Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง
คนเราล้วนประสบชะตากรรมที่หลากหลายขณะ ‘เดินทาง’…และก็เช่นกัน – ที่ยุคปัจจุบันคนเรา ‘เดินทาง’ ด้วยวัตถุประสงค์และรูปแบบที่หลากหลายมากมายกว่าแต่ก่อนเราพ้นจากยุคสมัยของการเดินทางด้วยเรือกลไฟที่ต้องอาศัยเวลาเป็นแรมเดือนกว่าจะพ้นโค้งน้ำเข้าสู่น่านน้ำบ้านอื่นเมืองอื่น เราเลิกพึ่งพารถไฟที่ต้องถาโถมเชื้อเพลิงจากท่อนฟืนและก็เช่นเดียวกันรถม้า จักรยานหรือแม้แต่เกวียนเทียมวัวควายกลายเป็นพาหนะพ้นยุคตกสมัย ไปไหนมาไหนอืดอาดไม่เท่าทันความรวดเร็วของจิตใจและยุคสมัยแต่ไม่ว่ารถจะเคลื่อนไหวได้ว่องไวขึ้นหลายร้อยเท่าจากพาหนะที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ ไม่ว่าคนเราจะเคลื่อนที่หรือย้ายถิ่นข้ามเมือง ข้ามประเทศหรือข้ามทวีปได้ด้วยเครื่องยนต์ไอพ่นเหินฟ้าได้ชั่วไม่กี่ชั่วโมงหรือข้ามคืนก็บรรลุจุดหมายแล้วก็ตาม แต่คนเราก็ไม่อาจหนีพ้น “ชะตากรรม” ที่หลากหลายในระหว่างการเดินทางการเดินทางโดยปราศจากความจำเป็น ต้องพลัดพรากจากบ้านจากพ่อแม่ครอบครัวเพื่อนฝูงเพื่อออกเที่ยวถือเป็นชะตากรรมแรกที่คนเราหาญกล้าหยิบยื่นให้ตัวเองด้วยใบหน้าเปี่ยมสุขสุขเมื่อรู้ว่าจะได้ออกไปเผชิญกับความไม่แน่นอนและชะตากรรมอื่นๆ ที่รอท่าในการเดินทาง...คนหลายคนเดินทางเพื่อเพียงจะนั่งลง
Carousal
เมื่อรัฐสภาญี่ปุ่นมีมติให้ปรับเปลี่ยนบทลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์จากโทษประหารและจำคุกตลอดชีวิต มาเป็นการส่งพวกเขาเหล่านั้นกลับคืนสู่สังคมในฐานะผู้ที่ต้องใช้แรงงานอุทิศตนเพื่อประชาชนไปจนวันตาย ทางรัฐบาลจึงต้องทำการทดลองนำร่องเพื่อเก็บข้อมูล และนั่นเป็นเหตุผลที่นักโทษประหารคนหนึ่งถูกนำตัวออกมาจากห้องมืดของเรือนจำ เพื่อรับข้อเสนอให้อุทิศตนเป็นตัวอย่างทดลองสำหรับโครงการนี้ แลกกับการได้กลับไปสู่โลกแห่งแสงสว่างและเสรีภาพผู้ที่ได้รับเลือกคือ ทาจิมะ เรียวเฮย์ นักโทษประหารหมายเลข 042ก่อนหน้าที่จะได้อ่านเรื่อง ‘นักโทษประการ 042’ ฉันก็เคยสงสัยเหมือนกันว่าการลงโทษผู้กระทำความผิดนั้น ควรมีจุดประสงค์เพื่อการปรับปรุงนักโทษ บำบัดปมทางจิตหรือทัศนคติที่ผิดต่อสังคมส่วนรวม เพื่อให้นักโทษสามารถกลับเข้าไปอยู่ในสังคมได้ตามวิถีทางที่เหมาะสม หรือมีจุดประสงค์เพื่อชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายกันแน่
Music
ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแลเพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์ วงดนตรีจากกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกรมที่ร่วมกับกรมศิลปากร ผลิตเพลง Propaganda ให้กับรัฐบาลยุคสมัยผ่านเลยมาก็นานแล้ว เพลง ๆ นี้ก็ยังคงเปิดต่อมาพ้นผ่านยุคสมัยต่าง ๆ แม้จะเริ่มคลายความนิยมลงไป แต่มันก็ยังคงดำรงอยู่ในบ้านเรา เช่นเดียวกับระบอบศักดินาทหาร หมายเหตุไว้เสียเล็กน้อยว่า ถึงแม้ "เนื้อหา" ของเพลงสุนทราภรณ์บางเพลงจะไปในเชิงเชิดชูผู้นำ จารีตนิยม และ โฆษณาชวนเชื่อ แต่ด้าน "รูปแบบ" ก้นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี ทำให้ดนตรีไทยมีความเป็นสมัยใหม่ (Modernize) และ ผสานกับความเป็นตะวันตก (Westernize) ได้ เพราะดนตรีแนวสุนทราภรณ์ได้หยิบยืมรูปแบบของแจ๊สซ์สายบิ๊กแบนด์ (ซึ่งตะวันตกในยุคนั้น แจ๊สซ์กำลังบูมมาก) เข้ามาผสานกับเนื้อร้องแบบบทกวีและการร้องเฉพาะแบบ (ส่วนตัวผมไม่ชอบเสียงร้องแบบนี้เอาซะเลย ถึงจะมีคนบอกว่าเป็นการร้องที่ต้องใช้ความสามารถมากแค่ไหนก็ตาม)แต่นั่นแหละ เพราะการเปลี่ยนแปลงมันเป็นสิ่งที่เกิดจากชนชั้นนำ เปลี่ยนแปลงภายใต้โครงสร้างแบบ "บนลงล่าง" ทำให้อยู่ภายใต้การควบคุม เนื้อหามันจึงไม่เติบโตเท่าไหร่ หากเทียบกับยุคต่อ ๆ มาที่ดนตรีกลายเป็นวัฒนธรรมมวลชน (Popular Culture) อย่างแท้จริง และสำหรับคนที่เป็นโรค Western Allergy เกลียดกลัววัฒนธรรมตะวันตกขึ้นสมอง ผมก็มีข่าวดีมาบอกว่าดนตรีในทุก ๆ วันนี้ถ้าไม่นับดนตรีท้องถิ่น และ ดนตรีไทยเดิม แล้วละก็เพลงไทยทั้งหลายก็เป็นดนตรีที่รับอิทธิพลจากตะวันตกมาปรับใช้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นดนตรีป็อบในกระแส นอกกระแส ใต้ดิน เพื่อชีวิต แม้กระทั่งลูกทุ่งเอาล่ะ ขอกลับมาพูดถึงประวัติ โอลด์ แลงค์ ซายน์ ที่มีความซับซ้อนและน่าสนุกกว่าโรเบิร์ต เบิร์นส์โดยต้นกำเนิด เพลงนี้แต่งขึ้นโดย โรเบิร์ต เบิร์นส์ ตั้งแต่สมัยปลายศตวรรษที่ 17 ซึ่งโรเบิร์ต เบิร์นส์ คนนี้เป็นกวี นักคิด นักประพันธ์เพลงคนสำคัญของสก็อตแลนด์ เพลงนี้เองเข้าก็หยิบยืมทำนองจากเพลงพื้นบ้านของสก็อตแลนด์มาดัดแปลง และในทีแรกนั้นเพลงนี้ยังไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับเทศกาลปีใหม่เลยโอลด์ แลงค์ ซายน์ (Auld Lang Syne) เป็นภาษาสก็อตแลนด์ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "Old long Ago" หรือเป็นไทยคือ "เมื่อเนิ่นนานมา" เนื้อเพลง ๆ นี้ สามารถตีความได้ต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่ามันพูดถึงการให้ลืมสิ่งเก่าไปรับสิ่งใหม่ ๆ มา อีกฝ่ายที่ติดชาตินิยมหน่อยก็ว่าโรเบิร์ต เบิร์นส์ ผู้เป็นนักคิดคนสำคัญย่อมต้องแต่งเพลงนี้เพื่อพูดถึงอดีตอันเกรียงไกรของชาวสก็อตฯ ขณะที่ในปัจจุบัน คนที่ช่างสงสัยแบบ Skeptic ก็เริ่มเสนอว่า จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นเนื้อหาส่วนตัวของอีตาเบิร์นส์เอง คือเพลงนี้เขาแต่งเพื่อระบายความรู้สึกหวนหาอดีต คิดถึงเพื่อนเก่า คนรักเก่า วันเวลาเก่า ๆ ของเขาก็เท่านั้นอย่างไรก็ดีเพลงนี้กลายเป็นเป็นเพลงเฉลิมฉลองวันปีใหม่ของชาวสก็อตฯ (Hogmanay) และกลายเป็นเพลงปีใหม่ของอีกหลาย ๆ พื้นที่ในโลกเมื่อ Guy Lombardo นักดนตรีชาวแคนาดา เล่นเพลงนี้ในรายการวิทยุของอเมริกาช่วงรอยต่อระหว่างปี 1938-1939 แม้จนบัดนี้เพลงฉบับของ Guy ยังคงใช้เปิดเป็นเพลงแรกของปี เพื่อเฉลิมฉลองงานปีใหม่ที่ไทม์สแควร์จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ใช่เนื้อเพลง โอลด์ แลงค์ ซายน์ ที่แพร่หลาย แต่เป็นเมโลดี้สุดติดหู (และถึงขั้นหลอนหู) ของมันต่างหากในหลาย ๆ ประเทศเอาทำนองเพลงนี้ไปใช้ต่างโอกาสกัน ในไต้หวันใช้ทำนองเพลงนี้เปิดในวันจบการศึกษาและในงานศพ ที่ญี่ปุ่นก็เอาเพลงนี้มาแปลงเป็นเพลง Hotaru no Hikari (แสงหิ่งห้อย) ใช้ในงานพิธีจบการศึกษาเช่นกัน ส่วน รพินทรนารถ ฐากูร ปราชญ์วรรณกรรมชาวอินเดียเอาทำนองเพลงนี้มาแต่งเป็น "About the Old Days" ในไทยเองเพลงนี้ก็กลายมาเป็นเพลงแบบขวา ๆ อย่าง "สามัคคีชุมนุม" ที่ไม่แค่เอาทำนองเขามา แม้แต่พิธีการไขว้มือจับกันก็เอามาจากพิธีกรรมของชาวสก็อตฯ ด้วยเทศกาล Hogmanayและล่าสุด ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมานี้เอง ทำนองเพลง Auld Lang Syne ก็ถูกเปิดในพิธีสละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของผู้นำเผด็จการปากีสถาน เปอร์เวช มูชาร์ราฟ เพื่อที่เขาจะได้สืบทอดอำนาจทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ต่อไป ไม่รู้วิญญาณของตาโรเบิร์ต เบิร์นส์ รู้เข้าจะ "เซ็งสาดดด" ขนาดไหน เมื่อเพลงที่แต่งโดยนักคิดเสรีนิยม (Liberalism) เช่นเขาถูกเอาไปใช้ในพิธีกรรมของทหารเผด็จการซะแล้วจริง ๆ แล้ว ผมเห็นว่าเนื้อเพลงนี้แต่งได้ไพเราะมาก พอเห็นถูกเอาไปแปลงเป็นเพลงขวา ๆ มั่งล่ะ เอาไปใช่ในพิธีของเผด็จการบ้างล่ะ มันช่างฟังดูน่าหดหู่เหลือหลาย แม้จะแค่ชอบเนื้อเพลงต้นฉบับมันก็ยังชวนให้รู้สึกผิดแต่ผมก็ได้ค้นพบว่าเพลง ๆ นี้มันไม่ได้มีแต่เอาไปใช้ในพิธีการ หรือเอาไปใช้อย่างขรึมขลังอย่างเดียว ในหมู่ศิลปินเพลงสมัยนิยมทั่ว ๆ ไปก็เอาเพลงนี้มาเล่นกันอย่างสนุกสนานบันเทิงใจ ซึ่งต้องขอบคุณพวกเขาที่ทำให้ผมฟังเพลงนี้ได้สนิทหูขึ้นมาหน่อยนอกจาก Guy Lombardo ผู้ทำให้เพลง Auld Lang Syne กระฉ่อนไปทั่วโลกแล้ว ในช่วงรอยต่อของปี 1969-1970 มือกีต้าร์โลกันต์ Jimi Hendrix ได้เล่นเพลง Auld Lang Syne ในแบบฉบับ Blues-Rock ที่ The Fillmore East ซึ่งในช่วงนั้นดนตรี Rock กำลังเฟื่องฟู และรอยต่อของทศวรรษทั้งสองนี้ก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญของวงการดนตรี Rock เลยก็ว่าได้นอกจากนี้ยังมีฉบับเสียงประสานของวงป็อบอย่าง Beach Boys มีฉบับ Rock กลิ่นพื้นบ้านอเมริกันของ Bruce Springsteen and the E Street Band รวมถึงฉบับกีต้าร์โซโล่แปลกหู ที่ Guns ‘n' Roses เล่นไว้ใน Live at Leeds เมื่อปี 2002 ซึ่งหลังจากนั้น Buckethead มือกีต้าร์จอมเพี้ยนก็ได้โซโล่ต่อเป็นทำนองเพลงธีมหลักของ Star Wars ไม่เพียงแค่การเล่นแบบ (พยายามจะ) Cover เพลงนี้เท่านั้น บางทีเนื้อหาของเพลงนี้ก็ถูกนำไปใช้ในบริบทอื่น เช่นนักร้องโฟล์ค/ป็อบ Dan Fogelberg ที่เพิ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งไปเมื่อวันที่ 17 ธันวา ปีนี้เอง ก็เคยแต่งเพลงที่ชื่อ Same Old Lang Syne ขึ้น เนื้อเพลงพูดถึงการได้พบเจอคนรักเก่าโดยบังเอิญในคืนคริสต์มาส แล้วเรื่องราวเก่า ๆ ก็หวนย้อนกลับมาDan Fogelbergสำหรับผมแล้ว สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นเสน่ห์ที่มาจากยุคเฟื่องฟูของศิลปะและวัฒนธรรมมวลชน ทำให้มีการนำสิ่งที่อยู่บนหิ้งมาตีความใหม่ มีทั้งการเล่นล้อและการแสดงความเคารพต้นฉบับอย่างเสรีหลังจากวันที่ 31 ไป ปฏิทินเก่าจะหมดหน้าที่ปฏิทินใหม่มาแทน แต่ก็ยังเป็นเครื่องช่วยสมมุติเวลาเหมือนเดิม เพลง "สวัสดีปีใหม่" เพลงเดิมจะยังคงแว่วเสียงออกมาทางโทรทัศน์ให้ได้ยิน หลายที่ในโลกก็ร่วมบรรเลงท่วงทำนองเดิมของ Auld Lang Syne แต่ภายใต้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เราเห็นว่ามัน "เหมือนเดิม" ผมเชื่อว่ามันมี "การเติบโต" ของอะไรบางอย่างแฝงอยู่ และสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้และเติบโตนั้น มันคือศิลปะและวัฒนธรรมที่ไม่ได้ถูกแช่แข็ง ควบคุม หรือถูกกุมความหมายโดยคนเพียงบางกลุ่มมิเช่นนั้นแล้ว วันปีใหม่ที่ผู้คนเฝ้าฝันถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่า ๆ ไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่ดีกว่าก็จะเหลือเพียงแค่การเปลี่ยนแปลง...ตัวเลขศักราชบนปฏิทินใหม่เท่านั้น"Should auld acquaintance be forgot,and never brought to mind ?Should auld acquaintance be forgot,and auld lang syne ?""ขอสิ่งเก่า ๆ จงถูกลืมเลือนไปและไม่เก็บมาใส่ใจขอสิ่งเก่า ๆ จงถูกลืมเลือนไปและไหลไปสู่อดีตเนิ่นนาน"- Auld Lang Syne
เจนจิรา สุ
20 พฤศจิกายน 2550 คืนนี้แสงจันทร์กำลังโผล่พ้นเหลี่ยมเขาทิศเหนือ ดาวพราวแต้มเต็มฟ้า เหล้าดีกรีแรงทิ้งก้นจอกตั้งวางเคียงดวงเทียนที่ถูกจุดขึ้นโดยแม่เฒ่า ฉันกระชับเสื้อกันหนาวอีกนิด เมื่อลมหนาวพรูมาทางหน้าต่างบานกว้าง แม่เฒ่าบอกให้ยกดื่มอีกสักจอกแล้วจะอุ่นขึ้น ฉันรินคืนให้แม่เฒ่าพลางถามถึงความหลังเมื่อครั้งที่ยังอยู่ที่เมืองดอยก่อ รัฐคะยา ประเทศพม่า “ตอนนั้นแม่ทำนามาได้ก็ต้องแบ่งให้กับเจ้าของนา ที่เหลือก็แทบไม่พอกิน ทหารพม่าก็ยังมาขูดรีดเอาอีก บางทีถ้าไม่ให้ก็ทุบตี พวกผู้ชายต้องพากันไปหลบซ่อนตัว  ไม่อย่างนั้นมันจะเกณฑ์ให้ไปขนระเบิดที่ชายแดน” “แล้วมีคนที่หมู่บ้านถูกเกณฑ์ให้ไปกับทหารพม่าบ้างหรือเปล่า” “มีลุงของแม่คนหนึ่งไปกับทหารพม่าไปแล้วไม่เห็นหน้ากันจนถึงวันนี้”แม่เฒ่าตอบพลางรินป่าเหล้าดีกรีแรงผ่านลำคอระหงที่ร้อยด้วยห่วงทองเหลืองแวววาว“พอแม่คลอดลูกคนที่เจ็ดได้ไม่นานก็มีคนที่มาเมืองไทยส่งข่าวว่าอยู่ที่เมืองไทยสุขสบายกว่าอยู่นี่เดิมมาก พอมีคนมารับแม่ก็เลยตัดสินใจหอบลูกสามคนมาที่นี่”“แม่มาเส้นทางไหน เพราะทหารพม่าอยู่กันให้ยุบยับตามชายแดน”“ไม่รู้มีคนจากเมืองไทยมานำทาง ตอนนั้นมาได้สองทางคือขึ้นเกวียนกับเดินเท้าแต่แม่ไม่มีเงินจึงเดินเท้าเจ็ดวันเจ็ดคืน ลูกคนเล็กอายุยังไม่ครบสองเดือนเลย” “แล้วพ่อเฒ่ากับลูกอีกสี่คนละแม่” ฉันถามต่อ“ตอนนั้นพ่อเฒ่ายังไม่แน่ใจเลยว่าจะมาเมืองไทยดีหรือเปล่า ก็เลยแบ่งลูกกัน ให้ลูกชายช่วยพ่อทำนา พอแม่มาอยู่ที่นี่ได้ 3-4 เดือนก็ส่งข่าวกลับไปให้พ่อหอบลูกอีกสี่คนตามมา”ไม่ได้มีเพียงพ่อเฒ่าและแม่เฒ่ากระยันครอบครัวนี้เท่านั้นที่หนีความยากจนและภัยสงครามมาอยู่ที่ใต้บรมโพธิสมภารในราชอาณาจักรไทย ยังมีชนกลุ่มน้อยอีกมากมายที่อพยพลี้ภัยมาอยู่ตามศูนย์อพยพค่ายๆของไทย แต่แม่เฒ่าผู้มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์น่าสนใจต่อผู้พบเห็นจนดูเหมือนมีอภิสิทธิ์มากกว่าชนเผ่าอื่นในการได้ในการอาศัยอยู่นอกเขตศูนย์อพยพฉันนึกภาพความยากจนของครอบครัวของสามีออก เพราะก่อนนั้นฉันเคยถามชีวิตความเป็นอยู่พี่สาวสามีเมื่อครั้งยังอยู่พม่า เธอเล่าให้ฟังว่า ต้องตื่นไล่วัวแต่เช้า ต้อนวัวนับร้อยตัวไปเลี้ยงในทุ่งหญ้า พอพ้นหน้าเกี่ยวข้าวเจ้าของวัวก็จะให้ค่าจ้างเป็นข้าวเปลือก  แต่ถ้าทำวัวของเขาตายสักตัว บางปีก็จะอดได้ค่าจ้างซ้ำยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มก็มี แม้ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงจะมีอยู่ทุกสังคม แต่สำหรับชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า กับถูกรุกรานซ้ำเติมจากระบบการปกครอง นำไปสู่การปล้นชิงเอารัดเอาเปรียบเพียงเพราะมีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ดวงเทียนถูกจุดเติมให้สว่างแท่งแล้วแท่งเล่า แม่เฒ่าเล่าเรื่องราวระลึกหนหลังเมื่อนานมาแล้ว เมื่อครอบครัวของแม่เฒ่าอยู่พร้อมหน้าได้ไม่นาน พ่อเฒ่าก็มาด่วนจากไปด้วยไข้มาเลเรียทิ้งให้แม่เฒ่าดูแลลูกที่ยังเล็กทั้งเจ็ดคนหลังจากพ่อเฒ่าตายได้ประมาณสี่ห้าปี แม่เฒ่าก็แต่งงานใหม่ แต่อยู่เป็นเสาหลักให้ครอบครัวไม่นานก็เกิดเรื่องสะเทือนใจขึ้น พ่อเฒ่าหายตัวไปหลังจากต้องไปเฝ้าไข้ลูกชายที่โรงพยาบาล มีคนไปพบร่างที่ไร้วิญญาณอยู่ที่ชายแดนไทยพม่า เมื่อแม่เฒ่าทราบข่าวก็โศกเศร้ากินไม่ได้นอนไม่หลับจนกระทั่งล้มป่วยลง ต้องไปพักฟื้นที่โรงพยาบาลอยู่หลายวัน ฉันจึงไม่แปลกใจ ที่มักจะเห็นห้วงรำพึงถึงความหลังของแม่เฒ่านั่งจิบสุราเดียวดายยามค่ำคืน“ตอนนี้แม่ไม่คิดอะไรสักอย่าง  ดื่มวันละนิดละหน่อยเป็นยา”แม่เฒ่าจิบเหล้าบ่อยครั้งในแต่ละวัน แม้ลูกหลานจะคอยห้ามปรามแต่เหมือนไม้แก่ดัดยาก แม่เฒ่าดื่มเหล้าเป็นยา ยาแก้ช้ำใน ยาชูกำลังใจ ฉันรู้ซึ้งถึงความในใจของแม่เฒ่าที่แม่เฒ่าที่มีความหวังอยากจะไปเห็นทะเลสักครั้งในชีวิต แต่เป็นเรื่องยากที่ทางการจะอนุญาตให้ชนเผ่าที่มีค่าตัวแพงอย่างกระเหรี่ยงคอยาว ออกไปเดินเพ่นพ่านโชว์ตัวให้ผู้อื่นพบเห็น แม้ลูกหลานจะคอยบอกให้แม่เลิกคิดเลิกหวังแม่เฒ่าก็ยังมีความหวังอยู่เสมอเมื่อครั้งใดที่มีเพื่อนผู้มาเยือนแม่เฒ่าเป็นคนไทยพูดจาชักชวนให้ไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ“แม่จะไปเจเปน (ญี่ปุ่น) เพื่อนญี่ปุ่นชวนแม่แล้ว ปีหน้าแม่จะไป เมืองไทยแม่ไม่ไปก็ได้ แต่เจเปนแม่คงจะไปได้” แม่เฒ่าเปรยถึงความหวังครั้งใหม่ให้ลูกสะใภ้อย่างฉันฟัง เหมือนก้อนกลมสักอย่างวิ่งมาชนที่อกให้หายใจติดขัด คำพูดก็ดูเหมือนตีบตันตามไปด้วย ฉันจะทำลายความหวังของแม่เฒ่าด้วยการพูดความจริงว่า ก่อนจะไปเจเปนก็ต้องออกจากเมืองแม่ฮ่องสอนให้ได้ก่อนจึงจะไปขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิอันโอ่อ่า เพื่อจะลัดฟ้าข้ามเขตอาณาจักรไทย ไปยังประเทศอื่นๆของบรรดานักท่องเที่ยวที่มาเยือนแม่เฒ่าถึงหัวกระไดบ้าน“แม่มีเงินค่าเครื่องบินแล้ว แต่ลูกๆจะปล่อยแม่ไปไหมก็ไม่รู้” แม่เฒ่ารำพึงถึงความฝัน หัวใจนั้นบินไปไกลแล้ว สวนทางความเข้าใจในพื้นที่ของแม่เฒ่าที่ยังไปไม่พ้นหัวกระไดบ้าน “แม่จะไปเจเปนได้อย่างไร ที่นั่นเขาไม่มีเหล้าแบบนี้นะ เขาไม่ให้เอาขึ้นเครื่องบินไปด้วยซี แม่ต้องอดเหล้านะ ” ฉันหาทางออก“โอ้ะ! จริงหรือแม่ไม่รู้เลย” แม่เฒ่าตกใจกับข่าวที่ฉันบอกก่อน“ งั้นแม่ไม่ไปแล้วเจปงเจเปน กินเหล้าเฉยๆ ขายของอยู่ที่บ้านดีกว่า” แม่เฒ่าเอื้อยเอ่ยช้าๆดังจะหาทางออกให้กับตัวเอง หลังจากเงียบครุ่นคิดด้วยสีหน้าผิดหวัง ฉันจึงรีบตัดบทว่า “ถ้าแม่อยากไปจริงๆ แม่เลิกเหล้าก่อนนะ ถ้าแม่เลิกได้ หนูจะพาไปเที่ยวบางกอกเอง”ฉันทิ้งความหวังใบสุดท้ายที่ไม่รู้ว่าจะเป็นจริงในวันใด แต่คงไม่ไกลเกินไปถึงเจเปน หากวันหนึ่งรัฐไทยจะให้สิทธิ์ความเป็นพลเมืองสำหรับนกน้อยในกรงทองเลอค่าที่ยังคงทำคุณให้แผ่นดินเช่นชนกลุ่มนี้. 
การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
กวีประชาไท
ภาพประกอบจาก http://www.flickr.com/photos/poakpong/2074330653 แสงระบายเงาผ่านบานไม้เก่าใบหน้าฉันอยู่ในเงาแห่งห้องหมองผ่านหน้าต่างบานนั้นฉันเฝ้ามองพลิ้วทำนองหล่นราย ใบไม้ชราเหนือระแนงดอกไม้บางชนิดผีเสื้อตัวน้อยนิดเล่นเริงร่ากระหยับปีกผ่อนริ้วราวปลิวมากับสายลมปริศนาต้นเหมันต์แสงหม่นลงทีละน้อยทีละน้อยผีเสื้อคล้อยเคลื่อนหาย - สายตาฉันใบไม้เหลืองหล่นรายคล้ายเงียบงันสลับกันทับกล่นบนหนทางจากแผ่วแผ่วลมผิวปลิวม่านไหวเพียงพลิ้วร่วงร่ายใบทีละร่างอากาศเริ่มเจือหนาวอยู่เบาบางช่อดอกไม้ชูสล้างต่างสะเทือนณ ระแนงดอกไม้บางชนิดหลายดอกดวงร่วงปลิดลงกล่นเกลื่อนเหลืองที่ร่วงห่มทางก็ร้างเลือนฟุ้งขึ้นเหมือนผีเสื้อเหนือสายลมระส่ำระสายต้นไม้และพุ่มดอกอากาศเย็นม้วนระลอกราวหมอกห่มฉันขยับชันเข่า บนเก้าอี้กลมกระชับแขนนิ่งชมนาฎการณ์คล้ายได้กลิ่นดินหอมมาฉ่ำฉ่ำคลับคล้ายเมฆจะนำฝนมาผ่านเด็กเด็กรีบนำฝูงจักรยานกลับเข้าบ้านดั่งรู้อนาคตกวิสรา 20 ตุลาคม 2550 เกือบบ่ายสองที่สายฝนจวนเจียนจะมาถึง 
เงาศิลป์
ฉันสังเกตดูรอบๆ บ้านหลังน้อยของลุงลี แทบไม่มีพืชผักที่พอจะเก็บกินได้ สงสัยอยู่ครามครันว่า ทำไมไม่ปลูก ในเมื่อแกเป็นคนเก่าแก่และเป็นคนเดียวที่อยู่ในป่านี้มานานถึง 20 กว่าปี ตอนที่ฉันได้หน่อกล้วยหอมพันธุ์ดีมาจากหนองคาย แกก็ยังอุตส่าห์เอาปุ๋ยขี้ควายมาให้ตั้งสามกระสอบ แถมยังสอนวิธีปลูกให้อีกด้วย เมื่อเห็นฉันลงมือขุดหลุมห่างๆ เพราะคิดว่าในอนาคตมันต้องแตกหน่อมาชนกันเอง แกกลับบอกว่าให้ชิดๆกันหน่อยจะดีกว่า เป็นแรงดึงดูดให้กล้วยโตเร็วขึ้น ฉันก็เอาตามนั้น ก้นหลุมกว้างลึกรองด้วยปุ๋ยมูลสัตว์สลับหญ้าแห้ง ดูเป็นวิชาการมากๆ ตามคำแนะนำของแกถามแกว่าจะเอาไปปลูกเองสักต้นไหม แกบอกว่าให้มันแตกหน่อจากกอที่นี่ก่อนแล้วค่อยเอาไปปลูก ซึ่งอีกนานเลยล่ะลุง  แกยืนยันตามนั้น และยังให้กำลังใจอีกว่าปลูกกล้วยรอบๆบ้านนี่แหละดีแล้ว โตเร็วชื่นใจดี  จริงของแก ทุกวันนี้ฉันรู้สึกดีทุกครั้งที่เห็นกล้วยแทงยอดใบอ่อนๆให้ชมแต่ที่ชื่นใจกว่านั้น คือถั่วฝักยาว ชนิดที่เรียกว่า “ถั่วปี” เป็นถั่วที่แม่มาหว่านไว้ตามพื้นตั้งแต่ฤดูฝนที่แล้ว ได้งอกงามเลื้อยเถาว์ยาวเหยียด ออกฝักดกดื่นให้เก็บกิน จนได้แบ่งปันไปถึงบ้านลุงลีโครงการแลกเปลี่ยนอาหารของเราพัฒนาไปไกลมากขึ้น ป้าแดงเมียลุงลีถามว่ากินข้าวเหนียวเป็นไหม แน่นอนอยู่แล้วของชอบ ฉันว่า“งั้นจะแบ่งให้นะ รอเดี๋ยว” แกทำท่าจะกลับเข้าไปในกระท่อม ฉันต้องบอกว่า กินเป็น แต่นึ่งเองไม่เป็น ป้าแดงหันมาอธิบายวิธีนึ่งข้าวเหนียว ซึ่งฉันพอจะรู้ แต่ที่บอกไปอย่างนั้นเพราะไม่อยากรบกวน รู้ว่าข้าว ปลา อาหารทั้งหลายเป็นสิ่งที่ครอบครัวนี้ต้องใช้อย่างประหยัดอีกวันหนึ่ง ป้าจัน เมียลุงสำรอง เดินเล่นๆมาที่กระท่อมของฉัน จึงหยิบมะขามหวานที่ได้มาจากไร่ของเพื่อนที่เมืองเลย แบ่งให้แกเพื่อเอาไปฝากลุงสำรองให้ชิมด้วย เนื่องด้วยครั้งที่ฉันยังไม่ได้สร้างที่พักเป็นเรื่องเป็นราว ได้แวะไปพักอาศัยเถียงนาของแกหลบแดดหลบฝน นับว่าเป็นคนมีบุญคุณต่อกันอยู่“แล้วจะเอาข้าวใหม่มาให้เน้อ” เมียลุงสำรองว่าอย่างนั้น ก่อนจะหันหลังเดินกลับไป ฉันบอกว่าไม่ต้องหรอก อีกไม่กี่วันก็ออกไปข้างนอกแล้วล่ะอีกราย เมื่อวันก่อนโน้น ที่ตลาดในตัวอำเภอ เมียเถ้าแก่ใหญ่ร้านขายเครื่องมือการเกษตร คุ้นเคยกันพอประมาณ คะยั้นคะยอให้แบกข้าวสารข้าวจ้าวกลับมาที่ไร่ เพราะที่บ้านเขาปลูกข้าวเพื่อขายกันเป็นอาชีพรอง ฉันปฏิเสธอีกนั่นแหละเพราะคิดว่าคงจะอยู่ในไร่ไม่นานแต่ในที่สุด ข้าวสารสองกระสอบก็มาถึงบ้านฉันจนได้ กระสอบหนึ่งเป็นข้าวจ้าว อีกกระสอบเป็นข้าวเหนียว โดยลุงลีเป็นผู้พามาให้ แกใส่รถอีแต๊ก ส่งเสียงแต๊กๆๆๆ  เห็นมาแต่ไกลๆ เพราะกว่าจะเลี้ยวเข้ามาจากปากทางเข้าไร่ มาถึงที่บ้านก็หลายร้อยเมตรฉันชอบดูเวลาที่ลุงแกขับอีแต๊ก หรือใครๆก็ตามที่ห้ออีแต๊กแบบสุดฤทธิ์ ความเร็วพอๆกับสุนัขไล่กวดแย้  ฉันนึกถึงคนยิบซีที่ขับเกวียนกลางทุ่งกว้างอย่างที่เห็นในหนัง  และในบริเวณนี้ มีแต่อีแต๊กที่สัญจรเป็นพาหนะหลัก ขาดก็แต่ม้าลากพา บางทีอาจไม่นาน โลกเราอาจต้องพึ่งพาแรงงานสัตว์อีกหน เพราะน้ำมันขาดแคลน...นอกเรื่องมาไกลสรุปว่า ฉันมีข้าวใหม่กินหอมชื่นใจ แต่ไม่มีปลามันๆ เพราะว่าที่นี่ไม่มีแหล่งน้ำสำคัญ และที่มีอยู่คือฝายน้ำล้นขนาดเล็ก ที่ปีนี้มีกฏใหม่เพิ่มขึ้น คือห้ามจับสัตว์น้ำทุกชนิดฉันคิดเล่นๆ ตามประสาคนจิตอยู่ไม่สุขว่า เป็นเพราะเราต่างมีความลำบากกันอยู่หรือเปล่า จึงยังมีน้ำใจต่อกัน ถ้าพวกเราละแวกไร่นี้ มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายกว่านี้ ต่างคนต่างซื้อหาอะไรก็ได้ เราจะยังมีอะไรแบ่งปันกันหนอ เพราะการจะมีเงินได้ ต้องมาจากการขาย การขายและการซื้อ เป็นการแลกเปลี่ยนที่ลดทอนรสชาดิของความสุขไปเยอะเลย หรือบางครั้ง ไม่เหลือความสุขอีกเลย เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตนเองถูกเอารัดเอาเปรียบแต่ถ้าต้องหาที่อยู่ที่ลำบากลำบน เพื่อค้นหาการแบ่งปัน ฉันว่าในโลกร้อนๆ ของทุกวันนี้ คงหายากเต็มทน เพราะไม่นานความสะดวกสบายทั้งหลายจะเข้าไปถึงอย่างแน่นอน เพราะคนเรามักจะคิดว่า มันคือคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าฉันอาจจะมองสุดโต่ง เพราะบังเอิญได้มาอยู่ในที่ๆ ยังมีการแบ่งปันหลงเหลืออยู่อย่างไร้จริตจะก้านมารยาใดๆ ทุกวันศุกร์ ฉันมักจะไปหาเสบียงมาเพิ่มเติมจากตลาดนัดในหมู่บ้านที่อยู่ห่างออกไปราวๆ 4 กิโลเมตร ศุกร์นี้ ฉันชะลอเจ้าสองล้อเพื่อนยาก หยุดพักที่เถียงนาลุงลี เพื่อแวะเอาปลาตะเพียนตัวเล็กๆ ที่แม่ค้าบอกว่าจับมาจากลำน้ำเซิน แบ่งให้ป้าแดงไว้แกงกินอย่างน้อยข้าวใหม่กับปลา (ที่น่าจะ) มัน ก็ได้เจอกันแล้ว นะป้านะ 
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง มีคะแนนห่างจากอันดับแรกอยู่เกือบ 70 เสียง จึงขี้ขลาด ไม่กล้ายอมรับความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ การให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สุเทพ เทือกสุบรรณ หลังจากทราบผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการในคืนวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 255 สะท้อนให้เห็นถึงการผิดวิสัยของสุภาพบุรุษ การไม่ยอมรับกติกาการเลือกตั้ง ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ที่เห็น ๆ กันอยู่อย่างทนโท่ คุณอภิสิทธ์ บอกว่า "ในต่างประเทศ เขาก็ถือว่าใครรวบรวมเสียงข้างมากในระบบรัฐสภาได้ก็จัดตั้งรัฐบาลได้" (มติชนรายวัน. 24 ธันวาคม 2550) ในขณะที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวว่า "พูดตั้งแต่คะแนนยังไม่ออกแล้วว่าถ้าพรรคพลังประชาชน ได้เสียงเกินครึ่งแสดงว่าประชาชนต้องการให้เป็นรัฐบาล ถ้าเสียงได้ไม่ถึงครึ่งก็แสดงว่าไม่ต้องการให้เป็นรัฐบาล ซึ่งวินาทีนี้ก็ยังเชื่อแบบนั้นและก็มีคนคิดแบบตนจำนวนมาก" (มติชนรายวัน. 25 ธันวาคม 2550)ตรรกะวิปริตแบบนี้ไม่มีทางได้ยิน ได้ฟังจากที่ไหนในโลกนี้นอกจากนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น!หลายคนที่เฝ้าจับตาดูการเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยของไทย เมื่อได้เห็นได้ฟังการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แล้วคงรู้สึกผิดหวังกับนักการเมืองพรรคนี้ที่คอยฉวยแต่จะหาโอกาสเล่นนอกกติกาเพื่อให้ได้ขึ้นสู่อำนาจการเคลื่อนไหวของบรรดาแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหาโอกาสจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคพลังประชาชนตอกย้ำบุคลิกลักษณะของพรรคการเมืองพรรคนี้ ที่เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นมาตลอดไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ "ไม่ยอมรับความจริง" พยายามที่จะบิดผันความจริงให้กลายเป็นเรื่องเท็จ ตลอดจนสร้างเรื่องเท็จขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่า (คงจำกันได้ถึงโศกนาฏกรรมการอภิปรายล้มรัฐบาลพรรคชาติไทยของนายบรรหาร ศิลปอาชา)หากพรรคประชาธิปัตย์แทรกเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้จะกลายเป็นปาหี่ทางการเมืองไปทันที เพราะคำถามที่ตามมาคือ ถ้าพรรคที่ได้รับคะแนนเกือบถึงครึ่งไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว ก็ไม่รู้จะว่าจะจัดการเลือกตั้งไปทำไม และนี่จะเป็นการทำลายการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอย่างร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำมาแล้วหลายต่อหลายครั้งในรอบสองปีที่ผ่านมา (คงจำกันได้ถึงการบอยคอตไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง)อันที่จริง สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ ควรทำเป็นอันดับแรกหลังจากทราบผลการเลือกตั้งไม่ใช่การคิดตั้งรัฐบาลแข่ง แต่คือการแสดงความยินดีกับพรรคพลังประชาชนที่ได้รับชัยชนะ แสดงความมีน้ำใจแบบนักกีฬา ด้วยการ "รู้แพ้ รู้ชนะ" และ "รู้อภัย" และปล่อยให้พรรคที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับหนึ่งตั้งรัฐบาล ไปโดยไม่สกัดขัดขวางหรือขอความช่วยเหลือจากอำนาจเถื่อน-2-ผลการเลือกตั้งทั่วไปที่พรรคพลังประชาชน ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยแม้จะไม่ถึงกึ่งหนึ่ง นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าประชาชน "ส่วนใหญ่" ก็ยังเป็นปัจจัยชี้วัดได้ว่าการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 นั้นล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ไม่เป็นที่ต้องการของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูประเทศจากความแตกแยก การปฏิรูปการเมือง หรือการบริหารจัดการในเรื่องเศรษฐกิจอันที่จริง แม้แต่หัวขบวนของกลุ่ม "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ที่สนับสนุนการรัฐประหารอย่างนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ซึ่งถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญามาหมาด ๆ ในข้อหาหมิ่นประมาทอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยพูดหลายครั้งหลายหนเมื่อรู้สึกผิดหวังว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นั้นเกิดจากเหตุผลและผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าเป็นเรื่องของการทำเพื่อส่วนรวม ดังนั้นเมื่อผลเลือกตั้งออกมาเช่นนี้ อันเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงการไม่รับรัฐประหาร 19กันยายน 2549 สิ่งที่พลเอกสนธิ บุณยรัตยกลิน และบรรดาสมาชิก คมช.ควรทำก็คือการออกมาขอโทษประชาชน ออกมาขอโทษที่ใช้ประชาชน ชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์มาแอบอ้างเพื่อจุดมุ่งหมายแคบ ๆ แค่เพียงเรื่องของส่วนตัวและพรรคพวกไม่กี่คนชัยชนะของพรรคพลังประชาชนในครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะที่น่าภาคภูมิใจเป็นพิเศษ เพราะการเลือกตั้งเกิดขึ้นท่ามกลางเงื่อนไขของการสกัดกั้นทั้งปิดบัง และเปิดเผยจากพลังของระบบราชการที่นำโดยทหารและพลังนอกรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ต้องการเห็นพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล เป็นชัยชนะที่สง่างาม ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากจะพ่ายแพ้แล้วยังแสดงความทุเรศออกมาอย่างน่าเกลียด ซึ่งการทำเช่นนี้มีแต่จะทำให้พรรคพลังประชาชนที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ามายิ่งสง่างามมากขึ้นไปอีก. ไม่เอาพรรคประชาธิปัตย์แล้ว
สวนหนังสือ
‘นายยืนยง’ ชื่อหนังสือประเภทจัดพิมพ์โดยผู้ประพันธ์ผู้แปล:::::เปโดร  ปาราโม ( PEDRO  PARAMO )วรรณกรรมแปลสำนักพิมพ์โพเอม่าฮวน รุลโฟราอูล  การวิจารณ์วรรณกรรมนั้น บ่อยครั้งมักพบว่าบทวิจารณ์ไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านวรรณกรรมเล่มนั้นแล้วได้เข้าใจถึงแก่นสาร สาระของเรื่องลึกซึ้งขึ้น แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่บทวิจารณ์ต้องมีคือ การชี้ให้เห็นหรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ของวรรณกรรมเล่มนั้น วรรณกรรมที่ดีย่อมถ่ายทอดผ่านมุมมองอันละเอียดอ่อน ด้วยอารมณ์ประณีตของผู้ประพันธ์ หลักเกณฑ์นี้เป็นข้อสำคัญหนึ่งที่ทำให้วินิจฉัยว่าวรรณกรรมแต่ละเรื่องมีคุณค่าเพียงใด และข้อสังเกตนี้เองที่เทียบเคียงให้เห็นถึงความสามารถของผู้ประพันธ์ขณะเดียวกัน การที่ผู้ประพันธ์จะนำพาผู้อ่านสัญจรไปในเรื่องราวนั้น ต้องอาศัยเครื่องมือสำคัญหลายประการ และในวรรณกรรมแปลเรื่องนี้ ผู้อ่านจะได้พบกับความเป็นเอกภาพอย่างหนักแน่นที่สุดเรื่องหนึ่ง แต่ละองค์ประกอบของนวนิยายไม่ว่าจะเป็นตัวละคร ฉาก บรรยากาศ เนื้อหา สำนวนภาษา ทั้งหมดทั้งมวลได้ถูกหลอมรวมกันจนเป็นเนื้อเดียว ไม่อาจแยกแยะออกมาอย่างโดด ๆ ได้ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปหากจะจำแนกองค์ประกอบของวรรณกรรมประเภทนวนิยายในพื้นที่จำกัดนั้น เห็นว่าไม่สมควรยิ่งที่จะกล่าวถึงองค์ประกอบหลายข้ออย่างผิวเผิน จึงขอเลือกกล่าวถึงในข้อที่โดดเด่นสำคัญจะรัดกุมกว่า โดยเฉพาะนวนิยายแนวเมจิกเคิล เรียลลิสม์  เล่มกะทัดรัดจากเม็กซิโกของ ฮวน รุลโฟเล่มนี้ ซึ่งมีเนื้อหาให้กล่าวถึงอย่างไม่รู้จบ ลักษณะพิเศษของวรรณกรรมกลุ่มนี้คือให้ภาพเหนือจริงที่ยืนอยู่บนฐานของความเป็นจริง เป็นความพิศวงที่ก้าวเข้ามาสู่ใจผู้อ่านด้วยน้ำเสียงปกติสม่ำเสมอ เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านจะได้เผชิญมาแล้วในวรรณกรรมเล่มอื่น และผู้ประพันธ์ท่านอื่น โดยเฉพาะ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ที่เรารู้จักกันดี เปโดร ปาราโม เป็นเรื่องราวธรรมดาของชายผู้หนึ่งที่ตัดสินใจยอมทำตามคำสัญญาที่ได้ให้ไว้กับแม่ก่อนที่แม่จะสิ้นลมหายใจตายไป เขาต้องไปตามหาพ่อ ที่ไม่เคยรู้จักหน้าค่าตา ในเมืองที่เขาไม่เคยเหยียบย่างเข้าไป ชายที่เป็นพ่อของเขานั่นเองที่ชื่อ เปโดร ปาราโม ในเรื่องราวธรรมดานี่เองที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบอันซับซ้อน ลุ่มลึก ทั้งจากตัวละครที่แสนประหลาด ซึ่งแต่ละตัวละครนั้นเหมือนได้ถูกดูดกลืนรวมเข้ากับสภาพภูมิอากาศที่ทารุณปานนรก  ยังเต็มไปด้วยนัยยะประหวัดที่เร้าให้ขบคิด บรรยากาศของเรื่องยิ่งชวนให้พิศวงงงงวยอย่างที่สุด โดยเฉพาะกับฉากของเรื่อง คือเมืองโกมาลา ที่ทิ้งน้ำหนักต่อเนื้อหาไว้ตลอดเรื่อง และเนื้อหาก็กล่าวถึงสภาวะจิตใจของผู้ที่ถูกกระทำ หลอมรวมกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และผู้คนในเมืองแห่งนี้ ได้แปรสภาพเป็นลักษณะนิสัย ทัศนคติ และท่าทีของตัวละคร ที่รุกเร้า คืบคลานเข้ามาอย่างแสนกระท่อนกระแท่น ดูจากประโยคแรกของผู้เป็นแม่ในขณะจวนสิ้นลมทำให้ภาพพจน์ของเปโดรผุดขึ้นเป็นครั้งแรก ในหน้า ๙ “ จงอย่าขอสิ่งใดจากเขา นอกจากส่วนที่เป็นของเรา สิ่งที่เขาควรให้แม่แต่ไม่เคยหยิบ    ยื่นให้...จงให้เขาตอบแทนเจ้า ลูกชาย  เพราะตลอดเดือนปีที่ผ่านมาเขาไม่เคยมีเราอยู่    ในห้วงคำนึงเลยสักนิด ”ภาพพจน์ดังกล่าวนี้เองที่ปลุกให้ผู้อ่านใคร่รู้ต่อไปว่า ใครคือเปโดร ปาราโมคนนั้น เขาเป็นคนประเภทไหน และเขาอยู่ที่นั่น โกมาลา ดินแดนที่ร้อนร้าว กระทั่งกลิ่นอากาศก็ยังทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ในนรกตลอดเวลาตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้อ่านจะได้รู้จัก เปโดรคนนั้น ผ่านคำบอกเล่าแบบกระท่อนกระแท่น ไม่ปะติดปะต่อ และแสนจะกระพร่องกระแพร่ง จากการเล่าแบบสลับไปมา ไม่ต่อเนื่อง จากเหล่าดวงวิญญาณผู้น่าเวทนา จากชะตากรรมของพวกเขา ผู้เรียกร้องและรอคอยให้ใครสักคนผ่านมา แล้วสวดมนตร์ให้พวกเขาพ้นทุกข์ทรมานนี้ขณะเดียวกันกับที่ความจริงค่อย ๆ หลุดล่อนออกมาทีละแผ่นบาง ๆ ราวกับเป็นแผ่นผนังที่ทาสีไว้จนเก่าแก่ ต้องสัมผัสแรงลมและค่อยหลุดออก... ทำให้รู้สึกถึงความยากที่จะเชื่อมโยงคำบอกเล่าของแต่ละคน, แต่ละวิญญาณ เข้าเป็นภาพเต็มของเปโดรคนนั้น  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านซ้ำหลายรอบ ทำให้เกิดคำถามว่า วรรณกรรมที่ดีนั้นจำเป็นต้องอ่านยากเสมอไปหรือ?ขณะที่ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ บอกว่า “ไม่มีหนังสือเล่มไหนมีค่าสำหรับการอ่าน หากตัวมันเองไม่มีค่าพอที่จะอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า ”ความยากของเรื่องราวชวนให้พิศวง ไม่ต่อเนื่องของ เปโดรฯเล่มนี้ ไม่ใช่ความยากประการเดียวเท่านั้น หากแต่ยังมีบรรยากาศแปลกประหลาด ตัวละครพิลึกพิสดารนับไม่ถ้วน เหนืออื่นใด ต้องถือว่า ฮวน รุลโฟผู้ประพันธ์  ย่อมมีนัยยะพิเศษอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะบอกเล่าแก่ผู้อ่าน โดยเฉพาะมูลเหตุของเรื่องเลวร้ายทั้งมวล อันบังเกิดจากความรักที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จักความรักของชายชื่อ เปโดร ปาราโมเป็นความรักอันแสนหวานของวัยหนุ่มสาว และเขาได้ทำทุกวิถีทางเพื่อจะได้เธอมา ซึ่งผู้ประพันธ์ได้เล่าผ่านเสียงกระซิบกระซาบที่ฝังอยู่ในเมืองโกมาลา เพื่อบอกแก่ ฮวน ปรีเซียโดลูกชายผู้ออกตามหาพ่อของเขา เสียงแรกที่กล่าวถึงความรักนี้ มาถึงสัมผัสรู้สึกของเขา ในยามที่เหนื่อยล้าและยอมจำนน ขณะเดียวกันที่ในเรื่องบอกเล่านั้น อารมณ์ของเปโดร ปาราโม ชายผู้มีฐานะยากจน กลับดูรุนแรง ลุกโชนเร้าอารมณ์ ด้วยการบรรยายฉากที่อาศัยสัญลักษณ์ทางเพศที่ใช้กันในงานวรรณกรรม ดังหน้า ๑๙ น้ำหยดลงมาจากหลังคามุงกระเบื้องกำลังทำให้เกิดรูบนพื้นทรายที่ลานบ้านติ๋ง! ติ๋ง! แล้วก็อีกติ๋ง! ขณะที่หยดน้ำกระทบกับใบลอเริลซึ่งกำลังกระเพื่อมขึ้นลงในรอยแยก    ระหว่างกำแพงอิฐ พายุพัดผ่านไปแล้ว บัดนี้ลมอ่อน ๆ ที่พัดมาเป็นพัก ๆ ทำให้พุ่มต้นทับทิมสั่น     ปลดปล่อยละอองฝนลงมาหนาตา สาดพรมพื้นดินด้วยหยดเล็ก ๆ ซึ่งไร้ชีวิตชีวาก่อนจะดิ่งหาย   ลงไปในพื้นดิน ฯลฯ ...  เมื่อหมู่เมฆเคลื่อนหนีไป ดวงอาทิตย์สาดแสงลงมากระทบโขดหิน แผ่    รังสีสุกสว่างเหลือบคล้ายสายรุ้ง ดูดน้ำไปจากพื้นดินสะท้อนแสงวับวาวบนใบไม้ซึ่งกระเพื่อมไหว    เพราะสายลมแผ่ว.. การบรรยายถึงบรรยากาศเช่นนี้ถูกตรึงไว้ตลอดเรื่อง และสิ่งนี้เองที่ได้ผูกรัดผู้อ่านไว้กับเรื่องราวตรงหน้า จึงไม่สามารถละเลยที่จะกล่าวถึงจุดเด่นนี้ได้เลย แต่เพียงไม่กี่นาทีที่ผู้อ่านกำลังเคลิบเคลิ้มไปกับอารมณ์ของบรรยากาศนั้น เราก็จะถูกกระชากออกไปสู่อีกเรื่องราวหนึ่ง จากคำบอกเล่าของใครบางคนที่ไม่เคยมีแม้กระทั่งลางสังหรณ์ที่จะสะกิดเตือนผู้อ่านไว้ก่อนแม้แต่น้อย จากฉากข้างต้นนั่นเอง เพียงชั่วอึดใจที่ฮวน ปรีเซียโดเริ่มสัมผัสได้ถึงชีวิตของเปโดร ปาราโมพ่อที่เขาตามหานั้น เขาก็ได้รู้อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือ อาบุนเดียว ชายผู้นำทางเขามายังโกมาลานั้น เสียชีวิตไปนานแล้วการเล่าถึงเหตุการณ์ในอดีตอันเกี่ยวกับเปโดร ปาราโมจากเหล่าดวงวิญญาณและเสียงกระซิบกระซาบที่ฝังอยู่ในซอกกำแพงหรือใต้หลุมฝังศพ ประกอบไปด้วยโศกนาฎกรรมในวันก่อน ๆ และบอกถึงลักษณะนิสัยอันเหี้ยมโหด เย็นชาของเปโดรไปพร้อมกัน การเล่าด้วยวิธีการนี้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ใดกันเล่า หากฮวน รุลโฟจะไม่ได้ต้องการวางทัศนคติเกี่ยวกับความดี ความชั่ว ข้อเท็จจริง ผ่านจากทุกมุมมองโดยไม่ได้ก้าวเข้าไปพิพากษาการกระทำเหล่านั้นแม้แต่น้อย ด้วยทัศนคติดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ผู้ประพันธ์สามารถหลอมรวมทุกองค์ประกอบเข้าไว้เป็นเนื้อเอกภาพอันหนักแน่นดังได้กล่าวไว้ข้างต้น  หากยกตัวอย่างการบรรยายในหน้า ๒๐ ที่พรรณนาถึงอารมณ์เปโดรฉันคิดถึงเธอ ซูซานา คิดถึงเนินเขาสีเขียวชอุ่ม คิดถึงตอนที่เธอเล่นว่าวในฤดูที่มีลมแรง เราแทบ   ไม่ได้ยินสรรพเสียงแห่งชีวิตจากเมืองที่อยู่เบื้องล่าง เราอยู่สูงเหนือเนินเขา กำลังปล่อยเชือกให้    ออกมาสัมผัสแรงลม “ช่วยฉันที ซูซานา ”และมือที่อ่อนนุ่มจะบีบมือฉันไว้แน่น  “คลายเชือก    ออกไปมากกว่านี้สิ ”การบรรยายดังยกตัวอย่างมานี้ มีนัยยะในทางเพศรวมอยู่ด้วย ขณะเดียวกันยังมีสัญลักษณ์ที่ทำให้รู้สึกร่วมไปได้หลายเรื่องกว่าความรัก  หรือในหน้า ๒๙วันที่เธอจากไป ฉันรู้ว่าไม่มีโอกาสได้พบเธออีกแล้ว เธอถูกแต้มแต่งด้วยแสงสีแดงจากดวง    อาทิตย์ยามบ่ายแก่ ๆ จากความสลัวที่ฉาบท้องฟ้าไว้ด้วยโลหิต ฯลฯนี่เป็นการบรรยายที่กระชับแต่เต็มไปด้วยนัยยะอีกเช่นกัน และจะได้พบบรรยายกาศเช่นนี้ตลอดเรื่อง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งในหน้า ๒๑สูงขึ้นไปเหนือม่านเมฆหลายร้อยเมตร สูงขึ้นไป สูงขึ้นไปเหนือสรรพสิ่ง เธอคงกำลังซ่อนตัวอยู่    ตรงนั้นสินะ ซูซานา ซ่อนตัวในความไร้ขอบเขตของพระเจ้า เบื้องหลังการคุ้มครองของพระองค์     ที่ที่ฉันไม่สามารถแตะต้องหรือมองเห็นตัวเธอได้ และที่ที่คำพูดฉันไม่มีวันไปถึง  ลำพังความซับซ้อนของเรื่องเล่าทั้งหลายนั้น หากขาดซึ่งมนตร์เสน่ห์แบบเมจิกเคิล เรียลลิสม์ แล้ว ไหนเลยจะตรึงผู้อ่านไว้ได้ ในเรื่องนี้ยังมีจุดสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การใช้โวหารแบบบุคลาธิษฐาน เติมเข้ามาอีก ตลอดเรื่องทุกสรรพสิ่งดำเนินอยู่ราวกับมีลมหายใจ มีชีวิตจิตใจไม่ต่างจากมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นต้นมะลิ นกฮัมมิงเบิร์ด นกเลียนเสียง ประตู หน้าต่าง ดวงไฟ ท้องฟ้า ผืนดิน กำแพง ดวงดาว ม้า ลา  แส้ ฯลฯ ยกตัวอย่าง หน้า ๗๙ครั้นฟ้าสางเม็ดฝนกระหน่ำลงมารดแผ่นดิน เกิดเป็นเสียงดังผลุขณะพุ่งเข้าใส่ดินที่อ่อนยวบยาบ    บนร่องดิน นกเลียนเสียงตัวหนึ่งโฉบลงมาต่ำเหนือทุ่งหญ้าและร้องเสียงโหยหวน เลียนเสียงเด็ก    ร้องด้วยความทุกข์ใจ พอไกลออกไปได้หน่อยหนึ่งมันร้องอะไรบางอย่างออกมาฟังคล้ายเสียง    สะอึกสะอื้นด้วยความเหนื่อยล้า และไกลกว่านั้น ที่ซึ่งเส้นขอบฟ้าเริ่มมองเห็นได้อย่างชัดเจน มัน    สะอึกและหัวเราะร่วน ก่อนจะร้องโอดครวญอีกครั้ง  เป็นอีกตัวอย่างที่เต็มไปด้วยรายละเอียด ทั้งบรรยากาศในท้องเรื่อง อารมณ์ผู้คน แม้แต่เด็กยังร้องด้วยความทุกข์ใจ หรือ หน้า ๘๐ ประตูบานใหญ่ในมีเดียลูนากรีดร้องเสียงแหลมลั่นขณะแกว่งเข้าออก เปียกปอนเพราะลมที่พัด    พาเอาความชุ่มชื่นมา ฯลฯ ทั้งหมดที่ได้กล่าวแล้วนั้น เป็นเพียงข้อสังเกตเล็กน้อย เพราะวรรณกรรมเล่มนี้เป็นความมหัศจรรย์อันละเอียดอ่อน ลุ่มลึก และสร้างแรงกระทบใจได้หลากหลาย ทั้งเศร้าโศก ขมขื่น เวทนาสงสาร ฉงนฉงาย สะอิดสะเอียน และอ่อนหวาน จะมีวรรณกรรมเล่มเล็กใดบ้างจะให้ความรู้สึกหลากหลายได้เช่นนี้บ้าง 
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
วันหยุดยาวปีใหม่ เรียกร้องให้คนส่วนใหญ่ ออกเดินทาง ,ท่องเที่ยว ละเลงความมันส์ออกมาจนหยดสุดท้ายหรือกลับไปอยู่กับครอบครัวอันอบอุ่น ..คำอวยพร ..การ์ดและกล่องของขวัญ ,ทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ๆ ต่างใจจดจ่ออยากจะได้รับ .....เราต่างรอคอย ,ความหวัง
แสงดาว ศรัทธามั่น
ภาพประกอบจาก http://www.flickr.com/photos/poakpong/2074673141/ ... โ ล ก นี้ก็เป็นฉันนี้เองบรรเลงเพลงรัก - ชัง – โฉดชั่วช้าทั้ง ง ด งา ม เ ริ ง ร่า พริ้มชีวาหลอมวิญญาณ์ โอบกอดรักงามแอบอิงมิได้พร่ำเพ้อ รันทด ฤา โศกศัลย์ด้วยเรานั้น ณ เพลานี้ ดวงใจนิ่งต่อชีวิต ต่อสัจธรรม ต่อความจริงกับชีวีทุกสิ่ง ย่อมเป็นไปน้อมรับรู้ เรียนรู้ ด้วยวิถีปัจเจกจักรวาล เอกภพ โลก ขับเคลื่อนไหวพราวเส้นทางช้างเผือก พริ้มอำไพโอบกอดดวงใจเพื่อนมนุษยชาติ พิลาสพลันพริ้วบทเพลงพริ้งเพราะเสนาะขับขานกล่อมพลังจักรวาลสู่โลก สู่สรวงสวรรค์ทั้งด่ำดิ่งลึกสู้ห้วงมหหานรก ห้วงโลกันตร์ไร้คืนวัน ไร้กาลเวลา ไร้ถิ่นที่พริ้มเพลงรักงดงาม มาทายทักชีพประจักษ์ สุขสงบ สว่างกระจ่าง ณ เวลานี้เมื่อเพลง รั ก หลอม รั ก แจ่มรุจีชีพชีวีจึ่งเริงร่า เปี่ยมพลังยลทุ่งฟ้ายามราตรีบทกวีดาวโลก พริ้งเพราะหวังเดือนดารา จรัสจ้า ณ ภวังค์กรรซิบสั่ง ร้องเพลงว่า ... อ ย่า จำยอม! 
แสงพูไช อินทะวีคำ
วันนี้ผมมีของฝากจากเมืองลาว มาให้พี่น้องได้อ่านกัน สิ่งที่ผมจะนำมาให้อ่านในประชาไทเป็นบทกลอนที่ผมแต่งขื้นเมื่อปี 2003 ระยะนั้นผมมองเห็นอะไรสักอย่างหนิ่งที่มันแฝงตัวอยู่กับสังคมลาว บางทีสิ่งที่พูดอาจไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกีดขื้นในเมืองลาวเพียงอย่างเดียว......แต่มันอาจเป็นสิ่งที่เกีดขื้นในทั่วโลกก็เป็นได้ แต่ในที่นี้ผมขอใช้เป็นสำนวนภาษาลาว ด้านหนิ่งสมบูรณ์ด้วย  มูนมากเงินคำด้านหนิ่งต่ำเพียงดิน  คอบความจนไฮ้(ไร้)เปลียบเหมือนไฟลามไหม้  มะไลกันบ่ดับมอด   เป็นแล้วสองส้นเตาะต่อยดั้น  ครือพ้าบั่นขวานยามเมื่องกางต่อน้ำ  พัดขาดเป็นวังกางต่อฟังคำหวาน  พัดได้ยินเสียงป้อย(ด่า)กินอ้อยซงชิหวานใส้  ทางในพัดขมขื่นบืนลุกลุยดุ่งดั้น  ปีนขื้นพัดตู่ดลงใจประสงค์อยากม้าง ภูเกลื่อนพังทลายกายพัดผ่อมบ่มีแฮง  แย่งย่อโตนเต้นอยากเห็นนงนางน้อง  คนงามเขากล่าวก่อหากหากล่าวเว้า  เพราะเขีนชั้นชาตตระกุลบุณมีแต่บ่ได้พบพ้อ  มะนีค่าคำแสนอยากได้แหวนเพ็ตนิล  บ่มีเงินชื้คิดอยากเป็นคนโก้  กายโตพัดหม้องม่นดูตนเพื่นบ่แพ้แล้ว  แนวอยาใส้ก็บ่มีความดีก็อยากได้  ใจพัดไฝ่ตัญหาอยากได้ปลาพัดดืงแห  ใส่รูกระปูน้อยกอยหากมีเต็มบ้าน ตาหวานบ่เลี้ยวใส่ใจหนิ่งคิด ใจหนิ่งเลี้ยว บ่เหลียวล้ำบ่อนจริง   นั้นน่อ 

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม