ซาเสียวเอี้ย
แต่ไหนแต่ไรมา...ระบบการศึกษาในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกมักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการ ‘ดับฝัน’ ของคนวัยหนุ่มสาว เพราะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้นที่จะ ‘เรียนรู้’ สิ่งแปลกใหม่ในวัยเยาว์ถูกลบเลือนหายไปในกรอบ-กฎเกณฑ์-เหตุผล-เงื่อนไข และข้อเท็จจริงทั้งหลายทั้งปวง (ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดมาใช้ชีวิตบนโลกก่อนหน้าเรา...)
กระนั้น...ใครหลายคนก็ยังยินดีเดินตามแนวทางหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกวางไว้แล้วโดยไม่เคยคิดตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยนกับ ‘การยอมรับ’ จากสังคมรอบข้าง...เพื่อที่มนุษย์ทั้งหลาย (ซึ่งเป็นสัตว์สังคม) จะได้ไม่ต้องรู้สึกวุ่นวายใจไปกับความโดดเดี่ยวแปลกแยกหรือแหกคอก
การตั้งคำถามกับระบบการศึกษาจึงเป็นเรื่องหนักหนาสาหัส และไม่ค่อยมีใครกล้าลุกขึ้นมาปฏิเสธระบบกันมากนัก แม้จะมีกระแส ‘Drop Out’ ที่ชักชวนให้นักเรียนนักศึกษาหันหลังให้กับตำราและออกไปเผชิญโลกกว้างอยู่บ้างในยุคหนึ่งทางซีกโลกตะวันตก แต่กาลเวลาก็พิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเป็นอย่างบิล เกตส์ หรือสตีฟ จ๊อบส์ได้...
00000
แต่ในภาพยนตร์ตลกวัยรุ่นฮอลลีวู้ดที่ออกฉายปี 2549 เรื่อง Accepted ผลงานเรื่องแรกในฐานะผู้กำกับของ ‘สตีฟ พิงค์’ (อดีตคนเขียนบทหนัง Grosse Point Blank และ High Fidelity และผู้อำนวยการสร้างเรื่อง America Sweetheart) ได้พยายามตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะเป็นคำถามที่มาพร้อมกับลีลาโปกฮามากกว่าจะจริงจังขึงขังอะไรมากมาย แต่ก็เป็นภาพยนตร์วัยรุ่นเรื่องล่าสุดที่พูดถึงปัญหาของระบบการศึกษาออกมาตรงๆ
เรื่องราวในหนังเริ่มต้นด้วยการบอกเล่าชะตากรรมของ ‘บาร์เทิลบี เกนส์’ (แสดงโดยจัสติน ลอง จาก Die Hard ภาคล่าสุด) เด็กนักเรียนไฮสคูลปีสุดท้ายที่ยังเคว้งคว้างไร้อนาคต เพราะไม่มีมหาวิทยาลัยแห่งไหนตอบรับใบสมัครเรียนของเขาเลย ในขณะที่พ่อและแม่ต่างก็คาดหวังว่าลูกชายคนเดียวจะต้องมีอนาคตที่ดีและได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ไหนสักแห่ง ทำให้บาร์เทิลบียิ่งกดดันว่าพ่อกับแม่คงผิดหวังถ้าได้รู้ว่าลูกชายกลายเป็นคน ‘ไร้อนาคต’ ไปเสียแล้ว
ขณะที่ ‘เชอร์แมน เชรดเดอร์’ (แสดงโดยโจนาห์ ฮิล) เพื่อนสนิทของบาร์เทิลบี และ ‘รอรี่’ (แสดงโดย มาเรีย เทเยอร์) สาวผมแดงเด็กเรียนเพื่อนร่วมชั้น ล้วนไม่ผ่านการพิจารณาจากมหาวิทยาลัยที่สมัครไปกันถ้วนหน้า ทำให้ทั้งหมดคิดแผนการขึ้นมาตบตาบรรดาพ่อแม่ว่าพวกเขาได้รับการตอบรับเข้าเรียนแล้วจากมหาวิทยาลัยที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ และพวกเขาได้สร้างเว็บไซต์แนะนำมหาวิทยาลัยอุปโลกน์ให้พ่อและแม่เข้าไปดูประกอบคำโกหกให้ฟังน่าเชื่อถือมากขึ้น
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยกำมะลอเกิดขึ้นได้เพราะภาพตัดต่อจากโปรแกรมโฟโตชอป แสดงบรรยากาศและอาคารสถานที่สมจริงสมจัง แถมยังมีปุ่มให้ ‘ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต่อ’ คลิกส่งใบสมัครมาพิจารณากันอีกด้วย และนอกจากพ่อแม่ของทั้งหมดจะเคลิ้มเชื่อตามไปด้วยแล้ว ปรากฏว่านักเรียนนับร้อยคนพลาดหวังจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เสิร์ชเจอข้อมูลปลอมๆ ในเว็บไซต์ก็ยังหลงเชื่อและส่งใบสมัครเข้ามาจริงๆ และระบบอัตโนมัติซึ่งเชอร์แมนเผลอตั้งค่าไว้ก็ดันส่งใบตอบรับเข้าเรียนไปให้คนที่ส่งใบสมัครเข้ามาทั้งหมดจริงๆ อีกเหมือนกัน!
ตัวการต้นคิดทั้ง 3 คนจึงต้องไปเช่าอาคารโรงพยาบาลร้างมาปรับปรุงใหม่ให้เป็น ‘สถาบันเทคโนโลยีเซาท์ฮาร์มอน’ หรือ South Harmon Institute of Technology ซึ่งใช้คำย่อว่า S.H.I.T ได้พอดี!! โดยใช้เงินทุนหลักล้านดอลลาร์ซึ่งได้มาจากค่าเทอมที่นักศึกษาบ้าจี้นับร้อยคนโอนมาให้ ก่อนที่ชีวิตใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย (เก๊) จะเริ่มขึ้นอย่างทุลักทะเล
ด้วยพล็อตเรื่องเฮฮาและไม่เน้นความสมจริงสมจัง ทำให้หนังไม่ได้รับคำวิจารณ์ในแง่ดีเท่าไหร่เมื่อนำออกฉายในอเมริกา แต่ถ้าพูดถึงเรื่องรายได้ก็ถือว่าไม่เจ็บตัว ถึงอย่างนั้นหนังก็ไม่มีโอกาสได้ฉายในโรงหนังบ้านเราอยู่ดี ส่วนดีวีดีลิขสิทธิ์ที่ออกวางจำหน่ายก็ตั้งชื่อออกแนวเบาสมองว่า ‘จิ๊จ๊ะมหาวิทยาลัยรักแห้ว’ ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ของหนังยิ่งเบาโหวงไปกันใหญ่
แต่ในความไร้สาระที่เคลือบอยู่ด้านนอก พอกะเทาะปลอกออกพบว่าตัวหนังยังมีแก่นแกนที่ชัดเจน แม้จะดูพยายามจนเกินไปในหลายๆ ฉาก แต่ก็เป็นการตั้งคำถามตรงไปตรงมาชวนให้คิดต่ออยู่ใช่น้อย
ไม่ว่าจะเป็นฉากที่บาร์เทิลบีเปิดโอกาสให้นักศึกษาของ S.H.I.T ช่วยกันเสนอหลักสูตรที่แต่ละคนอยากเรียนขึ้นมาแทนที่การ ‘กำหนดหลักสูตร’ ซึ่งยึดตามแนวทางการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาในแบบแผนดั้งเดิม ซึ่งมีกรอบชัดเจนว่านักศึกษามีสิทธิ์เลือกได้เฉพาะสิ่งที่ทางสถาบันเสนอให้เท่านั้น ทว่าไม่มีสิทธิ์เรียกร้องหลักสูตรหรือแนวทางที่แตกต่างออกไป
รวมถึงฉากที่บาร์เทิลบีต้องไปชี้แจงหลักสูตรการเรียนรู้ของ S.H.I.T ในฐานะ ‘ผู้ก่อตั้งสถาบันฯ’ ต่อหน้าคณะกรรมาธิการพิจารณามาตรฐานสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการรับรองคุณภาพและวิทยฐานะของสถาบันการศึกษาตัวจริง นำไปสู่การปะทะคารมว่าอะไรกันแน่ที่จำเป็นและยั่งยืนต่อการดำรงชีวิตมากกว่า ระหว่าง‘การศึกษา’ กับ ‘การเรียนรู้’ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลากหลายแนวทาง และไม่มีใครเป็นผู้ผูกขาดองค์ความรู้อยู่ฝ่ายเดียว
00000
หากประเด็นที่ Accepted วิพากษ์วิจารณ์อย่างชัดเจนที่สุดก็คือความคับแคบของระบบการศึกษาที่ปฏิเสธความแตกต่างหลากหลายทางวิธีคิดเรื่องการเรียนรู้ และกระบวนการ ‘คัดทิ้ง’ ที่ไม่ต่างจากการประทับตรา (ผิดๆ) ว่าผู้ที่ไม่ผ่านมาตรฐานการคัดเลือกนั้น ‘บกพร่อง’ หรือ ‘ด้อยคุณภาพ’
"ในความคิดคำนึงถึงระบบการศึ
ขณะที่ในหนัง-บาร์เทิลบีมองว่าบรรดานักศึกษา S.H.I.T ไม่ได้รับการ ‘ยอมรับ’ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นเพราะพวกเขาถูก ‘พิพากษา’ ไปแล้วว่าเป็นพวกขี้แพ้ไม่เอาไหน และเป็นพวกที่ถูก ‘คัดทิ้ง’ จากที่อื่น แต่นักศึกษาของ S.H.I.T ทั้งหมดก็ไม่เคยคิดที่จะหยุดเรียนรู้ในสิ่งที่พวกเขายังไม่รู้...
ประโยคยืดยาวของบาร์เทิลบีในฉากนี้คล้ายจะเป็นแถลงการณ์ของผู้กำกับสตีฟ พิงค์ อดีตนักกิจกรรมทางสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับการบริการชุมชนอยู่พักใหญ่ก่อนจะผันตัวสู่แวดวงบันเทิง แต่ถ้าใครจะมองว่าหนังเรื่องนี้ทำขึ้นเพื่อตอบสนองจินตนาการที่ไม่มีวันเป็นจริงของพวกขี้แพ้ซึ่งอยากตอบโต้ระบบที่ตัวเองไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วม...ก็ย่อมทำได้อีกเช่นกัน
แต่ในชีวิตจริงซึ่งทางแก้ปัญหาไม่ได้มีแค่ ก ข ค ง หรือข้อ 1 2 3 4 บางทีการมองต่างมุมเรื่องการเรียนรู้อาจช่วยเตือนสติได้ว่าโลกยังมีอะไรที่มากกว่าและกว้างกว่าการวัดผลคะแนนสอบจากกระดาษคำตอบที่มีตัวเลือกให้เลือกแค่ไม่กี่ข้อ…
บล็อกของ Cinemania
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย “การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง” “ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้” (Jean-Francois…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ผมชอบคำว่า ‘เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า ‘เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง ‘มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking) ส่วนคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘สะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ถ้าหาก E เท่ากับ EMOTION (อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง และ อื่นๆ), M เท่ากับ MAN (มนุษย์ไม่ว่าหญิง ชาย และอื่นๆ) และ C เท่ากับ CLOCK (ซึ่งหมายถึงระยะเวลา) จากสมการ E=mc2คุณคิดว่า ‘จำนวนของบุคคล' ที่เหมาะสมกับ ‘ความรัก' จะเท่ากับเท่าไหร่? รัก/สาม/เศร้า ตามสมการ รัก/สอง/สุข และเวลาแค่ไหนถึงจะพอสำหรับ ‘รัก' ‘รัก/สาม/เศร้า' เป็นเรื่องราวของเพื่อนรักสามคน ที่ ‘แอบรัก' กัน ในฐานะที่มากกว่าเพื่อน ‘น้ำ' แอบรัก ‘พายุ' ‘พายุ' แอบรัก ‘ฟ้า' โดยที่ตัวฟ้าเองก็ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่าพายุแอบรักตนเอง (และก็ไม่เคยรับรู้เช่นกันว่าเพื่อนรักของตนอย่าง ‘น้ำ' ก็แอบรักเพื่อนรักอย่าง ‘พายุ'…
Cinemania
< นพพร ชูเกียรติศิริชัย > หากพูดถึงประเทศจีน คุณนึกถึงอะไร? กังฟู, ก๋วยเตี๋ยว, หมีแพนด้า,มังกร, ลูกท้อ,ซาลาเปา, ปรัชญาลัทธิเต๋า และภูเขาสูงหน้าตาแปลกๆ หากสิ่งเหล่านี้คือคำตอบของคุณ นั่นก็หมายความว่า คุณพร้อมแล้วที่จะไปสัมผัสกับภาพยนตร์ ‘KUNG FU PANDA’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘กังฟูแพนด้า จอมยุทธพลิกล็อค ช็อคยุทธภพ’ ผมไม่แน่ใจว่าหมีแพนด้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ‘มิตรภาพ’ ระหว่างประเทศจีน กับประเทศอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ บทบาทความเป็น ‘ทูตสันติภาพ’ ของหมีแพนด้า ในบัดนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ฮอลีวู้ดไปเป็นที่เรียบร้อย
Cinemania
ปิติ-ชูใจท่ามกลาง ‘หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน ‘โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง ‘เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง) แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ…
Cinemania
::: ข้อความหลังเส้นประของข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ ::: โดย...ณภัค เสรีรักษ์ภาพยนตร์พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของผู้กำกับชื่อดัง ‘หว่องการ์ไว' (Wong Kar Wai) ที่เพิ่งเข้าฉายให้ผู้ชมในดินแดนประเทศไทยได้ชมกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่เพิ่งจะผ่านมา (2008) ที่มีชื่อว่า My Blueberry Nights นั้น อาจมีประเด็นต่างๆ นานาให้สามารถสร้างบทสนทนากันได้มากมายและยาวนาน แต่สำหรับในที่นี้นั้น ผมอยากจะ ‘หยิบเลือก' เพียงบางประเด็นมา ‘อ่าน' หรืออีกนัยหนึ่ง ‘สนทนา' เกี่ยวกับ ‘ตัวละคร' ในภาพยนตร์ดังกล่าว ภายใต้ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ‘ความทรงจำ' ซึ่งสะท้อนร่วมกับความคิดเกี่ยวกับ ‘…
Cinemania
Between the FramesE-mail: betweentheframes@gmail.com:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: "All those gathered here will know that it is not by sword or spear that the LORD saves; for the battle is the LORD's, and He will give all of you into our hands." …
Cinemania
:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: เวลา 2 ชั่วโมงกว่า (158 นาที) ในหนัง There will be blood - ผลงานเรื่องที่ 5 ของผู้กำกับ Paul Thomas Anderson คือเรื่องราวในด้านที่มืดดำของมนุษย์ เต็มไปด้วยความโลภ ความอ่อนแอ สันดานดิบ และแน่นอน...มันรวมไปถึง ‘การสร้างศรัทธา' ด้วยวิธีการอันน่าขนลุกด้วย...เราได้รู้จัก ‘เดเนียล เพลนวิว' (Daniel Day-Lewis) นักเสี่ยงโชคที่ตั้งใจทำเหมืองเงิน แต่บังเอิญได้ที่ดินซึ่งมีน้ำมันดิบนอนสงบนิ่งอยู่ใต้พื้นมาแทน โลกของเดเนียลไม่มีคำว่า ‘สุดแท้แต่โชคชะตา' หรือ ‘ศรัทธา' ไม่มีแม้กระทั่งคำว่า ‘พระผู้เป็นเจ้า'…
Cinemania
ซาเสียวเอี้ยการไล่ตีแมลงสาบบนฝาบ้าน อาจเป็นเกมสนุกสนานอย่างหนึ่ง และเพียงสายลมเย็นจากพัดลมมือสองที่เป่าไล่ความร้อนในค่ำคืนอบอ้าวอาจเป็นถึง ‘รางวัลชีวิต' ของสองพ่อลูกผู้ยากจน...ผู้อาศัยอยู่ในโลกแห่งความแร้นแค้นทั้งหมดที่่ว่ามา-อาจฟังไม่ต่างจากสงครามชีวิตสุดรันทด (บัดซบ!) แต่เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของ ‘โจวซิงฉือ' ไอ้สิ่งที่ควรจะเศร้า...กลับทำให้เราหัวเราะออกมาได้000ถึงแม้ว่าหน้าหนังของ CJ7 จะถูกโฆษณาว่าเป็นแนว Sci-fi แต่ ‘ใจความสำคัญ' ที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ ‘ความลี้ลับ' ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ หรือถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็ต้องบอกว่า นี่คือหนังครอบครัวแนว Comedy-Drama ที่ให้ ‘…