Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

ฐาปนา
ณ วงกาแฟ (กระป๋อง) ยามเช้า ตาผวน ลุงใบ และ ตาสุข สามเฒ่านั่งเสวนาเปรียบเทียบเรื่องข้าวกับเรื่องการเมือง “ข้าว่า เรื่องข้าวมันก็เหมือนเรื่องการเมืองนั่นแหละ” ตาสุข เปิดประเด็น “อธิบายที?” ลุงใบถาม “เวลาปลูกข้าว เราก็ต้องเลือกพันธุ์ดีๆ ใช่มั้ยล่ะ ถ้าข้าวพันธุ์ดีก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใส่ยามาก ทดน้ำเข้านาอย่างเดียว มันก็งอกงาม แต่ข้าวพันธุ์แย่ๆ มันก็ต้องใส่ปุ๋ยหลายกระสอบ ฉีดยาหนักๆ แต่พอโตก็ดันเม็ดลีบ ทำให้ข้าวเสียราคาป่นปี้หมด การเมืองมันก็อย่างเดียวกันละว้า... ถ้าได้คนดีๆ ไปมันก็ไม่โกงกินมาก มันก็ทำงานของมันไป ดีๆ ชั่วๆ อย่างน้อยมันก็บริหารของมันได้ แต่ถ้าได้ไอ้พวกเลวๆ ไป มันก็โกงมันก็กิน ไม่รู้จักสิ้นสุด แล้วพอมันออกไป มันก็พลอยทำบ้านเมืองแย่ไปด้วย” ตาสุขว่าแบบปรัชญา
คนไม่มีอะไร
  แลนด์บริดจ์ ทางลัดสู่เศรษฐกิจ หรือทางตันสำหรับชาวปากบารา                  ตามที่เราทราบโดยทั่วกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) จะเน้นพื้นที่การพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯน ได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ต่างๆ                 1. การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้                2. การพัฒนาพื้นที่  5  จังหวัดชายแดนภาคใต้                3. แผนงานพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่าย (อินโดนีเชีย-มาเลเชีย-ไทย)                โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard: SSB) เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ถูกกล่าวขานกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสิบๆ ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ยุคสมัยท่านชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ทำการอนุมัติโครงการนี้ ซึ่งครอบคลุ่มพื้นที่ 5 จังหวัดบริเวณภาคใต้ตอนกลางประกอบไปด้วยจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช รัฐบาลได้ริเริ่มดำเนินการขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2532 โดยมีแนวคิดที่จะก่อสร้างเป็นสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างทะเลฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย (Land bridge) หรือแลนด์บริดจ์ ด้วยการสร้างท่าเรือน้ำลึก ถนน ทางรถไฟ ท่อส่งน้ำมัน และท่อส่งก๊าซ เพื่อให้เกิดเส้นทางการขนส่งในระดับนานาชาติเส้นทางใหม่ที่มีระยะทางสั้นกว่าเดิม                 แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาพื้นที่  5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยจังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สำหรับพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างอยู่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย (IMT-GT) หรือที่รู้จักกัน สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เส้นทางที่จะสร้างเป็นสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างทะเลฝั่งอันดามัน กับฝั่งอ่าวไทย หรือแลนด์บริดจ์                 กระบี่-ขนอม เป็นเส้นทางแรกที่เชื่อมโยงทางฝั่งทะเลอันดามัน และทางฝั่งอ่าวไทย ซึ่งที่รู้จักกันเป็นถนน SSB 44 ถนนสายนี้พร้อมที่จะว่างท่อส่งก๊าซ และพร้อมที่จะรองรับอุตสาหกรรมเหล็ก  ปิโตรเคมีและพลังงาน ตามแผนหลักของแผนพัฒนาเซาเทิร์นซีบอร์ด                 ทับละมุ-สิชล โครงการเส้นทางยุทธศาสตร์พลังงาน (Strategic Energy Landbridge) และโครงการจัดตั้งคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี หรือ SELB ทางชายฝั่งทะเลอันดามันกินพื้นที่ทับละมุ จังหวัดพังงา และทางฝั่งอ่าวไทยกินพื้นที่ของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็เป็นการพัฒนา "สะพานเศรษฐกิจ" และถือว่าเป็นโครงการหลักตามแผนพัฒนาเซาเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งเส้นทางนี้ได้ขับเคลื่อนในช่วงยุคสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ประมาณเดือนกันยายน 2546 และโครงการนี้ต้องชะงักเพราะเกิดภัยพิบัติสึนามิ                ปากบารา-สงขลา โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ทางฝั่งทะเลอันดามัน เชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึกจังหวัดสงขลาทางด้านอ่าวไทย เพื่อให้เป็นประตูการค้าฝั่งทะเลอันดามัน ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ (Logistics Master Plan) โครงการนี้กำลังได้รับความสนใจในตอนนี้ หลังจากกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่บุโบย จังหวัดสตูล เมื่อปี 2540 และได้ทำการศึกษาทบทวนกันใหม่ เพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ปากบาราเปรียบเทียบกับพื้นที่บริเวณบุโบย และเมื่อปี 2546 แล้วพบว่าบริเวณพื้นที่ปากบารา อำเภอละงู มีความเหมาะสมมากกว่า                 เพื่อที่จะพัฒนาท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเลของภาคใต้ที่เชื่อมโยงกับการขนส่งระหว่างภูมิภาคต่างๆ ของโลก รวมทั้งพัฒนาพื้นที่รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งหลายรูปแบบเพื่อส่งเสริมการลงทุนและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค                 เราจะเห็นได้ว่าแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ ที่มีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นตามมาหรือเกือบจะทุกโครงการที่เกิดขึ้นมักจะส่งผลกระทบต่อชุมชน ทรัพยากรในชุมชน และสภาพแวดล้อมโดยรอบ แต่เมื่อมีการคัดด้านขึ้นมาก็จะถูกมองว่าเป็นการคัดค้านของคนส่วนน้อย ขัดขวางการพัฒนาและความเจริญของประเทศ ทั้งๆ ที่บุคคลส่วนน้อยเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ดังกรณีโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และยังมีอีกหลายโครงการที่ต้องประสบปัญหาแบบนี้                 ในส่วนกรณีท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่เชื่อว่าจะกลายเป็น สะพานเศรษฐกิจ สำหรับเชื่อมโยงระหว่างทะเลฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย หรือแลนด์บริดจ์ และเพื่อที่ให้เป็นประตูการค้าระดับโลก สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม รายงานโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดทำแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ (Logistics Master Plan) ขึ้น เพื่อที่จะเปิดตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกา เป็นทางตรงไปสู่ช่องแคบมะละกา ซึ่งกำลังเป็นประเด็นร้อน สำหรับชุมชนหลอมปืน ชุมชนปากบาราในขณะนี้ ข้อมูลโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา                โครงการจะเกิดขึ้นแถวบริเวณชาดหาดปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 4-5 กิโลเมตร โดยจะมีการถมที่ลงไปในทะเลเพื่อให้เป็นเกาะ ขนาดพื้นที่ กว้าง 430 เมตร และยาว 1,100 เมตร หรือ 292 ไร่ และมีการสร้างสะพานเป็นถนน 4 ช่องจราจร ขนาดกว้างของเสา 25 เมตร สูงจากระดับน้ำ 2 เมตร ในบริเวณช่วงกลางสะพานจะสูง 4.5 เมตร เพื่อที่จะให้เรือลอดผ่านไปได้ ต้องขุดร่องน้ำลึกลงไปอีกประมาณ 14 เมตร ปากร่องน้ำกว้าง 180 เมตร ด้วยข้อมูลของโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ระดับนานาชาติ สามารถที่จะรองรับเรือสินค้าที่มีน้ำหนัก 50,000-70,000 ตัน ภายในบริเวณที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกก็จะประกอบไปด้วยลานกองสิน้า ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อรองรับสินค้าที่จะบรรจุลงไป สถานีบรรจุตู้สินค้า อาคารซ่อมบำรุง เครื่องมืออุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า อาคารศุลกากร และสำนักงานเป็นต้น และหลังจากได้เปิดใช้ไปแล้วสักระยะหนึ่งประมาณ 5 ปี ก็จะต่อเติมเพื่อรองรับการขยายตัวที่จะเกิดขึ้นภายใน 25 ปี หลังจากสร้างเสร็จจะคืนทุนกลับมา นอกจากนี้พร้อมกับจะสร้างถนนเชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกปากบารากับท่าเรือน้ำลึกสงขลา เพื่อการขนส่งสินค้าทางบก และสร้างทางรถไฟจากอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มาเชื่อมกับท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพื่อขนส่งสินค้าทางรางด้วย โครงทั้งหมดนี้อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน                 ด้วยโครงการที่จะเกิดขึ้นในชุมชนปากน้ำ ชุมชนหลอมปืน และชุมชนโดยรอบที่ต้องเจอปัญหาอยู่ในตอนนี้ ถือได้ว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่มาก และขนาดของท่าเรือน้ำลึกคาดว่าน่าจะกินเนื้อที่อันอุดมสมบูรณ์ของอ่าวปากบาราเกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นที่หากินของชาวบ้านในหน้ามรสุม ซึ่งบริเวณดังกล่าวชาวบ้านจะเรียกกันว่า "ซุปเปอร์มาเก็ต" ของชุมชนแห่งนี้                 ซุปเปอร์มาเก็ตแห่งนี้สามารถที่จะเลี้ยงชีวิตครอบรัวชาวประมงพื้นบ้านในบริเวณโดยรอบในหน้ามรสุมประมาณ 28 หมู่บ้าน โดยมีเรือประมงชายฝั่ง 500 กว่าลำ แล่นเข้า แล่นออกบริเวณดังกล่าว                 หากโครงการนี้เกิดขึ้นวิถีชีวิตชาวบ้านต้องเปลี่ยนไป ที่เห็นได้ชัดเรื่องการทำมาหากิน การประกอบอาชีพ จะทำการประมงต่อไปก็ทำไม่ได้ อาจจะต้องอพยพครัวเรือนด้วยซ้ำเพราะว่าหลังจากการสร้างท่าเรือเสร็จ ก็จะเกิดนิคมอุสาหกรรมตามมาซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นจุดไหน                ทรัพยากรของชุมชนก็ต้องหายไปด้วย แหล่งเพาะพันธุ์ปลาบริเวณป่าโกงกางหน้าอ่าว บริเวณแนวเดียวกันกับเกาะกลางทะเล โครงการขนาดใหญ่แบบนี้ต้องส่งผลกระทบไปยังแหล่งท่องเที่ยวความสวยงามทางด้านทรัพยากรในพื้นที่อุทยานหมู่เกาะเภตราก็จะค่อยๆ หมดไป จนในที่สุดก็ไม่เหลือความสวยงามให้เห็น                        "ผมอยากให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลมากกว่าที่ผ่านมา ชาวบ้านหรือชุมชนสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้านมากกว่านี้ ข้อมูลการสำรวจผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน เช่นจำนวนเรือของชาวบ้านที่ตรงกับความเป็นจริงไม่ใช่จาก 200 กว่าลำ (ยังไม่ร่วมเรือประมงของหมู่บ้านรอบนอก) กลายเป็น 80 ลำ และอาชีพของชาวบ้านที่ถูกต้องเพราะชาวบ้านที่นี้ประกอบอาชีพประมงเป็นหลักไม่ใช่ค้าขายเป็นหลัก และผมเองรู้ว่าโครงการที่จะเกิดมันมีผลกระทบแน่ๆ ผลกระทบทางด้านอาชีพ ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรของชุมชน วิถีชีวิตของชุมชน และที่สำคัญผลกระทบทางด้านจิตใจ เพราะว่าเราเห็นตัวอย่างทางโทรทัศน์จากกรณีโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย จังหวัดสงขลา จากเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาผุด จังหวัดระยอง เหมือนเราเห็นอนาคตของตัวเองอยู่ข้าง ผมไม่อยากให้มัน(ท่าเรือน้ำลึก)เกิดขึ้นที่ปากบาราเลย"   นายยายา                ตรุรักษ์  (บังยา)  กล่าว ชุมชนจะอยู่อย่างไร?            ทะเลไม่ใช่เพียงแค่เป็นแหล่งน้ำเค็มเท่านั้น แต่มันเป็นขุมทรัพย์และมรดกของคนที่นี้ สืบทอดกันมาไม่รู้กี่ชั่วอายุคนมาแล้ว และคงจะสืบทอดกันต่อไป ถ้าไม่ใครคิดจะทำลายทะเลแห่งนี้             หลังจากได้ลงพื้นที่และทราบข้อมูลของโครงการคร่าวๆ รู้สึกว่าชุมชนแห่งนี้น่าเป็นห่วง ถ้าหากโครงการเกิดขึ้นคำว่า "ชุมชน" คงไม่เหลือให้เห็นอีกแล้ว วิถีชีวิตแบบประมงพื้นบ้านคงหายไป แต่ก็นั้นแหละถ้าหากพวกเรามั่วแต่นั่งดูนอนดู แล้วใครจะมาช่วยเราพวกเรา ต้องมาช่วยกันแล้วคำว่า "ชุมชน" จะกลับมาเป็นของชาวบ้านอีกครั้งในส่วนของโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ยังหาข้อยุติไม่ได้แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ตามมาตราที่ 67 ได้รองรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้ามีโครงการใดที่มีผลกระทบต่อประชาชน หรือชุมชน ประชาชนและชุมชนมีสิทธิ์ที่จะประเมิน และหาแนวทางรวมกันกับองค์กรหรือหน่วยงานที่จะมาเกี่ยวข้อง ถ้าหน่วยงานหรือองค์กรนั้นไม่รับฟังความคิดหรือแนวทางของชาวบ้าน ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะฟ้องได้ เหมือนกับกรณีของชาวสะกอม จังหวัดสงขลา สิ่งที่คิดว่าน่าจะทำก่อนโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา1. อยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบหันกลับไปดูโครงการที่ผ่านๆ มา ว่ามันส่งผลอะไรบ้าง ต่อชาวบ้าน ต่อชุมชน และประเทศชาติได้ผลประโยชน์คุ้มกับการลงทุนหรือเปล่า เช่นกรณีเขตนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด จังหวัดระยอง กรณีโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 2. เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับฟังข้อมูล และการขับเคลื่อนของโครงการว่าไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว ก่อนที่จะสร้างท่าเรือ อยากให้รัฐมาฟังเสียงของชาวประมงพื้นบ้านด้วยอย่างน้อยก็จะได้รู้ว่า พวกเราเดือดร้อนอย่างไร และต้องการแนวทางแบบไหน เพื่อที่จะเดินด้วยกันได้ อย่ามองว่าชาวประมงพื้นบ้าน หรือชาวบ้านชอบประท้วง แหล่งข้อมูลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)เวทีระดมความคิดเห็นการศึกษาประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีโครงการท่าเทียบเรือปากบารา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551 (เอกสารสรุปการประชุม)กรอบแนวคิดการพัฒนาภาคใต้ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกียวกับแผนงานพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาใต้, มิถุนายน 2551 (เอกสารประชาสัมพันธ์)                         
คนไร้ที่ดิน
  สมจิต  คงทนกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (โลโคลแอค)เมื่อชาวบ้านถูกฟ้องคดี"ก่อนถูกฟ้องคดีเขาเป็นคนขยัน พอถูกจับและยึดที่ดินไป  ซึ่งเป็นที่ดินที่เขาสองคนผัวเมียได้อยู่อาศัยทำกินกันมายาวนาน เขากลายเป็นคนคิดมาก ควบคุมสติตัวเองไม่ได้  ทุบตีเมียตัวเอง และเคยคิดฆ่าตัวตาย จนกลายเป็นปัญหาครอบครัว สุดท้ายก็ต้องแยกทางกัน  ส่วนลูก 2 คนก็แบ่งกันไปคนละคน"  นางเหิม เพชรน้อย ชาวบ้านตำบลบ้านนา จังหวัดพัทลุง เล่าถึงชะตากรรมชีวิตของเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่งที่ถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า หรือ เทือกเขาบรรทัด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดพัทลุง ตรัง และนครศรีธรรมราช
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ความน่าสนใจของท้องฟ้าก่อนพายุจะมาหรือสตอม เซอจ ที่ คุณดินยา ได้เขียนเป็นข้อมูลเอาไว้ เร้าให้ผมเกิดแรงบันดาลใจที่จะบันทึกภาพ ท้องฟ้าก่อนพายุจะมา ภาพเหล่านี้ถ่ายระหว่างวันที่ 25-30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ขณะที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องคลื่นพายุซัดฝั่ง บริเวณอ่าวไทยเมืองแม่กลอง ... ... จู่ๆ ท้องฟ้าที่เคยสดใสกลับมืดครึ้ม กลุ่มเมฆก่อตัวอย่างฉับพลันกลืนแสงอาทิตย์ มองดูแล้วพูดไม่ถูกว่ามีความรู้สึกอย่างไร สีสันของเมฆเขียวครามแต้มอากาศสีเทา ฝนตั้งเค้าในที่ไกลๆ ท้องฟ้า ...ท่าจะไม่เงียบเหงาอีกต่อไป
ชาน่า
สวีดัด สวัสดีค๊าคุณขา (ดัดเสียงให้สวนกระแสเรื่องเศร้าๆ ทางการเมืองนะฮ้า) กลับมาเมืองไทยนานทีปีละหนสองหน กลับมาคราวนี้มีหลายเรื่องต้องให้ติดตาม ข่าวบ้านการเมือง ร้ายๆ แรงๆ ยังไงๆ ชาน่าเป็นห่วงทุ๊กกกกกกกกกก ทุกคน ไม่ว่าคุณจะอยู่ฝ่ายไหนก็ตาม ชาน่าอยู่ฝ่ายไทยเลือดไทยทั้งแท่ง... “ความรุนแรงไม่ได้เป็นทางออกของปัญหานะคะ” เลือดไทยด้วยกันอย่าทำร้ายทำลายกันเลยนะ .... แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตของเราต้องดำเนินเดินทางต่อไปค่า เจตนารมย์และความมุ่งมั่นในการทำหนังสือเพื่อการกุศลของชาน่ากับเพื่อน ๆ นั้นยังไม่หยุด เราจะเดินหน้าต่อไปไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม กลับมาเรื่องของชาวเรากันบ้าง (ห้ามกันได้ซะที่ไหนหละคร๊า) พอกลับมาพักร้อนช่วงเวลาสั้นๆ สองเดือน งานเข้ามาอยู่เป็นนิจ ส่วนมากจะทำเพื่อสนองความสุข โดยเฉพาะการกุศล ขอให้บอก... ชาน่าได้รับการติดต่อให้ไปร่วมงานประกวดของน้องๆ สาวผมสั้น หรือเรียกภาษาชาวเราว่า มิสหัวโปก แต่คราวนี้คุณขา จะให้มาเดินสวย โอ้ละนอ สวมนอยิ่งกว่าแรด กระซู่ อย่างเดียวเหมือนนางงามตามต่างจังหวัดก็ใช่เรื่อง เขาจึงจัดให้เข้ากับคอนเซปต์ Pok Model ในวันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม ที่ผ่านมา
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ระบอบการเมือง                ที่ดีที่สุดในโลกนี้มี                                   หรือไม่มีถ้าหากมี                          แล้วถูกขยำขยี้ทิ้งไปยัง สามารถพลิกฟื้น           กลับคืนมาใหม่ เพราะมันเป็นเพียงแบบแผน ที่ไร้ชีวิตจิตใจถูกขยำขยี้ทิ้งไป                สักกี่ครั้ง ( เช่น ประชาธิปไตย )ถึงคราวจำเป็น                   ต้องหวนคืนกลับไปใช้ร่างขึ้นมากำหนดใหม่          ยังได้คืนเหมือนเดิม แต่ ชีวิตคน                       แม้เพียง หนึ่ง คนไม่ว่า                               ฝ่ายใดมาดแม้น                          มีอันเป็นไปเหมือนดั่งใบไม้                 ถูกเด็ดออกจากขั้ว ระบอบการเมือง                ใดใดที่ดีที่สุด                          ในโลกนี้ ( หรือโลกหน้า )ก็ไม่อาจ                         ชุบชีวิตเข าผู้ตายแล้ว ฟื้น             กลับคืนมาใหม่ - เหมือนระบอบแบบแผนที่ไร้ชีวิต ทำไม เขาผู้เป็นประชาชน    จึงต้องเป็นคนแรกและเป็นคนสุดท้าย            ที่ต้องสิ้นชีพสังเวยทั้งฝ่ายชนะ                     และผู้ปราชัยในเกมการต่อสู้                 ทุกยุคทุกสมัย ทำไม ทำไม ทำไม           พวกเขาจึงต้องเป็นคนแรก            และเป็นคนสุดท้ายที่ต้อง ตาย ตาย ตาย        ตาย ตาย ตาย ตาย ตาย ตาย ตาย ตาย...เมื่อผู้นำทั้งสองฝ่าย          มิอาจตกลงกันได้ – ด้วยสันติวิธี ทำไม...             กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
สวนหนังสือ
 นายยืนยง  ชื่อหนังสือ : มาลัยสามชาย ผู้เขียน : ว.วินิจฉัยกุล ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2550 จัดพิมพ์โดย : บริษัท ศรีสารา จำกัด หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะส่งผลกระทบหรือสะท้อนนัยยะใดบ้าง เป็นเรื่องที่น่าจับตาอีกเรื่องหนึ่ง แม้รางวัลจะประกาศนานแล้ว แต่เนื้อหาในนวนิยายจะยังคงอยู่กับผู้อ่าน เพราะหนังสือรางวัลทั้งหลายมีผลพวงต่อยอดขายที่กระตือรือร้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะประเภทวรรณกรรม เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ โดยในปีนี้ นวนิยายเรื่อง มาลัยสามชาย ผลงานของ ว.วินิจฉัยกุล ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2551 น่าสังเกตว่า นวนิยายเรื่องนี้เขียนขึ้นภายใต้เจตนาของนักเขียน เพื่อจะยกย่องผู้หญิงที่ผ่านชีวิตสมรสมาแล้ว 3 ครั้ง แต่ยังสามารถครองตัวให้เป็นที่ยอมรับนับถือ และคงไว้ซึ่งยศฐานบรรดาศักดิ์ เกียรติยศของวงศ์ตระกูล ข้อนี้ปรากฏชัดเจนตั้งแต่ตอนเปิดเรื่อง ที่ตัวละครใน 2 ตระกูล ต้องการเป็นฝ่ายเก็บอัฐิของลอออร (นางเอกของเรื่อง) ราวกับอัฐิของคนคนนี้จะเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรีให้วงศ์ตระกูลของตน สร้างความฉงนสนเท่ห์ให้กับผู้อ่านตั้งแต่แวบแรกเลยทีเดียว
สร้อยแก้ว
โขงเจียมคือชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นเมืองที่เห็นพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยามเพราะอยู่ทิศตะวันออกสุดของประเทศ และยังเป็นที่รู้จักอีกในฐานะที่มีแม่น้ำสายสำคัญของอีสานสองสายมาบรรจบคือแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขง จุดที่บรรจบกันนั้นเรียกกันอย่างไพเราะว่า แม่น้ำสองสี โขงสีขุ่น มูลสีคราม (แต่ตอนนี้ขุ่นทั้งคู่ หากอยากเห็นมูลสีครามน่าจะเป็นช่วงหน้าแล้ง) โขงเจียมมีฐานะเป็นอำเภอ แต่อำเภอนี้เล็กเหมือนหมู่บ้าน ค่ำมาราวสักสองทุ่มก็เงียบแล้ว บางบ้านเข้านอน บางบ้านอาจจะยังนั่งพูดคุยกันอยู่หน้าบ้าน แต่คุยกันอย่างเงียบๆ ไม่กระโตกกระตาก สงบดีเหลือเกิน เพราะร้านค้าที่มีเสียงเพลงอยู่นอกเขตชุมชน ซึ่งอาจโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามที่ทำให้ร้านอาหารที่มีดนตรีเล่นเพียงร้านเดียวของอำเภอไปตั้งริมสะพานนอกเมือง มันจึงกลายเป็นการแบ่งโซนที่อยู่อาศัยอย่างถูกที่ถูกทางที่สุด
แพร จารุ
พ่อหมื่นแก่ฝายคนสุดท้าย นัดพบที่หน้าฝายพญาคำ ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน เวลา 10.00 น. ร่วมทำพิธีสืบชะตาอีกครั้ง ชาวบ้านยอมให้มีการสร้างประตูระบายน้ำแล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทุบห้ามรื้อฝายโบราณทั้งสามฝาย หรือทดลองใช้ประตูระบายน้ำก่อนสองปี ว่าสามารถทดน้ำเข้าเหมืองเพื่อส่งเลี้ยงไร่นาได้หรือไม่ คือให้ลองดูว่าประตูน้ำทำหน้าที่แทนฝายหินทิ้งเก่าแก่ได้ดีแค่ไหน การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายจะถูกเปลี่ยนมือ จากการจัดการโดยชาวบ้านในระบบแก่ฝายมาเป็นจัดการโดยรัฐชลประทาน ชาวบ้านผู้ใช้น้ำคิดอย่างไรถึงยินยอมทั้งที่ยื้อกันมานาน ถ้านับตั้งแต่ช่วงแรกที่จะมีการรื้อก็เกือบสิบปีแล้ว
วาดวลี
๑. ประชาธิปไตย สูงใหญ่ ใต้เพดาน เราไต่ เราคลาน เหยียบข้าม ขึ้นคว้าไป เราเรียน เราศึกษา เราค้นหา เราพินิจ เปรียบเทียบ ถูกผิด เท่าที่ เราคิดได้ ในสมุดมีสอน ในกลอนมีให้อ่าน ในหนังสือมีวิจารณ์ เปลี่ยนผ่านไปอย่างไร ในเคเบิ้ลมีรหัส แปลงเห็นเป็นภาพชัด นิ่ง-เลือน-และเคลื่อนไหว เราเก็บเราสะสม เพาะบ่มความคิด เธอว่าถูก-ผิด คิดเห็นเป็นอย่างไร เรารู้-ไม่รู้ เท็จจริง และลวง แต่เราก็ห่วง ห่วงประชาธิปไตย
นาโก๊ะลี
โลกเปลี่ยนทุกวัน นั่นเป็นธรรมดา สำหรับผู้ที่โหยหาการเปลี่ยนแปลงเสมอ นั่นก็คงเป็นเรื่องดีงาม หรือเหมาะควรแล้ว แต่กระนั้น ยังมีอีกหลายผู้คนกระมังที่ใจหายกับการเปลี่ยนไปของหลายเรื่องหลายราวที่มันเคยมีอยู่ในชีวิต ว่าก็โดยเฉพาะช่วงเวลาที่โลกก้าวสู่ยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดนเช่นนี้ การผันแปรเปลี่ยนไปของระบบวิถีชีวิต บางคราวก็ถึงกับไม่เชื่อสายตาตัวเอง โอ้....อะไรจะปานนั้น หนังสือเล่มเก่า เก็บอยู่ในกล่อง เนิ่นนานเพียงใดฝุ่นเกาะจนดูเก่า ความจริงหลายเล่มไม่ใช่หนังสือเก่า แต่มันถูกลืมเลือนไป ระหว่างการเปลี่ยนผ่านอะไรต่อมิอะไรมากมายในชีวิต หรือไม่ก็บางเล่มเราก็ลืมไปแล้วว่าเราเคยมี และเคยอ่านมัน และนั่นก็ทำให้เรานึกถึงหนังสืออีกหลายเล่มที่เราเคยมี เคยอ่าน และเคยให้คนอื่นไป.....
dinya
ภาพแสดงลักษณะของโลก Earth มีคนพูดบ่อยๆ ว่า โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ แคบลงเรื่อยๆ นั่นคงเพราะ เราสื่อสารกันง่ายขึ้น ทั้งทางโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต จะไปเรียนที่ไหน ทวีปใด เราก็ยังพูดคุยกันได้แทบทุกวัน เวลาเพื่อนคนไหนหายไปไม่ติดต่อกันนานๆ เผลอๆ ก็ไปเจอกันในเวบบล็อกหรือ ชุมชนออนไลน์ สักพักก็หาทางเจอกันจนได้  เราคงไม่คิดว่า วันหนึ่ง คำว่า “โลกเล็กลง” นั้นจะหมายถึง “โลกที่มีขนาดเล็กลงไปจริงๆ” เล็กกว่าที่เราเคยรับรู้ แม้เราจะจินตนาการได้ยากอยู่ว่าโลกของเรามันใหญ่โตขนาดไหน และมันจะสำคัญหรือเปล่าที่มันจะเล็กลง ใหญ่ขึ้น หดตัวหรือขยาย ซึ่งคงต้องขอบอกว่า มันก็สำคัญมากทีเดียวค่ะ

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม