หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง
เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน
\\/--break--\>
นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนวิเคราะห์กิจกรรมทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงแบบหลวม ๆ รวม ๆ ว่า
“ความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลืองเสื้อแดง จึงไม่ใช่เพราะฝ่ายหนึ่งเชียร์อำมาตยาธิปไตย แต่อีกฝ่ายหนึ่งอยากล้ม ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันด้วยเรื่องประชาธิปไตยต่างหาก เพราะต่างก็นิยามประชาธิปไตยแตกต่างกัน
ฝ่ายเสื้อเหลืองเห็นว่า ประชาธิปไตยไทยมีแต่การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนทางให้นักการเมืองขี้ฉ้อเข้ามากุมอำนาจรัฐ แล้วก็ทำการทุจริตคิดมิชอบกันไม่รู้จบ ถึงจะสร้างกลไกตรวจสอบอย่างที่รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำไว้ ก็ไม่อาจป้องกันได้ เพราะนักการเมืองขี้ฉ้อ กลับแทรกแซงองค์กรอิสระเสียจนไม่อาจทำงานได้อย่างเที่ยงธรรม วิธีแก้คือสร้างหรือเสริมอำนาจนอกระบบ (ประชาธิปไตย) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศีลธรรม, ตุลาการ, ระบบราชการบางส่วน หรือสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งในทางตรงกันข้าม ฝ่ายเสื้อแดงให้ความสำคัญแก่การเลือกตั้งจนละเลยองค์ประกอบอื่นๆ ของประชาธิปไตยไปเสียหมด ทั้งนี้เพราะฝ่ายเสื้อแดงเชื่อว่าการเลือกตั้งจะทำให้รัฐบาลต้องจัดสรรทรัพยากรให้ตกแก่ประชาชนที่อยู่นอกเขตตัวเมือง และประชาชนระดับล่างมากขึ้น ปัญหาการคอร์รัปชั่นของนักการเมืองเป็นปัญหาระดับรอง เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งรัฐบาลไทยทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐประหารได้ทำสืบเนื่องกันมานาน ฉะนั้นจึงต้องเอาระบอบเลือกตั้งกลับคืนมา โดยรอนอำนาจนอกระบบ (ประชาธิปไตย) ทุกชนิดลงเสีย เพื่อให้กระบวนการทางการเมืองเป็นกระบวนการที่มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว”
ไม่ว่าจะมองในเชิงยุทธศาสตร์หรือยุทธวิธี การกระทำที่ผ่านมาของคนเสื้อเหลืองไม่เกี่ยวข้องอะไรกับประชาธิปไตย กระทั่งเป็นอุปสรรคขัดขวาง การต่อสู้ของคนเสื้อเหลืองทำให้ระบอบมาตยาธิปไตยเฟื่องฟูขึ้นมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันได้ แต่ประเด็นที่แน่นอนก็คือผลพวงจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรนำไปสู่การทำลายล้างระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรงที่สุด สนับสนุนให้อำนาจนอกกติกาเข้าแทรกแซงหลักการประชาธิปไตย ส่งเสริมให้อำนาจของกองทัพเติบใหญ่ ลดทอนความสำคัญของการเมืองภาคประชาชนลง
ทั้งกระบวนการ(บุกNBT ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน) และเป้าหมาย (การเรียกร้องในเรื่อง 70 : 30 ส่งบัตรเชิญทหารให้ทำรัฐประหาร) ของกลุ่มพันธมิตรไม่อาจเรียกได้แม้แต่น้อยเลยว่าเกิดจากการนิยามประชาธิปไตยที่แตกต่างกันดังที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชี้ชวนให้เชื่อ
ไม่มีตัวบ่งชี้แม้นเพียงตัวเดียวจะที่จะชี้ให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรเป็นผลดีต่อประชาธิปไตย นอกเสียจากจะคิดแบบหลุดโลกว่าการรัฐประหารเป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่งไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย!
นอกจากจะฟอกให้คนเสื้อเหลืองดูสะอาดแล้ว นิธิ เอียวศรีวงศ์ ยังเข้าใจผิดอย่างแรงเกี่ยวกับคนเสื้อแดงโดยบอกว่า “คนเสื้อแดงให้ความสำคัญแก่การเลือกตั้งจนละเลยองค์ประกอบอื่นๆ ของประชาธิปไตย ...เพื่อให้กระบวนการทางการเมืองเป็นกระบวนการที่มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว”
ผมเข้าร่วมชุมนุมประท้วงกับคนเสื้อแดงหลายครั้ง หลายครา ไม่เคยได้ยินเลยว่าคนเสื้อแดงไม่ต้องการกลไกประชาธิปไตยอื่นใดนอกจากการเลือกตั้ง! ไม่เคยมีคนเสื้อแดงคนไหนต้องการเพียงการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว! นิธิ เอียวศรีวงศ์ คงจินตนาการไปเอง
สิ่งที่คนเสื้อแดงต้องการไม่ใช่การทอนให้ประชาธิปไตยเหลือเพียงการเลือกตั้ง หากแต่ต้องการทำให้ “หลักการ” มีความหมายว่า “หลักการ”
คนเสื้อแดงต่อสู้เพื่อ “หลักการ” โดยที่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวอย่างของเหยื่อแห่งความไร้หลักการนั่นเอง
บทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์ อ่อนด้อยลงทุกวันเมื่อเขียนเรื่องการเมือง จิตสำนึกที่ผิดพลาด ความเกลียดกลัวนักการเมืองบวกกับรสนิยมทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม ทำให้การวิเคราะห์การเมืองของเขาล้าหลัง ไม่ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย
การเมืองเรื่องระบบตัวแทนนั้นเป็นสิ่งที่มีปัญหาแน่ แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้นเราต้องเริ่มต้นด้วยการเคารพกติกาง่าย ๆ เรื่องการยอมรับเสียงข้างมากเสียก่อน เราต้องผ่านขั้นตอนที่การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับเสียก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วป่วยการที่จะวิเคราะห์ถึงปัญหาของระบบตัวแทนในเมื่อเราไม่เคยมีระบบนี้จริง ๆ
ผมเคยเขียนไปครั้งหนึ่งแล้วว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวแทนนักการเมืองที่เหมาะที่สุดในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เราต้องส่งเสริมให้เกิดนักการเมืองแบบนี้มาก ๆ เพื่อที่ว่าระบบรัฐสภาจะได้มีการพัฒนาจนเห็นข้อดีข้อด้อย
เราจะแก้จุดอ่อนของระบบรัฐสภาได้อย่างไรหากไม่เคยศรัทธา.
บล็อกของ เมธัส บัวชุม
เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้ว ผมเสนอว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่ม “พันธมิตรประชาชนเพื่ออะไรก็ตามแต่” ไม่สามารถเรียกว่าด้วยคำหรูๆ เกินจริงอย่าง “อารยะขัดขืน” ได้ หากแต่ควรเรียกว่า “อารยะข่มขืน” น่าจะเหมาะกว่า และผมได้แปลคำว่า “อารยะข่มขืน” ว่าหมายถึงการ “ข่มขืนที่เนียนๆ” อันหมายถึงการละเมิดขืนใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคมที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายและดูเหมือนจะมีอารยะ แต่ที่แท้แล้ว เลวร้ายไม่น้อยกว่าการใช้กำลังบังคับตรงๆ เพราะเป็นการใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหรือกลวิธีที่แนบเนียนแยบคายในการเข้าไปมีสิทธิเหนือร่างกายและจิตใจของผู้อื่น ส่วนในระดับของสังคมการเมืองนั้น…
เมธัส บัวชุม
เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความชัดเจน เป็นความเหมาะสมที่เราจะเทียบเคียงการทำรัฐประหารซึ่งทุกครั้งจะถูกอ้างในนามของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่าง (เขาพระวิหาร การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ปฏิญญาฟินแลนด์) เข้ากับการข่มขืน เพราะมันมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกันมาก ๆ ใช้เพียงสามัญสำนึกเราก็รู้ว่าการทำรัฐประหารและการข่มขืนคือการละเมิดเพิกถอนในสิทธิทุกด้านและทุก ๆ หลักการของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในร่างกาย จิตใจและสติปัญญาตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออก สิ่งที่คนถูกข่มขืนได้สูญเสียไปคือคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ อันเป็นแก่นสาระของการมีชีวิตอยู่…
เมธัส บัวชุม
กล้องถ่ายรูป นอกจากจะเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บภาพแล้วยังสามารถเป็นอาวุธไปได้พร้อมกัน หลายคนที่สันหลังหวะและกำลังจะหวะจึงมักกลัวกล้องเพราะมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ฟ้องด้วยภาพ” ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าคำบรรยายเป็นไหน ๆ และในรายที่ความผิดปรากฏชัดแล้ว กล้องก็สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ประจานด้วยภาพ” ได้อีกด้วยนักการเมืองหรือดาราหรือกระทั่งคนธรรมดาเวลาทำผิดจึงมักจะหลบกล้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ให้นักศึกษาอมนกเขาแลกเกรดก็พยายามเลี่ยงหลบกล้องโดยเอาปี๊บคลุมหัว หรือนักการเมืองบางรายลงทุนพรางตัวเพื่อไม่ให้กล้องจับภาพได้ขณะที่เข้าพบป๋าเป็นการส่วนตัว…
เมธัส บัวชุม
"ขี้กะโหล่ย" เป็นศัพท์วัยรุ่นทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ มักจะมีความหมายเชิงลบ ทำนองว่าไม่เข้าท่า ไม่ได้เรื่อง นิสัยไม่ดี พฤติกรรมแย่ เป็นที่รังเกียจ ไม่ควรเข้าใกล้ อย่าไปคบหา ชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น "ไอ้ลองมันขี้กะโหล่ย หน้าพระใจมาร กูไม่อยากสุงสิงกับมันหรอก" หรือ "ไอ้ลิ้มขี้กะโหล่ยโดนตำรวจจับไปเมื่อวานฐานปากดี" หรือ "ม็อบพันธมารขี้กะโหล่ย หลอกขายเสื้อยามเผาแผ่นดิน" ฯลฯ
เมธัส บัวชุม
ปฏิวัติ 14 ตุลา 2516 ประชาชนรวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหาร ดึงอำนาจจากมือของเหล่าขุนนางข้าราชการมาเป็นของประชาชน ซึ่งในขณะนั้นบรรดาขุนนางข้าราชการแห่งระบอบอมาตยาธิปไตยครอบครองเป็นใหญ่ในเวทีการเมืองของสภาผู้แทนราษฎรอยู่ แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร เมื่อประชาชนร่วมแรงร่วมใจกับรัฐบาลประชาธิปไตยต่อสู้กับซากเดนแห่งระบอบอมาตยาธิปไตย ซึ่งกลายเป็นกลุ่มพลังนอกเวทีรัฐสภา เป็นกลุ่มเผด็จการนอกรัฐธรรมนูญที่ต้องการบ่อนเซาะทำลายความเข้มแข็งของระบอบรัฐสภาการขยับตัวเคลื่อนไหวของ “ระบอบเก่า” เพื่อหวนกลับมามีบทบาทในเวทีการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้าน…
เมธัส บัวชุม
อาการตบะแตกกับนักข่าว/คอลัมนิสต์ ของนายก ฯ สมัคร สุนทรเวช เป็นเรื่องที่เข้าใจได้และไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นตกใจแต่อย่างใด แต่บรรดานักข่าวและผู้อยู่ในแวดวงออกอาการตระหนกตกใจราวกับสาวแรกรุ่นที่กำลังจะโดนข่มขืนเป็นครั้งแรก โดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่ผ่านมานักข่าว/คอลัมนิสต์ กระทำการข่มขืนคนอื่นอยู่ตลอดเวลา หรือในทางกลับกันก็ถูกอำนาจที่เหนือกว่าข่มขืนหลายครั้ง การคุกคามข่มขืนสื่อมวลชนในยุคเผด็จการทหารครองเมือง เทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับปัจจุบัน สื่อบางแขนงชิงข่มขืนตัวเองเสียก่อนที่จะถูกเผด็จการทหารที่นำโดยพลเอกสนธิ บุณยรัตนกลิน จัดการข่มขืน (เราควรย้ำถึงชื่อของพลเอกสนธิ …
เมธัส บัวชุม
เครือผู้จัดการมีสื่ออยู่ในมือหลากหลายครบครัน ทั้งเคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและเวบไซต์ อันทำให้การโฆษณาชวนเชื่อที่เหลวไหลของพวกเขาเป็นไปอย่างครอบคลุมกว้างขวาง เกิดประสิทธิภาพไม่น้อยพวกเขา (เครือผู้จัดการ) สถาปนาตัวเองตามแต่ใจต้องการโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาเลือกตั้งหรือแต่งตั้งด้วยบทบาทหลากหลายเหลือเชื่อคือเป็นตั้งแต่ “ยาม” ไปจนถึง “ผู้จัดการ”“ยาม” และ “ผู้จัดการ” นั้นอยู่กันคนละชนชั้นหรือพูดด้วยภาษาแบบหมอประเวศ วะสี ก็คืออยู่กันคนละ “ภาคส่วน” แต่บทบาทหน้าที่ทั้งหมดนี้พุ่งไปที่จุดประสงค์เดียวกันสำหรับ “ยาม” ภาพลักษณ์ที่ตายตัวคือเป็นคนระดับล่างของสังคม เป็นผู้ใช้แรงงานหรือใช้กำลัง…
เมธัส บัวชุม
เหตุการณ์ทางการเมืองช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อล้มรัฐบาลประชาธิปไตยกระทั่งถึงยุคเผด็จการคมช. ครองเมืองซึ่งได้สร้างเครื่องมือต่างๆ (รวมทั้งรัดทำมะนวยฉบับหัวคูน) เพื่อสืบทอดอำนาจและทำการถอนรากถอนโคนรากฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้น มีอะไรที่น่าสนใจมากมายจนผมคิดว่าน่าจะมีนักเขียนมือดีสักคนนำเอาเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บวกกับจินตนาการบรรเจิดมาผูกร้อยเข้าเป็นนวนิยายชั้นเยี่ยมได้สักหลายเรื่อง การเมืองช่วงก่อนและหลังรัฐประหารนั้น “เป็นนิยายยิ่งกว่านิยาย” เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นการกลับตาลปัตรกลายเป็น “ฮีโร่” อย่างช่วยไม่ได้ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ความพ่ายแพ้ยกแรกของเผด็จการทหาร…
เมธัส บัวชุม
-1-ปกติแล้ว ผมจะไม่หยิบนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ขึ้นมาเปิดดูเพราะไม่คิดว่ามีคอลัมน์อะไรที่ดึงดูดใจเพียงพอ นอกจากก่อนหน้านี้ที่พลิกเปิดไปดู “เรื่องสั้น” เพื่อตรวจดูว่าเรื่องสั้นของตัวเองได้รับการพิจารณาหรือเปล่า แต่ตอนนี้ผมหมดปัญญาและพลังที่จะเขียนเรื่องสั้นแล้ว ดังนั้นเวลาหยุดดูที่แผงหนังสือผมเพียงแต่กวาดสายตาดูนิตยสารรายสัปดาห์ยี่ห้อนี้เพียงผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ “เนชั่นสุดสัปดาห์” ล่าสุดที่หน้าปกเป็นรูป “ธีรยุทธ บุญมี” นักคิดวิธีสร้างข่าวให้ตนเองนั้นสะกดให้ต้องหยิบขึ้นมาเปิดดู ที่น่าสนใจไม่ใช่รูป “ธีรยุทธ บุญมี” แต่เป็น “คำ” ที่พาดผ่านหน้าปกซึ่งเขียนว่า “ตุลาตอแหล ?” พาดหัว…
เมธัส บัวชุม
-1-การได้รับรู้ข้อมูลจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนเข้าไปข้องเกี่ยวกับวงการตำรวจ-ยาบ้าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผม ไม่คิดฝันว่าชีวิตที่หมกมุ่นอยู่แต่กับหนังสือและการคิดประเด็นทางนามธรรมอะไรไปเรื่อยเปื่อยจะได้พบพานประสบการณ์ชีวิตอีกด้านหนึ่ง ที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น ผมก็เช่นเดียวกับหลาย ๆ คนที่มองเรื่องยาเสพติดด้วยสายตาวิตกกังวล แลเห็นมันเป็นปิศาจที่นำความเลวร้ายเดือดร้อนมาสู่ชีวิต เป็นเหมือนมะเร็งที่คอยบั่นทอนสภาพร่างกายและจิตใจของคนที่ตกเป็นเหยื่อ (มันชวนให้นึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณเสียจริง ๆ!) ต่างไปจากเมื่อก่อนที่มองเรื่องนี้อีกแบบหนึ่ง…
เมธัส บัวชุม
หนุ่มคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าวันดีคืนดีเขาก็ต้องตื่นขึ้นมาตอนประมาณตีสาม เพราะเพื่อนของหลานมาเคาะประตูเรียก"มีอะไร" เขาถาม"งานเข้า!" เพื่อนของหลานบอก ก่อนที่จะขยายความว่าหลานของเขาถูกจับยาบ้า ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจแล้วเขารีบไปที่สถานีตำรวจทันที อกสั่นขวัญแขวนเพราะเป็นห่วงหลาน พบหลานนั่งก้มหน้า น้ำตาคลอ และถูกใส่กุญแจมือ"ไม่ทัน!" หลานบอกทันทีที่เจอหน้า เขาไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไม่ทัน" ของหลานนั้นหมายถึงอะไร มันอาจหมายถึงว่า "หนีตำรวจไม่ทัน" หรืออาจหมายถึงว่า "ทิ้งยาบ้าที่ติดตัวอยู่ไม่ทัน" เขาถามหลานสองสามคำและถามตำรวจอีกสองสามคำ ได้ความว่าหลานมียาบ้าติดตัวอยู่ 20 เม็ด พร้อมกับเงิน 4 พันกว่าบาท…