Skip to main content
ชัยชนะที่ได้มาด้วยการฉ้อฉลของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งรัฐบาลสมความมุ่งมาดปรารถนาที่รอคอยมาเกือบสิบปี แต่ก็ด่างพร้อยอย่างยิ่ง ไม่มีความสง่างามแม้แต่นิดเดียว ล่อนจ้อนน่าละอาย ผิดกติกามารยาทรวมไปถึงผิดกฏหมาย กระทั่งก่อให้เกิดความระอาเกลียดชัง


บทบาทพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกข้างต้น ทำให้หลายคนตั้งฉายา สร้างวาทกรรมในการใช้เรียกขานพรรคประชาธิปัตย์ไปต่าง ๆ  นานาซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปในแง่ลบ

ฉายาที่ 1
"รัฐบาลต่างตอบแทน" ตอบแทนกระทรวงกลาโหมให้กองทัพที่ยืนหยัดช่วยเหลือทั้งทางตรงทางอ้อมแก่พรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด ไม่มีการสลายม็อบยึดสนามบินที่แกนนำเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ตอบแทนกระทรวงต่างประเทศให้แก่กลุ่มก่อการร้ายพันธมิตรที่ช่วยกันปิดสนามบินสุวรรณภูมิอย่างสนุกสนาน

ฉายาที่ 2
"ครม.ไอ้ห้อยไอ้โหน" ฉายาไอ้โหนไอ้ห้อย ไม่ได้ชวนให้นึกถึงใครเลยนอกจากนึกถึงนักการเมือง "งูเห่า" จากบุรีรัมย์ที่ผละจากนายเก่าเข้าร่วมเรียงเคียงหมอนผสมพันธุ์กับพรรคประชาธิปัตย์ แล้วดันวงศาคณาญาติ ทั้งพ่อทั้งน้อง และพรรคพวกเข้าไปกวาดตำแหน่งสำคัญ ๆ ได้สำเร็จ

ฉายาที่ 3
"รัฐบาลแบล็กเมล์" ความสามารถในการแบล็กเมล์ของพรรคประชาธิปัตย์นั้นเรียกได้ว่าเข้า "ขั้นเทพ" ขยันวิ่งเต้นเข้าหาผู้มีอำนาจบารมีนอกและในรัฐธรรมนูญอย่างไม่รู้จักเหนื่อย สนับสนุนรัฐประหารล้มรัฐบาลเลือกตั้ง สมคบคิดกับพันธมิตรปิดสนามบิน เล่นการเมืองนอกกติกามารยาท

ฉายาที่ 4
"รัฐบาลไฮแจ๊ค" เสนาะ เทียนทอง ผู้ซึ่งพลาดหวังจากการขายไอเดีย "รัฐบาลแห่งชาติ"   ที่ไม่มีใครเขาเอาด้วย ตั้งฉายานี้ให้กับพรรคประชาธิปัตย์

เสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราชที่หาที่ยืนไม่ได้ บอกว่า "ไม่อยากวิจารณ์รัฐบาลชุดใหม่ แต่บอกคำเดียวว่าเป็นรัฐบาลที่ไปปล้นเขามา ปล้นกลางอากาศ หรือไฮแจ็ค โดยไม่เกรงใจและไม่คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน เป็นยุคที่บ้านเมืองตกต่ำสุดๆ ยุคที่นักการเมืองกับผู้มีอำนาจหลายฝ่ายรวมหัวปู้ยี่ปู้ยำประเทศอย่างกับไม่ใช่คนไทย เพียงเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อเป็นนายกฯ ขอเตือนว่าที่นี่ประเทศไทย ไม่ใช่บ้านของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ หรือของใครที่ชอบเอาสถาบันมาบังหน้า เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองและพวกพ้องต้องการ" (ไทยรัฐ, 25 ธ.ค.51) http://www.thairath.com/news.php?section=politics&content=116101

นอกจากฉายาข้างต้นแล้ว ยังมีฉายาอื่น ๆ ที่ความหมายใกล้เคียงกันอีก เช่น "รัฐบาลอุปถัมภ์" "รัฐบาลมีเส้น"  "รัฐบาลนอกรัฐธรรมนูญ"

ในที่นี้จะขอเพิ่มฉายาให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อีกฉายาหนึ่งว่า
"รัฐบาลนางอิจฉา"  

เท่าที่เกิดทันและจำความได้ ได้เห็น ได้อ่าน ได้พบว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำตัวเป็นผู้ร้ายมาตลอดประวัติศาสตร์ เอาดีใส่ตัวไปพร้อมกับที่คอยให้ร้ายคนอื่น ทำแม้กระทั่งสร้างหลักฐานปลอมหลอกคนทั้งประเทศ

น่าแปลกที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบเล่นเป็นพระเอกหรือนางเอก หากจ้องแต่จะเล่นบทนางอิจฉา!

พรรคประชาธิปัตย์คงรู้สึกสนุกสะใจในบทของนางอิจฉาที่ได้หาเรื่องตบตีนางเอก ยุให้นางเอกเลิกกับพระเอก จ้างนักเลงมาฉุดคร่าข่มขืนนางเอก หรือสาดน้ำกรดให้นางเอกเสียโฉมเพราะอิจฉาที่สวยกว่า ฯลฯ 

แผนการณ์ต่าง ๆ ของนางอิจฉาในการทำลายนางเอกนั้นมีต้นทุนที่ต้องจ่าย บางทีเมื่อเข้าตาจน นางอิจฉาต้องแปลงร่างกายของตนเองให้เป็นทุนในปฏิบัติการทำร้ายนางเอก ขอให้ความปรารถนาประสบความสำเร็จ นางอิจฉายอมทำทุกอย่าง ขอให้ได้เป็นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยินยอมทำทุกอย่าง

ถ้าเป็นละครหลังข่าว นางอิจฉาอาจประสบความสำเร็จในการทำให้พระเอกกับนางเอกเข้าใจผิดกันแต่ก็เป็นเพียงชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ท้ายที่สุด พระเอก นางเอกก็จะกลับมาคืนดี แต่งงานอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

นางอิจฉาอาจได้เป็นฝ่ายตบตีนางเอกจนร้องไห้ขี้มูกโป่ง กลั่นแกล้งนางเอกแสนดีที่ไม่ถนัดในการตบตีหรือตอบโต้คนอื่นเขา บางครั้งนางเอกอาจเกือบถูกนักเลงที่จ้างมาข่มขืน แต่กระนั้นก็เอาตัวรอดได้เสมอ

อันที่จริง นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งนานแล้วหากไม่มัวหมกมุ่นกับการเล่นบทเป็นนางอิจฉา อาศัยช่วงที่การเมืองวุ่นวาย หากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซื้อใจชาวเสื้อแดงโดยการเล่นบท(สร้างภาพให้คนเชื่อว่า) เป็นพระเอก หาทางลง เสนอทางออกที่เป็นไปได้(แต่ไม่ต้องทำจริง) ให้อดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร

หากนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ รับบทเป็นพระเอกและตีบทให้แตก ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ได้มาคงงามสง่าและไม่ตามมาด้วยความโกรธเกลียดมากขนาดนี้ แต่โดยประวัติศาสตร์และความเป็นจริง พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยเล่นบทอะไรเลยนอกจากบทนางอิจฉา  

บางตอน บางฉาก ดูเหมือนว่านางอิจฉาจะได้รับชัยชนะแต่เป็นชัยชนะที่ผู้ชมทางบ้านไม่เห็นด้วย เช่นเดียวกับที่พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลที่ทำให้ผู้ชมทางบ้านไม่พอใจ แต่ตามขนบของนิยายแล้ว นางอิจฉาจะต้องพ่ายแพ้โดยที่พระเอกนางเอกไม่ต้องทำอะไร ความอิจฉาจะทำลายตัวมันเอง เพียงแต่จะพ่ายแพ้ในรูปแบบใด, อกแตกตาย, ธรณีสูบ, โดนรุมประชาทัณฑ์, สถาบันล่มสลาย โปรดคอยรอดู

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ผมเฝ้ารอคอยดูผลสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ) ของนโยบาย "5 รั้ว" ซึ่งเป็นนโยบายทางด้านยาเสพติดของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ทำให้ยาเสพติดลดลงได้จริงหรือไม่ "5 รั้ว" ที่ว่าคือ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว ทั้ง "5 รั้ว" จะช่วยเป็นเกราะป้องกันต้านทานการทะลักเข้ามาของยาเสพติด พร้อมไปกับการปราบปรามอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม
เมธัส บัวชุม
ผมเคยตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ มีความสามารถในการทำให้การเมืองกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นมีแต่ถ้อยคำลวงโลกว่างเปล่า รัฐมนตรีทำงานแบบขอไปที เอาตัวรอดไปวัน ๆ ทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจง่าย ๆ และรับปากว่าจะดำเนินการ ทาสีให้พรรคพวกที่ทำผิดกฏหมายกลายเป็นบริสุทธิ์ นโยบายไม่มีอะไรใหญ่และไม่มีอะไรใหม่ ฯลฯ ขณะเดียวกันคนเสื้อแดงก็ฝ่อลง เหมือนหมดมุกจะเล่น เหมือนหมดทางจะไปต่อ เหมือนยอมรับสภาพ
เมธัส บัวชุม
บางครั้งผมถามตัวเองว่าทำไมรู้สึกแย่ถึงขั้นขยะแขยงทุกครั้งที่เห็นหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางจอโทรทัศน์ บางทีฝืนใจดูเพราะอยากรู้ว่านายกรัฐมนตรีคนนี้จะพูดอะไรแต่ก็ต้องเปลี่ยนช่องทันทีที่ได้ฟังประโยคแรก เพราะเพียง "อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่" ผมได้คำตอบเบื้องต้นว่าเหตุที่ไม่ชอบนายกรัฐมนตรีคนนี้อย่างรุนแรงนั้นมีหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าการไม่เป็นสุภาพบุรุษ (แพ้ก็ไม่ยอมรับว่าแพ้) ชอบเล่นนอกกติกา (บอยคอตเลือกตั้ง) ขาดความเป็นผู้นำ (ตัดสินใจอะไรไม่ได้) พูดจ้าอ้อมค้อมวกวน (ตอบไม่ได้เรื่องหนีทหาร) เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่น (โทษคนอื่นตลอด) ทำหน้าซึ้งๆ เศร้าๆ (คิดว่าตนเองเป็นนางเอก) ท่าดีทีเหลว (…
เมธัส บัวชุม
หากให้ลองเอ่ยชื่อปัญญาชนที่เป็นเสาหลักของสังคมไทย แน่นอนต้องมี ส.ศิวรักษ์ รวมอยู่ด้วย จากผลงานมากมายและหลากหลายในอดีตคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธคุณูปการของ ส. ศิวรักษ์ ที่มีต่อสังคมไทยไปได้ ย้อนหลังไปก่อนการเมืองยุคทักษิณ ผมเฝ้าติดตามและชื่นชมผลงานของส.ศิวรักษ์อยู่ห่าง ๆ ชื่อของเขาในฐานะวิทยากรตามงานสัมมนาเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดให้ต้องเข้าไปนั่งฟังทัศนะอันกล้าหาญแหลมคม อาจกล่าวได้ว่าเขาคือแรงดลใจและเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าในการต่อสู้กับความ อยุติธรรม
เมธัส บัวชุม
การเมืองไร้หลักการหลังรัฐประหาร ปี 49 นำมาซึ่งเรื่องชวนหัว ขำ ฮา ตลกร้าย ตลกแต่หัวเราะไม่ออก ตลกจนอยากจะร้องไห้ ฯลฯ หลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ในที่นี้อยากจะหยิบยกมาพูดคุยสัก 4 เรื่อง เรื่องแรก ไม่เป็นเหลือง การปลดคุณเสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการคู่บุญของเครือมติชนด้วยข้อหาไม่เป็นกลางนั้นฮาครับ แต่หัวเราะไม่ออก การไม่เป็นกลางนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ดูเหมือนจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงนี่สิเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ (แต่คนเสื้อแดงหลายคนก็บอกว่าไม่เห็นคุณเสถียรจะเอียงข้างไปทางเสื้อแดงเลย) ในทางกลับกัน รายของ "นงนุช สิงหเดชะ" ซึ่งเขียนด่า (ใช้คำว่าด่า) คนเสื้อแดงและทักษิณมายาวนาน ด่าเอา…
เมธัส บัวชุม
  Iภาพที่ผู้ชายจิกหัวผู้หญิงเสื้อแดง แล้วลากถูลู่ถูกังไปกับถนนด้วยความอาฆาตมาดร้ายท่ามกลางการยืนดูเฉย ๆ ของทหาร นักข่าวและสาธาณชนนั้นน่าสะเทือนใจ ไม่ต่างอะไรกับการมุงดูผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในที่สาธารณะ นอกจากไม่คิดจะช่วยแล้ว บางคนอาจจะลุ้นเอาใจช่วยฝ่ายชายอีกต่างหาก
เมธัส บัวชุม
คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย! -------------
เมธัส บัวชุม
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล  นักวิชาการขาประจำผู้ซึ่งเคยเสนอมาตรา 7 เช่น อธิการบดีธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะในรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ว่าการโฟนอินของทักษิณจะทำให้แนวร่วมเสื้อแดงบางส่วนหายไป จะเหลือก็แต่คนเสื้อแดงแท้ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเท่านั้นผมได้ฟังแล้วงง มันมี "เสื้อแดงแท้ ๆ" กับ "เสื้อแดงไม่แท้" ด้วยเหรอ ? แล้วคน "เสื้อแดงแท้ ๆ"  ในความหมายของนักวิชาการรายนี้หมายถึงใคร
เมธัส บัวชุม
ถือเป็นความคืบหน้าทางการเมืองอีกขั้น ที่ประชาชนแห่งกองทัพแดงสามารถ "ลาก" เอาประธานองคมนตรีออกมาชันสูตรกันในที่แจ้ง จับแก้ผ้าล่อนจ้อนต่อหน้าสาธารณชน เปลื้องเปลือยรอยตำหนิและแผลเป็นน่าเกลียดไม่เคยมียุคสมัยใดของการเมืองไทยที่ประธานองคมนตรี และองคมนตรีจะโดนเล่นงานขนาดนี้  แต่ปรากฏการณ์การณ์นี้มีที่มาที่ไป ประชาชนตระหนักชัดแล้วว่าทางเดินของระบอบประชาธิปไตยถูกขวางด้วยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาตลอด โดยที่ครั้งนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ โดดเข้ามาเล่นชัดเจน แม้จะเคยบอกว่า "ผมพอแล้ว" แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนั้น "หากองคมนตรีมายุ่งการเมือง…
เมธัส บัวชุม
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน โพลล์บางสำนัก นักวิชาการบางราย สื่อบางเจ้า ทำการสำรวจประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากผลจะออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาล ทั้งที่ข้อมูลของคุณเฉลิม อยู่บำรุง นั้นถือเป็นข้อมูลลึกและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ผมติดตามการอภิปรายอยู่ห่างๆ หมายถึงดูบ้าง ไม่ได้ดูบ้าง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากคำอธิบาย คำชี้แจงของรัฐบาลคือแทบทุกคนไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเลย การให้เหตุผลเป็นแบบ "เอาสีข้างเข้าถู" "แก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ" หรือชี้แจงไม่ตรงกับสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปราย
เมธัส บัวชุม
เป้าหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับเป้าหมายของคนเสื้อแดงนั้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนกันเสียทีเดียวหากแต่มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก หมายถึงว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน แต่ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและต่างนั้นต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นกันก่อนว่า คนเสื้อแดงมีหลายประเภท หลายเฉด คนเสื้อแดงมีตั้งแต่กลุ่มฮาร์ดคอร์แบบอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์, จักรภพ เพ็ญแข และสีแดงอ่อนๆ ประเภท "แดงสมานฉันท์" สีแดงมีหลายดีกรีคือมีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอ่อนๆ ,เสรีนิยม ไปจนถึงกลุ่มถอนราก ถอนโคน (radical)
เมธัส บัวชุม
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก แตกต่างจากวงดนตรี "เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำอย่างไรก็ตาม…