Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

ฐาปนา
แกชื่อยายหอม เป็นคนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีแม่ของแกมีเชื้อลาวพวน พ่อของแกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน แต่เดิมแกอยู่ตำบลอื่น แล้วย้ายมาอยู่ที่นี่ แกเป็นคนรุ่นแรกที่มาหักร้างถางพงทำไร่ทำนาหมู่บ้านยุคบุกเบิก มองไปทางไหนก็มีแต่ป่า สัตว์ป่าชุกชุม เข้าป่าเจอเสือ หรือเสือแอบเข้ามากินวัวในหมู่บ้าน เป็นเหตุการณ์ประจำวัน คอกวัวสมัยนั้น ต้องกั้นเป็นฝาจึงพอกันเสือได้ ชาวบ้านกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้อไก่ป่า บ่อยกว่าเนื้อหมู หนองน้ำเต็มไปด้วยปลาตัวโตๆ ตะพาบตัวเท่ากระด้ง เรื่องผีสางนางไม้อยู่แนบชิดชุมชนมากกว่าเรื่องวัดเรื่องพระแกเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นแกยังเป็นสาว พวกทหารญี่ปุ่นเกณฑ์เชลยศึกที่เป็นฝรั่งมาสร้างทางรถไฟอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้าน เชลยศึกพวกนี้ผอมโกรกแต่ต้องทำงานหนัก พอไม่มีแรงก็โดนเฆี่ยนโดนตี ที่ทนไม่ไหวตายไปก็มาก มีชาวบ้านสงสารเอาอาหารมาให้ พวกทหารญี่ปุ่นรู้เข้าก็ห้าม มีแม่ค้าคนหนึ่งสงสารพวกฝรั่งมาก แต่จะเอาของกินไปให้ก็กลัวพวกญี่ปุ่น เลยทำอุบายเอาหาบใส่ของมาเจาะรู พอเข้ามาใกล้บริเวณที่ทำทางรถไฟ ก็เอาขนมเอาผลไม้มาใส่หาบ เดินไปเขย่าไป ผลไม้ก็ร่วงลงตามทาง พวกเชลยฝรั่งก็มาเก็บไปกิน พอพวกผู้คุมมาเอาเรื่อง แกบอกว่า มันร่วงของมันเอง ไม่ได้ตั้งใจจะให้ชะรอยว่า เชลยฝรั่งคงจะซึ้งใจจนกลายเป็นความรัก เพราะพอสถานการณ์พลิกกลับ ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยเหนืออักษะ ทหารญี่ปุ่นล่าถอยไป เชลยได้รับการปลดปล่อย อดีตเชลยคนหนึ่งก็พาแม่ค้าคนนั้นขึ้นเครื่องบินกลับไปอยู่เมืองฝรั่งด้วยผลจากสงครามโลกครั้งที่สอง ยังมีต่อชุมชนแถบนั้นอีกสองอย่าง คือหนึ่ง สนามบินที่ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้ ได้กลายมาเป็นตลาดค้าส่งผักผลไม้ขนาดใหญ่ของอำเภอท่ายาง ที่เรียกกันว่า “ตลาดหนองบ้วย” และสอง ทหารญี่ปุ่นติดใจ “กล้วยหอมทอง” ของท่ายางมาก จึงทำให้กล้วยหอมทอง กลายเป็นผลไม้ส่งออกญี่ปุ่นเป็นประจำนับแต่นั้นมา
แพร จารุ
 เธอได้ยินไหม  คนบ้านฉันเขาตัดไม้กันอยู่ เสียงดังกรูด ๆ ๆ แล้วไม่นานก็ได้ยินเสียงไม่ล้ม ฉันฟังจนแยกออกแล้วว่า เสียงที่ล้มลงมาต้นเล็กต้นใหญ่ขนาดไหน ฉันบอกเพื่อนไปเช่นนั้น ด้วยเราพูดกันอย่างไม่เห็นหน้าจึงไม่รู้ว่า เพื่อนทำหน้าตาอย่างไร เธอคงคาดไม่ถึงว่าได้ยินเสียงตอบเช่นนี้ เธอคงผิดหวังมากทีเดียวเพื่อนโทร.มาบอกให้ฉันช่วยเขียนเรื่องการปลูกต้นไม้ เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิที่เธอทำงานอยู่ ชื่อว่า โครงการป่าเมือง หรือการปลูกต้นไม้ในเมืองนั่นเอง
ภู เชียงดาว
‘…เรารู้ซึ้งถึงสิ่งนี้ โลกนี้มิใช่ของมนุษย์ มนุษย์ต่างหากที่เป็นสมบัติของโลก สิ่งนี้เรารู้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเหมือนดังสายเลือดในครอบครัวเดียวกัน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นแก่บุตรธิดาของโลกด้วย มนุษย์ไม่ใช่ผู้สานทอใยแห่งชีวิต เขาเป็นเพียงเส้นใยหนึ่งในนั้น สิ่งใดก็ตามที่เขาทำต่อข่ายใยนั้น ก็เท่ากับกระทำต่อตนเอง...’จดหมายโต้ตอบของหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงที่ซีแอตเติ้ลจากหนังสือ ‘ณ ที่ดวงตะวันฉายแสง ข้าจะไม่สู้รบอีกต่อไป’วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ : แปล และเรียบเรียง
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
นานหลายเดือนที่ผมกับยาดาวางแผนการเดินทางไปเวียดนาม ความจริงก็คือ เรามาเร่งหาข้อมูลเอาโค้งสุดท้ายก่อนจะถึงกำหนดเดินทางเพียงอาทิตย์เดียว ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเข้าสู่เวียดนามมาจากหลายทาง ทั้งจากเพื่อนที่เคยไปและไม่เคยไป (แต่มีคนรู้จักหรือมีเพื่อนเคยไป) ทั้งจากหนังสือและเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศรวมถึงโลนลี่ พลาเน็ต ฉบับเวียดนาม ที่ลงทุนไปหาซื้อมาตั้งแต่ 6 เดือน ก่อนวันออกเดินทาง (16 วัน ระหว่างวันที่ 3-18 เมษายน 51)ทำไมถึงเวียดนาม อย่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย คือ อยากไปว่ะ!
ชาน่า
เมื่อใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว หากใจและกายไม่สอดคล้องกับความรู้สึกและความต้องการ  ทางออกของใครหลายคนจึงเลือกที่จะเยียวยารักษาทางกายมากกว่าทางใจ  จึงเป็นผลให้ใครหลายคนเลือกที่จะทำการ “ผ่าตัดแปลงเพศ”ในส่วนของพนักงานบริการที่เราคุ้นกันในเมืองไทย ก็มีจารึกไว้แล้ว โดยหนุ่มสจ๊วตที่แปลงโฉมเป็นแอร์กี่ เอ้ยไม่ใช่ค่า แอร์โฮสเตส เรียกเสียงวิพากวิจารณ์จากมหาชนมิใช่น้อยส่วนของเรือสำราญ พนักงานบริการที่ต้องพบปะผู้โดยสารจากหลายประเทศทั่วโลกก็มีเธอผู้นี้ ... เช่นเดียวกัน
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ช่วงที่ผู้เขียนอยู่อินโดนีเซีย ต้องพึ่งข่าวสารและสมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษสองฉบับคือ the Jakarta Post และ Tempo เพื่อเข้าใจ (ผ่านสื่อ) ต่อสังคมอินโดนีเซียน ซึ่งช่วยได้ในภาพรวม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนตกกระแสสังคมอินโดนีเซียเกินไป  ผู้เขียนได้เคยเอ่ยถึงและนำคำสัมภาษณ์ผู้จัดการในเครือจาการ์ตา โพสต์ลงในคอลัมไปบ้างแล้ว ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงองค์กรสื่อหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมากแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย และได้ชื่อว่าเป็นสื่อกระแสหลักแต่เป็นทางเลือกหนึ่งของภาคประชาชนแดนตากาล็อค Tempo (หรือหมายถึง Time) มีสองภาคภาษาคือ ภาคภาษาอินโดนีเซียและภาคภาษาอังกฤษ จำนวนพิมพ์ของภาคภาษาอังกฤษกว่าสองหมื่นเล่มในแต่ละสัปดาห์ ไม่นับภาคภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งแน่นอนว่า เจ้าของภาษาย่อมมีข่าวเข้มข้นกว่า การเลือกภาคภาษาอังกฤษคือ เลือกสรรข่าวสารสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าเป็นชาวต่างชาติและชนชั้นกลาง (ชนชั้นปัญญาชน) บางกลุ่ม
นาลกะ
เคยได้ยินชื่อ “ขบวนการนกกางเขน” มานานแล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่าคืออะไร จนกระทั่งเห็นหนังสือชื่อเดียวกันนี้วางอยู่บนชั้นและลงมืออ่าน จึงได้รู้ว่า “ขบวนการนกกางเขน” เป็นวรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศที่แปลโดย “แว่นแก้ว” “ขบวนการนกกางเขน” เป็นทั้งชื่อหนังสือและชื่อเรียกของกลุ่มตัวละครเด็ก ๆ ในเรื่อง เด็ก ๆ ถูกวาดให้มีหลากหลายบุคลิก ตั้งขบวนการ รวมตัวกันหาเรื่องสนุก ๆ ทำ จนกระทั่งเข้าไปผจญภัยในห้องใต้ดินและนำไปสู่การค้นพบขุมทรัพย์ในที่สุด ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้น่าจะอยู่ที่ผู้แปลมากกว่าผู้เขียน  สำหรับผู้เขียนชาวฝรั่งเศสคือ Madeleine Treherne  ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ในภาคฝรั่งเศสว่า Rossignols en Cage ส่วนผู้แปลคือ “แว่นแก้ว”
สวนหนังสือ
นายยืนยง(หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพปก ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๓๒ เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑)ภาพจาก : http://burabhawayu.multiply.com/reviews/item/16 ชื่อนิตยสาร : ปาจารยสาร ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๒๘ เดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕จัดพิมพ์โดย : บริษัท ส่องศยาม
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะโดยมากการแบ่งแม่น้ำเป็นเส้นพรมแดนนั้น ล้วนแต่ผู้มีอำนาจไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางการเมือง อำนาจทางการปกครองแบ่งให้แทบทั้งสิ้น มีบางคนเคยถามผมว่า ขณะมายืนอยู่ริมแม่น้ำรู้สึกยังไงที่ข้ามแม่น้ำไปไม่ได้?ผมไม่ตอบ เพียงแต่ชี้ชวนให้เขาดูนกที่กระพือปีกบินข้ามแม่น้ำไปยังอีกฝั่งบางครั้งมันก็เป็นสิ่งที่ตอบได้ยากเช่นกันว่า เราคิดเช่นไร แต่หากมองด้วยมุมที่หลากหลาย เราจะไม่เห็นความดีของการใช้แม่น้ำเป็นเส้นพรมแดนเลยหรือ แน่ละบางทีการใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน การไปมาหาสู่กันระหว่างผู้คนที่อยู่คนละฝั่งน้ำจะง่ายกว่าการที่เราต้องเดินข้ามแผ่นดินไปหากัน เพราะบนแผ่นดินกับดักสามารถวางได้ง่ายกว่า
แสงพูไช อินทะวีคำ
ให้สัญญาว่าจะทำทุกอย่างที่ดีให้สัญญาว่าจะไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีให้สัญญาว่าจะไม่บิดเบี้ยวความจริงแต่แล้วเขาก็ทำในสิ่งที่ใจเขาอยากทำแล้วจะทำอย่างไร?บอกกับประชาชนว่าเพื่อประชาชีบอกกับประชาชนว่าเพื่อความอยู่ดีกินดีบอกประชาชนว่าเพื่อชาติย่อมต้องพลีชีพแล้วในที่สุดก็กดขี่ประชาชีและประชาชนดั่งสำนวนกวีลาว             กล่าวอ้างแปลกใจคือเพี่นเว้า         เฒ่าแก่โบรานจาเป็นสัตว์สาคือควาย        บ่ก้มหัวกินหญ้าเป็นปลาบ่อลอยลื่น         กระแสสินธุ์ห้วยฮองพัดไปเยาะย่องยื้            โปโลพ้นอยู่โพนหมายเหตุ  : โพน หมายถืง (เนิน) ดั่งภาษาอังกฤษที่ว่า termite mound
วาดวลี
ท้องฟ้าในเมืองของเรายังสวยเสมอ โดยเฉพาะยามที่เพื่อนเก่าของฉันรีบจอดจักรยานไว้ข้างตลาด แล้วเดินเข้ามาจับมือ เธอเงยหน้าขึ้นแล้วมองไปทางทิศตะวันตก ก้อนเมฆพวกนั้นเลื้อยตัวมากอดภูเขาเอาไว้ มองไกลๆ เหมือนใครเอาผ้าขนหนูสีขาวนุ่มๆ ไปพันทิ้งไว้(เมืองเล็กๆ ของเราหลังฝนตก)

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม