ช่วยงานในไร่นา บ้างก็แบ่งข้าวปลาอาหารมาให้หมอตลอดปี

เมื่อมีพิธีไหว้ครู จะเห็นผู้คนจากทั่วสารทิศมารวมกัน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเก่งกาจของหมอคนนั้น ดังนั้น ในชีวิตฉัน อีกหนึ่งคนที่จะต้องจารึกชื่อไว้ ในนามของผู้มีบุญคุณ ในการเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ คือ คุณยงยุทธ ตรีนุชกร หัวหน้าโครงการ ที่เป็นทั้งอาจารย์และเพื่อนร่วมงานของฉันตลอดสองปีเต็ม (ซึ่งปัจจุบันนี้ ฉันได้ข่าวว่ากำลังอยู่กับโรคร้ายอย่างมีความสุข บนเทือกเขาภูพาน)
มีวิชาในการดูแลตัวเอง แต่ก็ใช่ว่าจะรอดพ้นไปจากความเจ็บปวด เพียงแต่ยามก่อนนอน ฉันสามารถนวดขา กดขา หรือทำโยคะ เพื่อจัดการกล่อมเจ้าความเจ็บให้อ่อนแรงลงไปบ้าง

อาการเจ็บแบบฉัน เป็นเจ็บที่น่าประหลาด เพราะเวลากลางวันเคลื่อนไหวมากๆ จะไม่ค่อยรู้สึก แต่พอล้มตัวลงนอน มันจะจู่โจมเข้ามาเป็นอาการเจ็บแปลบๆวิ่งพล่านขึ้นลงไปทั้งขา สลับปวดหนึบๆในข้อเข่า ขยับเข่าจะดังกึกกัก เอ็นเส้นที่เจ็บล้ามากที่สุดคือเส้นที่พาดผ่านรอยแผลจากที่กระดูกทิ่มออกมา ฉันรู้สึกเหมือนเอ็นเส้นนี้มันอยู่ผิดที่ผิดทางยากที่จะมีหมอนวดมือดีมาคุ้ยกลับได้ หรือว่ามันเป็นเส้นประสาทที่ถูกกระทบกระเทือนจนพิการไปแล้วก็ได้ ฉันจึงได้แต่เอาไม้แหลมๆกดแรงๆ กระตุ้นให้ประสาททำงาน จนเจ็บจี๊ดอย่างสะใจ จึงปล่อยออกเป็นอันว่าต้องใช้วิธี เกลือจิ้มเกลือ เจ็บสู้เจ็บ จึงจะได้นอนหลับ

ผ่านมาห้าปี ความรู้สึกวิตกว่าอาจจะเป็นคนพิการลดน้อยลง แต่ยังรู้สึกถึงอาการเสื่อมของข้อเข่าที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน

ฉันจึงมองหาวิธีจัดการกับมันใหม่....อย่างสนุกในอารมณ์

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
ฉันสังเกตดูรอบๆ บ้านหลังน้อยของลุงลี แทบไม่มีพืชผักที่พอจะเก็บกินได้ สงสัยอยู่ครามครันว่า ทำไมไม่ปลูก ในเมื่อแกเป็นคนเก่าแก่และเป็นคนเดียวที่อยู่ในป่านี้มานานถึง 20 กว่าปี ตอนที่ฉันได้หน่อกล้วยหอมพันธุ์ดีมาจากหนองคาย แกก็ยังอุตส่าห์เอาปุ๋ยขี้ควายมาให้ตั้งสามกระสอบ แถมยังสอนวิธีปลูกให้อีกด้วย เมื่อเห็นฉันลงมือขุดหลุมห่างๆ เพราะคิดว่าในอนาคตมันต้องแตกหน่อมาชนกันเอง แกกลับบอกว่าให้ชิดๆกันหน่อยจะดีกว่า เป็นแรงดึงดูดให้กล้วยโตเร็วขึ้น ฉันก็เอาตามนั้น ก้นหลุมกว้างลึกรองด้วยปุ๋ยมูลสัตว์สลับหญ้าแห้ง ดูเป็นวิชาการมากๆ ตามคำแนะนำของแกถามแกว่าจะเอาไปปลูกเองสักต้นไหม…
เงาศิลป์
ฟืนท่อนใหญ่ถูกซุนเพิ่มเข้าไปอีกท่อน มันเป็นไม้ส้มเสี้ยวที่ถูกโค่นล้มลงเพราะขวางทางรถยนต์คันใหญ่ คนตัดบอกว่าไม้ชนิดนี้ยากที่จะแปรรูปเพราะเนื้อไม้บิดเป็นเกลียว ฉันจึงขอให้เขาตัดเป็นท่อนสั้นๆ เพื่อจะใช้ประโยชน์ตามแต่จะคิดได้ แต่พอลมหนาวทายทักแข็งขันมากขึ้น ฉันต้องตัดใจตัวเองจนเลือดซิบ ขณะที่ก้มลงลากมันมาใส่ไฟอย่างยากเย็น เพราะทั้งหนักและเสียดาย และรู้สึกผิดต่อตัวเองหมาน้อยสองตัวต้องการความอบอุ่นตลอดคืน ฉันเองก็ต้องการ แม้จะมีผ้าห่มแต่ก็ไม่เพียงพอที่จะกันหนาวได้ การใช้ฟืนดุ้นเล็กๆ คือภาระที่ต้องลุกขึ้นมาใส่ไฟเกือบตลอดเวลา ถ้าเป็นอย่างนั้นฉันคงไม่มีเรี่ยวแรงเหลือไว้ทำงานในไร่ยามกลางวันอีกเป็นแน่…
เงาศิลป์
สวัสดีค่ะ ขาดหายไปนานสำหรับเรื่องของชะตากรรมคนขาหัก ขอสารภาพว่าที่ทิ้งช่วงห่างหายไปนานขนาดนี้ เพราะว่าขาดความเชื่อมั่นที่จะเขียน (อย่างรุนแรง) เนื่องจากรู้สึกว่าท่านผู้อ่านประชาไท ค่อนข้างมีภูมิปัญญาสูง แต่คนเขียนปัญญาต่ำ ครุ่นคิดอยู่นานว่าจะจบเรื่องนี้อย่างไรดี ในท่ามกลางสภาพปัญหาการดิ้นรนรักษาตนเองและบางครั้งได้รับการดูแลอย่างไม่คาดคิด ค่ะ...ตอนนี้ขอสรุปรวบรัดเล่าให้ฟังว่า เกิดอะไรขึ้นในที่สุด.....หลายครั้งที่ได้พบและเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจากผู้รู้ แต่ครั้งที่เป็นประสบการณ์ตรงที่สุดก็คือ การฝังเข็มจากพี่อ้อย (กัลยา ใหญ่ประสาน) รุ่นพี่ที่เคารพรัก เจ้าของร้านอาหารสุขภาพโขง-สาละวิน…
เงาศิลป์
วันเวลาที่ผ่านไป ฉันค่อยๆ คลายความกังวล แม้ว่าความรู้สึกเจ็บปวดจะมาอยู่เป็นเพื่อนเกือบตลอดเวลา แต่วิชาเกลือจิ้มเกลือ เจ็บแก้เจ็บ ยังใช้ได้เสมอ (โปรดใช้วิจารณญาณในการนำไปทดลอง)และแล้วเหมือนกรรมบันดาล (อีกแล้ว) วันหนึ่ง ฉันได้เรียนรู้ว่า คนเราได้ใช้ศักยภาพของตัวเองเพียงแค่ 60 – 70 % เท่านั้น ส่วนที่เหลือยังไม่เคยรู้จักมัน และปล่อยให้มายาคติบางอย่างครอบงำ โดยเฉพาะคำว่า “อย่าทำ” .... “ไม่ควรทำ”.....หรือ “ไม่เหมาะสมที่จะทำ” และอะไรอีกหลายความคิดที่ปิดกั้นโอกาสของตัวเองกลางเดือนตุลาคมของปีหนึ่ง ฉันเร่ร่อนลงเรือไปที่หาดไร่เล ตอนนั้นแทบว่าไม่มีคนไทยรู้จักหาดไร่เล นอกจากฮิปปี้และนักปีนผา (…
เงาศิลป์
การขึ้นภูกระดึงอย่างไร้ความพร้อม กลับทำให้ฉันได้สิ่งดีๆมากมายคุณนิมิตร เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ได้เขียนจดหมายน้อยอย่างไม่เป็นทางการ ให้ฉันถือไปยื่นให้กับเจ้าหน้าที่บนภู ที่เป็นเพื่อนกัน ในจดหมายเขียนว่า “ช่วยดูแลคนที่ถือจดหมายฉบับนี้ด้วย ตามสมควร” ที่อาคารลงทะเบียนบนภู ฉันยื่นจดหมายให้กับเจ้าหน้าที่ คะเนจากหน้าตา เขาคนนั้นคงมีอายุพอๆกับฉัน เมื่ออ่านจบเขามองหน้าฉันอย่างเฉยเมย บอกว่าบ้านพักเต็มหมดแล้ว เหลือแต่เต๊นท์  ฉันบอกว่าฉันตั้งใจจะพักเต๊นท์อยู่แล้ว“มากันกี่คน” น้ำเสียงห้วนๆ  ไม่รู้ทำไม“คุณเห็นกี่คนล่ะคะ คุณเห็นแค่ไหนก็แค่นั้นล่ะค่ะ” ฉันตอบกึ่งยียวน…
เงาศิลป์
เช้าวันนี้….ใบไม้สีเหลืองเกลื่อนพื้น ดูสวยงาม แต่ไม่นานมันจะถูกเรียกว่า “ขยะ” ด้วยเรียวไม้กวาดก้านมะพร้าว ค่อยๆลากให้มันมากองรวมกัน ทีละนิดรอยทรายเป็นเส้นลดเลี้ยวตามแนวกวาด ลีลาคล้ายบทกวีร้อยบท ที่มีเนื้อหาเดียว คือความสงบทุกเช้า ฉันจะอยู่กับมัน ทั้งไม้กวาด พื้นทรายและใบไม้ร่วงสายตาจับอยู่ที่พื้น..แต่ด้วยหางตา เห็นบางอย่างเคลื่อนไหวอยู่บนถนนหน้าบ้าน  จากที่ยืนอยู่ ระยะทางราวร้อยก้าว เงาร่างเดินโยกเยก บดบังด้วยแนวพุ่มไม้เตี้ยๆ จึงมุ่งมองอย่างตั้งใจ เห็นใครบางคนเคลื่อนไหวอย่างช้าๆจึงเดินออกไปดูร่างล่ำสันค่อยๆ เคลื่อนไปอย่างลำบาก เขาใช้ไม้ยาวๆ ค้ำถ่อ ประคองร่างกายให้ขาตวัดสลับกันไป …
เงาศิลป์
“ฉันจะต้องไม่พิการ”ฉันคำรามหนักแน่นอยู่ในใจ ในคืนวันหนึ่ง เมื่อนอนอยู่ในท่าทีเอาขาขวาพาดไว้บนกำแพง เพื่อดัดขาไล่ความเมื่อยล้า จากงานหนักจากวันนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้เข่าของฉันเจ็บน้อยลง ฉันจะทำทันที เริ่มจากการค้นหาวิธีแก้ไข ควบคู่ไปกับการยอมรับความเจ็บปวดของขาข้างขวาว่าเป็นคู่แท้ของชีวิตปีแรก ฉันเดินกะเผลกแบบคนขาเป๋ เพราะขาขวาสั้นกว่าขาซ้าย และยังไม่มีพละกำลัง เวลาเดินจึงเห็นว่าตัวเอียงมาก เป็นที่เวทนาตัวเองยามคนจ้องมอง ทำให้ฉันเข้าใจหัวอกคนพิการมากขึ้นแต่แล้ววันหนึ่ง เหมือนพระมาโปรด ฉันกลับมากรุงเทพฯ แล้วไปเยี่ยมเพื่อนๆที่มหาวิทยาลัย ขณะนั่งอยู่ริมสนามฟุตบอล มองคนอื่นๆเล่นกิฬา อย่างเสียดาย…