Skip to main content

หากใครเป็นกลุ่มรักร่วมเพศ ไม่ว่าจะเพิ่งแรกเข้า หรือรุ่นแง้มฝา (โลง) คงจำเป็นต้องรู้ถึงความเป็นมาเป็นไปของธงประจำชาติเกย์ & เลสเบี้ยน ชาน่าเตรียมเขียนมานานแสนนานแต่กั๊กไว้ แต่ก็อดใจไม่ไหวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเที่ยว Pride Festival ที่ รัฐฟลอริด้า หยิบหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของกลุ่มรักร่วมเพศ หน้าหนึ่งได้อธิบายความเป็นมาของสีรุ้ง จึงตัดสินใจนำสาระมาฝาก กว่าจะได้ฤกษ์งามยามดีจึงบอกเล่าเก้าสิบหยิบมาเม้าท์กันในฮ่ะ

   ธงสีรุ้งได้เริ่มใช้กันอย่างกว้างขวางและกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเคลื่อนไหวกลุ่มรักร่วมเพศมานานแสนนาน เค้าเริ่มใช้กันเมื่อไหร่ ใครเป็นผู้ก่อตั้ง สัปดาห์นี้พาไปรู้จักกันฮ่ะ

ธงสีรุ้งเคยใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณในทุกวัฒนธรรมของกรีก อาฟริกัน อเมริกัน และกลุ่มอินโดยูโรเปียน น๊านนานมาแล้วเจ้าค่ะ

โดยธงสีรุ้งที่เราได้รู้จักกันทุกวันนี้ถูกพัฒนาโดย ศิลปินชาวซานฟรานซิสโก คือ กิลเบิร์ติ เบคเคอร์ ในปี คศ.1978 โดยในเวลานั้นกลุ่มชาวรักร่วมเพศจำเป็นต้องมีสัญลักษณ์เพื่อใช้สืบต่อกันไปหลังจากงาน San Francisco Gay and Lesbian Pride Parade ในซานฟรานซิสโก นายเบคเคอร์ได้แรงบันดาลใจจากหลายๆ อย่างมารวมกันจากกลุ่มบุปผาชนหรือเรียกง่าย ๆ ว่า ฮิปปี้ที่มีความเคลื่อนไหวสู่สิทธิมนุษยชน และเค้าก็ได้สีรุ้งแปดเส้น โดยแต่ละสีนั้นได้แสดงถึงอำนาจสิทธิของกลุ่มความเคลื่อนไหวของเกย์ จากชัยชนะของสัญลักษณ์กลุ่มรักร่วมเพศในอังกฤษด้วยสีเขียวและม่วงอ่อน กลายเป็นที่นิยมในปี คศ.1960 และสีชมพูสามเหลี่ยมได้ถูกยึดมั่นเช่นเดียวกัน ซึ่งก็เหมือนกับธงเกย์สีรุ้ง ซึ่งนายเบคเคอร์ได้อธิบายถึงความหมายของแต่ละสีของกลุ่มเกย์และเลสเบี้ยน

Hot pink (ชมพู) for sexuality, คือ ลักษณะทางเพศ ความสนใจ หรือ ความสามารถในเรื่องเพศ
Red(แดง) for life คือ ที่มีชีวิต
Orange (ส้ม) for healing คือ การรักษา
Yellow (เหลือง) for the sun คือ ดวงอาทิตย์ จุดเด่น ความรุ่งโรจน์
Green (เขียว) for nature คือ ธรรมชาติ
Blue (น้ำเงิน)for art คือ ศิลปะ
Indigo (สีคราม) for harmony คือ ความกลมกลืนกัน ความลงรอยกัน
Violet (ม่วง) for spirit คือ จิตใจ หรือ น้ำใจ


นายเบคเคอร์และกลุ่มอาสาสมัครกว่าสามสิบคนได้ร่วมกันบรรจงย้อมสีด้วยมือโดยเริ่มอันเป็นต้นแบบธงเพื่อพาเหรดในปี คศ.1978 และก็เป็นที่เริ่มฮิตกันอย่างแพร่หลายทันที แต่อย่างไรก็ตามนายเบคเคอร์ก็ได้นำการดีไซน์ของเค้าเพื่อร่วมงานพาเหรดปีถัดมาและได้เอาสีชมพูออก ต่อมาในปีเดียวกัน เมื่อนาย Harvey Milk (นักต่อสู้เคลื่อนไหวเพื่อชาวเกย์ที่เค้าทำเป็นหนังดังแห่งปีล่าสุดนี้ )ได้ถูกฆ่าตาย คณะกรรมการขบวนพาเหรดในปีคศ.1979 ได้ตกลงเห็นด้วยว่าธงของนายเบคเคอร์นั้นเป็นสัญลักษณ์ที่สมบูรณ์ของเกย์ทั้งหมด และเพื่อต่อต้านโศกนาฎกรรม ทางคณะกรรมการจึงตกลงกันเพื่อกำจัดสีครามออกไป เพราะแสดงถึงความหมายที่ไร้เหตุผลที่ไม่ลงรอยกันของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง
 

 

ในวันนี้ หกสีได้กำเนิดขึ้นและแสดงระหว่างขบวนพาเหรดในปี คศ.1979 ธงได้เริ่มแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วเหมือนไฟป่าข้ามไปสู่ทั่วโลก มันได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการโดย International Congress of Flag Makers ในปี คศ.1989 เป็นต้นมา

ขบวนพาเหรดในปี คศ.1994 ที่นิวยอร์ค ธงชาติสีรุ้งขนาดกว้าง ๓๐ ฟุต ความยาว ๑ ไมล์ ได้ถูกถือในกลุ่มรักร่วมเพศกว่าหมื่นคนอย่างสมศักดิ์ศรี

หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า ความหลากสีของสีรุ้งนั้นหมายถึงอะไร แม้ทุกคนจะรู้กันว่าหากเห็นสีรุ้งเมื่อไหร่นั่นย่อมบ่งบอกถึงสีประจำชนชาติของกลุ่มชาวเรา ไม่ว่าจะเป็นทุกกิจกรรมความเคลื่อนไหว โลโก้ แม้กระทั่งบางร้านค้า หรือสถานที่บางแห่งเค้าจะปักธงสีรุ้ง หรือติดสัญลักษณ์สีรุ้งเพื่อบ่งบอกถึงการต้อนรับประชาชนชาวเกย์ ...เป็นสัญลักษณ์สากลของเรา สีรุ้งของเราท่องเอาไว้เด้อค่า...

 

 

บล็อกของ ชาน่า

ชาน่า
  หากใครเคยชมภาพยนตร์ไทยของจีทีเอช โดย บริษัท จอกว้าง ฟิล์ม จำกัด เมื่อปีที่แล้ว “หนีตามกาลิเลโอ” หลายคนคงจะประทับใจเรื่องราวและการต่อสู้ ความน่ารักและการใช้ชีวิตของสองสาวไทยที่ตัดสินใจไปเที่ยวและทำงานต่างประเทศ หนึ่งคนไปเพราะอกหัก อีกหนึ่งไปเพราะสอบตก อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใหม่  แต่สำหรับฉัน “ชาน่า” หนีไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่ตัดสินใจบินออกนอกประเทศ ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างอะไรไปมากกว่านางเอกของหนังเรื่องนี้นักเลย  สุข เหงา เศร้า คละเคล้ากันไปยิ่งกว่าละครเสียอีก    แต่ชาน่าไม่ใช่นางเอกของเรื่อง แค่เกย์ที่หลายคนรู้จัก บ้างรู้จักฉันดี…
ชาน่า
หลายคนอาจจะเคยสงสัยเหมือนกับชาน่าว่าในสมัยก่อนวิถีชีวิตของเกย์เป็นเยี่ยงไร วันนี้จึงหาคำตอบและเป็นความต้องการทราบส่วนตัวด้วยค่ะ เพราะว่ามีโอกาสได้ดูละครเรื่องสาปภูษา จึงใคร่รู้เยี่ยงนักว่าประวัติความเป็นมาและสังคม กฎระเบียบบ้านเมืองเป็นเช่นใด ข้าใคร่รู้ ณ บัดเดี๋ยวนี้
ชาน่า
  เมื่อช่วงพักร้อนที่ผ่านมา ชาน่าและเพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันตามประสาเฮฮาปาร์ตี้ เพื่อนๆ ต่างไม่เจอกันมานาน มีทั้งเพื่อนชายจริง หญิงแท้และชาวหลากหลายทางเพศ
ชาน่า
"กระจกจ๋า บอกซาร่าหน่อยนะ ว่าผู้ชายคนเนี้ยะ...ใช่มะ ใช่มะ...." มาแล้ว มาแล้ว มาแล้ว จิ๋ม ซาร่า ท้าสัมผัส... มากับอัลบั้มชุดที่สอง "คนร่วมฝัน"   หากคุณได้ยินเพลงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นหญิงจริงหรือหญิงเทียม ไม่ว่าคุณจะมองผู้หญิงคนนี้อย่างไร ชาน่ามองเธอว่า เธอคือผู้ชายที่กลายเป็นผู้หญิงที่น่าค้นหาอีกคน ข้อความจากเพลง “เกินห้ามใจ” ของนักร้องสาวประเภทสองที่ชื่อจิ๋ม ซาร่า หรือชื่อที่ใช้ในวงการ “สุจินต์รัตน์ ประชาไทย” ผู้ชายทั้งแท่งที่ผันตัวเองให้เป็นผู้หญิงทั้งทิ่ม เธอผู้นี้เป็นคนไทยคนแรกที่กล้าไปผ่าตัดแปลงเพศไกลถึงดินแดนเมืองผู้ดี “อังกฤษ”
ชาน่า
  การมองโลกในแง่ร้าย การมีประสบการณ์ที่โหดร้าย หรืออยู่ในสังคมที่แย่ อาจจะทำให้คนในสังคมนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก สังคมที่ไม่มีศีลธรรม สังคมทุนนิยมที่เอาแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยช่วยให้คนกลุ่มนั้นมีทัศนคติและพฤติกรรมที่กลุ่มคนดีเค้าไม่ทำกัน วันนี้อยากนำเสนอเหตุการณ์ และ ศัพท์ของเกย์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับสังคมสีม่วงของเรา ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ สังคมเกย์ไทยจะน่าอยู่อีกเยอะเลยล่ะฮ่ะ
ชาน่า
  เกิดเป็นคนมีชื่อเสียง (.... อือ... อันที่จริงทุกคนล้วนมีชื่อเป็นของตัวเองทั้งน้านนน) ก็ลำบากทำอะไรก็เป็นเป้าสายตาของประชาชี จะกิน ดื่ม ขยับซ้ายก็เป็นข่าว ขยับขวาก็มองต่างมุม โดนรุมทำข่าวอีก เรียกได้ว่าสูญเสียความเป็นส่วนตัวมากทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือของธุรกิจคนขายข่าว ขายเรื่องราวแล้วยังเป็นเหมือนสินค้าตัวหนึ่งทีเดียวฮ่ะ
ชาน่า
การมองโลกในแง่ดี(เกินไป) การทำดี การให้เพื่อคนที่เรารัก เคยรัก อยากรัก สุดท้ายคนนั้นกลายเป็นคนอื่นคนไกล คนไม่รู้จัก บางครั้งมันก็ยากที่จะสาธยายได้ว่า สิ่งที่เราทำไปนั้นมันเป็นไปทางทิศไหน หรือกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ สะกดคำว่า ... สายเกินไป “โดน” กับตัวเองแล้วล่ะ
ชาน่า
  เคยคิดอยากเขียนนิยาย ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริงเหมือนกัน แต่ฝีมือการเขียนยังไม่เข้าขั้น และที่สำคัญเวลายังไม่เอื้ออำนวย เพราะต้องทำงานเป็นนางแบกโกอินเตอร์ ทำงานทุกวันฮ่ะ (นางแบก คือทำงานอาชีพแบกถาด บนเรือสำราญเจ้าค่ะ) สัปดาห์นี้อยากเขียนเรื่องจริงจากประสบการณ์ของชายคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของชาน่า ที่เค้ากล้าเผยความเป็นเกย์ต่อครอบครัว ความจริงมันไม่เป็นเพียงแค่ความกล้า หากแต่เป็นสถานการณ์พาไป และอยากให้รับรู้ ยามเมื่อถึงเวลา เนื้อเรื่องและเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงจากครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนครอบครัวหนึ่ง เรียบเรียงโดยชาน่า ล้านนา ค่ะ
ชาน่า
ปีใหม่ก้าวผ่านมาตามวันเวลาของปฎิทิน ที่ถูกกำหนดไว้ วันเดือนปี (ใหม่) เป็นแค่กาลเวลาที่คนเรากำหนด นับจากวันที่ผมลืมตาดูโลก จนถึงวันนี้ วัน เวลา และปีเป็นสิ่งที่กำหนดอายุของคนเรา ใช่มันผ่านไปแล้ว ...ผ่านไปเข้าสู่วัยกลางคน ของคน ๆ หนึ่งที่ยืนหยัดอยู่บนโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปใบนี้ มีหลายสิ่งที่ดีเข้ามา มีหลายคราที่รู้สึกแย่ หลากอารมณ์ที่ตัวเองสัมผัสได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ค้นพบและรับรู้อยู่เสมอคือ... ความเป็นตัวตนที่แท้จริงภายใต้จิตสำนึก  
ชาน่า
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการรณรงค์ การกระทำที่ไม่รุนแรงต่อเพศหญิง แต่น้อยคนนักจะเข้าใจและเห็นด้วยกับการที่ได้ทราบข่าว การกระทำรุนแรงต่อเพศพิเศษนั่นคือเกย์ หรือกะเทย ที่เกี่ยวข้องกับผองเพื่อนชาวเรา ชาน่าได้อ่านจดหมายฉบับหนึ่งที่ส่งถึงเว็บเกย์โรมีโอ (เว็บไซต์สังคมเกย์ที่ขึ้นชื่อของโลก) โดยคนที่เขียนมาเล่าเป็นเกย์ ที่ออกค่ายอาสากับหมอ เกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งมีโอกาสได้ไปหลายประเทศต่าง ๆ ขอแปลจดหมายฉบับนี้เพื่อผู้อ่านค่ะ
ชาน่า
ชาน่าชอบอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้าถ้าหากมีเวลา แต่ถ้าไม่มีเวลามากนักก็เลือกบางเรื่อง ที่สนใจและเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องฮา ฮา แม้บางครั้งบอกกับตัวเองว่า “ไร้สาระน่าดู...” แต่ลึก ๆ แล้วเนื้อหาบางส่วนอาจจะให้ความบันเทิงแบบไม่ต้องคิดอะไรมากอย่างเสียไม่ได้ ลองอ่านเรื่องราวที่ชาน่าเรียบเรียงโดยได้พล๊อตเรื่องจาก เมล์ส่งต่อ แต่แต่งเติมเป็นภาษาง่าย ๆ ของชาน่านะฮะ (ดั่งเพื่อนหลายคนตั้งฉายาให้ว่า ชาน่า ปั้นน้ำเป็นตัวจนแข็ง....) ... ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม น้อง ๆ อายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่อนุญาตให้อ่านนะคะ เป็นคอลัมน์เรต ฉ. เด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองด้วยค่ะ
ชาน่า
  ชีวิตความรักของเกย์น่ะหรือ... หลายคนผลักดัน ยิ่งดันยิ่งดัก ยิ่งผลักเหมือนยิ่งแบกโลก เคยมีเพื่อนของชาน่าหลายคน บอกว่า ... “ฉันเชื่อเรื่องความรักของเกย์ ...ว่าคือรักนิรันดร์” แต่ “ฉัน” กลับขอค้าน ที่ค้านในที่นี้คือ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล คนที่เชื่ออย่างนั้นหนึ่งในนั้นคือ “ฉันเอง” ชาน่า