Skip to main content

ยังเขียนไม่เสร็จ แต่กลัวตกกระแส กลัวโหนดาวดินไม่ทัน เลยรีบมาลงก่อน cool

ดาวดิน

การเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองหลายปีที่ผ่านมา เรามักคุ้นเคยกับการปลุกเร้าอารมณ์ให้ฮึกเหิม ผ่านความโกรธ เกลียด หรือไม่ก็ความน่าสงสารของตนเองในฐานะผู้ถูกกระทำ

ผมสนใจการแสดงออกของนักศึกษากลุ่มดาวดินที่กำลังดำเนินอยู่ตอนนี้

1. พวกเขาไม่มีทีท่าโจมตีตัวบุคคล หรือทีท่าที่แสดงความเกลียดชังคู่กรณี พวกเขาเพียงแสดงออกถึงสิ่งที่เขาคิด เชื่อ และยอมรับผลของการกระทำนั้น

2.ผมไม่เห็นพวกเขามีทีท่าที่เรียกร้องคนอื่นด้วยเหตุผลต่างๆ นานาให้เข้าร่วมกับพวกเขา พวกเขาอาจไม่ได้ปรารถนาความมั่นใจจากการมีพวกมาก หรือต้องการนำขบวนการต่อสู้ เพียงมั่นใจในสิ่งที่เชื่อและเคารพการตัดสินใจของผู้ประสบพบเห็นการกระทำของพวกเขา

พวกเขาเพียงแสดงให้คนอื่นเห็นถึงผลของความเชื่อของเขา เช่น สีหน้าที่ไม่หวาดกลัว แสดงถึงการตัดสินใจที่เตรียมตัวมาอย่างดี ไม่จำเป็นต้องผ่านการปลุกเร้าด้วยอารมณ์โกรธเกรี้ยวหรือเกลียดชัง ซ้ำยังเจือไปด้วยอารมณ์ขันแบบซึมลึกอย่างการนั่งเรียงบนรถตำรวจ การร้องเพลงเมื่อถูกกดดันอย่างหนัก และเมื่อถูกถอดเสื้อก็ไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึกที่หน้าค่ายอีก

พวกเขาไม่ได้แสดงความโกรธแค้นหรือทำตัวน่าสงสารให้เห็น

3. เมื่อผมเห็นปฏิบัติการในวันนั้นและวันต่อมา ผมนึกถึงคำ "อารยะขัดขืน" ขึ้นมาตะหงิดๆ เลยไปค้นดู ที่ http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/อารยะขัดขืน


ผมเห็นคำอธิบายของชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่เสนอไว้ว่า คุณลักษณะ 7 ประการของ "อารยะขัดขืน" ในฐานะของปฏิบัติการทางการเมือง คือ

1. เป็นการละเมิดกฎหมาย หรือตั้งใจจะละเมิดกฎหมาย

2. ใช้สันติวิธี (ไม่ใช้ความรุนแรง)

3. เป็นการกระทำสาธารณะโดยแจ้งให้ฝ่ายรัฐรับรู้ล่วงหน้า

4. ประกอบด้วยความเต็มใจที่จะรับผลทางกฎหมายของการละเมิดกฎหมายดังกล่าว

5. ปกติกระทำไปเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาล

6. มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรมของผู้คนส่วนใหญ่ในบ้านเมือง

7. มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรม ซึ่งโดยหลักแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายและสถาบันทางสังคม

ซึ่งดูก็น่าจะตรงกับการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มนี้อยู่ แต่เมื่ออ่านต่อไป ผมก็ชักไม่มั่นใจเท่าไหร่ เพราะเขาอธิบายต่อว่า

1. พื้นที่ที่จะใช้อารยะขัดขืน จะต้องกระทำบนสังคมที่ใกล้จะเป็นธรรมที่หมายถึง “'สังคมที่ส่วนใหญ่มีการจัดระเบียบอย่างดี แต่ก็มีการละเมิดความยุติธรรมปรากฏอยู่บ้าง'” เท่านั้น

2. เป้าหมายของอารยะขัดขืนของชัยวัฒน์จึงจำกัดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือรูปแบบการปกครองแต่อย่างใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออารยะขัดขืนเป็นการกระทำทางการเมืองที่มุ่งปรับปรุงรัฐหรือสังคมที่เป็นธรรมอยู่บ้างแล้ว ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้นต่อไป ไม่ใช่การต่อสู้เพี่อโค่นล้มรัฐที่อยุติธรรม (unjust) แล้วสร้างรัฐที่เป็นธรรมขึ้นมา

3. อารยะขัดขืนต้องใช้วิธีการอะไรก็ตามที่เป็นการตั้งใจกระทำผิดกฎหมาย, การใช้สันติวิธีและการยอมรับผลจากการละเมิดกฎหมายนั้นๆ วิธีการทั้งสามมีไว้เพื่อทำให้สมาชิกอื่นของสังคมเห็นว่าการละเมิดกฎหมายนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะได้ผลประโยชน์ส่วนตัว แต่จงใจที่จะเปิดเผยให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างความถูกต้องทางศีลธรรมกับความถูกต้องทางกฎหมาย และขยายความขัดแย้งดังกล่าวเข้าสู่สำนึกของมหาชนทั่วไปในสังคม เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือนโยบายที่ไม่ถูกต้องทางศีลธรรมหรืออยุติธรรม การต่อสู้ทางการเมืองด้วยวิธีการอารยะขัดขืนจึงเป็นการต่อสู้จากแรงผลักดันทางศีลธรรมของตัวผู้ต่อสู้และมุ่งสร้างจิตสำนึกและยกระดับทางศีลธรรมของสังคมโดยรวมด้วย ในสังคมหรือรัฐที่ค่อนข้างจะมีความยุติธรรมอยู่บ้าง"

ซึ่งผมเห็นว่าปฎิบัติการของนักศึกษากลุ่มดาวดินไม่ได้เข้าเงื่อนไขในแง่เป้าหมายของชัยวัฒน์สักเท่าไหร่นัก

ยังคงมีข้อสงสัยกับสังคมไทยว่าเป็นสังคมใกล้จะเป็นธรรมหรือ? จุดมุ่งหมายของพวกเขาดูจะไกลไปกว่าการมุ่งเพียงเปลี่ยนกฎหมายหรือนโยบายบางเรื่องเท่านั้น? แต่ในแง่การจงใจที่จะเปิดเผยให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างความถูกต้องทางศีลธรรมกับความถูกต้องทางกฎหมายนี่น่าจะใกล้เคียงอยู่.

คงต้องอาศัยการทำความเข้าใจกันต่อไป

 

บล็อกของ กิตติชัย งามชัยพิสิฐ

กิตติชัย งามชัยพิสิฐ
ยังเขียนไม่เสร็จ แต่กลัวตกกระแส กลัวโหนดาวดินไม่ทัน เลยรีบมาลงก่อน ดาวดิน
กิตติชัย งามชัยพิสิฐ
3 Aug ช่วงที่ผมเข้าอบรมกับจอร์จ เลกี้แกมักมีกิจกรรมให้เราทำร่วมกัน หลังจากนั้นก็จะมีการถอดประสบการณ์จากกลุ่ม ในช่วงนั้น ผู้เข้าร่วมก็จะสะท้อนประสบการณ์จากกิจกรรมที่เพิ่งผ่านไปของแต่ละคน แล้วช่วยกันสร้างเป็นความรู้ของกลุ่มออกมา ผมก
กิตติชัย งามชัยพิสิฐ
1 July
กิตติชัย งามชัยพิสิฐ
1 July
กิตติชัย งามชัยพิสิฐ
27 June ผมเพิ่งกลับจากงานอบรมในประเทศหนึ่งสิ่งที่ผมพบเจอที่นั่น อาจไม่สามารถเป็นบรรทัดฐานสำหรับตัดสินคนที่นั่นทั้งหมดได้ผมขอเล่าเพียงสิ่งที่ผมพบเห็นและได้สนทนาเท่านั้น ผมได้ไปในฐานะผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่นั่นมาร่วมสิบปี
กิตติชัย งามชัยพิสิฐ
21 June
กิตติชัย งามชัยพิสิฐ
21 June ในงานฝึกอบรมที่ผมได้เรียนรู้และใช้อยู่