Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

วาดวลี
ฉันรู้สึกเหมือนกำลังเดินทางไปประเทศจีน เดินทางโดยยังไม่ได้ก้าวขาออกจากบ้านเสียด้วยซ้ำ มันเป็นการเดินทางด้วยจิตใจและจินตนาการ เมื่อน้องสาวที่น่ารักคนหนึ่งของฉัน เธอเดินทางไปเป็นครูสอนภาษาไทยอยู่ที่เมืองหนานหนิง มณฑลกวางสีตั้งแต่ 1 ปีที่แล้ว อีกไม่กี่เดือนก็จะย่างครบ 1 ปี เธอบอกว่าคิดถึงเมืองไทยเป็นที่สุด และนับจากวันนี้ไปอีกแค่ 8 วันเท่านั้นเธอก็จะได้กลับมาเหยียบผืนดินไทยอีกครั้งแล้ว“ดีใจนะที่ปลอดภัย”จำได้ว่าเอ่ยกับเธอด้วยประโยคนี้ หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศจีนไม่นาน ฉันนึกถึงใบหน้าของเธอ แก้มยุ้ยๆ  และแววตาวาบวับที่ระยิบระยับเสมอ โดยเฉพาะเวลาที่เล่าถึงความฝันหรือแสดงความซนด้วยการแซวใครต่อใคร เธอเป็นน้องเล็กของกลุ่ม ที่เจอกันทีไรก็เห็นรอยยิ้มมาแต่ไกล แต่ตั้งแต่เธอเดินทางไปอยู่ที่โน่น การติดต่ออันน้อยนิดของเราก็พอจะให้รับรู้ได้ว่า เธอทั้งเหงา โดดเดี่ยว ไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อม ผจญกับอากาศหนาวเย็น และฟังภาษาไม่ค่อยจะเข้าใจนัก
กานต์ ณ กานท์
เรายังคงต่อสู้กันด้วยอาวุธโบราณ ซึ่งสร้างความเหนือกว่าให้กับผู้ที่กล้าใช้
นาโก๊ะลี
เมื่อกว่าสามสิบปีที่แล้ว มีหนังฝรั่งเรื่องหนึ่ง  เข้าใจว่าในช่วงเวลานั้นมีคนกล่าวขวัญถึงหนังเรื่องนี้กันพอสมควร  ด้วยมันเป็นหนังที่คาดการณ์ความเป็นไปในช่วงล่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด นั่นก็คือ 2001A Space Odyssey  เนื้อหาของหนังคงไม่ได้เอามาเล่า ณ ที่นี้  แต่ในภาคแรกของหนังเรื่องนี้นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจยิ่ง นั่นก็คือ  เรื่องราวเริ่มขึ้นในโลกมนุษย์ ช่วงเวลาที่ยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นมา  ลิงฝูงหนึ่ง ซึ่งตัวหนังเล่าว่า ลิงพันธุ์นี้เองที่กำลังจะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ ช่วงเวลานั้น ลิงฝูงนี้ก็เริ่มมีปัญหากับลิงพันธ์อื่น  เค้าลางแห่งความขัดแย้ง ปรากฏชัดเจน จนในที่สุดก็เกิดการต่อสู้  จากการใช้เขี้ยวเล็บในการต่อสู้ ลิงฝูงนี้ก็เริ่มคิดเป็น และสิ่งแอรกที่มันคิดได้ก็คือ จับไม้มาเป็นอาวุธในการต่อสู้  นั่นหมายความว่า สิ่งที่อยู่ลึกลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจมนุษย์นั้น มันคือการทำลาย ฆ่า หรือเอาชนะ  อย่างนั้นหรือเปล่า  แล้วหนังก็ตัดไปในปี ค.ศ. 2001
สวนหนังสือ
นายยืนยงประเภท          :    วรรณกรรมแปลจัดพิมพ์โดย      :    สำนักพิมพ์ดอกหญ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2 เมษายน 2530)ผู้ประพันธ์     :    Bhabani Bhattacharyaผู้แปล         :    จิตร ภูมิศักดิ์
สุเจน กรรพฤทธิ์
“ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉันแต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก”ข้อความสุดท้ายที่ ม.ร.ว.กีรติ เขียนให้นพพรก่อนเสียชีวิต จากนวนิยายเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ของ “ศรีบูรพา”1วันปลายฤดูใบไม้ร่วงปี 2550 , อุทยานแห่งชาติชิชิ บู ทามาไก ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส แทบไร้สุ้มเสียงหรือสำเนียงใดรอบตัว สิ่งที่ปรากฎตรงหน้าคือความเงียบ ผมพบตัวเองอยู่ท่ามกลางทิวสนอายุนับพันปีที่ยืนต้นสูงเสียดฟ้า ข้างหน้า คือทางเดินเล็กๆ ทอดยาวลับหายเข้าไปในราวป่า ช่วงหนึ่งของเส้นทางเดินป่าบนภูเขามิตาเกะซัง
ภู เชียงดาว
มองไปในความกว้างและเวิ้งว้าง ทำให้ผมอดครุ่นคิดไปลึกและไกล และพลอยให้อดนึกหวั่นไหวไม่ได้ หากภูเขา ทุ่งนาทุ่งไร่ สายน้ำ และวิถีชีวิตในหมู่บ้านเกิดของผมต้องเปลี่ยนไป เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติเข้ามาเยือน
มาลำ
หากมีใครนั่งมองความเคลื่อนไหวของฉัน เขาคงมองเห็นภาพที่ฉันเดินเข้าออกในโรงพยาบาลช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ตอนเช้ากลับไปอาบน้ำ นอนพักที่บ้านพักน้องชาย ตอนเที่ยงขึ้นรถมาโรงพยาบาล ลงจากรถก็เดินไปโรงอาหาร แวะร้านหนังสือร้านเดียวที่แอบอยู่ในซอกด้านซ้ายมือของโรงอาหาร หยิบหนังสือรายสัปดาห์มาหนึ่งเล่ม จ่ายเงินแล้วเดินเลยมาซื้อน้ำเต้าหู้ อาหารเจเจ้าประจำ ผลไม้และขนมหวานที่พ่อชอบเจ้าเดิม แวะซื้อกาแฟสดและขนมปังแผ่นที่มีอยู่ร้านเดียวของชั้นล่าง แล้วเดินขึ้นไปชั้นสองเลี้ยวซ้ายแล้วเลี้ยวขวา เดินตรงไปผ่านหน้าห้องยา ร้านขายกาแฟเย็นและน้ำอัดลม ถึงประตูตึก ผ่านเตียงที่พ่อเคยนอนหน้าเคาน์เตอร์ วันนี้ฉันเดินเลยเตียงนั้นมาถึงห้องพิเศษ 1205 เปิดประตู วันนี้พ่อนอนพักในห้องพิเศษ ฉันมีห้องเล็กๆ ที่จะได้นอนมองพ่อทั้งคืนแล้วฉันใช้ชีวิตเป็นคนโรงพยาบาลเต็มตัว กลิ่นยาในโรงพยาบาลที่ฉันคุ้นเคย กลิ่นกับข้าว กลิ่นขนมหวาน กลิ่นเหม็นคาวเลือด กลิ่นห้องน้ำ คละคลุ้งอยู่ในจมูกฉัน รอยยิ้มของคนข้างๆเตียงพ่อ เสียงทักทายพูดคุยของพยาบาล เสียงเปิดปิดประตู เสียงฝีเท้าของหมอ เสียงญาติคนไข้ เสียงโวยวาย เสียงครวญครางเจ็บปวด เสียงล้างเครื่องมือ เสียงลากรถ เสียงล้อหมุนของเปล เสียงเดินของเข็มนาฬิกา เสียงกระทบกันของถาดฃ้าว เสียงเปิดปิดก็อกน้ำ เสียงร้องไห้ขอความช่วยเหลือ จนกระทั่งเสียงความเงียบในตอนกลางคืน เสียงเหล่านี้หมุนวนอยู่รอบตัวฉัน มันหมุนวนอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนกล่าวถึง Tempo ซึ่งเป็นนิตยสารประเทืองปัญญาของสังคมอิเหนา ที่ชาวอิเหนา (ภาคประชาชนและปัญญาชน) ภาคภูมิใจยิ่งที่ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์มี Tempo หากจะเปรียบว่าสังคมมะกันมี Time อิเหนาก็มี Tempo และ Tempo ไม่ใช่นิตยสารรายสัปดาห์ที่เอาข่าวของรายวันมายำ แล้วใส่ความคิดเห็นลงไปอีกหน่อยเพิ่มเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์โดยทั่วไปทำกันเท่านั้น แต่นักข่าวของ Tempo มีเวลาในการทำข่าว เจาะข่าวมากพอสมคาร และมีประเด็นข่าวเป็นตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นข่าวเจาะลึกของ Tempo จึงมีลักษณะเฉพาะตัว นอกจากประเด็นเชิงเผ็ดร้อนในเชิงการเมืองแล้ว Tempo ยังมีสารคดีเชิงวัฒนธรรม และบันเทิงในแง่มุมวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ และศิลปะ ที่สอดคล้องไปกันกับเนื้อหาทั้งหมดของหนังสือ
โอ ไม้จัตวา
บอกกับตัวเองและเพื่อน ๆ บ่อยครั้งว่า มาเชียงรายฉันมักหาทางไปแม่สาย เชียงแสน ขับรถเลียบแม่น้ำโขง แค่ย่างเข้าสู่แม่จันก็รู้สึกเหมือนกลับบ้าน สงสัยชาติก่อนฉันคงเคยเกิดแถวนี้ ความรู้สึกอิ่มสุขลึก ๆ ในใจเมื่อมองทุ่งหญ้าที่ขึ้นสองฝั่งโขง มองสายน้ำอันยิ่งใหญ่ตรงหน้า อาจเป็นเพราะฉันมีเชื้อสายส่วนหนึ่งเป็นลาว ยายของย่าของฉันอพยพมาจากเมืองหลวงพระบางในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งประวัติศาสตร์บอกไว้ว่าในช่วงนั้นหลวงพระบางเมืองหลวงของลาวแตกลง มีการอพยพสองสาย สายหนึ่งลงใต้ อีกสายหนึ่งข้ามโขงลัดเลาะเทือกเขาเพชรบูรณ์เข้ามาทางจังหวัดเลย ด่านซ้าย และเพชรบูรณ์ ส่วนเลือดอีกฟากหนึ่งในกายฉันมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ เส้นทางข้ามโขงด้วย R3a ในทริปนี้จึงเป็นการเดินทางที่มีความหมายกับชีวิต ราวกับได้หลุดเข้ามาในดินแดนอันเป็นอดีตของชีวิต
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
Carousal
คุณเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกเรียกว่าชีวิต มนุษย์ และความเป็นนิรันดร์บ้างไหมคะ? เป็นเวลากว่าพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์เฝ้าขบคิดค้นหาตัวตน คำนิยาม ความหมาย และขอบเขตของสิ่งที่ตนเองมีและเป็น แต่ยิ่งคิด ยิ่งพิจารณามากขึ้นเท่าไร คำถามก็ยิ่งเพิ่มขึ้น และซับซ้อนขึ้นเป็นเงาตามตัว...แม้จะเฝ้าค้นหากันมาเนิ่นนาน ส่งผ่านกระบวนการคิดคนแล้วคนเล่า ยุคสมัยแล้วยุคสมัยเล่า แต่ก็ดูเหมือนว่า เราจะยังไม่เคยเข้าใกล้ผลลัพธ์มากพอที่จะทำให้รู้สึกพอใจได้เลย  
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง >ความมืดเริ่มแผ่ปกคลุมรอบๆบริเวณ หญิงเฒ่ากำเศษเหรียญจำนวนสามบาทห้าสิบสตางค์เอาไว้ในมือ สายตามองตามรถปรับอากาศติดแอร์สีส้มสาย 60 ที่เพิ่งผ่านไปอย่างเลื่อนลอย แต่ด้วยจำนวนเงินที่มีในมือคงทำได้เพียงอดทนรอเหมือนที่ริ้วรอยย่นบนหน้าผากและผิวพรรณที่แห้งกร้านแสดงออกมาทั้งชีวิต การรอคอยยังมีความหวัง เพราะอีกไม่นานรถเมล์คันสีแดงคงจะขับผ่านมาอีกรอบ เมื่อไม่นานมานี้เองเศษเงินราคาไม่ถึงห้าบาทยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังของเส้นทางกลับบ้าน� �เพียงกระพริบตากาลเวลาก็ล่วงผ่าน ถึงพุทธศักราช 2551 ภายในรอบครึ่งปีแรก ราคาน้ำมันในตลาดโลกทุนนิยมเสรีถีบตัวขึ้นสูงลิ่วจ่อทะลุ 40 บาทต่อลิตรจากเดิมที่มีราคาไม่ถึงยี่สิบบาท ทำให้ค่าตั๋วรถเมล์ประจำทางต้องขยับปรับราคากันหลายขยัก เงินห้าบาทไม่สามารถขึ้นรถเมล์ได้อีกแล้ว ในคืนวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ฝนเทกระหน่ำลงมาอย่างหนัก เป็นที่รู้กันว่าช่วงเวลาแบบนี้รถจะติดมาก ที่อยู่ไกลหน่อยถึงมีรถส่วนตัวกว่าจะถึงบ้านก็ดึกดื่น แต่วันนี้รถเมล์สีขาว รถปรับอากาศสีน้ำเงิน หรือแม้แต่รถเมล์คันเล็กๆสีเขียวที่เรียกกันว่า ‘รถร่วม’ หยุดวิ่งให้บริการหมดแล้ว เขาบอกว่ามันไม่คุ้มกับการวิ่งที่ต้องแบกรับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น.....มันคงไม่คุ้มค่ากับการแบกความหวังของการกลับบ้านของผู้คนเอาไว้ด้วย....

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม