Skip to main content

ฟรอยด์เขียน Group Psychology and the Analysis of the Ego ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับ Beyond Pleasure Principle ข้อถกเถียงพื้นฐานของทั้งสองเล่มนี้คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ขณะที่ปัจเจกชนมีแนวโน้มจะหวนไปสู่สภาวะดั้งเดิม คือความตาย สังคมอันประกอบไปด้วยหลากหลายปัจเจก ก็มีแนวโน้มที่จะหวนไปสู่สภาวะดั้งเดิมเช่นกัน ปรากฏการณ์ดังกล่าวคือการรวมตัวกันของผู้คนเป็น Mass หรือมวลชน

อะไรคือคำจำกัดความของ Mass ฟังดูเหมือนจะต้องมีคนมหาศาล แต่อันที่จริงไม่เกี่ยวอะไรกับจำนวน คนแค่สองคนก็จัดเป็นมวลชนได้ หากคนหนึ่งเป็นผู้นำ และอีกคนเป็นผู้ตาม โดยฝ่ายหลังปฏิบัติตามทุกคำสั่งของฝ่ายแรกอย่างปราศจากเงื่อนไขหรือข้อกังขา (ในกรณีของคนสองคน ระหว่างผู้สะกดจิตและผู้ถูกสะกดจิตก็ถือว่าเป็น Mass ได้เช่นกัน) สำหรับฝูงชนขนาดมหึมา ผู้นำอาจจะเป็นคนเพียงคนเดียวหรือคนกลุ่มน้อย และผู้ตามก็คือคนหมู่มากที่ยินยอมพร้อมใจตกอยู่ใต้คำสั่งของฝ่ายแรก ฟรอยด์เรียกสภาวะดังกล่าวว่าการบังเกิดขึ้นของจิตวิทยามวลชน (group psychology หรือ Massenpsychologie)

ฟรอยด์อธิบาย group psychology ว่าเกิดจากผู้ตามถ่ายเท ideal ego ของตัวเองไปสถิตย์อยู่ในตัวผู้นำ และเนื่องจาก ideal ego คือตัวตนที่สมบูรณ์แบบ ทุกสิ่งที่ร่างทรงเอ่ยออกมา จึงอยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ ความสัมพันธ์ของผู้นำและผู้ตามถูกหล่อเลี้ยงด้วย Libido หรือ พลังงานอันเกี่ยวเนื่องกับความรัก ผู้ตามจะรู้สึก (ไปเอง) ถึงความรักที่ผู้นำมีให้อย่างเท่าเทียมกันทุกผู้ทุกนาม และความเท่าเทียมตรงนี้ ส่งผลให้ความรู้สึกของมวลชน มีลักษณะเป็น "ประชาธิปไตย" อย่างน่าประหลาด ทั้งที่ในความเป็นจริง ผู้นำมวลชนก็คือบิดาจอมเผด็จการที่กลับชาติมาเกิดนั่นเอง

Group Psychology and the Analysis of the Ego บรรยายคุณลักษณะเด่นของ Mass ได้แก่ "มวลชนอาจต้องการบางสิ่งอย่างรุนแรง แต่จะไม่สามารถรักษาระดับความต้องการนั้นเอาไว้ได้นาน พวกเขาไม่อาจทนรอคอยช่วงระยะเวลาจากความปรารถนาไปสู่การตอบสนองความปรารถนา มวลชนเชื่อว่าตัวเองมีอำนาจไร้ขอบเขต คำว่าเป็นไปไม่ได้ไม่ปรากฏในพจนานุกรมของพวกเขา" "ความรู้สึกของมวลชนโปร่งใสแต่สุดโต่ง ไม่รู้จักความลังเลหรือความไม่แน่นอน" "มวลชนไม่เคยกระหายความจริง พวกเขาเรียกร้องแต่ภาพลวงตา" "สิ่งที่พวกเขาต้องการจากวีรบุรุษคือความเข้มแข็ง กระทั่งความรุนแรง พวกเขาต้องการถูกปกครอง ถูกกดขี่ และหวาดกลัวเจ้านายของพวกเขา" และอื่นๆ กล่าวโดยสรุป เมื่อปัจเจกผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ Mass เขาได้ละทิ้งความสามารถในการถกเถียง การใช้เหตุและผล

กระนั้นก็ตาม ปัจเจกยังสละเอาความเห็นแก่ตัวทิ้งไปพร้อมกับเหตุและผลด้วย ดังนั้น ถึงแม้มวลชนจะมีศักยภาพในการคิด วิเคราะห์ แยะแยกที่ต่ำกว่าปัจเจกชน แต่พวกเขาก็ยังสามารถไขว่คว้าภาวะสูงส่งทางจริยธรรมได้เช่นกัน อันที่จริง พิธีกรรมทางศาสนาแทบทั้งหมดยึดโยงอยู่กับ group psychology ในลักษณะนี้

มาริโอกับนักมายากล โดยโธมัส มันน์ บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางไปพักตากอากาศของ "ผม" และครอบครัว ในเมืองชายหาดของประเทศทางใต้ เรื่องสั้นนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์จริง การไปเยือนประเทศอิตาลีของครอบครัวมันน์ในปี 1923 แค่ปีเดียวภายหลังการยึดอำนาจของเบนิโต มุสโสลินี จอมเผด็จการฟาสซิสต์ มุสโสลินี หรือเอลดูเซ่ปลูกฝังลัทธิชาตินิยมสุดโต่งให้กับชาวอิตาลี

"ผม" และครอบครัวถูกล่อลวงโดยป้ายประกาศที่ติดไว้ทั่วเมือง ให้เข้าไปชมการแสดงในโรงละครแห่งหนึ่ง กลางย่านเสื่อมโทรมของชาวประมง ชิปอลล่า ผู้อัปลักษณ์ เป็นนักสะกดจิต เขาใช้วาทศิลป์อันคมคาย ทางหนึ่งผูกมิตรกับคนดู อีกทางหนึ่งก็ยกตนขึ้นข่ม ว่าตัวเขาอยู่เหนือกว่าใครๆ ชิปอลล่าโอ้อวดว่าตัวเองเคยแสดงต่อหน้าเอลดูเซ่ในกรุงโรมมาแล้ว ขณะเดียวกันก็เสียดสี หยาบหยามคนไม่รู้หนังสือในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ ใครที่พยายามลุกขึ้นมาต่อต้าน ก็จะถูกนักมายากลสะกดจิตให้ทำเรื่องน่าอับอาย เช่น แลบลิ้นยาวเหยียด ปวดท้องจนตัวงอ กล้ิงเกลืองกับพื้น หรือเต้นระบำด้วยท่าทีน่าขบขัน

ชิปอลล่าคือตัวแทนของระบบฟาสซิสต์ ขณะเดียวกัน ก็เป็นภาพสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามใน Massenpsychologie ชิปอลล่าเปิดโชว์ด้วยการ "เชือด" ผู้ชมที่จิตใจอ่อนไหวที่สุด ก่อนจะขยับขยายมายังคนอื่นๆ ที่ในตอนแรก อาจจะสามารถต้านทานอำนาจสะกดจิตของเขาได้ ความสำเร็จเป็นขั้นเป็นตอนตอกย้ำภาวะผู้นำของเขาที่อยู่เหนือใครๆ ในโรงละคร และในต้อนทาย เมื่อเขายึดอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ มันน์บรรยายความสำเร็จของนักมายากลราวกับไม่ใช่การแสดงเพื่อความบันเทิง หากเป็นชัยชนะในสงคราม หรือทางการเมือง

อาวุธประจำตัวชิปอลล่าคือแส้ เขาอาจจะไม่เคยใช้มันทำร้ายใคร แต่การยกแส้ขึ้นฟาดควับๆ ข่มขู่คนดูให้หวาดผวา เหมือนกับอัตตาที่ตกอยู่ใต้อำนาจ และถูกโบยตีด้วย ego ideal อาวุธที่แท้จริงของเขาก็คือวาทศิลป์ เมื่อไหร่ที่ใครแสดงทีท่าขัดขืน ชิปอลล่าจะเสียดสี เยาะเย้ย ถามอีกฝ่ายว่าแน่ใจแล้วหรือว่าการดิ้นรนไม่ทำตามคำสั่ง คือการแสดงเจตจำนงอิสระอย่างแท้จริง ทั้งที่การปล่อยตัวเองให้ถูกควบคุม มันสบายกาย และเป็นธรรมชาติกว่าตั้งเยอะ

นอกจากนี้ชิปอลล่ายังเล่นบทบาท "คุณพ่อแสนดี" โดยย้ำอยู่เสมอว่า ที่เห็นผู้คนเต้นระบำบนเวทีนั้น พวกเขาไม่ได้กำลังเหน็ดเหนื่อยอะไรหรอก แต่เป็นตัวเขาเองที่ต้องสาหัสสากรรจ์กับการชักใยหุ่นกระบอกเหล่านั้น "ผมต่างหากเป็นคนที่ต้องทนทุกข์ทรมานในทุกสิ่ง" ชิปอลล่าบอกคนดูว่า "ผู้นำและผู้จัดระเบียบกฎเกณฑ์ถือเป็นผู้ที่มีภาระหนัก และต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่า เพราะเขาต้องทำให้เจตจำนงนำไปสู่การเชื่อฟัง และทำให้การเชื่อฟังแปรเปลี่ยนเป็นเจตจำนง เขาจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดทั้งสองสิ่งนี้ และเป็นผู้ที่มีภาระใหญ่หลวง" ประชาชนจึงต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวกับผู้นำเพราะ "ความสามารถที่จะสละเจตจำนงของตนเพื่อยอมเป็นเครื่องมือของผู้อื่นและ ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อื่นอย่างเต็มใจและเคร่งครัดนั้น เป็นเพียงอีกด้านหนึ่งของความสามารถที่จะแสดงเจตจำนงของตน และสั่งให้ผู้อื่นปฏิบัติตามเท่านั้น"

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

ติดตามเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับสาธารณรัฐไวมาร์ได้ที่เพจ

http://www.facebook.com/NiSatharnrathWiMar

บล็อกของ Nibuk

Nibuk
ฟรอยด์เขียน Group Psychology and the Analysis of the Ego ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับ Beyond Pleasure Principle ข้อถกเถียงพื้นฐานของทั้งสองเล่มนี้คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ขณะที่ปัจเจกชนมีแนวโน้มจะหวนไปสู่สภาวะดั้งเดิม คือความตาย สังคมอันประกอบไปด
Nibuk
Death Instinct/Death Drive หรือสัญชาติญาณแห่งความตาย เป็นแนวคิดใหม่ที่ซิกมุนต์ ฟรอยด์พัฒนาขึ้นมาภายหลังสงครามโลก   ทหารผ่านศึกส่วนใหญ่ล้วนตกอยู่ในอาการผวาระเบิด (shell shock)   นี่จึงเป็นโอกาสอันดีให้ฟรอยด์พิสูจน์ทฤษฎีของตัวเอง โดยใช้วิชาจิตวิเคราะห์รักษาคนไข้เหล่านี้ 
Nibuk
หนึ่งในข้อเรียกร้องของสนธิสัญญาแวร์ซายก็คือ เยอรมันต้องส่งมอบตัวอาชญากรสงคราม ให้ฝ่ายพันธมิตรดำเนินคดี ในที่นี้หมายถึงวิลเฮล์ม -- ถ้าเขาไ
Nibuk
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์คือลูกผสมของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศประชาธิปไตยต่างๆ ทั่วยุโรป ตำแหน่งประมุขของประเทศเปลี่ยนจากเชื้อพระวงศ์ มาเป็นประธานาธิบดี (president) ผู้มาจากการเลือกตั้ง และประจำตำแหน่งทุกๆ เจ็ดปี เฉกเช่นเดียวกับกษัตริย์ ประธานาธิบดีคือสัญลักษณ์สูงสุดของประเทศ สามารถแต่งตั้งแล
Nibuk
อันที่จริงในหมู่ประเทศผู้ชนะสงคราม ก็ไม่ได้มีความเห็นลงรอยกันเกี่ยวกับเป้าหมายของสนธิสัญญาแวร์ซาย ฝรั่งเศสและเบลเยียมต้องการลงโทษเยอรมัน ยึดพื้นที่อุตสาหกรรมมา เพื่อให้แน่ใจว่าเยอรมันจะไม่มีโอกาสฟื้นกล
Nibuk
เดือนเมษายนปี 1919 เคาต์อูลริช วอน บรอคดอร์ฟ-รานต์ซาว รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศคนแรกของเยอรมันใหม่ เดินทางไปพระราชวังแวร์ซาย เพื่อลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ข้อตกลงเจรจาสงบศึกที่เขาเตรียมเอาไว้คือ เยอรมันจะยอมปลดอาวุธของตัวเองเท่ากับที่เพื่อนบ้านยอมปลด ยอมสละแว่นแคว้นชายแดนภายใต้เงื่อนไขว่า ผู้คนใน
Nibuk
วีรบุรุษซิกฟรีด สายเลือดแห่งมหาเทพ ครองรักอย่างมีความสุขกับนางฟ้าตกสวรรค์ บรึนฮิลเดอ บนภูเขาที่ล้อมรอบไปด้วยทะเลเพลิง อยู่มาวันหนึ่ง ซิกฟรีดต้องการออกไปผจญภัยในโลกภายนอก หลังจากร่ำลาภรรยาสุดที่รักเขาให้สัญญาว่าจะคงรักแต
Nibuk
คานดินสกีเกิดและเติบโตในกรุงมอสโค เมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เขาเรียนจบและประกอบอาชีพทางกฎหมายจนถึงอายุสามสิบ ก่อนหน้านั้นไม่เคยได้รับการฝึกฝนใดๆ ทางศิลปะมาก่อน เหตุการณ์สำคัญที่หักเหชีวิตของชายหนุ่ม คือการได้ชมภาพวาดกอง
Nibuk
ต้นแบบของดอกเตอร์คาลิการิคือจิตแพทย์ผู้โด่งดังสองคน คนแรกคือฌอง มาแตง ชาคูต์ จิตแพทย์ชาวฝรั่งเศสจากปลายศตวรรษที่ 18 เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกๆ ที่ศึกษาโรคฮิสทีเรียอย่างจริงจัง ในปี 1885 ฟรอยด์วัยหนุ่มเรียนหนังสืออยู่กับชาคูต์ เขาเขียนจดหมายถึงคู่หมั้นบรรยายลักษณะของอาจารย์ไว้ว่า "สูงห้าฟุตแปดนิ้