Skip to main content

อันที่จริงในหมู่ประเทศผู้ชนะสงคราม ก็ไม่ได้มีความเห็นลงรอยกันเกี่ยวกับเป้าหมายของสนธิสัญญาแวร์ซาย ฝรั่งเศสและเบลเยียมต้องการลงโทษเยอรมัน ยึดพื้นที่อุตสาหกรรมมา เพื่อให้แน่ใจว่าเยอรมันจะไม่มีโอกาสฟื้นกลับมาเป็นมหาอำนาจอีกครั้ง อเมริกาและอังกฤษต้องการเยอรมันที่เข้มแข็งพอจะต่อกรกับศัตรูในอนาคตอย่างรัสเซีย นักการเมืองเยอรมันหลายคนคาดหวังว่าสุดท้าย อิทธิพลของจอร์จและวิลสัน จะอยู่เหนือคลีเมนซัว

พวกเขาคิดผิด

สนธิสัญญาแวร์ซายบังคับให้เยอรมันปลดอาวุธอย่างปราศจากเงื่อนไข กองทัพเยอรมันถูกจำกัดจำนวนให้เหลือเพียงหนึ่งแสนคน ไม่มากพอจะไปรุกรานประเทศเพื่อนบ้าน แต่มากพอจะก่อสงครามความวุ่นวายภายใน ยุทโธปกรณ์ต่างๆ ถูกริบไปเป็นของผู้ชนะ รถถัง เครื่องบิน เรือดำน้ำ กระทั่งสายโทรเลข สายไฟ และวิทยุสื่อสาร (สามประการหลังดูจะเป็น "ตลกฝรั่งเศส" เพื่อการเยาะเย้ยประเทศผู้แพ้สงครามมากกว่า)

เจ็บปวดพอๆ กับการสูญเสียกองทัพอันเกรียงไกร คือดินแดนและประชากรถูกหั่นออกถึงหนึ่งในสิบ แคว้นอุตสาหกรรมอัลแซค-ลอเรน กลับไปเป็นของฝรั่งเศสภายหลังจากสงครามบิสมาร์กค์เมื่อห้าสิบปีที่แล้ว ประเทศใหม่ถูกสร้างขึ้นมาจากดินแดนปรัสเซีย และอุบเปอร์ ซิเลเซีย โปแลนด์กลายมาเป็นรัฐอิสระอีกครั้ง ภายหลังจากถูกปรัสเซียและรัสเซียกลืนกินในศตวรรษที่ 18 มองอย่างเปิดใจให้กว้าง นี่ไม่ใช่การตัดแบ่งดินแดนแบบสุ่มมั่วอย่างที่นักการเมืองฝ่ายขวาป่าวประกาศ

ข้อเรียกร้องจากแวร์ซายก่อคลื่นกระทบอย่างรุนแรงในสังคมเยอรมัน ไม่มีนักการเมืองคนไหนกล้าลงนามในสนธิสัญญา เพราะนั่นเท่ากับว่า ตัวเองจะต้องกลายเป็นคนทรยศตามคำโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายขวา แม้แต่ฝ่ายซ้ายเอง ยังมองว่าสนธิสัญญานี้คือความพยายามของโลกทุนนิยมที่จะแผ่อิทธิพลเข้ายึดครองเยอรมัน ฝรั่งเศสและเบลเยียมให้เวลาเยอรมันห้าวัน ก่อนจะยกกองทัพข้ามพรมแดน ตลอดห้าวันนี้ มีกระทั่งความพยายามก่อรัฐประหารของกลุ่มนายพล โดยจะยกเอานอสเก รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ผู้รับผิดชอบไฟร์คอร์ปส์ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี

ทั้งนี้ทั้งนั้นการตัดสินใจสุดท้ายขึ้นอยู่กับฮินเดนบูร์ก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ถ้ากองทัพเยอรมันยังมองเห็นหนทางชนะ ก็คุ้มค่าที่จะยึดอำนาจแล้วสถาปนารัฐเผด็จการ แต่วีรบุรุษแห่งเทนเนนเบิร์กก็ยังโลเล เขาบอกรัฐบาลว่า "เราไม่มีความหวังที่จะต้านทานข้าศึก หากพวกเขายกทัพเข้ามา...แต่ในฐานะชายชาติทหาร ข้าพเจ้ายอมตายดีกว่าลงนามในสันติภาพอันน่าอดสูนี้" จนเกือบวินาทีสุดท้ายฮินเดลบูร์กถึงจะยอมรับว่าเยอรมันหมดหนทางสู้ ความใฝ่ฝันจะเป็นจอมเผด็จการของนอสเกสิ้นลง และฝรั่งเศสได้รับคำตอบรับจากเยอรมัน ครึ่งชั่วโมงก่อนถึงเส้นตายยกทัพ

เป็นเรื่องปรกติที่การเมืองหลังฉากยิ่งร้อนแรงเท่าใด หน้าฉากจะร้อนฉ่ายิ่งกว่านั้นหลายเท่า พอถึงตอนนั้น ไม่มีนักการเมืองคนใดยังหลอกตัวเองต่อไปได้เยอรมันยังเหลือศักยภาพในการทำสงคราม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่หาประโยชน์จากการตีฆ้องร้องป่าว สร้างคะแนนนิยมในหมู่มวลชนฝ่ายขวา ฟิลิป ไชเดอมานน์ นายกรัฐมนตรีคนแรกของไวมาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งกลางที่ประชุม เพราะปฏิเสธไม่ยอมลงนามในสนธิสัญญาที่เขาเรียกว่า "การตัดแข้งขาอย่างโหดร้าย""สัญญาทาส" "ราวกับเอาเท้ามาเหยียบย่ำ และเอานิ้วมาควักลูกตา" สัญญาฉบับนี้จะเปลี่ยน "คนเยอรมันหกสิบล้านคนให้กลายเป็นนักโทษในทันที พวกเราจะถูกจับขังอยู่หลังรั้วลวดหนามและลูกกรง จะกลายเป็นนักโทษใช้แรงงาน โดยมีแผ่นดินบ้านเกิดคือคุก!" เสียงปรบมือกึกก้องดังมาจากทั่วสภา

แน่นอนถ้าแกนนำของพรรคเอสเพเดยังเป็นได้ขนาดนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า กลุ่มอนุรักษนิยม ชาตินิยมจะเป็นได้ขนาดไหน อาเธอร์ กราฟ วอน โพซาดอฟสกี-เวอเนอร์ หัวหน้าพรรคประชาชนเยอรมันในขณะนั้น กล่าวว่า "การปฏิเสธไม่ยอมลงนาม จะส่งผลร้ายเพียงชั่วขณะ แต่ประเทศเยอรมันจะยังรักษาเกียรติศักดิ์ศรีเอาไว้ได้ และต่อให้ชาวเยอรมันต้องสละชีวิต [ในสงคราม] ภายหลังความตาย มีโลกใหม่รอคอยเราอยู่ การยอมรับสนธิสัญญาฉบับนี้ หมายถึงการจองจำลูกหลานของเราไปอีกหลายชั่วอายุคน"

โพซาดอฟสกีคือตัวอย่างของผู้เชี่ยวชาญในการบิดเบือน จับประวัติศาสตร์มาใช้แบบงูๆ ปลาๆ เพื่อสนับสนุนข้อถกเถียงของตัวเอง เช่น อัลแซคแท้ที่จริงเป็นดินแดนของเยอรมัน ก่อนจะถูกฝรั่งเศสยึดครองไป หรืออัพเปอร์ซิเลเซียไม่ใช่ส่วนหนึ่งของประเทศโปแลนด์ (เหตุการณ์แรกเกิดในศตวรรษที่ 16 และเหตุการณ์หลัง ศตวรรษที่ 13) โพซาดอฟสกียังเลี่ยงบาลีด้วยการ แทนที่จะพูดถึงบทบาทของเยอรมันในสงครามโลก ก็กลับไปยกเอาความโหดร้ายทารุณของอังกฤษและเบลเยียมในประเทศอาณานิคมมาคัดง้างเพื่อปลุกปั่นมวลชน

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

 ในรูปนี้คือผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสี่แห่งแวร์ซาย ลอยด์ จอร์จ ผู้นำอังกฤษ วิทรีโอ ออแลนโด ผู้นำอิตาลี จอร์จ คลีเมนซัว ผู้นำฝรั่งเศส และวูดโร วิลสัน จากอเมริกา

ติดตามเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับไวมาร์เยอรมันได้ที่เพจ

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=223366854462021&set=a.197511890380851.50244.197506433714730&type=1&theater

บล็อกของ Nibuk

Nibuk
ฟรอยด์เขียน Group Psychology and the Analysis of the Ego ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับ Beyond Pleasure Principle ข้อถกเถียงพื้นฐานของทั้งสองเล่มนี้คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ขณะที่ปัจเจกชนมีแนวโน้มจะหวนไปสู่สภาวะดั้งเดิม คือความตาย สังคมอันประกอบไปด
Nibuk
Death Instinct/Death Drive หรือสัญชาติญาณแห่งความตาย เป็นแนวคิดใหม่ที่ซิกมุนต์ ฟรอยด์พัฒนาขึ้นมาภายหลังสงครามโลก   ทหารผ่านศึกส่วนใหญ่ล้วนตกอยู่ในอาการผวาระเบิด (shell shock)   นี่จึงเป็นโอกาสอันดีให้ฟรอยด์พิสูจน์ทฤษฎีของตัวเอง โดยใช้วิชาจิตวิเคราะห์รักษาคนไข้เหล่านี้ 
Nibuk
หนึ่งในข้อเรียกร้องของสนธิสัญญาแวร์ซายก็คือ เยอรมันต้องส่งมอบตัวอาชญากรสงคราม ให้ฝ่ายพันธมิตรดำเนินคดี ในที่นี้หมายถึงวิลเฮล์ม -- ถ้าเขาไ
Nibuk
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์คือลูกผสมของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศประชาธิปไตยต่างๆ ทั่วยุโรป ตำแหน่งประมุขของประเทศเปลี่ยนจากเชื้อพระวงศ์ มาเป็นประธานาธิบดี (president) ผู้มาจากการเลือกตั้ง และประจำตำแหน่งทุกๆ เจ็ดปี เฉกเช่นเดียวกับกษัตริย์ ประธานาธิบดีคือสัญลักษณ์สูงสุดของประเทศ สามารถแต่งตั้งแล
Nibuk
อันที่จริงในหมู่ประเทศผู้ชนะสงคราม ก็ไม่ได้มีความเห็นลงรอยกันเกี่ยวกับเป้าหมายของสนธิสัญญาแวร์ซาย ฝรั่งเศสและเบลเยียมต้องการลงโทษเยอรมัน ยึดพื้นที่อุตสาหกรรมมา เพื่อให้แน่ใจว่าเยอรมันจะไม่มีโอกาสฟื้นกล
Nibuk
เดือนเมษายนปี 1919 เคาต์อูลริช วอน บรอคดอร์ฟ-รานต์ซาว รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศคนแรกของเยอรมันใหม่ เดินทางไปพระราชวังแวร์ซาย เพื่อลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ข้อตกลงเจรจาสงบศึกที่เขาเตรียมเอาไว้คือ เยอรมันจะยอมปลดอาวุธของตัวเองเท่ากับที่เพื่อนบ้านยอมปลด ยอมสละแว่นแคว้นชายแดนภายใต้เงื่อนไขว่า ผู้คนใน
Nibuk
วีรบุรุษซิกฟรีด สายเลือดแห่งมหาเทพ ครองรักอย่างมีความสุขกับนางฟ้าตกสวรรค์ บรึนฮิลเดอ บนภูเขาที่ล้อมรอบไปด้วยทะเลเพลิง อยู่มาวันหนึ่ง ซิกฟรีดต้องการออกไปผจญภัยในโลกภายนอก หลังจากร่ำลาภรรยาสุดที่รักเขาให้สัญญาว่าจะคงรักแต
Nibuk
คานดินสกีเกิดและเติบโตในกรุงมอสโค เมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เขาเรียนจบและประกอบอาชีพทางกฎหมายจนถึงอายุสามสิบ ก่อนหน้านั้นไม่เคยได้รับการฝึกฝนใดๆ ทางศิลปะมาก่อน เหตุการณ์สำคัญที่หักเหชีวิตของชายหนุ่ม คือการได้ชมภาพวาดกอง
Nibuk
ต้นแบบของดอกเตอร์คาลิการิคือจิตแพทย์ผู้โด่งดังสองคน คนแรกคือฌอง มาแตง ชาคูต์ จิตแพทย์ชาวฝรั่งเศสจากปลายศตวรรษที่ 18 เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกๆ ที่ศึกษาโรคฮิสทีเรียอย่างจริงจัง ในปี 1885 ฟรอยด์วัยหนุ่มเรียนหนังสืออยู่กับชาคูต์ เขาเขียนจดหมายถึงคู่หมั้นบรรยายลักษณะของอาจารย์ไว้ว่า "สูงห้าฟุตแปดนิ้