Skip to main content
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท


โดยปกติ ผู้ซื้อน้ำมันดีเซลหมุนเร็วต้องจ่ายค่ากองทุนน้ำมันลิตรละ 1.70 บาทและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์ลังงานอีกลิตรละ 0.75 บาท รวม 2.45 บาท ต่อไปนี้ก็ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนทั้งสองนี้จำนวน 0.45 บาทต่อลิตร


การแก้ปัญหาดังกล่าวคงจะสร้างความพอใจให้กับผู้บริโภคในสังคมไทยได้ระดับหนึ่ง แต่ถามว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ที่ตรงประเด็นแล้วหรือ?


ปัญหาราคาน้ำมันจริงๆ แล้วมี 2 ระดับ คือ


ระดับโลก ที่มีการผูกขาดโดยพ่อค้าน้ำมันเพียงไม่กี่ตระกูลที่สัมพันธ์กับนักการเมืองผู้มีอำนาจในการก่อสงครามและตลาดหุ้น ตลาดเงิน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความต้องการและการตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและอื่น ๆ ซึ่งในระดับนี้ประเทศไทยเรารวมทั้งรัฐบาลชุดไหน ๆ ก็คงทำอะไรไม่ได้เลย


ระดับภายในประเทศ กิจการตรงนี้มีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ การจัดซื้อน้ำมันดิบเข้ามารวมทั้งการขุดเจาะเองภายในประเทศ การกลั่น (โรงกลั่น 7 โรง ปัจจุบันมีกำลังการกลั่นได้เกินความต้องการใช้ภายในประเทศประมาณ 30%) การค้าน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นไปยังปั๊มต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนการขายปลีกของปั๊มที่มีอยู่ประมาณ 19,000 ปั๊ม


ปัญหาระดับประเทศนี้แหละที่รัฐบาลต้องมีส่วนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

จะแก้ปัญหานี้ได้จะต้องค้นหาให้ได้เสียก่อนว่า ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ต่อไปนี้เป็นคำถามที่ชวนให้คิด

 

คำถามที่หนึ่ง ใครเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศไทย

คำตอบคือ ผู้ค้าน้ำมันเป็นผู้กำหนด รัฐบาลไม่ได้มีส่วนในการกำหนดราคาแต่อย่างใด ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีและกองทุนเท่านั้น ในวันที่ 6 สิงหาคม รัฐบาลเก็บภาษีและเงินกองทุนกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลิตร 10.18 บาท คิดเป็น 35% ของราคาหน้าปั๊ม


หลายท่านอาจจะไม่เชื่อว่ารัฐบาลปล่อยให้พ่อค้าน้ำมันกำหนดราคาได้เองอย่างเสรี ผมมีหลักฐานจากเอกสารของ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ซึ่งเป็นองค์กรที่อ้างว่าเป็นอิสระและเป็นกลางทางวิชาชีพ) เราสามารถค้นได้จาก www.ptit.org/events/RefineryMargin9May05.pdf พอสรุปได้ว่า

ก่อนปี 2534 รัฐบาลเป็นผู้ตั้งราคาหน้าปั๊มและกำหนดค่าการตลาดเอง โดยยึดหลักการว่าตั้งให้ราคาอยู่ในระดับที่ประชาชนกินดีอยู่ดีและพัฒนาประเทศได้


แต่หลังจากปี 2534 เอกสารชิ้นนี้ (จัดทำในปี 2548) ระบุว่า "ผู้ค้าปลีกเป็นผู้กำหนดราคาให้เป็นไปตามกลไกของการแข่งขันในธุรกิจขายปลีก" อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้เข้าแทรกแซงราคาเป็นครั้งคราว เช่น ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2547 (รัฐบาลทักษิณ)


เป็นเรื่องน่าแปลกครับ ในปี 2551 คนไทยใช้น้ำมันประมาณ 4 หมื่นล้านลิตร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านบาท แต่รัฐบาลกลับไม่ได้เข้ามาควบคุมแต่อย่างใด ได้แต่หวังว่าให้มีการแข่งขันโดยเสรี แต่ในความเป็นจริงเป็นการค้าเสรีจริงหรือ

 

คำถามที่สอง ตลาดน้ำมันไทยมีการแข่งขันเสรีจริงหรือ

โรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศมีทั้งหมด 7 โรง มีกำลังการผลิตได้รวมกันประมาณ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สิงคโปร์ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน) แต่ในจำนวนนี้ ร้อยละ 85 อยู่ในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด

ร้อยละ 34% ของยอดจำหน่ายน้ำมันหน้าปั๊มติดตรา ปตท. บริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับสองมียอดจำหน่ายเพียงประมาณ 12 % เท่านั้น


ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ จะถือว่าเป็นการแข่งขันโดยเสรีได้ไหม? ผมว่าท่านผู้อ่านคงตอบได้

 

คำถามที่สาม ราคาหน้าโรงกลั่นกำหนดจากอะไร

เจ้าของโรงกลั่นในประเทศจะเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น แต่เพื่อให้ดูดี เจ้าของโรงกลั่นจะอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ท่าเรือสิงคโปร์ (ราคาเอฟโอบี)


ถ้าราคาที่สิงคโปร์ลิตรละ 10 บาท (สมมุติ) ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยก็จะกำหนดเป็นลิตละ 10 บาท บวกค่าใช้จ่ายในการขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากสิงคโปร์ (ตัวแทนบริษัทบอกในที่ประชุมกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ว่าประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลหรือ ประมาณ 22 สตางค์ต่อลิตร) การกำหนดราคาส่งออกก็ทำนองเดียวกัน


คนทั่วไปที่ไม่ได้สืบค้นข้อมูลด้วยตนเองอย่างเกาะติดก็จะเชื่อตามนี้ แต่ความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่

 

คำถามที่สี่ ทำไมราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นไทยจึงแพงกว่าสิงคโปร์

ผมพบข้อมูลของทางราชการชิ้นหนึ่ง เมื่อผมนำมาแปลงให้เป็นหน่วยเดียวกันที่เข้าใจง่ายแล้วพบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นไทยแพงกว่าราคาเอฟโอบีในสิงคโปร์ถึงลิตรละ 1.52 บาท (ดีเซลหมุนเร็ว วันที่ 3 มีนาคม 2552) ขอย้ำว่านี่เป็นราคาที่ไม่เกี่ยวกับภาษี


ผู้แทนของบริษัทน้ำมัน แย้งผมว่า การดูราคาน้ำมันจะดูวันเดียวไม่ได้ ต้องดูกันทั้งปี ผมก็กลับมาทำการบ้านเพิ่มเติม โดยการคิดทั้งปี 2550 (ตามที่กระทรวงพลังงานเปิดเผย) ก็พบอาการแบบเดิม คือราคาหน้าโรงกลั่นไทยแพงกว่าสิงคโปร์


มาวันนี้ ผมพยายามตรวจสอบข้อมูลปี 2552 ตามที่กระทรวงพลังงานเปิดเผย เนื่องจากข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่ต้องเสียเวลาในการสืบค้น ผมจึงเลือกเอาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม ข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ยรายสัปดาห์รวม 15 สัปดาห์ติดต่อกัน พบความจริงดังนี้


ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดดูไบลิตรละ 11.20 บาท

ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ท่าเรือสิงคโปร์ลิตรละ 13.47 บาท

แต่ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่หน้าโรงกลั่นไทยลิตรละ 13.88 บาท

น้ำมันเบนซิน 95 ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

ถ้าคิดว่าแพงกว่าเพราะค่าการขนส่งก็ลิตรละ 22 สตางค์เท่านั้น (เขาบอก) แต่นี่มันถึง 41 สตางค์

คนไทยใช้น้ำมันปีละ 4 หมื่นล้านลิตร คิดเป็นเงินก้อนเท่าไหร่ครับ

นอกจากนี้ ผมพบว่า ค่าการกลั่นของไทยแพงกว่ากลุ่มประเทศยุโรปเยอะเลย

 

คำถามที่ห้า คนไทยต้องจ่าย "ค่าขนส่งเทียม" จริงหรือ

ในขณะที่พ่อค้าน้ำมันคิดต้นทุนน้ำมันดิบ โดยการอ้างอิงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแล้วบวกค่าขนส่งจากตลาดโลกเข้ามาเมืองไทยกับน้ำมันดิบทั้งหมดที่เข้าโรงกลั่น แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า ประเทศเราสามารถขุดน้ำมันได้เองภายในประเทศถึงร้อยละ 22 ของน้ำมันดิบที่เข้าโรงกลั่น (อีก 78% เป็นการนำเข้า)


แต่ปรากฏว่า พ่อค้าน้ำมันคิดค่าขนส่งน้ำมันดิบทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์

นี่คือ "ค่าขนส่งเทียม"

ปี 2551 น้ำมันดิบในประเทศไทยที่เข้าโรงกลั่น(ยังไม่รวมคอนเดนเสตที่ได้จากหลุมก๊าซ) ถึง 84 ล้านบาร์เรล คิดเป็นค่าขนส่งเทียมที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงเกือบ 3 พันล้านบาท

 

คำถามที่หก ค่าการตลาดคืออะไร ลิตรละเท่าใด ถูกหรือแพงเกินไป

ค่าการตลาดมี 2 ราคาคือราคากรุงเทพฯและปริมณฑล กับราคาต่างจังหวัด

ค่าการตลาดคือ ราคาหน้าปั๊ม ลบด้วยผลรวมของราคาหน้าโรงกลั่นกับภาษีและเงินกองทุน ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นราคาที่รวมค่าขนส่งแล้ว แต่ในต่างจังหวัดจะคิดค่าขนส่งต่างหาก ค่าการตลาดจึงไม่ใช่กำไรของเจ้าของปั๊ม กำไรของเจ้าของปั๊มเท่ากับค่าการตลาดลบด้วยค่าใช้จ่ายภายในปั๊มและค่าดอกเบี้ย


ผู้แทนของบริษัท ปตท. ชี้แจงในวงเสวนาของวุฒิสภาว่า "ค่าการตลาดที่เหมาะสมอยู่ที่ลิตรละ 1.50 บาท โดยเจ้าของปั๊มได้รับลิตรละ 70-80 สตางค์"


เรื่องนี้ใครรู้จักเจ้าของปั๊มกรุณาสอบถามหาความจริงให้หน่อยครับ ที่ผมทราบมานั้นประมาณ 40 สตางค์เท่านั้น


อย่างไรก็ตาม ผมพบว่า บางช่วง (8 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายน 51) ค่าการตลาดเท่ากับ 3.10 บาทต่อลิตร แต่ในบางช่วง (12 พฤษภาคมถึง 15 มิถุนายน 51) ค่าการตลาดเท่ากับ 1.42 บาท เหตุผลเพราะอะไร ผมไม่ทราบครับ แต่ความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยมาก


ถ้าถามว่าค่าการตลาด 1.50 บาทต่อลิตรนั้นถูกหรือแพงเกินไป ผมคิดว่ารัฐบาลจะต้องเป็นผู้ค้นหาคำตอบมาให้ประชาชน


อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าในประเทศแคนาดา ค่าการตลาดลิตรลิตรละ 1.50 โดยเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี ไม่แกว่งไปแกว่งมาเหมือนบ้านเรา แต่ค่าใช้จ่ายภายในปั๊มน่าจะแพงกว่าในประเทศไทย เพราะค่าครองชีพสูงกว่าบ้านเรา

 

คำถามที่เจ็ด ทำไมพ่อค้าส่งน้ำมันสำเร็จรูปออกในราคาที่ถูกกว่าที่ขายให้คนไทย

จากข้อมูลของทางราชการเช่นเดิม ผมพบว่า ในปี 2551 พ่อค้าส่งน้ำมันสำเร็จรูปออกไปขายในราคา 103.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นจำนวน 77 ล้านบาร์เรล (รวมเป็นเงิน 2.78 แสนล้านบาท) แต่นำเข้ามาในราคา 107.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นจำนวน 14.3 ล้านบาร์เรล


ในปี 2550 ก็ทำนองเดียวกัน ในขณะที่ราคาส่งออกอยู่ที่ระดับ 75.60 แต่ขายภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 79.25 $/บาร์เรล


เรื่องนี้เหมือนกับราคาน้ำตาลทราย ที่คนในประเทศ(ผู้มีบุญ!) ซื้อแพงกว่าราคาส่งออก


ผู้แทนของบริษัท ปตท. อธิบายว่า "น้ำมันส่งออกส่วนหนึ่งเป็นน้ำมันเตาที่ราคาต่ำ ดังนั้นราคาเฉลี่ยจึงต่ำกว่า" ผมกลับมาค้นคว้าใหม่ พบว่าที่ผู้แทนบริษัทพูดก็เป็นความจริง แต่ก็ไม่ยอมบอกสัดส่วนที่แท้จริง


ที่ผมเรียนมาทั้งหมดในข้อนี้ ยังไม่ได้ตอบว่า "ทำไม ราคาส่งออกจึงถูกว่าภายในประเทศ"


ผมคิดเอานะครับว่า "เพราะการส่งออกต้องมีการแข่งขันกับบริษัทอื่น ๆ ในโลก แต่ในประเทศไทยเป็นการผูกขาด (85%) เป็นหมูในอวย"

 

คำถามที่แปด บริษัทน้ำมันควรจะมีกำไรเท่าใด

คำตอบในข้อนี้น่าจะสะท้อนภาพรวมได้ดี จากเอกสารที่ค้นได้จาก http://www.api.org พบว่า กำไรขั้นต้นของบริษัทน้ำมันในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 5.7% แต่ในปี 2551บริษัท ปตท. อยู่ที่ร้อยละ 8.5 บางปีเกือบถึง 10%

ตัวเลขนี้คงบอกอะไรได้ชัดเจนอยู่ในตัว

 

คำถามที่เก้า การแก้ปัญหาราคาน้ำมันของรัฐบาลนี้ถูกต้องตรงประเด็นไหม

ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงจริงครับ แต่ความเป็นธรรมระหว่างผู้บริโภคกับพ่อค้าน้ำมัน ระหว่างเจ้าของปั๊มกับพ่อค้ารายใหญ่ รัฐบาลนี้แกล้งทำเป็นไม่เห็นครับ


ความไม่เป็นธรรมจึงยังคงดำรงอยู่ต่อไป แล้วสังคมนี้จะมีความสงบและสันติสุขได้อย่างไร

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org