Skip to main content

ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะการออกเสียงพยัญชนะในภาษาอินโดนีเซียจะแตกต่างจากภาษาอังกฤษบางคำแม้ว่าจะใช้ตัว A B C D เหมือนกัน ดังนี้ค่ะ

A* = อา ตัวนี้เป็นสระ เมื่อไม่มีตัวสะกดจะออกเสียงยาว “อา” แต่ถ้ามีตัวสะกดจะเป็นเสียงสั้น “อะ”
เช่นคำว่า makan อ่านว่า มา-กัน แปลว่า กิน, รับประทาน

B = เบ ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “บ” เช่นคำว่า baca อ่านว่า บา-จา แปลว่า อ่าน

C = เซ ตัวนี้พิเศษค่ะ เมื่อเป็นพยัญชนะเราท่องว่า เซ หรือ เจ ก็ได้ แต่เมื่อประสมเป็นคำ ออกเสียงเหมือนตัว “จ” เช่นคำว่า baca อ่านว่า บา-จา แปลว่า อ่าน

D = เด ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ด” เช่นคำว่า dari อ่านว่า ดา-รี แปลว่า จาก

E* = เอ  ตัวนี้เป็นสระ และพิเศษค่ะ เพราะมีถึงสามเสียงได้เสียง “เอ”, “เออ”, และ “แอ”
เช่นคำว่า perak อ่านว่า เป-รัก แปลว่า เงิน (แร่ธาตุ)
  embun อ่านว่า เอิม-บุน แปลว่า น้ำค้าง
  enak อ่านว่า แอ-นัก แปลว่า อร่อย

F = เอฟฺ ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ฟ” เช่นคำว่า fakta อ่านว่า ฟัก-ตา แปลว่า ข้อเท็จจริง และเมื่ออยู่ท้ายคำต้องออกเสียงด้วยเช่นกัน เช่นคำว่า huruf อ่านว่า ฮู-รุฟฺ แปลว่า ตัวอักษร

G = เกฺ ตัวนี้ออกเสียง “ก” แต่เป็น “ก” แบบหนักๆ เมื่อออกเสียงตัวนี้ ถ้าเอามือจับที่ลำคอจะพบว่าการเกิดสั่นในลำคอ เช่นคำว่า gigi อ่านว่า กี-กี แปลว่า ฟัน

H = ฮา ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ฮ” เช่นคำว่า hari อ่านว่า ฮา-รี แปลว่า วัน และเมื่ออยู่ท้ายคำต้องออกเสียงด้วยเช่นกัน เสียงจะคล้ายๆ กับเวลาติ๊นาร้องเพลงน่ะค่ะ เหมือนเสียงหอบๆ เช่นคำว่า mudah อ่านว่า มู-ดะฮฺ แปลว่า ง่าย

I* = อี ตัวนี้เป็นสระ ออกเป็นเสียง “อี” เช่นคำว่า dari อ่านว่า ดา-รี แปลว่า จาก

J = เจฺ ตัวนี้คนไทยจะออกเสียงสับสนกับตัว C หรือตัว เซ ค่ะ เพราะเมื่อประสมเป็นคำมันออกเสียงเป็น จ เหมือนกัน ตัวนี้จะออกเป็น “จ” แบบหนักสั่นในลำคอ เช่นคำว่า jari อ่านว่า จฺา-รี แปลว่า นิ้ว

K = กา ตัวนี้คนไทยจะออกเสียงสับสนกับตัว G หรือตัว เกฺ ค่ะ เพราะเมื่อประสมเป็นคำมันออกเสียงเป็น “ก” เหมือนกัน ตัวนี้จะออกเป็น ก แบบไม่หนักไม่สั่นในลำคอ เช่นคำว่า kaki อ่านว่า กา-กี แปลว่า ขา, เท้า

L = แอลฺ ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ล” เช่นคำว่า lari อ่านว่า ลา-รี แปลว่า วิ่ง และเมื่ออยู่ท้ายคำต้องออกเสียงด้วยเช่นกัน เช่นคำว่า mahal อ่านว่า มา-ฮัลฺ แปลว่า แพง

M = เอ็ม ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ม” เช่นคำว่า minta อ่านว่า มิน-ตา แปลว่า ขอ

N = เอ็น ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “น” เช่นคำว่า nama อ่านว่า นา-มา แปลว่า ชื่อ

O* = โอ ตัวนี้เป็นสระค่ะ และเป็นตัวพิเศษเพราะมีสองเสียงได้เสียง “ออ” และ “โอ”
เช่นคำว่า orang อ่านว่า ออ-รัง แปลว่า คน
  bodoh อ่านว่า โบ-โดะฮ์ แปลว่า โง่

P = เป ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ป” เช่นคำว่า เป-รัก แปลว่า เงิน (แร่ธาตุ)

Q = คี ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ค” พบไม่มากนัก มันจะใช้กับคำที่มาจากภาษาอาหรับ เช่นคำว่า Quran อ่านว่า คูรฺ-อ่าน แปลว่า คัมภีร์อัลกุลอาน

R = แอรฺ ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ร” ตัวนี้จะเป็นตัวที่คนไทยมีปัญหาในการออกเสียงมากที่สุด ทั้งๆ ที่ภาษาไทยเรามีตัว “ร” ถ้าเป็นพยัญชนะต้น ดิฉันเข้าใจว่าคนไทยส่วนใหญ่ออกเสียงได้ ถ้าบังคับลิ้นตัวเอง เช่นคำว่า dari อ่านว่า ดา-รี แปลว่า จาก   แต่ในภาษาอินโดนีเซียมันมีคำที่ตัว “ร” ไปอยู่ข้างหลัง ซึ่งต้องทำลิ้นรัวท้ายคำ เช่นคำว่า lapar อ่านว่า ลา-ปารฺ แปลว่า หิว

S = เอ็สฺ ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ซ” เช่นคำว่า susu อ่านว่า ซู-ซู แปลว่า นม (เครื่องดื่ม) และเมื่ออยู่ท้ายคำต้องออกเสียงด้วยเช่นกัน เช่นคำว่า putus อ่านว่า ปู-ตุซฺ แปลว่า ตัด, ขาด

T = เต ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ต” เช่นคำว่า teman อ่านว่า เตอ-มัน แปลว่า เพื่อน

U* = อู ตัวนี้เป็นสระ เมื่อไม่มีตัวสะกดจะออกเสียงยาว “อู” เช่นคำว่า utara อ่านว่า อู-ตา-รา แปลว่า ทิศเหนือ แต่ถ้ามีตัวสะกดจะเป็นเสียงสั้น “อุ” เช่นคำว่า putus อ่านว่า ปู-ตุสฺ แปลว่า ตัด, ขาด

V = เฟฺ ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ฟ” เช่นคำว่า visa อ่านว่า ฟี-ซ่า แปลว่า วีซ่า

W = เว ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ว” เช่นคำว่า wanita อ่านว่า วา-นี-ตา แปลว่า ผู้หญิง

X = เอ็กซฺ ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ซ” เวลาออกเสียงตัวนี้จะสั่นในลำคอ ตัวนี้พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะพบในคำที่ใช้ทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เช่น คำว่า xenon อ่านว่า เซ-น็อน แปลว่า ธาตุซีนอน

Y = เย ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “ย” เช่นคำว่า yang อ่านว่า ยัง แปลว่า ที่, ซึ่ง, อัน

Z = แซฺด ตัวนี้ออกเสียงเหมือนตัว “z” ในภาษาอังกฤษ เช่นคำว่า zaman อ่านว่า ซฺา-มัน แปลว่า ยุค, สมัย

สำหรับคราวหน้าจะต่อเรื่องพยัญชนะและสระประสมนะคะ และคำที่ออกเสียงคล้ายๆ กันแต่ความหมายไกลกับลิบโลก เช่นคำว่า muda (มูดา) แปลว่า อ่อน, เยาว์วัย กับคำว่า mudah (มูดะฮฺ) ที่แปลว่า ง่าย
 

บล็อกของ onanong

onanong
 ศัพท์ใหม่ (Kosa kata baru)Negara-negara (เนอการา เนอการา) ประเทศต่างๆ
onanong
 ห่างหายกันไปสักพักใหญ่นะคะสำหรับการสอนภาษาอินโดนีเซียผ่านบล็อก “Selamat Datang” คราวนี้ขอเสนอโครงสร้างประโยคบอกเล่าง่ายๆ ในภาษาอินโดนีเซียค่ะ
onanong
บทสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม Tikar Pandan สถาบันทางวัฒนธรรมพร้อมกับสำนักพิมพ์ที่ไม่แสวงหากำไร และมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนอาเจะห์ ซึ่งเปิดพื้นที่มากกว่าการบอกเล่าแบบที่รัฐผลิตให้วาทกรรมการชื่นชมทหาร  และการบูชาวีรบุรุษของรัฐชาติ หากแต่ประชาชาชนจำนวนมากเช่นกันที่มีประวัติศาสตร์ความเจ็บปวดและเลวร้ายจากทหาร
onanong
 ตามคำเรียกร้องของแฟนบล็อกนะคะ คราวนี้ขอเสนอคำที่แสดงความรู้สึกในภาษาอินโดนีเซียพร้อมกับตัวอย่างการใช้ค่ะ
onanong
 เซอลามัต มาลัม (Selamat malam) สวัสดีตอนค่ำค่ะ ขอยึดเวลา ณ ตอนที่เขียนแล้วกันนะคะ คราวนี้จะขอพูดถึงการนับตัวเลขและลำดับที่ในภาษาอินโดนีเซียนะคะ
onanong
เชื่อว่าชื่อเมืองบันดุง ในประเทศอินโดนีเซียอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่ากับเมืองหลวงอันแสนวุ่นวายอย่างจาการ์ตา, เมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมฮินดูและธรรมชาติอย่างบาหลี หรือเมืองแห่งวัฒนธรรมชวาอย่างย็อกยาการ์ตา ทั้งๆ ที่บันดุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง และมีความเป็นมาน่าสนใจไม่แพ้เมืองอื่นๆ เชียวค่ะ
onanong
 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งเทศกาลเฉลิมฉลอง ทั้งวันคริสต์มาสและกำลังต่อด้วยปีใหม่ ดังนั้นดิฉันก็เลยถือโอกาสพูดถึงการอวยพรในภาษาอินโดนีเซียนะคะ 
onanong
 ในขณะที่ดิฉันกำลังคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีเพื่อคั่นการสอนภาษาอินโดนีเซีย คิดว่าถ้าสอนภาษาอินโดนีเซียทุกอาทิตย์มันจะน่าเบื่อเกินไป วันนี้ (19 ธันวาคม 2012) ก็ได้อ่านสเตตัสของเพื่อนชาวอาเจะห์ที่ใช้ชื่อว่า “Dody Maubelajar” ซึ่งน่าสนใจมาก ดิฉันจึงได้ขออนุญาตเขาแปลมาเผยแพร่ต่อสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์บาดแผลของประเทศอินโดนีเซีย