Skip to main content
ได้รับข่าวจากทางสมาคมฟ้าสีรุ้งส่งมาให้เกี่ยวกับเรื่องที่หลายคนทราบกันดีถึงพฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่ต่อต้านและรังเกียจ กลุ่มหลากหลายทางเพศ โดยเหตุเกิด ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเรื่องนี้ได้รับรายงานมาว่าจากการที่เครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์ เพศศึกษา เยาวชน สตรี และกลุ่มเครือข่ายความหลากหลายทางเพศได้ร่วมกันจัดงาน "เชียงใหม่เกย์ไพร์ด ครั้งที่ 2" เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคเอดส์ (เอชไอวี) , ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก, ลดอคติ และสร้างความเข้าใจต่อสิทธิของคนกลุ่มน้อยทางเพศ เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2552

ในวันดังกล่าว "กลุ่มเสื้อแดง" ใช้ชื่อว่า "กลุ่มรักเชียงใหม่ 51" ได้เปิดเวทีประณามการจัดงาน และเข้าปิดล้อมพื้นที่ ต่อต้านการเดินขบวนพาเหรดจนไม่สามารถจัดงานได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นในเมืองไทยเพราะเมืองประชาธิปไตย และเรื่องที่ทางกลุ่มเครือข่ายจัดขึ้นนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหาย ทำลายวัฒนธรรมแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามการจัดงานครั้งนั้นยังส่งผลประโยชน์ต่อลูกท่านหลานเราเกี่ยวกับข้อมูลที่พึงรู้ต่อเยาวชน สตรี และคนทุกเพศ โดยไม่ได้เจาะจงจัดให้คนหันมาเป็นกลุ่มรักร่วมเพศ สร้างความเสื่อมเสียแต่อย่างใด และกลุ่มเครือข่าย ฯ ทุกคนต่างเป็นลูกหลานคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่รุนแรงและไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง

 


หลังจากนั้นหนึ่งเดือนผ่านไปทางเครือข่ายฯ จึงได้ร่วมกันจัดงานเสวนาครบรอบ 1 เดือนจากความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในวันที่ 21 มีนาคม 2552 และร่วมกันเดินรณรงค์โบกธงสีรุ้ง เรียกร้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของคนรักเพศเดียวกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยทำให้ "ธงสีรุ้ง" โบกไสวที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อย่างสง่างามตามเมืองประชาธิปไตย



โดยในเรื่องนี้หลายฝ่ายผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็นไว้ดังเช่น นายกิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย กล่าวในวงเสวนาในวันนั้นว่า "รัฐไม่ได้เป็นที่พึ่งของพวกเรา การที่รัฐกดดันจากความรู้สึกไม่เห็นด้วย เป็นการไร้มนุษยธรรม การปฏิเสธไม่ให้เดินพาเหรด เพราะเชื่อว่าทำลายวัฒนธรรม เป็นการกล่าวหา มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำลายวัฒนธรรม เพราะเราไม่ได้แก้ผ้า การเกิดเหตุการณ์ถูกปิดล้อม และราชการบอกให้เรายอมเป็นการส่งเสริมให้อีกกลุ่มเหิมเกริม กดดันไม่ให้เกิดการเดินพาเหรด"


นายพงศ์ธร จันทร์เลื่อน หนึ่งในผู้ร่วมจัดและต้องตกอยู่ในเหตุการณ์ถูกปิดล้อม สะท้อนความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น "เราไม่ได้รู้สึกเคียดแค้นกับผู้กล่าวร้ายต่อเรา หลายคนที่อยู่ที่นั่นยอมให้คนที่เราไม่รู้จักยืนด่าทอ ตอนแรกรู้สึกเจ็บปวดต่อถ้อยคำเหล่านั้น แต่มันทำให้เราได้ฟัง และมีสติกับการฟัง เขาต้องเหนื่อยกับการตะโกนด่าพวกเราที่อยู่ในวงล้อมอย่างสงบ วันนั้นทำให้ผมรู้สึกว่า มันเลวร้าย เหมือนเราไม่ใช่คน และทำให้ผมรู้สึกสูญเสียความเป็นคนจริงๆ เมื่อได้ยินคำพูดเหล่านั้น"




รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล นักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวความคิดเห็นต่อเหตุการณ์และความรับผิดชอบจากรัฐที่ควรเกิดขึ้นว่า "กลุ่มเสื้อแดง กลุ่มคนรักเชียงใหม่ 51 ต้องละอายต่อการกระทำ และต้องออกมาขอโทษกับการกระทำที่ทำกับเกย์ไพร์ด ไม่อย่างนั้น การเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มเสื้อแดงที่ผ่านมาก็เป็นเพียงโวหาร ดีแต่ปาก นอกจากนี้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อ 21 กุมภาฯ สะท้อนให้เห็นว่า กลไกรัฐพึ่งไม่ได้ และขอประนามกลไกรัฐ ตั้งแต่ผู้ว่าฯ ไปถึงตำรวจที่รับผิดชอบ นอกจากนี้การเพิกเฉยจากรัฐบาลชุดนี้ยังสะท้อนนัยยะถึงการสนับสนุนความรุนแรง"


นายกิตติพันธ์ กันจินะ ตัวแทนเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์สะท้อนความคิดเห็นจากเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "ผมคิดว่า เรามีหน้าที่พูดและทำในสิ่งที่ถูกต้อง พวกเราเยาวชนยังไม่หมดกำลังใจที่จะทำ เราเลือกที่จะใช้สันติวิธี เพื่อจะสะท้อนความจริงใจ สิ่งที่ต้องบอกกับสังคม คือ รักเพศเดียวกันเป็นทางเลือกของชีวิต เราต้องมั่นใจและต้องอยู่ได้ เพราะตอนนี้รู้สึกได้ว่า เราอยู่ในความหวาดกลัวมากๆ"


หลังการเสวนาได้มีการจุดเทียนเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ และร่วมกันเดินขบวนรณรงค์ไปตามถนนราชดำเนินไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และกล่าวแถลงการณ์ถึงการใช้ความรุนแรงของกลุ่มเสื้อแดงว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวและน่าสลดใจอย่างยิ่ง  การใช้วัฒนธรรมมาเป็นเหตุผลกระทำรุนแรงและการเพิกเฉยของตำรวจกว่าร้อยนายที่อยู่ในเหตุการณ์เท่ากับอนุญาตให้กลุ่มเสื้อแดงใช้ความรุนแรง ทางเครือข่ายขอทวงถามความเป็นธรรมและจะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อเนื่องทุกเดือน

 

 

โดยส่วนตัวของอิฉัน เป็นหนึ่งในคนไทยที่รักคนไทยและประเทศชาติยิ่งชีพ แม้ตัวเองจะอยู่ห่างไกลเมืองไทย แต่ก็ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างเสมอ ในฐานะของคนไทยในต่างแดนที่ต้องติดต่อและพบปะกับชาวต่างชาติ อิฉันต้องตอบคำถามจากผู้โดยสารที่มาจากทั่วทุกโลกถึงเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในสยามประเทศตอนนี้ มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้คำตอบและแสดงความคิดเห็น คนไทยทุกคนอยากเห็นประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า มีความเป็นอยู่ที่ดี ชีวิตเป็นสุขกันถ้วนหน้าและรักกันดังเดิม แต่เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้ไปมากกว่าการเอาใจช่วยและภาวนาขอให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นไม่ใช่เลวลง แต่ถ้าหากเราจำเป็นต้องสู้ "เราก็จะสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว" ใครที่คิดจะทำอะไรขอให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องตามสังคมของชนหมู่มาก ไม่ใช่เพียงผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าคุณจะอยู่กลุ่มอิทธิพลเสื้อสีไหนก็ตาม เพียงแค่สีไม่ได้ช่วยอะไรได้ แต่จิตใจ สายเลือดเนื้อของคนไทย ยังคงเป็นสีเลือดเดียวกันอยู่ ให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกันสังคม และประเทศชาติก็คงจะไปรอด .... สักวัน ...ฉันหวัง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ส่งมาโดยคุณดนัย  ลินจงรัตน์ : โทร. 081-355-0696  และคุณนาดา ไชยจิตต์ : ผู้ประสานงานกลุ่มเสาร์ซาวเอ็ด กลุ่มบุคคลและองค์กรที่รวมตัวกันเพื่อต่อต้านความรุนแรงทางเพศ โทร.087-7097077 ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (www.rsat.info/sat21feb2009)

 

 

 

บล็อกของ ชาน่า

ชาน่า
  หากใครเคยชมภาพยนตร์ไทยของจีทีเอช โดย บริษัท จอกว้าง ฟิล์ม จำกัด เมื่อปีที่แล้ว “หนีตามกาลิเลโอ” หลายคนคงจะประทับใจเรื่องราวและการต่อสู้ ความน่ารักและการใช้ชีวิตของสองสาวไทยที่ตัดสินใจไปเที่ยวและทำงานต่างประเทศ หนึ่งคนไปเพราะอกหัก อีกหนึ่งไปเพราะสอบตก อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใหม่  แต่สำหรับฉัน “ชาน่า” หนีไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่ตัดสินใจบินออกนอกประเทศ ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างอะไรไปมากกว่านางเอกของหนังเรื่องนี้นักเลย  สุข เหงา เศร้า คละเคล้ากันไปยิ่งกว่าละครเสียอีก    แต่ชาน่าไม่ใช่นางเอกของเรื่อง แค่เกย์ที่หลายคนรู้จัก บ้างรู้จักฉันดี…
ชาน่า
หลายคนอาจจะเคยสงสัยเหมือนกับชาน่าว่าในสมัยก่อนวิถีชีวิตของเกย์เป็นเยี่ยงไร วันนี้จึงหาคำตอบและเป็นความต้องการทราบส่วนตัวด้วยค่ะ เพราะว่ามีโอกาสได้ดูละครเรื่องสาปภูษา จึงใคร่รู้เยี่ยงนักว่าประวัติความเป็นมาและสังคม กฎระเบียบบ้านเมืองเป็นเช่นใด ข้าใคร่รู้ ณ บัดเดี๋ยวนี้
ชาน่า
  เมื่อช่วงพักร้อนที่ผ่านมา ชาน่าและเพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันตามประสาเฮฮาปาร์ตี้ เพื่อนๆ ต่างไม่เจอกันมานาน มีทั้งเพื่อนชายจริง หญิงแท้และชาวหลากหลายทางเพศ
ชาน่า
"กระจกจ๋า บอกซาร่าหน่อยนะ ว่าผู้ชายคนเนี้ยะ...ใช่มะ ใช่มะ...." มาแล้ว มาแล้ว มาแล้ว จิ๋ม ซาร่า ท้าสัมผัส... มากับอัลบั้มชุดที่สอง "คนร่วมฝัน"   หากคุณได้ยินเพลงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นหญิงจริงหรือหญิงเทียม ไม่ว่าคุณจะมองผู้หญิงคนนี้อย่างไร ชาน่ามองเธอว่า เธอคือผู้ชายที่กลายเป็นผู้หญิงที่น่าค้นหาอีกคน ข้อความจากเพลง “เกินห้ามใจ” ของนักร้องสาวประเภทสองที่ชื่อจิ๋ม ซาร่า หรือชื่อที่ใช้ในวงการ “สุจินต์รัตน์ ประชาไทย” ผู้ชายทั้งแท่งที่ผันตัวเองให้เป็นผู้หญิงทั้งทิ่ม เธอผู้นี้เป็นคนไทยคนแรกที่กล้าไปผ่าตัดแปลงเพศไกลถึงดินแดนเมืองผู้ดี “อังกฤษ”
ชาน่า
  การมองโลกในแง่ร้าย การมีประสบการณ์ที่โหดร้าย หรืออยู่ในสังคมที่แย่ อาจจะทำให้คนในสังคมนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก สังคมที่ไม่มีศีลธรรม สังคมทุนนิยมที่เอาแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยช่วยให้คนกลุ่มนั้นมีทัศนคติและพฤติกรรมที่กลุ่มคนดีเค้าไม่ทำกัน วันนี้อยากนำเสนอเหตุการณ์ และ ศัพท์ของเกย์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับสังคมสีม่วงของเรา ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ สังคมเกย์ไทยจะน่าอยู่อีกเยอะเลยล่ะฮ่ะ
ชาน่า
  เกิดเป็นคนมีชื่อเสียง (.... อือ... อันที่จริงทุกคนล้วนมีชื่อเป็นของตัวเองทั้งน้านนน) ก็ลำบากทำอะไรก็เป็นเป้าสายตาของประชาชี จะกิน ดื่ม ขยับซ้ายก็เป็นข่าว ขยับขวาก็มองต่างมุม โดนรุมทำข่าวอีก เรียกได้ว่าสูญเสียความเป็นส่วนตัวมากทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือของธุรกิจคนขายข่าว ขายเรื่องราวแล้วยังเป็นเหมือนสินค้าตัวหนึ่งทีเดียวฮ่ะ
ชาน่า
การมองโลกในแง่ดี(เกินไป) การทำดี การให้เพื่อคนที่เรารัก เคยรัก อยากรัก สุดท้ายคนนั้นกลายเป็นคนอื่นคนไกล คนไม่รู้จัก บางครั้งมันก็ยากที่จะสาธยายได้ว่า สิ่งที่เราทำไปนั้นมันเป็นไปทางทิศไหน หรือกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ สะกดคำว่า ... สายเกินไป “โดน” กับตัวเองแล้วล่ะ
ชาน่า
  เคยคิดอยากเขียนนิยาย ที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริงเหมือนกัน แต่ฝีมือการเขียนยังไม่เข้าขั้น และที่สำคัญเวลายังไม่เอื้ออำนวย เพราะต้องทำงานเป็นนางแบกโกอินเตอร์ ทำงานทุกวันฮ่ะ (นางแบก คือทำงานอาชีพแบกถาด บนเรือสำราญเจ้าค่ะ) สัปดาห์นี้อยากเขียนเรื่องจริงจากประสบการณ์ของชายคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของชาน่า ที่เค้ากล้าเผยความเป็นเกย์ต่อครอบครัว ความจริงมันไม่เป็นเพียงแค่ความกล้า หากแต่เป็นสถานการณ์พาไป และอยากให้รับรู้ ยามเมื่อถึงเวลา เนื้อเรื่องและเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงจากครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนครอบครัวหนึ่ง เรียบเรียงโดยชาน่า ล้านนา ค่ะ
ชาน่า
ปีใหม่ก้าวผ่านมาตามวันเวลาของปฎิทิน ที่ถูกกำหนดไว้ วันเดือนปี (ใหม่) เป็นแค่กาลเวลาที่คนเรากำหนด นับจากวันที่ผมลืมตาดูโลก จนถึงวันนี้ วัน เวลา และปีเป็นสิ่งที่กำหนดอายุของคนเรา ใช่มันผ่านไปแล้ว ...ผ่านไปเข้าสู่วัยกลางคน ของคน ๆ หนึ่งที่ยืนหยัดอยู่บนโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปใบนี้ มีหลายสิ่งที่ดีเข้ามา มีหลายคราที่รู้สึกแย่ หลากอารมณ์ที่ตัวเองสัมผัสได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ค้นพบและรับรู้อยู่เสมอคือ... ความเป็นตัวตนที่แท้จริงภายใต้จิตสำนึก  
ชาน่า
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการรณรงค์ การกระทำที่ไม่รุนแรงต่อเพศหญิง แต่น้อยคนนักจะเข้าใจและเห็นด้วยกับการที่ได้ทราบข่าว การกระทำรุนแรงต่อเพศพิเศษนั่นคือเกย์ หรือกะเทย ที่เกี่ยวข้องกับผองเพื่อนชาวเรา ชาน่าได้อ่านจดหมายฉบับหนึ่งที่ส่งถึงเว็บเกย์โรมีโอ (เว็บไซต์สังคมเกย์ที่ขึ้นชื่อของโลก) โดยคนที่เขียนมาเล่าเป็นเกย์ ที่ออกค่ายอาสากับหมอ เกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งมีโอกาสได้ไปหลายประเทศต่าง ๆ ขอแปลจดหมายฉบับนี้เพื่อผู้อ่านค่ะ
ชาน่า
ชาน่าชอบอ่านทุกอย่างที่ขวางหน้าถ้าหากมีเวลา แต่ถ้าไม่มีเวลามากนักก็เลือกบางเรื่อง ที่สนใจและเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องฮา ฮา แม้บางครั้งบอกกับตัวเองว่า “ไร้สาระน่าดู...” แต่ลึก ๆ แล้วเนื้อหาบางส่วนอาจจะให้ความบันเทิงแบบไม่ต้องคิดอะไรมากอย่างเสียไม่ได้ ลองอ่านเรื่องราวที่ชาน่าเรียบเรียงโดยได้พล๊อตเรื่องจาก เมล์ส่งต่อ แต่แต่งเติมเป็นภาษาง่าย ๆ ของชาน่านะฮะ (ดั่งเพื่อนหลายคนตั้งฉายาให้ว่า ชาน่า ปั้นน้ำเป็นตัวจนแข็ง....) ... ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม น้อง ๆ อายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่อนุญาตให้อ่านนะคะ เป็นคอลัมน์เรต ฉ. เด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองด้วยค่ะ
ชาน่า
  ชีวิตความรักของเกย์น่ะหรือ... หลายคนผลักดัน ยิ่งดันยิ่งดัก ยิ่งผลักเหมือนยิ่งแบกโลก เคยมีเพื่อนของชาน่าหลายคน บอกว่า ... “ฉันเชื่อเรื่องความรักของเกย์ ...ว่าคือรักนิรันดร์” แต่ “ฉัน” กลับขอค้าน ที่ค้านในที่นี้คือ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล คนที่เชื่ออย่างนั้นหนึ่งในนั้นคือ “ฉันเอง” ชาน่า