Skip to main content

โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ อดุล วิเชียรเจริญ เห็นพ้องต้องกันว่า "ตามทฤษฎีการปฏิวัติรัฐประหาร (ของ Kelsen) บรรดาบทกฎหมายในระบอบเดิมเป็นอันหมดสภาพบังคับ โดยผลการปฏิวัติรัฐประหารในเมื่อกฎหมายสิ้นสภาพบังคับ การกระทำอันเป็นความผิดตามกฎหมายจึงไม่เป็นความผิด เมื่อการปฏิวัติรัฐประหารบรรลุผล แต่ในกรณีรัฐประหารโดยคณะราษฎรก็มิได้ถือกันเช่นนั้น ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ สองวันหลังจากที่ได้ลงมือกระทำการ คณะราษฎรขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่วังสุโขทัย กราบบังคมทูลพระกรุณาและก็ได้รับพระราชทานนิรโทษกรรม"[๑] บวรศักดิ์ จึงสรุปว่า "การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี ๒๔๗๕...ต้องถือว่าเป็นความต่อเนื่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์...โดยพระมหากษัตริย์เองทรงสร้างความต่อเนื่องนี้...แม้การตรารัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕...ก็เป็นความต่อเนื่องของอำนาจสูงสุดตามกฎหมายเช่นกัน"[๒]

๑.การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรนั้น เราต้องแบ่งระยะเวลาออกเป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงก่อนสถาปนารัฐธรรมนูญ (๒๔-๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕) และช่วงสถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิม (๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ เป็นต้นไป)

คณะราษฎร โดย "คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร" (ในฐานะผู้ทรงอำนาจที่แท้จริงของรัฐ - หน่วยอำนาจอธิปไตยเคลื่อนจาก "กษัตริย์ เปลี่ยนไปยัง "คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร" เสียแล้ว)[๓] ในระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ คณะราษฎรไม่มุ่งออก "ประกาศคณะราษฎร" เพื่อ "ยกเลิกกฎหมายในระบอบเก่า" หรือเพื่อ "นิรโทษกรรมตนเอง" และ "ไม่มีการปฏิวัติใดที่ไม่ประกอบไปด้วยการกระทำผิดกฎหมาย"[๔]

๒.จะเห็นได้ว่า คณะราษฎรได้เข้ามาจัดการ "ลบล้าง" บรรดากฎหมายที่ขัดต่อระบอบประชาธิปไตย (รัฐธรรมนูญ) โดยอาศัยกระบวนการทางนิติบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสถาปนาขึ้น "ตามกลไกในระบอบการปกครองใหม่หลังสถาปนารัฐธรรมนูญ" (๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕) และกษัตริย์ก็อยู่ใต้รัฐธรรมนูญตาม Pacte (สัญญาที่ตกลงจะสถาปนารัฐธรรมนูญร่วมกันและอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ : หากกษัตริย์ผิดข้อสัญญา คณะราษฎรก็ย่อมทรงสิทธิ์บอกเลิกสัญญา)

๓.เราต้องไม่ลืมว่า คณะราษฎรจะสถาปนารัฐธรรมนูญแบบ Pacte (คือ โดยความตกลงกับกษัตริย์ เว้นแต่กรณีกษัตริย์แข็งขืนจึงจะเปลี่ยนระบอบแบบไม่มีประมุขเป็นกษัตริย์) ตามที่ประกาศใน "ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑" - นั่นหมายความว่า หากคณะราษฎร "รีรอ" ให้ "สถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิม" ขึ้นแล้วค่อยตรากฎหมายนิรโทษกรรม ตาม "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕" ซึ่งมีบทบัญญัติให้กษัตริย์ veto กฎหมาย(ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วก่อนประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา : ในทางวิชาการเรียกว่า "กฎหมายก่อนประกาศใช้") เป็นเวลาถึง ๗ วัน ล่วงระยะเวลาดังกล่าวไปแล้วสภาจึงสามารถมีมติยืนยันกฎหมายก่อนประกาศใช้และนายกรัฐมนตรีนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ - อันเป็นอุปสรรคระหว่าง ๗ วัน "ที่ต้องรอ" นั้นว่า หลังจากสถาปนารัฐธรรมนูญไปแล้ว บรรดาคณะผู้ก่อการฯ จะถูกคณะกษัตริย์โต้อภิวัฒน์ โดยให้บุคคลใดก็ได้ไปฟ้องศาล แล้วบรรดาผู้พิพากษา(ซึ่งสืบทอดทัศนคติมาจากระบอบเก่ายังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้น) เร่งพิพากษาลงโทษคณะผู้ก่อการฯ ไปเสียอย่างเร่งรัดกระบวนพิจารณา (และกษัตริย์ก็เชียร์ด้วย) เช่นนี้ ย่อมส่งผลให้ "เสียกระบวน" ของการอภิวัฒน์ ฉะนั้นจึงต้องนิรโทษกรรม (ประชาธิปก ตราพรก.นิรโทษกรรม ในวันที่ ๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕ ก่อนสถาปนารัฐธรรมนูญ ระหว่างนั้นอำนาจที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ประชาธิปกแล้ว หากแต่อำนาจอธิปไตยขณะนั้นเคลื่อนไปสถิตย์อยู่ที่ "คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร" ในช่วง transition ของระบอบ)

๔.แม้ว่าในทางทฤษฎี (กฎหมายบริสุทธิ์ - ของ Hans Kelsen) "Revolution" ก่อให้เกิดระบบกฎหมายขึ้นมาใหม่ ฉะนั้น ผู้ก่อปฏิวัติจึงไม่ผูกพันตนกับระบบกฎหมายของระบอบเก่า - ถ้าคณะราษฎรไม่นิรโทษกรรมตนเองเลย โดยคิดเห็นว่า "องค์กร/กลไกในระบบกฎหมายเดิม" นั้น "จะบริสุทธิ์" ตามทฤษฎีเช่นว่านั้น คงเป็นความไร้เดียงสาจนเกินไป เนื่องจากบรรดาผู้ปฏิบัติการทางกฎหมายของระบอบเดิม ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่นั่นเองในทางปฏิบัติ ซึ่งบุคคลากรเหล่านี้อาจ "ถูกพิพากษาลงโทษ" เมื่อใดก็ได้ เช่นนี้การปฏิบัติตามแนวทางอภิวัฒน์ในภายหน้าย่อมไม่เกิดความมั่นคงชัดเจน หรือความเชื่อถือไว้วางใจในระบบกฎหมายของผู้ปฏิบัติการได้เลย และถ้าจะไปนิรโทษกรรมภายหลังก็จะเผชิญปัญหาดังที่ไปอธิบายไปแล้วในข้อ ๓

๕.สำหรับการเข้า "ขอขมาประชาธิปก" ของคณะผู้ก่อการฯ นั้น หากจะคิดอธิบายให้ "คณะราษฎร" ก็คงกล่าวได้ว่า นั่นเป็น "ส่วนหนึ่ง" ของการพยายามทำ Pacte เพื่อสถาปนารัฐธรรมนูญในรูปแบบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ (เป็นส่วนหนึ่งของการประนีประนอมของคณะราษฎร เพื่อไม่ก่อตั้งสาธารณรัฐตามที่ประกาศเป็น "เงื่อนไขสุดท้าย" ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑)

๖.การประนีประนอมครั้งสุดท้ายก่อนสถาปนารัฐธรรมนูญแสดงออกให้เห็นถึง "การยอม" ให้ ประชาธิปก เพิ่มเติม "บทเฉพาะกาล" (provisoire)[๕] ลงไปในรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ โดยการเพิ่มคำว่า "ชั่วคราว" เพื่อแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาอย่างชัดแจ้งที่จะให้รัฐธรรมนูญฉบับดั้งเดิมนี้มีผลบังคับใช้ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น

๗.เราจึงไม่อาจกล่าวได้เลยว่า "บรรดาการกระทำระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕" เป็นการสืบเนื่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะอำนาจอธิปไตยของประชาธิปกได้ถูก "ยึดอำนาจคืน" (ในทางข้อเท็จจริง) โดยคณะราษฎรได้ทวงคืนอำนาจสูงสุดมาคืนแก่เจ้าของอำนาจเดิมนั้นก็คือ "ปวงชน" (ซึ่งอำนาจสูงสุดนั้นได้ถูกกษัตริย์ทึกทักแย่งชิง (usurpation) อำนาจนั้นไปเป็นของกษัตริย์มาช้านาน แท้จริงแล้วอำนาจนั้นเป็นของราษฎรทุกคนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ) โดยยืนยันอำนาจสูงสุดนั้นผ่านเอกสารทางกฎหมายที่เรียกว่า Constitution (รัฐธรรมนูญ) ในทางข้อเท็จจริง บรรดาอำนาจใด ๆ ที่ประชาธิปกใช้นั้น เป็นการใช้ "อำนาจที่ได้รับมอบหมาย"[๖] มาจาก "คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร" ทั้งสิ้น หาใช่พระราชอำนาจดั้งเดิมของกษัตริย์ไม่ การสถาปนารัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕ จึงไม่ใช่ Octroi (การแสดงเจตนาฝ่ายเดียว - ของกษัตริย์) ตามที่มีผู้พยายามอธิบายอย่าง "ทึกทักเอาเอง" แต่ประการใด.
___________________________

เชิงอรรถ

[๑] บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม ๒: การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐, หน้า ๒๓๔.

[๒] เพิ่งอ้าง, ๒๓๕.

[๓] ดูรายละเอียดใน ไพโรจน์ ชัยนาม, รัฐธรรมนูญ: บทกฎหมายและเอกสารสำคัญในทางการเมืองของประเทศไทย, เล่ม ๑, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๑๙, หน้า ๑๐๗-๑๑๑.

[๔] สายหยุด แสงอุทัย, วิชาการเมือง. ม.ป.ท. ๒๔๘๒, หน้า ๓๐-๓๑. (ปัจจุบันเทียบเป็นตำราหลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น).

[๕] Vishnu VARANYU, Les Sources nationales et étrangères du constitutionnalisme thaïlandais depuis 1932 : recherche sur l'instabilité constitutionnelle en Thaïlande, Thèse pour le Doctorat d'Etat en Droit public, Paris 2, 1987. p.93.

[๖] ดูคำอธิบายเพิ่มเติมใน พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย: ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕, ใน เว็บไซต์คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร « http://www.enlightened-jurists.com/page/278 »

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ