Skip to main content

หนึ่งในข้อเรียกร้องของสนธิสัญญาแวร์ซายก็คือ เยอรมันต้องส่งมอบตัวอาชญากรสงคราม ให้ฝ่ายพันธมิตรดำเนินคดี ในที่นี้หมายถึงวิลเฮล์ม -- ถ้าเขาไม่รีบอพยพหนีไปอยู่สวิตเซอร์แลนด์เสียก่อน -- และบรรดานายทหารชั้นผู้ใหญ่ภายใต้รัฐบาลกษัตริย์ ซึ่งก็คือนายทหารชุดเดียวกัน กับที่ครองอำนาจอยู่ภายใต้รัฐบาลไวมาร์ เนื่องจากโทษสูงสุดของอาชญากรสงครามคือประหารชีวิต ไม่ว่าเออแบร์ตจะรู้ตัวหรือไม่ การลงนามในสนธิสัญญาเท่ากับออกใบมรณบัตรให้นายพลให้กองทัพของตัวเองทันใดนั้น เดิมพันของการก่อรัฐประการก็ไม่ใช่แค่อำนาจหรืออุดมการณ์แล้ว หากเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย

บรรดานายทหารที่นั่งไม่ติดพื้นรวมตัวกันโดยมีลูเดนดอร์ฟ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นศูนย์กลาง ฝ่ายทหารได้แก่กัปตันพับส์ต์ ผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารลูเซมบัวร์กและลิบนิคส์ แฮร์มานน์ แอห์ฮาร์ดท์ ผู้นำหน่วยย่อยของไฟร์คอร์ปส์ และวาลเธอร์ วอน ลึทท์วิทซ์ มือขวาของนอสเก ฝ่ายพลเรือนคือวูล์ฟกัง คัปป์ หัวหน้าพรรคปิตุภูมิเยอรมัน ตัวแทนกลุ่มนายทุนการเกษตร

เช้าตรู่วันที่ 13 มีนาคม ปี 1920 แอร์ฮาร์ดท์เคลื่อนพลเข้าเมืองหลวงตามที่นัดหมายกันไว้ระหว่างยาตราไปตามถนนบิสมาร์กค์ พวกเขาปะกับนายพลลูเดนดอร์ฟที่กำลัง "ออกมาเดินเล่นโดยบังเอิญ" ต่างฝ่ายต่างแลกเปลี่ยนวันทยหัตถ์ให้กันและกัน และกองทหารเคลื่อนตัวต่อสู่ประตูบรานเดนบูร์ก

นอสเก ผู้เมื่อไม่กี่เดือนก่อนยังคาดหวังว่าจะใช้รัฐประหาร เป็นบันไดไต่เต้าสู่ตำแหน่งจอมเผด็จการ กลับต้องมาวิ่งรี่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหารขึ้นในครั้งนี้ นอสเกเข้าพบนายพลฮานส์ วอน เซกค์ต์ เสนาธิการทหาร เพื่อขอกำลังกองทัพมาต่อต้านทหารพลเรือนของแอร์ฮาร์ดท์ คำตอบที่นอสเกได้รับคือ "กองทัพเยอรมันจะไม่มีวันสาดกระสุนเข้าใส่กองทัพเยอรมันด้วยกันเอง" นอสเกโกรธจัด เขาขู่ว่าจะใช้ตำรวจ เซกค์ต์แนะนำว่า ตำรวจเองก็อาจเข้าข้างฝ่ายกบฏ เมื่อหมดสิ้นหนทางจริงๆ วิญญาณลูเซมบัวร์กคงเข้าสิงนอสเก เขาตะโกนบอกอีกฝ่ายว่า ถ้าอย่างนั้น ก็จะให้กรรมกรประท้วงหยุดงาน เซกค์ต์ไม่ตอบอะไรกลับ นอกจากยิ้มเยาะอยู่เงียบๆ

วันรุ่งขึ้น เอสเพเดออกประกาศถึงสหภาพแรงงาน นัดหยุดงานทั่วกรุงแบร์ลินเพื่อต่อต้านรัฐประหาร พรรคเอสเพเดมีศรัทธาในประกาศฉบับนี้มากน้อยเพียงใด ดูได้จากว่า เมื่อคนทั้งรัฐบาลลงชื่อในใบประกาศแล้ว ต่างฝ่ายต่างกระจัดกระจาย หลีกลี้หนีภัยออกนอกแบร์ลินประมาณเจ็ดโมงเช้ากองทหารของแอร์ฮาร์ดท์ตั้งปืนกลตามสถานที่สาธารณะในเมือง คัปป์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี การรัฐประหารสำเร็จลงโดยไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ

ถ้าถามว่าใครหรืออะไรที่มาหยุดยั้งรัฐประหารคัปป์ คำตอบอันน่าภาคภูมิใจคือ "ชาวแบร์ลิน" ที่แน่ๆ ไม่มีแกนนำมวลชนคนไหนแอบอ้างได้ว่าเป็นผู้นำการนัดหยุดงานประท้วง นักการเมืองเอสเพเดหลบหนีออกจากเมืองหลวง ฝ่ายซ้ายในแบร์ลิน ยังระส่ำระส่ายภายหลังสูญเสียลูเซมบัวร์กและลิปนิคส์ ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการปกป้องรัฐบาลของทรราชเออแบร์ตและนอสเก แกนนำเคเพเด ถึงกับประกาศลงหนังสือพิมพ์ว่า ไม่สนับสนุนให้กรรมกรมีส่วนร่วมในการนัดประท้วงหยุดงานครั้งนี้

คนที่ได้ชื่อว่าใกล้เคียงที่สุดแล้วกับการเป็น "แกนนำ" กลับเป็นคาร์ล เลอเกน นักการเมืองซ้ายกลางของเอสเพเด เลอเกนไม่เคยสนับสนุนการนัดหยุดงานประท้วง เขาเป็นนักปฏิรูป ไม่ใช่นักปฏิวัติ ศรัทธาในลัทธิแก้ และเชื่อว่า สังคมนิยมที่แท้จริงเกิดจากความร่วมมือระหว่างชนชั้น อย่างไรก็ดี ในภาวะวิกฤติ เลอเกนกลับพิสูจน์ให้เห็นว่า เขาเข้าใจมวลชนฝ่ายซ้าย ได้ดีกว่าผู้นำคอมมิวนิสต์เสียอีก เลอเกนไปยอมหนีออกนอกแบร์ลิน เขาเข้าคลุกวงในกับกลุ่มใต้ดินและสหภาพแรงงาน

ในวันที่ 14 มีนาคม เพียงแค่หนึ่งวัน หลังคัปป์ยึดครองอำนาจสำเร็จ ทุกอย่างในแบร์ลินก็หยุดเคลื่อนไหว รถไฟ ประปา ไฟฟ้า แก๊ส โรงเรียนและโรงงานปิดตัวลง ร้านค้าไม่ยอมเปิดทำการ เหล่าข้าราชการต่างพร้อมใจกันหยุดงาน ตามท้องถนน มีการปะทะกันระหว่างทหารและกรรมกรประปราย ชาวแบร์ลินคนหนึ่งยังจดจำเหตุการณ์ในวันนั้นได้ดี "ป้าของผมจะแต่งงาน ยังแต่งไม่ได้เลย เพราะไม่มีอะไรสักอย่างเปิดทำการ พวกเราได้แต่นั่งกันอยู่เงียบๆ ในบ้าน แล้วจุดเทียนไขเอา"

ทุกอย่างเป็นอัมพาต แอร์ฮาร์ดท์ไม่มีแม้แต่เงินจ่ายจะกองทหารของตัวเอง เมื่อเขามาทวงเงินจากประธานาธิบดีชั่วคราว คัปป์บอกให้แอร์ฮาร์ดท์ไปปล้นธนาคารไรช์ส ซึ่งอีกฝ่ายไม่ยอมทำตาม คัปป์คิดไปไกลถึงขนาดจะให้ทหารยิงเข้าไปกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง จนนักธุรกิจต้องออกมาส่งสัญญาณต่อต้าน เมื่ออับจนหนทางจริงๆ คัปป์ประกาศลาออก เขาสละตำแหน่งให้ลึทท์วิทซ์ผู้ประสบชะตากรรมเดียวกัน คือไม่สามารถบริหารประเทศได้ วันที่ 17 มีนาคม ไม่ถึงอาทิตย์หนึ่งดี หลังจากแอร์ฮาร์ดท์เคลื่อนทัพเข้ายึดครองเมืองหลวง ไฟร์คอร์ปส์ต้องถอยล่ากลับไป ท่ามกลางเสียงโห่ฮา หัวเราะเยาะเย้ยของชาวแบร์ลิน

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

ติดตามเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับไวมาร์เยอรมันได้ที่เพจ

 

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=224908450974528&set=a.197511890380851.50244.197506433714730&type=1&relevant_count=1

 

บล็อกของ Nibuk

Nibuk
ฟรอยด์เขียน Group Psychology and the Analysis of the Ego ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับ Beyond Pleasure Principle ข้อถกเถียงพื้นฐานของทั้งสองเล่มนี้คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ขณะที่ปัจเจกชนมีแนวโน้มจะหวนไปสู่สภาวะดั้งเดิม คือความตาย สังคมอันประกอบไปด
Nibuk
Death Instinct/Death Drive หรือสัญชาติญาณแห่งความตาย เป็นแนวคิดใหม่ที่ซิกมุนต์ ฟรอยด์พัฒนาขึ้นมาภายหลังสงครามโลก   ทหารผ่านศึกส่วนใหญ่ล้วนตกอยู่ในอาการผวาระเบิด (shell shock)   นี่จึงเป็นโอกาสอันดีให้ฟรอยด์พิสูจน์ทฤษฎีของตัวเอง โดยใช้วิชาจิตวิเคราะห์รักษาคนไข้เหล่านี้ 
Nibuk
หนึ่งในข้อเรียกร้องของสนธิสัญญาแวร์ซายก็คือ เยอรมันต้องส่งมอบตัวอาชญากรสงคราม ให้ฝ่ายพันธมิตรดำเนินคดี ในที่นี้หมายถึงวิลเฮล์ม -- ถ้าเขาไ
Nibuk
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์คือลูกผสมของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศประชาธิปไตยต่างๆ ทั่วยุโรป ตำแหน่งประมุขของประเทศเปลี่ยนจากเชื้อพระวงศ์ มาเป็นประธานาธิบดี (president) ผู้มาจากการเลือกตั้ง และประจำตำแหน่งทุกๆ เจ็ดปี เฉกเช่นเดียวกับกษัตริย์ ประธานาธิบดีคือสัญลักษณ์สูงสุดของประเทศ สามารถแต่งตั้งแล
Nibuk
อันที่จริงในหมู่ประเทศผู้ชนะสงคราม ก็ไม่ได้มีความเห็นลงรอยกันเกี่ยวกับเป้าหมายของสนธิสัญญาแวร์ซาย ฝรั่งเศสและเบลเยียมต้องการลงโทษเยอรมัน ยึดพื้นที่อุตสาหกรรมมา เพื่อให้แน่ใจว่าเยอรมันจะไม่มีโอกาสฟื้นกล
Nibuk
เดือนเมษายนปี 1919 เคาต์อูลริช วอน บรอคดอร์ฟ-รานต์ซาว รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศคนแรกของเยอรมันใหม่ เดินทางไปพระราชวังแวร์ซาย เพื่อลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ข้อตกลงเจรจาสงบศึกที่เขาเตรียมเอาไว้คือ เยอรมันจะยอมปลดอาวุธของตัวเองเท่ากับที่เพื่อนบ้านยอมปลด ยอมสละแว่นแคว้นชายแดนภายใต้เงื่อนไขว่า ผู้คนใน
Nibuk
วีรบุรุษซิกฟรีด สายเลือดแห่งมหาเทพ ครองรักอย่างมีความสุขกับนางฟ้าตกสวรรค์ บรึนฮิลเดอ บนภูเขาที่ล้อมรอบไปด้วยทะเลเพลิง อยู่มาวันหนึ่ง ซิกฟรีดต้องการออกไปผจญภัยในโลกภายนอก หลังจากร่ำลาภรรยาสุดที่รักเขาให้สัญญาว่าจะคงรักแต
Nibuk
คานดินสกีเกิดและเติบโตในกรุงมอสโค เมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เขาเรียนจบและประกอบอาชีพทางกฎหมายจนถึงอายุสามสิบ ก่อนหน้านั้นไม่เคยได้รับการฝึกฝนใดๆ ทางศิลปะมาก่อน เหตุการณ์สำคัญที่หักเหชีวิตของชายหนุ่ม คือการได้ชมภาพวาดกอง
Nibuk
ต้นแบบของดอกเตอร์คาลิการิคือจิตแพทย์ผู้โด่งดังสองคน คนแรกคือฌอง มาแตง ชาคูต์ จิตแพทย์ชาวฝรั่งเศสจากปลายศตวรรษที่ 18 เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกๆ ที่ศึกษาโรคฮิสทีเรียอย่างจริงจัง ในปี 1885 ฟรอยด์วัยหนุ่มเรียนหนังสืออยู่กับชาคูต์ เขาเขียนจดหมายถึงคู่หมั้นบรรยายลักษณะของอาจารย์ไว้ว่า "สูงห้าฟุตแปดนิ้