Skip to main content

 "...ถ้ารัฐไม่มีหน้าที่บริการประชาชน มหาวิทยาลัยก็จะทำให้เป็นของเอกชน โรงพยาบาลก็จะเป็นเอกชน รถเมล์ น้าประปา ไฟฟ้า ก็จะต้องเป็นของเอกชน แล้วเราจะมีรัฐไปทำไม” เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กล่าว

 

ความรู้กลายเป็นสินค้าที่ต้องมีเงินเท่านั้นถึงจะจับจองได้ ระบบทุนนิยมสุดขั้วได้กระโดดข้ามรั้ว เข้ามาในสถานศึกษา มหาวิทยาลัยสมัยใหม่คุ้นเคยกับการเปิดประตูอ้าแขนรับเฉพาะ ลูก-หลาน ผู้มีอันจะกิน เมื่อรัฐได้ตัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ควรให้บริการประชาชน ด้วยการเปลี่ยนสถานะมหาวิทยาลัยของรัฐด้วยการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบอย่างต่อเนื่อง แม้บางช่วงอาจต้องชะลอไว้ด้วยกระแสคัดค้าน ของนักศึกษาและข้าราชการมหาวิทยาลัย ถึงกระนั้นก็ตาม ล่าสุดผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังได้เห็นชอบตามให้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐ หรือ ออกนอกระบบ เป็นลาดับที่ 16 แม้จะมีกระแสคัดค้านเหมือนสถาบันการศึกษาอื่นๆ

โดยฝ่ายที่สนับสนุนมองว่าหากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบจะทำให้การบริหารมหาวิทยาลัยคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (ถึงแม้รัฐบาลอาจสนับสนุนงบประมาณจากัด) ขณะที่บุคลากรที่มาทางานกับมหาวิทยาลัยนั้นต้องเปลี่ยนสถานนะจาก “ข้าราชการ” มาเป็น “พนักงาน” เป็นที่แน่นอนว่าสวัสดิการต่างๆย่อมไม่เหมือนระบบข้าราชการ

อีกฝ่ายที่คัดค้านนั้นกลับมองว่าการออกนอกระบบด้วยวัตถุประสงค์ข้างต้น จะทำให้ปรัชญาดั้งเดิมของมหาวิทยาลัยที่มุ่งผลิตบัณฑิตออกมารับใช้สังคม เปลี่ยนไปเป็นการปล่อยให้มหาวิทยาลัยมุ่งทำกำไรจากธุรกิจการศึกษา ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนยากจน และส่งผลเสียต่อคุณภาพของบัณฑิตที่จะจบออกมา เพราะทุกคนต้องจ่ายเงินลงทุนในการเรียนเป็นจำนวนมหาศาลต้องตั้งหน้าตั้งตาเรียนไม่สามารถเอาเวลามาเรียนรู้สังคมได้

ในด้านความเป็นเลิศทางวิชาการที่อ้างว่าการออกนอกระบบนั้น มหาวิทยาลัยจะมีความคล่องตัวมากขึ้นในการบริหารและนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ เพราะมีอิสระในการดาเนินการเพิ่มขึ้น ยังคงคลุมเครือ เพราะอยู่ในระบบก็ทำให้คล่องตัวได้ แต่ถ้าออกนอกระบบไปแล้วการบุคลากรต้องถูกประเมินโดยผู้บริหาร(เหมือนการให้เกรดของคนงานในโรงงาน)ก่อนหมดสัญญาจ้างเพื่อพิจารณาว่าจะให้ต่ออายุสัญญาหรือไม่ ถ้าอาจารย์มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับผู้บริหารในเชิงวิชาการ เขาจะมีอิสระในการนำเสนอจริงหรือไม่

แต่คำถามที่ไม่มีผู้ที่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยออกนอกระบบใครกันที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อการอุดหนุนของรัฐที่ให้ต่อมหาวิทยาลัยน้อยลง อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้เพราะในบางประเทศก่อนเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบก็ร่างกฎหมายเป็นอย่างดี ว่ารัฐจะอุดหนุน ซึ่งทางปฏิบัติก็เริ่มจากการทยอยลดงบประมาณสนับสนุน จนในที่สุดก็ไม่จ่ายเงินสนับสนุนเลย ซึ่งในประเทศไทยจะเป็นอย่างนี้แน่นอน

 

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ภาพจาก sarakadee.com

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ[1] ให้สัมภาษณ์กับ นิตยสารสารคดี เมื่อปี 2549 ว่า

“การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษ ๑๙๗๐ โดยหลักการสำคัญคือ รัฐต้องการลดสวัสดิการที่พึงให้แก่ประชาชนทุกด้าน ให้ประชาชนรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น เป็นแนวคิดเดียวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือให้กลไกตลาดมาจัดการชีวิตคน ตามหลักนี้รัฐมองว่ามหาวิทยาลัยต้องหาเงินเอง ภาระการศึกษาเป็นของนักศึกษา สิ่งนี้ส่งผลต่อคนยากจนทั่วโลกที่ต้องการศึกษาในระดับอุดมศึกษา”

“แต่ถ้าในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ ประชาชนต้องได้รับการศึกษาฟรีโดยถ้วนหน้า แต่กลับกันในประเทศไทยกลับสนับสนุนให้กู้ยืมเรียน นักศึกษาทุกคนมีสิทธิ์ได้เรียนโดยถ้วนหน้า แต่พ่วงด้วยหนี้ก้อนโตหลังจบการศึกษายกตัวอย่างเช่นถ้าคุณเรียนมหาวิทยาลัยรามคาแหงซึ่งหน่วยกิตถูกที่สุด ถ้าใช้เวลาเรียนตามปกติ(4ปี) จะใช้เงินประมาณหลักแสนบาท เมื่อจบออกมาทางานแล้ว แรงงานมือใหม่จะต้องผ่อนจ่ายหนี้ในการศึกษาทุกเดือน กว่าหนี้จะหมด(หลักแสน)ต้องใช้เวลายาวนานเท่าไหร่ บวกดอกเบี้ยเข้าไปเป็นจานวนเท่าไหร่ กว่าจะได้เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัวต้องรอจนอายุเท่าไหร่”

“ถ้ามองในแง่ของความเท่าเทียม รัฐควรให้หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หลักประกันด้านสุขภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี หลักประกันด้านการศึกษา ทุกคนควรมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถโดยได้รับทุนการศึกษาฟรีจนทำงานได้ตามความสามารถในการเรียน แต่ถ้ารัฐบอกว่าการเรียนระดับมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่คนอยากเรียนต้องรับผิดชอบเองก็อาจตีความได้ว่าการศึกษาไม่มีความสำคัญกับพลเมืองในประเทศนี้ เพราะรัฐจ่ายให้เรียนฟรีแค่ 12 ปี ซึ่งขัดกับความเชื่อที่เราทุกคนรู้กันโดยจิตสานึกอยู่แล้วว่ามนุษย์จะถูกพัฒนาได้ด้วยการศึกษาเรียนรู้ อีกคำถามที่ต้องตั้งกันก็คือ เราจ่ายเงินภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมไปเพื่ออะไร ถ้ารัฐไม่มีหน้าที่บริการประชาชน มหาวิทยาลัยก็จะทำให้เป็นของเอกชน โรงพยาบาลก็จะเป็นเอกชน รถเมล์ น้าประปา ไฟฟ้า ก็จะต้องเป็นของเอกชน แล้วเราจะมีรัฐไปทำไม”

20 ก.ค.55 ที่ผ่านมา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ comment ความเห็นในเฟชบุคแฟนเพจ แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ ที่ได้มีการนำ Quote ของ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ที่ลงในประชาไท เมื่อ ธันวาคมปี 49 ในบทสัมภาษณ์ว่า คุยกับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ : เสรีนิยมใหม่ ทำไมมันจึงเลวร้ายสำหรับการศึกษา? โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล Comment ว่าไม่เห็นด้วยกับการออกนอกระบบ และไม่เห็นด้วยกับการทำให้การศึกษาเป็นทุนนิยม เพราะมีปัญหาในประเด็นเรื่องความเป็นธรรมต่อราษฎร ที่จะได้มีโอกาสการศึกษา ปัญหา เรื่อง การตัดสินให้ความสำคัญของวิชาทีให้ ถ้าเป็นกลไกตลาด วิชาจำนวนมาก ที่คน "ไม่สนใจ" หรือ "ไม่รับใช้ตลาด" จะไม่ได้รับการเปิด เป็นต้น และสมศักดิ์ ยังเสริมด้วยว่า

เรื่องทำงานหนักขึ้น อันนี้ ในทุกวันนี มหาลัยเอกชน อาจารย์ทำงานหนัก กว่า มหาลัยรัฐบาล (แต่ค่าตอบแทนจะสูงกว่า) อันนี้ ก็มีส่วนอยู่ แต่วา ถ้ามหาลัยรัฐ ตอนนี้ เปล่ยนเป็นนอกระบบ อันนี ไม่แน่ ว่าจะจริง ว่า อาจารย์จะทำงานหนักขึน โอกาส ทำงานน้อยลง เปรียบเทียบกับค่าตอบแทน ก็มีอยู่

ทั้งหมดนี ต้องย้ำว่า ไม่ได้แปลว่าเห็นด้วยกับการทำให้การศึกษา เป็นทุนนิยม ("เสรีนิยมใหม่" นี่ ผมว่า เป็นคำที่กว้างไป) เพียงแต่เสนอว่า ถ้าจะให้เหตุผลประกอบในการคัดค้าน จะต้องให้เหตุผลที่รัดกุมกว่านี้

ปัญหาใหญ่สุด เรื่อง การออกนอกระบบ หรือเรื่อง "ทุนนิยม" (ขึ้นกับตลาด) ในความเห็นของผม คงไมใช่เรือ่ง งานหนัก สวัสดิการ บริการ หรืออะไรพวกนี้

แต่ปัญหาใหญ่ มีอยุ่ 2 อย่าง

1. เรื่อง "ความเป็นธรรม" ในแง่โอกาสทางการศึกษาสำหรับคนที่มีปัญหาด้านฐานะ (ต่อให้มีโปรแกรมในการ "กู้ยืม" ก็ตาม) นี่คือเรื่องปัญหา "ค่าเล่าเรียนแพง"  

2. เรื่องการจัดความสำคัญของวิชา เอาตัวอย่างง่ายๆ ทุกวันนี้ ผมมีบางวิชา มีนักศึกษาลงทะเบียนแค่ 2-3 คน หรือคนเดียวก็มี ถ้าใช้ระบบตลาดล้วนๆ วิชาพวกนี้ เปิดไม่ได้ เพราะไม่คุ้ม ... วิชา หรือหลักสูตร จำนวนมาก ก็เหมือนกัน ในระบบปัจจุบัน เราถือว่า วิชาหรือหลักสูตร ให้จัด โดยดูทีความสำคัญในแง่วิชาการ ในแง่หลักการ เป็นหลัก แต่ถ้าใช้ระบบตลาด มันจะกลายเป็นว่า ต้องดูว่า วิชา หรือหลักสูตรไหน "คุ้ม" ไหม ทีจะเปิด อะไรแบบนั้น

-----

เชิงอรรถ

[1] Sarakadee สารคดี, อ่านเอาเรื่อง : มหาวิทยาลัยนอกระบบ “แสงสว่าง” หรือ “ทางตัน” ของการอุดมศึกษาไทย ? สุเจน กรรพฤทธิ์ : รายงาน / ประเวช ตันตราภิรมย์ : ถ่ายภาพ

 

(*หมายเหตุ : บทความนี้มีการปรับแก้และเสริมเนื้อหาในส่วนความเห็นของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากเดิมที่เคยถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน “วารสารสหายแรงงาน” ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกันยายน วารสารดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นโดยการร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต) และกลุ่มประกายไฟ )

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
 "...ถ้ารัฐไม่มีหน้าที่บริการประชาชน มหาวิทยาลัยก็จะทำให้เป็นของเอกชน โรงพยาบาลก็จะเป็นเอกชน รถเมล์ น้าประปา ไฟฟ้า ก็จะต้องเป็นของเอกชน แล้วเราจะมีรัฐไปทำไม” เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กล่าว  
ประกายไฟ
จริงอยู่ที่ทางกลุ่มแอดมินไทย อาจจะมีความคิดเห็นทางการเมืองที่อยู่คนละข้าง คนละสี....(บอกมาเถอะว่าสีอะไรปิดไม่มิดหรอก) กับสมาชิกในเพจที่เป็นเพื่อนร่วมชาติชาวไทย แต่นี้มันเพจระหว่างประเทศ ที่ผู้เขียนในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในเพจมีสิทธิที่จะบอกความเป็นจริง....(รับได้ไหมท่านแอดมิน???)...  
ประกายไฟ
..นักสหภาพหลายๆคนมักมาสอบถามกับผู้เขียนบ่อยๆว่า ทำไมฝ่ายบุคคลมักมีทัศนะคติที่เลวร้ายกับสหภาพหรือที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัยสั่งสอนให้มองสหภาพในแง่ไม่ดีรึเปล่า แล้วถ้าไม่ใช่พวกนักศึกษาที่จบไปเป็นฝ่ายบุคคลในโรงงานนั้น เขามองสหภาพแรงงานอย่างไร เราจึงจัดทำบทสัมภาษณ์สั้นๆชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าเขา (ว่าที่ฝ่ายบุคคล) คิดยังไงกับเรา(สหภาพแรงงาน)..
ประกายไฟ
..ทำไมคนส่วนใหญ่มักชอบพูดว่าประเทศสหรัฐอเมริกาทีระบบสวัสดิการที่ดีเยี่ยม จนเป็นประเทศในฝันของทุกคน เมื่อได้อ่านความเป็นจริงจากบทความชิ้นนี้แล้วคงทำให้เรามองสหรัฐอเมริกาในแง่ความเป็นจริงมากขึ้น และเลิกพูดมั่วๆซะที ว่าอเมริกามีสวัสดิการดีกว่าไทย
ประกายไฟ
...การที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา รวมถึงรัฐบาลชุดนี้กำลังจะขึ้นภาษีทางอ้อมจาก 7 เป็น 10% นั้นถือว่าเป็นการเปิดศึกทางชนชั้นกับชนชั้นกรรมกรและคนระดับล่างของสังคมโดยตรง คือ โยนภาระก้อนโตให้คนระดับล่างเป็นผู้จ่าย โดยที่คนร่่ำรวยลอยตัว...
ประกายไฟ
...ดูๆไปแล้วดันไปสะดุดตรงเหตุการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นที่ดันตรงกับช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี แหมมมมมมมมมมมม เล่นเล่าซะ คณะผู้ก่อการดูเป็นตัวร้ายไปถนัดตา แถม ร.7 ยังดูน่าสงสารจนเกินเหตุ “ตั้งแต่เกิดมาไอ้เคนยังไม่เห็นว่าในหลวงท่านจะทำอะไรไม่ดีเลย” “เหาจะกินกระบาล” 5555 เอาละวะ ...  
ประกายไฟ
อธิการ.มทส. ค้านนศ.แต่งกายข้ามเพศ เข้ารับปริญญาฯ อ้างเป็นบัณฑิตต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โต้ประเทศนี้อ้างอะไรไม่ได้ ก็อ้างคุณธรรมจริยธรรมปลอมๆ กลวงๆ ย้ำคุณธรรมของบัณฑิตต้องมีจิตใจที่วิพากษ์วิจารณ์ต่อสิ่งที่เป็นอยู่
ประกายไฟ
ผมท้าเลยครับ หลังจากเผาอากง อากงจะถูกลืม..เว้นแต่เรียก กม. "ม.112" ว่า "อากง" เราจะไม่มีทางลืมอากง เพราะมันก็จะอยู่อย่างนี้อีกนานเท่านาน - ด้านเกษียร ตอบ ความทรงจำของสังคมไม่ได้เป็นเรื่องอัตโนมัติ หากต้องสร้างและผลิตซ้ำขึ้น แม้แต่การเอาชื่อไปวางไว้เป็นสมญาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะได้รับการจดจำจากสังคมหรือจำอย่างถูกต้องครบถ้วนแม่นยำ  
ประกายไฟ
 ..สิ่งที่เรียกว่า "ตลาดไม้โบราณ" ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ในยุค ร.4 - ร.6 เป็นยุคที่ พ่อค้าจีน (โดยเฉพาะจีนแต้จิ๋ว) ที่ ได้เป็นเจ้าภาษีสินค้าต่างๆ เช่น มะพร้าว น้ำตาล อ้อย เป็นต้น จนเกิดชุมทางการค้ามากมายตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ ทั้งนครชัยศรี ราชบุรี แม่กลอง มหาชัย สามชุก ฯลฯ (ดูดีๆ ทุกๆที่ๆเป็นตลาดไม้โบราณล้วนมีสถานที่ๆเรียกว่า “โรงเจ” และ “ศาลเจ้าทรงเก๋งจีน” แทบทุกๆแห่ง) ที่เรียกว่าสิ่งใหม่ๆสำหรับคววามเป็นไทยในยุคนั้น..
ประกายไฟ
สาระหลักที่น่าสนใจของเรื่องแม่นั้นอยู่ที่จิตสำนึกของปัจเจกชนที่ต่างจากปัจเจกชนในวรรณกรรมรัสเซียเล่มดังๆที่ส่วนใหญ่มุ่งเสนอการดิ้นรนเอาชีวิตของตัวเองให้รอดไปวันๆ เป็นปัจเจกชนที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง
ประกายไฟ
แนะสภาฯเดินหน้าวาระ3 มั่นใจผ่านฉลุย พร้อมด้วยสนทนากับนายซิม ไฮแอท เยาวชนผู้อดข้าวหน้าพรรคเพื่อขอให้นายอภิสิทธิ์ถอนคำพูดเหยียดคนเสื้อแดง
ประกายไฟ
"..คุณอาจจะคิดเอาง่ายๆว่าขอแค่เพียงคุณเป็นคนรักเจ้า คุณก็จะไม่ต้องเผชิญกับความบ้าคลั่งของพวกคลั่งเจ้า (ชี้แจงเพิ่มเติมไว้หน่อยว่าสำรับผม "รักเจ้า" กับ "คลั่งเจ้า" นี่ไม่เหมือนกัน) แต่จากกรณีคุณโกวิทก็เป็นอีกตัวอย่างรูปธรรมหนึ่งที่ทำให้เราเห็นได้ว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใคร รักหรือไม่รักเจ้า คุณจะมีโอกาส/มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญความบ้าคลั่งแบบนี้ได้ทั้งนั้น"