Skip to main content

ชญานุช เล็กตระกูลชัย  

 

mona lisa smile
ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile

 

ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด

ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่ มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ

(บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร แคเธอรีน วัตสัน (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ เบ็ตตี้ วอร์เร็น (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ)

ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ หญิงเป็น หญิง

ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20 (ช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ยังคงถูกครอบงำจากปรัชญาดั้งเดิม (สมัยกรีก มาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ จนกระทั่งยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์) ในเรื่องของ ความดี’ ‘ ความงาม’ ‘ความสมบูรณ์รวมไปถึงเรื่องของ ศิลปะตลอดจนวิถีชีวิตประจำวัน

ผู้คนส่วนใหญ่ถูกทำให้เชื่อมั่นว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตที่ดี (เช่นเดียวกับศิลปะ) ที่ถูกต้องนั้นมีเพียงมาตรฐานเดียว และเป็น มาตรฐานสากล แบบเดียวกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

เช่นเดียวกันกับนักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ (ตัวแทนของกลุ่มอนุรักษ์นิยม) ที่กระบวนการของการเรียนการสอนในชั้นเรียนช่วยตอกย้ำให้พวกเธอเชื่อมั่นว่ามาตรฐานที่สังคมวางไว้ให้ คือ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของ หญิงสาวผู้สมบูรณ์แบบ

พวกเธอถูกกำหนดให้เรียนวิชาศิลปะ ด้วยการท่องจำสิ่งที่อยู่ในตำรา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้พวกเธอไม่จำเป็นที่จะต้องตั้งคำถามกับ อำนาจ (authority) ที่กำหนดให้พวกเธอ เป็นอะไร? และต้องทำอะไร?

พวกเธอถูกบังคับให้เรียนการจัดโต๊ะอาหาร เพื่อที่จะทำให้พวกเธอรับรู้ว่าหน้าที่ที่สำคัญของพวกเธอคือการหมกมุ่นอยู่กับงานบ้าน มากกว่าการพัฒนามันสมอง

พวกเธอถูกสอนว่าควรจะ นั่งหรือยืนอย่างไร? ด้วยการหล่อหลอกว่าสิ่งเหล่านั้นคือความงาม(ในแบบเดียวกับศิลปะ) ภายใต้หลักสูตร มารยาททางสังคม

พวกเธอถูกทำให้เชื่อว่า การแต่งงานคือการปลดปล่อยให้พวกเธอมีอิสระ โดยที่ทางวิทยาลัยจะยกเว้นให้นักศึกษาที่แต่งงานแล้วไม่จำเป็นต้องเข้าเรียน

แต่การก้าวเข้ามาของ แคเธอรีน วัตสันอาจารย์ประวัติศาสตร์ศิลปะคนใหม่ (สัญลักษณ์ของการต่อต้านสังคมประเพณี ตัวแทนของหลังสมัยใหม่) ได้ช่วยกระตุ้นความสงสัย และความกระหายในเสรีภาพ ขึ้นภายในจิตใจของเหล่านักศึกษาสาว

ภาพซากศพ ปี 1925” คือ บทเรียนแรกที่ แคเธอรีน วัตสัน ใช้ปลดเปลื้องพันธนาการทางความคิดของเหล่าลูกศิษย์ ที่ยึดมั่นอยู่กับ มาตรฐานสากลจนทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายในชั้นเรียน และเป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่ช่วยปลดปล่อยพวกเธออออกจากกรอบที่ทางวิทยาลัย (สังคม) ได้กำหนดไว้

ผลงานรูปดอกทานตะวันของ วินเซนต์ แวนโกะ คือบทเรียนต่อมาที่แคเธอรีน วัตสัน ใช้ในการประณามกระบวนการจับจิตวิญญาณของมนุษย์ยัดใส่กล่อง (ความพยายามในการสร้างมนุษย์ภายใต้มาตรฐานเดียว) เธอตั้งคำถามถึงความชอบธรรม ในการนำผลงานของศิลปิน (ผู้ปฏิเสธแบบแผนและประเพณี) มาผลิตซ้ำด้วยวิธีการสร้างมาตรฐาน เช่นเดียวกับสินค้าทั่วไป

ภาพ ‘Mona Lisa’ คือ เครื่องมือชิ้นสุดท้าย ที่ช่วยทำให้นักศึกษาสาวผู้ยึดมั่นในจารีตประเพณีอย่าง เบ็ตตี้ วอเร็นเข้าใจว่า แท้จริงแล้วเบื้องหลังรอยยิ้มของโมนาลิซ่า อาจจะไม่ได้แฝงไว้ด้วยความสุขอย่างที่ผู้คนทั่วไปรับรู้ เช่นเดียวกันกับ มาตรฐานสากลที่สังคมพยายามหยิบยื่นให้ผู้หญิงอย่างพวกเธอ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจึง ไม่จำเป็นที่จะ ต้องยิ้มเมื่อพวกเธอไม่ต้องการที่จะยิ้ม

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง Monalisa smile ยังพยายามสอดแทรกสัญลักษณ์มากมายลงในแผ่นฟิล์ม เพื่อที่จะบ่งชี้ถึงกระบวนการผลิตซ้ำความหมาย หรือค่านิยม โดยผ่านสิ่งที่เรียกว่า ศิลปะ

อาคารเก่ายอดแหลมที่มีลักษณะคล้ายโบสถ์ทางศาสนา ซึ่งถูกใช้เป็นวิทยาลัย คือสัญลักษณ์ในการเชื่อมโยง ความรู้กับ ศีลธรรมให้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน และผู้ที่อยู่ภายใต้ตึกแห่งนี้จำเป็นที่จะต้องนอบน้อม และยอมรับในสิ่งที่วิทยาลัย (สังคม) หยิบยื่นให้ด้วยความศรัทธา (เช่นเดียวกับความศรัทธาในศาสนา) แม้ว่า ความศรัทธาหรือ การน้อมรับนั้นจะทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ภายใต้ร่มเงาของอาคารแห่งนี้จะต้องตกอยู่ในบรรยากาศซึมเศร้าของฉากสีทึมๆ ก็ตาม

ลายดอกไม้ ที่ใช้ตกแต่งฝาผนังของบ้านหรือแม้กระทั่งเสื้อผ้าที่ตัวละครหญิงสวมใส่ คือสัญลักษณ์ของความพยายามผลิตซ้ำความหมายที่ว่า ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ และ ผู้หญิงก็ควรจะมีความงามในลักษณะเดียวกันกับธรรมชาติ คือมีความสวยงามและอ่อนช้อยเหมือนดอกไม้ ยามแรกแย้ม

ตู้เย็น ของ แนนซี่ แอ๊บบีย์ (มาร์เซีย เกย์ ฮาร์เด้น) ครูสาวผู้สอนวิชาการออกเสียงและการวางตัว ซึ่งถูกจัดระเบียบด้วยการแบ่งช่อง และแปะชื่อเจ้าของ (พื้นที่) ในแต่ละชั้น คือสัญลักษณ์ของกรอบประเพณีที่ผู้หญิงควรยึดมั่น และพวกเธอไม่สามารถที่จะก้าวข้ามออกจากกรอบเหล่านั้นได้

เสื้อผ้าสีเข้ม คือภาพสะท้อนของกฎระเบียบทางสังคม ที่ส่งผลต่อตัวบุคคล จะสังเกตได้ว่าตัวละครส่วนใหญ่ในเรื่องจะสวมใส่เสื้อผ้าสีเข้ม แต่สำหรับอาจารย์ที่ต้องถูกไล่ออกจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ เนื่องจากทำผิดกฎด้วยการแจกห่วงอนามัยให้นักศึกษาหญิง กลับสวมใส่เสื้อผ้าสีขาวในฉากที่เธอจะต้องถูกไล่ออก เพราะนั่นคือสัญลักษณ์ในการปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจาก มาตรฐานสากลเช่นเดียวกับนกพิราบสีขาวซึ่งบินออกจากอาคารเรียนก็คือสัญลักษณ์ในการปลดปล่อยเหล่านักศึกษาสาวให้เป็นอิสระจากวาทกรรม แม่และ เมีย หลังจากจบการศึกษา

ระบำใต้น้ำ คือกระบวนการอบรมให้ผู้หญิงทำในสิ่งที่เหมือนๆ กัน ดังเช่น กลุ่มนักกีฬาระบำใต้น้ำที่จะต้องพร้อมเพรียงกันในการเคลื่อนไหว และไม่ว่าพวกเธอ (ผู้หญิง) จะรู้สึกอย่างไรในขณะนั้น กีฬาชนิดนี้ก็บังคับให้พวกเธอ ต้องยิ้มเข้าไว้

และแม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile จะพยายามตั้งคำถามกับปรัชญาตะวันตก และศิลปะที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกดขี่ทางเพศ แต่ขณะเดียวกันตัวละครอย่าง แคทเธอรีน วัตสัน ก็คือประชาสัมพันธ์ชั้นดีของ อเมริกาที่ทำหน้าที่ประกาศให้โลกรู้ว่า พวกเขาคือผู้ปลดปล่อยโลกออกจากสังคมประเพณี และนั่นคือเหตุผลที่เธอจะต้องออกเดินทางไป ทำลายกำแพงในยุโรป ในตอนจบของภาพยนตร์

ไม่ว่าคุณจะชื่นชอบ หนังในฐานะ ศิลปะหรือสัญลักษณ์ในการบอกเล่าเรื่องราวทางสังคมแต่ Mona Lisa smile ก็น่าจะเป็นภาพยนตร์อีกเรื่องที่คนดูหนัง ควรดู (แม้ว่าจะหายากหน่อยนะ)

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …