Skip to main content

ชญานุช เล็กตระกูลชัย  

 

mona lisa smile
ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile

 

ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด

ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่ มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ

(บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร แคเธอรีน วัตสัน (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ เบ็ตตี้ วอร์เร็น (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ)

ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ หญิงเป็น หญิง

ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20 (ช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ยังคงถูกครอบงำจากปรัชญาดั้งเดิม (สมัยกรีก มาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ จนกระทั่งยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์) ในเรื่องของ ความดี’ ‘ ความงาม’ ‘ความสมบูรณ์รวมไปถึงเรื่องของ ศิลปะตลอดจนวิถีชีวิตประจำวัน

ผู้คนส่วนใหญ่ถูกทำให้เชื่อมั่นว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตที่ดี (เช่นเดียวกับศิลปะ) ที่ถูกต้องนั้นมีเพียงมาตรฐานเดียว และเป็น มาตรฐานสากล แบบเดียวกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

เช่นเดียวกันกับนักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ (ตัวแทนของกลุ่มอนุรักษ์นิยม) ที่กระบวนการของการเรียนการสอนในชั้นเรียนช่วยตอกย้ำให้พวกเธอเชื่อมั่นว่ามาตรฐานที่สังคมวางไว้ให้ คือ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของ หญิงสาวผู้สมบูรณ์แบบ

พวกเธอถูกกำหนดให้เรียนวิชาศิลปะ ด้วยการท่องจำสิ่งที่อยู่ในตำรา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้พวกเธอไม่จำเป็นที่จะต้องตั้งคำถามกับ อำนาจ (authority) ที่กำหนดให้พวกเธอ เป็นอะไร? และต้องทำอะไร?

พวกเธอถูกบังคับให้เรียนการจัดโต๊ะอาหาร เพื่อที่จะทำให้พวกเธอรับรู้ว่าหน้าที่ที่สำคัญของพวกเธอคือการหมกมุ่นอยู่กับงานบ้าน มากกว่าการพัฒนามันสมอง

พวกเธอถูกสอนว่าควรจะ นั่งหรือยืนอย่างไร? ด้วยการหล่อหลอกว่าสิ่งเหล่านั้นคือความงาม(ในแบบเดียวกับศิลปะ) ภายใต้หลักสูตร มารยาททางสังคม

พวกเธอถูกทำให้เชื่อว่า การแต่งงานคือการปลดปล่อยให้พวกเธอมีอิสระ โดยที่ทางวิทยาลัยจะยกเว้นให้นักศึกษาที่แต่งงานแล้วไม่จำเป็นต้องเข้าเรียน

แต่การก้าวเข้ามาของ แคเธอรีน วัตสันอาจารย์ประวัติศาสตร์ศิลปะคนใหม่ (สัญลักษณ์ของการต่อต้านสังคมประเพณี ตัวแทนของหลังสมัยใหม่) ได้ช่วยกระตุ้นความสงสัย และความกระหายในเสรีภาพ ขึ้นภายในจิตใจของเหล่านักศึกษาสาว

ภาพซากศพ ปี 1925” คือ บทเรียนแรกที่ แคเธอรีน วัตสัน ใช้ปลดเปลื้องพันธนาการทางความคิดของเหล่าลูกศิษย์ ที่ยึดมั่นอยู่กับ มาตรฐานสากลจนทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายในชั้นเรียน และเป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่ช่วยปลดปล่อยพวกเธออออกจากกรอบที่ทางวิทยาลัย (สังคม) ได้กำหนดไว้

ผลงานรูปดอกทานตะวันของ วินเซนต์ แวนโกะ คือบทเรียนต่อมาที่แคเธอรีน วัตสัน ใช้ในการประณามกระบวนการจับจิตวิญญาณของมนุษย์ยัดใส่กล่อง (ความพยายามในการสร้างมนุษย์ภายใต้มาตรฐานเดียว) เธอตั้งคำถามถึงความชอบธรรม ในการนำผลงานของศิลปิน (ผู้ปฏิเสธแบบแผนและประเพณี) มาผลิตซ้ำด้วยวิธีการสร้างมาตรฐาน เช่นเดียวกับสินค้าทั่วไป

ภาพ ‘Mona Lisa’ คือ เครื่องมือชิ้นสุดท้าย ที่ช่วยทำให้นักศึกษาสาวผู้ยึดมั่นในจารีตประเพณีอย่าง เบ็ตตี้ วอเร็นเข้าใจว่า แท้จริงแล้วเบื้องหลังรอยยิ้มของโมนาลิซ่า อาจจะไม่ได้แฝงไว้ด้วยความสุขอย่างที่ผู้คนทั่วไปรับรู้ เช่นเดียวกันกับ มาตรฐานสากลที่สังคมพยายามหยิบยื่นให้ผู้หญิงอย่างพวกเธอ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจึง ไม่จำเป็นที่จะ ต้องยิ้มเมื่อพวกเธอไม่ต้องการที่จะยิ้ม

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง Monalisa smile ยังพยายามสอดแทรกสัญลักษณ์มากมายลงในแผ่นฟิล์ม เพื่อที่จะบ่งชี้ถึงกระบวนการผลิตซ้ำความหมาย หรือค่านิยม โดยผ่านสิ่งที่เรียกว่า ศิลปะ

อาคารเก่ายอดแหลมที่มีลักษณะคล้ายโบสถ์ทางศาสนา ซึ่งถูกใช้เป็นวิทยาลัย คือสัญลักษณ์ในการเชื่อมโยง ความรู้กับ ศีลธรรมให้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน และผู้ที่อยู่ภายใต้ตึกแห่งนี้จำเป็นที่จะต้องนอบน้อม และยอมรับในสิ่งที่วิทยาลัย (สังคม) หยิบยื่นให้ด้วยความศรัทธา (เช่นเดียวกับความศรัทธาในศาสนา) แม้ว่า ความศรัทธาหรือ การน้อมรับนั้นจะทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ภายใต้ร่มเงาของอาคารแห่งนี้จะต้องตกอยู่ในบรรยากาศซึมเศร้าของฉากสีทึมๆ ก็ตาม

ลายดอกไม้ ที่ใช้ตกแต่งฝาผนังของบ้านหรือแม้กระทั่งเสื้อผ้าที่ตัวละครหญิงสวมใส่ คือสัญลักษณ์ของความพยายามผลิตซ้ำความหมายที่ว่า ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ และ ผู้หญิงก็ควรจะมีความงามในลักษณะเดียวกันกับธรรมชาติ คือมีความสวยงามและอ่อนช้อยเหมือนดอกไม้ ยามแรกแย้ม

ตู้เย็น ของ แนนซี่ แอ๊บบีย์ (มาร์เซีย เกย์ ฮาร์เด้น) ครูสาวผู้สอนวิชาการออกเสียงและการวางตัว ซึ่งถูกจัดระเบียบด้วยการแบ่งช่อง และแปะชื่อเจ้าของ (พื้นที่) ในแต่ละชั้น คือสัญลักษณ์ของกรอบประเพณีที่ผู้หญิงควรยึดมั่น และพวกเธอไม่สามารถที่จะก้าวข้ามออกจากกรอบเหล่านั้นได้

เสื้อผ้าสีเข้ม คือภาพสะท้อนของกฎระเบียบทางสังคม ที่ส่งผลต่อตัวบุคคล จะสังเกตได้ว่าตัวละครส่วนใหญ่ในเรื่องจะสวมใส่เสื้อผ้าสีเข้ม แต่สำหรับอาจารย์ที่ต้องถูกไล่ออกจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ เนื่องจากทำผิดกฎด้วยการแจกห่วงอนามัยให้นักศึกษาหญิง กลับสวมใส่เสื้อผ้าสีขาวในฉากที่เธอจะต้องถูกไล่ออก เพราะนั่นคือสัญลักษณ์ในการปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจาก มาตรฐานสากลเช่นเดียวกับนกพิราบสีขาวซึ่งบินออกจากอาคารเรียนก็คือสัญลักษณ์ในการปลดปล่อยเหล่านักศึกษาสาวให้เป็นอิสระจากวาทกรรม แม่และ เมีย หลังจากจบการศึกษา

ระบำใต้น้ำ คือกระบวนการอบรมให้ผู้หญิงทำในสิ่งที่เหมือนๆ กัน ดังเช่น กลุ่มนักกีฬาระบำใต้น้ำที่จะต้องพร้อมเพรียงกันในการเคลื่อนไหว และไม่ว่าพวกเธอ (ผู้หญิง) จะรู้สึกอย่างไรในขณะนั้น กีฬาชนิดนี้ก็บังคับให้พวกเธอ ต้องยิ้มเข้าไว้

และแม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile จะพยายามตั้งคำถามกับปรัชญาตะวันตก และศิลปะที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกดขี่ทางเพศ แต่ขณะเดียวกันตัวละครอย่าง แคทเธอรีน วัตสัน ก็คือประชาสัมพันธ์ชั้นดีของ อเมริกาที่ทำหน้าที่ประกาศให้โลกรู้ว่า พวกเขาคือผู้ปลดปล่อยโลกออกจากสังคมประเพณี และนั่นคือเหตุผลที่เธอจะต้องออกเดินทางไป ทำลายกำแพงในยุโรป ในตอนจบของภาพยนตร์

ไม่ว่าคุณจะชื่นชอบ หนังในฐานะ ศิลปะหรือสัญลักษณ์ในการบอกเล่าเรื่องราวทางสังคมแต่ Mona Lisa smile ก็น่าจะเป็นภาพยนตร์อีกเรื่องที่คนดูหนัง ควรดู (แม้ว่าจะหายากหน่อยนะ)

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   “การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง”  “ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้” (Jean-Francois…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   ผมชอบคำว่า ‘เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า ‘เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง ‘มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking) ส่วนคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย    บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘สะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย 
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ถ้าหาก E เท่ากับ EMOTION (อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง และ อื่นๆ), M เท่ากับ MAN (มนุษย์ไม่ว่าหญิง ชาย และอื่นๆ) และ C เท่ากับ CLOCK (ซึ่งหมายถึงระยะเวลา) จากสมการ E=mc2คุณคิดว่า ‘จำนวนของบุคคล' ที่เหมาะสมกับ ‘ความรัก' จะเท่ากับเท่าไหร่? รัก/สาม/เศร้า ตามสมการ รัก/สอง/สุข และเวลาแค่ไหนถึงจะพอสำหรับ ‘รัก' ‘รัก/สาม/เศร้า' เป็นเรื่องราวของเพื่อนรักสามคน ที่ ‘แอบรัก' กัน ในฐานะที่มากกว่าเพื่อน ‘น้ำ' แอบรัก ‘พายุ' ‘พายุ' แอบรัก ‘ฟ้า' โดยที่ตัวฟ้าเองก็ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่าพายุแอบรักตนเอง (และก็ไม่เคยรับรู้เช่นกันว่าเพื่อนรักของตนอย่าง ‘น้ำ' ก็แอบรักเพื่อนรักอย่าง ‘พายุ'…
Cinemania
  < นพพร ชูเกียรติศิริชัย >     หากพูดถึงประเทศจีน คุณนึกถึงอะไร? กังฟู, ก๋วยเตี๋ยว, หมีแพนด้า,มังกร, ลูกท้อ,ซาลาเปา, ปรัชญาลัทธิเต๋า และภูเขาสูงหน้าตาแปลกๆ   หากสิ่งเหล่านี้คือคำตอบของคุณ นั่นก็หมายความว่า คุณพร้อมแล้วที่จะไปสัมผัสกับภาพยนตร์ ‘KUNG FU PANDA’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘กังฟูแพนด้า จอมยุทธพลิกล็อค ช็อคยุทธภพ’   ผมไม่แน่ใจว่าหมีแพนด้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ‘มิตรภาพ’ ระหว่างประเทศจีน กับประเทศอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ บทบาทความเป็น ‘ทูตสันติภาพ’ ของหมีแพนด้า ในบัดนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ฮอลีวู้ดไปเป็นที่เรียบร้อย 
Cinemania
   ปิติ-ชูใจท่ามกลาง ‘หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน ‘โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง ‘เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง) แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ…
Cinemania
   ::: ข้อความหลังเส้นประของข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ ::: โดย...ณภัค เสรีรักษ์ภาพยนตร์พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของผู้กำกับชื่อดัง ‘หว่องการ์ไว' (Wong Kar Wai) ที่เพิ่งเข้าฉายให้ผู้ชมในดินแดนประเทศไทยได้ชมกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่เพิ่งจะผ่านมา (2008) ที่มีชื่อว่า My Blueberry Nights นั้น อาจมีประเด็นต่างๆ นานาให้สามารถสร้างบทสนทนากันได้มากมายและยาวนาน แต่สำหรับในที่นี้นั้น ผมอยากจะ ‘หยิบเลือก' เพียงบางประเด็นมา ‘อ่าน' หรืออีกนัยหนึ่ง ‘สนทนา' เกี่ยวกับ ‘ตัวละคร' ในภาพยนตร์ดังกล่าว ภายใต้ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ‘ความทรงจำ' ซึ่งสะท้อนร่วมกับความคิดเกี่ยวกับ ‘…
Cinemania
Between the FramesE-mail: betweentheframes@gmail.com:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: "All those gathered here will know that it is not by sword or spear that the LORD saves; for the battle is the LORD's, and He will give all of you into our hands."                                                   …
Cinemania
 :::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: เวลา 2 ชั่วโมงกว่า (158 นาที) ในหนัง There will be blood - ผลงานเรื่องที่ 5 ของผู้กำกับ Paul Thomas Anderson คือเรื่องราวในด้านที่มืดดำของมนุษย์ เต็มไปด้วยความโลภ ความอ่อนแอ สันดานดิบ และแน่นอน...มันรวมไปถึง ‘การสร้างศรัทธา' ด้วยวิธีการอันน่าขนลุกด้วย...เราได้รู้จัก ‘เดเนียล เพลนวิว' (Daniel Day-Lewis) นักเสี่ยงโชคที่ตั้งใจทำเหมืองเงิน แต่บังเอิญได้ที่ดินซึ่งมีน้ำมันดิบนอนสงบนิ่งอยู่ใต้พื้นมาแทน โลกของเดเนียลไม่มีคำว่า ‘สุดแท้แต่โชคชะตา' หรือ ‘ศรัทธา' ไม่มีแม้กระทั่งคำว่า ‘พระผู้เป็นเจ้า'…
Cinemania
ซาเสียวเอี้ยการไล่ตีแมลงสาบบนฝาบ้าน อาจเป็นเกมสนุกสนานอย่างหนึ่ง และเพียงสายลมเย็นจากพัดลมมือสองที่เป่าไล่ความร้อนในค่ำคืนอบอ้าวอาจเป็นถึง ‘รางวัลชีวิต' ของสองพ่อลูกผู้ยากจน...ผู้อาศัยอยู่ในโลกแห่งความแร้นแค้นทั้งหมดที่่ว่ามา-อาจฟังไม่ต่างจากสงครามชีวิตสุดรันทด (บัดซบ!) แต่เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของ ‘โจวซิงฉือ' ไอ้สิ่งที่ควรจะเศร้า...กลับทำให้เราหัวเราะออกมาได้000ถึงแม้ว่าหน้าหนังของ CJ7 จะถูกโฆษณาว่าเป็นแนว Sci-fi แต่ ‘ใจความสำคัญ' ที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ ‘ความลี้ลับ' ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ หรือถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็ต้องบอกว่า นี่คือหนังครอบครัวแนว Comedy-Drama ที่ให้ ‘…