Skip to main content
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท


โดยปกติ ผู้ซื้อน้ำมันดีเซลหมุนเร็วต้องจ่ายค่ากองทุนน้ำมันลิตรละ 1.70 บาทและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์ลังงานอีกลิตรละ 0.75 บาท รวม 2.45 บาท ต่อไปนี้ก็ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนทั้งสองนี้จำนวน 0.45 บาทต่อลิตร


การแก้ปัญหาดังกล่าวคงจะสร้างความพอใจให้กับผู้บริโภคในสังคมไทยได้ระดับหนึ่ง แต่ถามว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ที่ตรงประเด็นแล้วหรือ?


ปัญหาราคาน้ำมันจริงๆ แล้วมี 2 ระดับ คือ


ระดับโลก ที่มีการผูกขาดโดยพ่อค้าน้ำมันเพียงไม่กี่ตระกูลที่สัมพันธ์กับนักการเมืองผู้มีอำนาจในการก่อสงครามและตลาดหุ้น ตลาดเงิน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความต้องการและการตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและอื่น ๆ ซึ่งในระดับนี้ประเทศไทยเรารวมทั้งรัฐบาลชุดไหน ๆ ก็คงทำอะไรไม่ได้เลย


ระดับภายในประเทศ กิจการตรงนี้มีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ การจัดซื้อน้ำมันดิบเข้ามารวมทั้งการขุดเจาะเองภายในประเทศ การกลั่น (โรงกลั่น 7 โรง ปัจจุบันมีกำลังการกลั่นได้เกินความต้องการใช้ภายในประเทศประมาณ 30%) การค้าน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นไปยังปั๊มต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนการขายปลีกของปั๊มที่มีอยู่ประมาณ 19,000 ปั๊ม


ปัญหาระดับประเทศนี้แหละที่รัฐบาลต้องมีส่วนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

จะแก้ปัญหานี้ได้จะต้องค้นหาให้ได้เสียก่อนว่า ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ต่อไปนี้เป็นคำถามที่ชวนให้คิด

 

คำถามที่หนึ่ง ใครเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศไทย

คำตอบคือ ผู้ค้าน้ำมันเป็นผู้กำหนด รัฐบาลไม่ได้มีส่วนในการกำหนดราคาแต่อย่างใด ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีและกองทุนเท่านั้น ในวันที่ 6 สิงหาคม รัฐบาลเก็บภาษีและเงินกองทุนกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลิตร 10.18 บาท คิดเป็น 35% ของราคาหน้าปั๊ม


หลายท่านอาจจะไม่เชื่อว่ารัฐบาลปล่อยให้พ่อค้าน้ำมันกำหนดราคาได้เองอย่างเสรี ผมมีหลักฐานจากเอกสารของ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ซึ่งเป็นองค์กรที่อ้างว่าเป็นอิสระและเป็นกลางทางวิชาชีพ) เราสามารถค้นได้จาก www.ptit.org/events/RefineryMargin9May05.pdf พอสรุปได้ว่า

ก่อนปี 2534 รัฐบาลเป็นผู้ตั้งราคาหน้าปั๊มและกำหนดค่าการตลาดเอง โดยยึดหลักการว่าตั้งให้ราคาอยู่ในระดับที่ประชาชนกินดีอยู่ดีและพัฒนาประเทศได้


แต่หลังจากปี 2534 เอกสารชิ้นนี้ (จัดทำในปี 2548) ระบุว่า "ผู้ค้าปลีกเป็นผู้กำหนดราคาให้เป็นไปตามกลไกของการแข่งขันในธุรกิจขายปลีก" อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้เข้าแทรกแซงราคาเป็นครั้งคราว เช่น ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2547 (รัฐบาลทักษิณ)


เป็นเรื่องน่าแปลกครับ ในปี 2551 คนไทยใช้น้ำมันประมาณ 4 หมื่นล้านลิตร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านบาท แต่รัฐบาลกลับไม่ได้เข้ามาควบคุมแต่อย่างใด ได้แต่หวังว่าให้มีการแข่งขันโดยเสรี แต่ในความเป็นจริงเป็นการค้าเสรีจริงหรือ

 

คำถามที่สอง ตลาดน้ำมันไทยมีการแข่งขันเสรีจริงหรือ

โรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศมีทั้งหมด 7 โรง มีกำลังการผลิตได้รวมกันประมาณ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สิงคโปร์ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน) แต่ในจำนวนนี้ ร้อยละ 85 อยู่ในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด

ร้อยละ 34% ของยอดจำหน่ายน้ำมันหน้าปั๊มติดตรา ปตท. บริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับสองมียอดจำหน่ายเพียงประมาณ 12 % เท่านั้น


ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ จะถือว่าเป็นการแข่งขันโดยเสรีได้ไหม? ผมว่าท่านผู้อ่านคงตอบได้

 

คำถามที่สาม ราคาหน้าโรงกลั่นกำหนดจากอะไร

เจ้าของโรงกลั่นในประเทศจะเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น แต่เพื่อให้ดูดี เจ้าของโรงกลั่นจะอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ท่าเรือสิงคโปร์ (ราคาเอฟโอบี)


ถ้าราคาที่สิงคโปร์ลิตรละ 10 บาท (สมมุติ) ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยก็จะกำหนดเป็นลิตละ 10 บาท บวกค่าใช้จ่ายในการขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากสิงคโปร์ (ตัวแทนบริษัทบอกในที่ประชุมกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ว่าประมาณ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลหรือ ประมาณ 22 สตางค์ต่อลิตร) การกำหนดราคาส่งออกก็ทำนองเดียวกัน


คนทั่วไปที่ไม่ได้สืบค้นข้อมูลด้วยตนเองอย่างเกาะติดก็จะเชื่อตามนี้ แต่ความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่

 

คำถามที่สี่ ทำไมราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นไทยจึงแพงกว่าสิงคโปร์

ผมพบข้อมูลของทางราชการชิ้นหนึ่ง เมื่อผมนำมาแปลงให้เป็นหน่วยเดียวกันที่เข้าใจง่ายแล้วพบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นไทยแพงกว่าราคาเอฟโอบีในสิงคโปร์ถึงลิตรละ 1.52 บาท (ดีเซลหมุนเร็ว วันที่ 3 มีนาคม 2552) ขอย้ำว่านี่เป็นราคาที่ไม่เกี่ยวกับภาษี


ผู้แทนของบริษัทน้ำมัน แย้งผมว่า การดูราคาน้ำมันจะดูวันเดียวไม่ได้ ต้องดูกันทั้งปี ผมก็กลับมาทำการบ้านเพิ่มเติม โดยการคิดทั้งปี 2550 (ตามที่กระทรวงพลังงานเปิดเผย) ก็พบอาการแบบเดิม คือราคาหน้าโรงกลั่นไทยแพงกว่าสิงคโปร์


มาวันนี้ ผมพยายามตรวจสอบข้อมูลปี 2552 ตามที่กระทรวงพลังงานเปิดเผย เนื่องจากข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่ต้องเสียเวลาในการสืบค้น ผมจึงเลือกเอาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม ข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ยรายสัปดาห์รวม 15 สัปดาห์ติดต่อกัน พบความจริงดังนี้


ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดดูไบลิตรละ 11.20 บาท

ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ท่าเรือสิงคโปร์ลิตรละ 13.47 บาท

แต่ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่หน้าโรงกลั่นไทยลิตรละ 13.88 บาท

น้ำมันเบนซิน 95 ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

ถ้าคิดว่าแพงกว่าเพราะค่าการขนส่งก็ลิตรละ 22 สตางค์เท่านั้น (เขาบอก) แต่นี่มันถึง 41 สตางค์

คนไทยใช้น้ำมันปีละ 4 หมื่นล้านลิตร คิดเป็นเงินก้อนเท่าไหร่ครับ

นอกจากนี้ ผมพบว่า ค่าการกลั่นของไทยแพงกว่ากลุ่มประเทศยุโรปเยอะเลย

 

คำถามที่ห้า คนไทยต้องจ่าย "ค่าขนส่งเทียม" จริงหรือ

ในขณะที่พ่อค้าน้ำมันคิดต้นทุนน้ำมันดิบ โดยการอ้างอิงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกแล้วบวกค่าขนส่งจากตลาดโลกเข้ามาเมืองไทยกับน้ำมันดิบทั้งหมดที่เข้าโรงกลั่น แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า ประเทศเราสามารถขุดน้ำมันได้เองภายในประเทศถึงร้อยละ 22 ของน้ำมันดิบที่เข้าโรงกลั่น (อีก 78% เป็นการนำเข้า)


แต่ปรากฏว่า พ่อค้าน้ำมันคิดค่าขนส่งน้ำมันดิบทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์

นี่คือ "ค่าขนส่งเทียม"

ปี 2551 น้ำมันดิบในประเทศไทยที่เข้าโรงกลั่น(ยังไม่รวมคอนเดนเสตที่ได้จากหลุมก๊าซ) ถึง 84 ล้านบาร์เรล คิดเป็นค่าขนส่งเทียมที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงเกือบ 3 พันล้านบาท

 

คำถามที่หก ค่าการตลาดคืออะไร ลิตรละเท่าใด ถูกหรือแพงเกินไป

ค่าการตลาดมี 2 ราคาคือราคากรุงเทพฯและปริมณฑล กับราคาต่างจังหวัด

ค่าการตลาดคือ ราคาหน้าปั๊ม ลบด้วยผลรวมของราคาหน้าโรงกลั่นกับภาษีและเงินกองทุน ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นราคาที่รวมค่าขนส่งแล้ว แต่ในต่างจังหวัดจะคิดค่าขนส่งต่างหาก ค่าการตลาดจึงไม่ใช่กำไรของเจ้าของปั๊ม กำไรของเจ้าของปั๊มเท่ากับค่าการตลาดลบด้วยค่าใช้จ่ายภายในปั๊มและค่าดอกเบี้ย


ผู้แทนของบริษัท ปตท. ชี้แจงในวงเสวนาของวุฒิสภาว่า "ค่าการตลาดที่เหมาะสมอยู่ที่ลิตรละ 1.50 บาท โดยเจ้าของปั๊มได้รับลิตรละ 70-80 สตางค์"


เรื่องนี้ใครรู้จักเจ้าของปั๊มกรุณาสอบถามหาความจริงให้หน่อยครับ ที่ผมทราบมานั้นประมาณ 40 สตางค์เท่านั้น


อย่างไรก็ตาม ผมพบว่า บางช่วง (8 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายน 51) ค่าการตลาดเท่ากับ 3.10 บาทต่อลิตร แต่ในบางช่วง (12 พฤษภาคมถึง 15 มิถุนายน 51) ค่าการตลาดเท่ากับ 1.42 บาท เหตุผลเพราะอะไร ผมไม่ทราบครับ แต่ความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยมาก


ถ้าถามว่าค่าการตลาด 1.50 บาทต่อลิตรนั้นถูกหรือแพงเกินไป ผมคิดว่ารัฐบาลจะต้องเป็นผู้ค้นหาคำตอบมาให้ประชาชน


อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าในประเทศแคนาดา ค่าการตลาดลิตรลิตรละ 1.50 โดยเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี ไม่แกว่งไปแกว่งมาเหมือนบ้านเรา แต่ค่าใช้จ่ายภายในปั๊มน่าจะแพงกว่าในประเทศไทย เพราะค่าครองชีพสูงกว่าบ้านเรา

 

คำถามที่เจ็ด ทำไมพ่อค้าส่งน้ำมันสำเร็จรูปออกในราคาที่ถูกกว่าที่ขายให้คนไทย

จากข้อมูลของทางราชการเช่นเดิม ผมพบว่า ในปี 2551 พ่อค้าส่งน้ำมันสำเร็จรูปออกไปขายในราคา 103.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นจำนวน 77 ล้านบาร์เรล (รวมเป็นเงิน 2.78 แสนล้านบาท) แต่นำเข้ามาในราคา 107.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นจำนวน 14.3 ล้านบาร์เรล


ในปี 2550 ก็ทำนองเดียวกัน ในขณะที่ราคาส่งออกอยู่ที่ระดับ 75.60 แต่ขายภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 79.25 $/บาร์เรล


เรื่องนี้เหมือนกับราคาน้ำตาลทราย ที่คนในประเทศ(ผู้มีบุญ!) ซื้อแพงกว่าราคาส่งออก


ผู้แทนของบริษัท ปตท. อธิบายว่า "น้ำมันส่งออกส่วนหนึ่งเป็นน้ำมันเตาที่ราคาต่ำ ดังนั้นราคาเฉลี่ยจึงต่ำกว่า" ผมกลับมาค้นคว้าใหม่ พบว่าที่ผู้แทนบริษัทพูดก็เป็นความจริง แต่ก็ไม่ยอมบอกสัดส่วนที่แท้จริง


ที่ผมเรียนมาทั้งหมดในข้อนี้ ยังไม่ได้ตอบว่า "ทำไม ราคาส่งออกจึงถูกว่าภายในประเทศ"


ผมคิดเอานะครับว่า "เพราะการส่งออกต้องมีการแข่งขันกับบริษัทอื่น ๆ ในโลก แต่ในประเทศไทยเป็นการผูกขาด (85%) เป็นหมูในอวย"

 

คำถามที่แปด บริษัทน้ำมันควรจะมีกำไรเท่าใด

คำตอบในข้อนี้น่าจะสะท้อนภาพรวมได้ดี จากเอกสารที่ค้นได้จาก http://www.api.org พบว่า กำไรขั้นต้นของบริษัทน้ำมันในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 5.7% แต่ในปี 2551บริษัท ปตท. อยู่ที่ร้อยละ 8.5 บางปีเกือบถึง 10%

ตัวเลขนี้คงบอกอะไรได้ชัดเจนอยู่ในตัว

 

คำถามที่เก้า การแก้ปัญหาราคาน้ำมันของรัฐบาลนี้ถูกต้องตรงประเด็นไหม

ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงจริงครับ แต่ความเป็นธรรมระหว่างผู้บริโภคกับพ่อค้าน้ำมัน ระหว่างเจ้าของปั๊มกับพ่อค้ารายใหญ่ รัฐบาลนี้แกล้งทำเป็นไม่เห็นครับ


ความไม่เป็นธรรมจึงยังคงดำรงอยู่ต่อไป แล้วสังคมนี้จะมีความสงบและสันติสุขได้อย่างไร

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น