Skip to main content

มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"

 

 

สถานะของ “Viengrat Nethipo” ในเฟซบุ๊ก โพสต์เมื่อ 25 มิ.ย.56

มิจฉาทิฐิแห่งชาติ ๑ :

“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน”
 

ข้อความข้างต้นสะท้อนการมองแต่ปรากฏการณ์ผิวเผิน ไม่ดูบริบทที่กว้างออกไป ไม่ดูผลกระทบสืบเนื่องจากนั้น คือดึงตัวเหตุการณ์โล้น ๆ ออกมาจากประวัติศาสตร์ แล้วก็สรุปเลย

การปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ใช้วิธีการรัฐประหารในการยึดอำนาจ เพราะในเงื่อนไขภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่สามารถตั้งพรรคการเมืองลงแข่งขันเลือกตั้งได้, ไม่สามารถก่อม็อบหน้ากากขาวประท้วงได้ ขืนทำก็หัวขาดเท่านั้นเองครับ

ในเงื่อนไขรัฐมีอำนาจสิทธิ์ขาดเหนือร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สินของราษฎร (ABSOLUTE MONARCHY) ราษฎรไร้สิทธิทางการเมืองที่จะชุมนุม ตั้งพรรค ออกเสียงเลือกตั้ง วิธีการเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ในฐานะข้าราชการและสามัญชนนอกวัง ก็คือรัฐประหารเท่านั้นเอง (ถ้าอยู่ในวังอาจก่อ palace coup)

แต่สิ่งที่ทำให้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ไม่ใช่แค่การรัฐประหารก็คือ คณะราษฎร ยึดอำนาจรัฐมา แล้วใช้อำนาจรัฐนั้น เปลี่ยนระบอบปกครอง (เปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจในประเทศ) ยกเลิกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เปลี่ยนฐานะราษฎรไทยทุกคน จากผู้ไร้สิทธิ ชีวิตร่างกายทรัพย์สินอยู่ใต้อำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ของกษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๓ มิ.ย. ๒๔๗๕ --> มาเป็นพลเมือง (citizens) ผู้ทรงสิทธิ์เหนือร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สินของตนเอง จำกัดอำนาจรัฐลง รัฐเปลี่ยนรูปจากรัฐที่มีอำนาจไม่จำกัดหรือมีอำนาจสมบูรณ์แบบ (unlimited or absolute government) มาเป็นรัฐที่มีอำนาจจำกัด (limited government) โดยอำนาจรัฐถูกจำกัดด้วยสิทธิเสรีภาพของพลเมือง (ของดีที่ได้มาในวันที่ ๒๔ มิ.ย. คือสิทธิเสรีภาพประจำตัวทุกคน รัฐจะมาทำอะไรกับร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สินของเราไม่ได้ ต้องขออนุญาตเราก่อน, จะมาปกครองเราตามใจชอบไม่ได้ ต้องให้เราเห็นชอบก่อน โดยเลือกตั้งส่งผู้แทนของเราไปอนุมัติในสภา)

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ไม่ใช่แค่การรัฐประหาร เพราะมันเปลี่ยนรัฐไทย คนไทย จากสมบูรณาญาสิทธิ์/ไพร่ราบ ไปเป็น รัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ/พลเมือง มันเป็นการปฏิวัติแห่งลัทธิรัฐธรรมนูญ (constitutionalist revolution) ด้วยเหตุนี้

ขณะที่รัฐประหารครั้งอื่น ๆ ตั้งแต่นั้นมา ไม่มีนัย “ปฏิวัติ” แบบนั้นเลย


นักวิชาการคนที่มอง ๒๔๗๕ แล้วเห็นแค่ “รัฐประหาร” ก็แคบ ตื้น และไร้ประวัติศาสตร์ ไม่ต่างจากข้อความข้างต้นนั่นแหละ

 

มิจฉาทิฐิแห่งชาติ ๒ :

"ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ"

หลายประเทศเลือกวันกู้อิสรภาพ ประกาศเอกราช จากระบอบอาณานิคมต่างชาติ เป็น "วันชาติ" ของประเทศตน เช่น มาเลเซีย, อินโดนีเซีย เป็นต้น

แต่วันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยาจากกษัตริย์พม่านั้น เป็นประวัติศาสตร์ยุคก่อนมีชาติและก่อนมีสำนึกชาติด้วยซ้ำไป

ความสัมพันธ์สำนึกเป็นกลุ่มก้อนหน่วยเดียวกันในยุคนั้น ถือกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง แล้วลดหลั่นเป็นลำดับชั้นตามเส้นสายราชูปถัมภ์ จากกษัตริย์ ไปสู่ขุนนางศักดินา และไพร่ทาส, จากราชธานี (เมืองที่ประทับของกษัตริย์) ไปสู่หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอกและประเทศราช

ความสัมพันธ์แนวดิ่ง ที่เหลื่อมล้ำและยึดกษัตริย์เป็นศูนย์กลางดังกล่าว ต่างจาก ความสัมพันธ์แบบชาติ ที่เป็นแนวราบ เสมอภาค และยึดความเป็นสมาชิกร่วมชุมชนจินตนากรรมเดียวกันเป็นหลัก

ชาติไทย/ชาติสยาม ไม่ได้มีมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่ได้มีมาตั้งแต่เทือกเขาอัลไต อ้ายลาว น่านเจ้า สุโขทัย อยุธยา ต้นรัตนโกสินทร์... เอาเข้าจริงสำนึกความเป็นชาติไทย/ชาติสยามเพิ่งก่อกำเนิดเริ่มต้นในช่วงรัชกาลที่ ๔ ต่อที่ ๕ เท่านั้นเอง ก่อนหน้านั้นเป็นสำนึกก่อนชาติที่ถือกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง ลดหลั่นลงมาสู่ขุนนางและไพร่ทาส

ชาติมีไม่ได้ ถ้าไม่มีพลเมืองที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน และพลเมืองไทยที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งชั้นโดยชาติกำเนิดเป็นเจ้า/ขุนนาง/ไพร่/ทาส นั้น สมัยพระนเรศวรและกรุงศรีอยุธยา ไม่มี

ชาติไทยที่ประกอบไปด้วยพลเมืองที่มีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกันเพิ่งเกิดเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เท่านั้นเอง นี่คือแนวคิดเบื้องหลังการเลือกวันนั้นเป็นวันชาติ หรือนัยหนึ่งวัน Happy Birthday to ชาติไทยที่คนไทยเสมอภาคเท่าเทียมกันไม่แบ่งแยกชั้นเจ้า/ขุนนาง/สามัญชน

ถ้าหลงคิดว่ามีพลเมืองที่เสมอภาคกันสมัยนั้น หลงคิดว่ามีชาติในยุคนั้น คุณก็กำลังเพ้อฝันทั้งเพ แล้วเอาความเข้าใจปัจจุบันไปตีความอดีตใหม่ ให้ความหมายอดีตใหม่อย่างตรงจริตของปัจจุบัน อย่างบิดเบือนอดีต แค่นั้นเอง

 

มิจฉาทิฐิแห่งชาติ ๓ :

"วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"

๕ ธันวาฯ ได้รับการเฉลิมฉลองในฐานะวันเฉลิมพระชนมพรรษา และโดยที่พสกนิกรมากหลายรักเทิดทูนพระองค์ จะยกย่องวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นวันรวมใจคนทั้งชาติก็เป็นได้

แต่ถ้าเรายึดถือแนวคิดเรื่องชาติ ว่าหมายถึงชุมชนที่รวมของพลเมืองผู้มีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกัน, วันที่สะท้อนความเป็นชาติไทยที่สุด ก็ควรเป็นวันที่พลเมืองไทยได้สิทธิเสมอภาคนั้นมาเป็นของตน ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจเด็ดขาดสมบูรณ์ของรัฐเหนือร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สินของตนอีกต่อไป

วันนั้นในประวัติศาสตร์คือวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

ชาติไทยควรเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา เพื่อพสกนิกรแสดงออกซึ่งความรักเทิดทูนองค์พระประมุขในดวงใจ แต่นี่ไม่ใช่เหตุผลอันใดที่จะไม่ให้ชาติไทยมีวันชาติ เฉลิมฉลองวันชาติ หรือนัยหนึ่งมีและเฉลิมฉลองวันที่ประเทศไทยกลายเป็นประเทศของพลเมืองที่มีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกัน

ชาติไทยน่าจะได้เฉลิมฉลองทั้งวันเฉลิมพระชนมพรรษาที่ ๕ ธันวาคม และวันชาติที่ ๒๔ มิถุนายนของทุกปี และเราก็ได้ทำอย่างนั้นกันมาในอดีตจาก พ.ศ. ๒๔๘๒ (เริ่มประกาศให้ ๒๔ มิถุนาฯ เป็นวันชาติ ปี ๒๔๘๑ และเริ่มฉลองหนแรก ปี ๒๔๘๒) จนรัฐบาลเผด็จการทหารสฤษดิ์ยกเลิกวันชาติไป โดยไม่ถามคนไทยทั้งประเทศสักคำ เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๓

จะเอาอย่างและสืบทอดมรดกเผด็จการสฤษดิ์หรือ? ได้เวลาล้างมรดกทำลาย "วันชาติ" ของสฤษดิ์ - เผด็จการทหารเสือผู้หญิงจอมปล้นชาติ คนนั้นหรือยัง?

 

(หมายเหตุถบทความนี้ เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก "Kasian Tejapira" มิจฉาทิฐิแห่งชาติ๑, มิจฉาทิฐิแห่งชาติ๒ และ มิจฉาทิฐิแห่งชาติ๓ วันที่ 25 มิ.ย.56)

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....