Skip to main content

คิชิดะ จุน เป็นเด็กหนุ่มมัธยมปลายที่มองเห็นคนตายได้ และ ข้าง ๆ เขานั้นมี ฮายาคาวะ เคียวโกะ เพื่อนสมัยเด็กที่ถูกฆ่าตายและมาปรากฏตัวอยู่เคียงข้างเขา ท่ามกลางเรื่องราวสยองขวัญ ลึกลับที่เกิดขึ้นรอบตัวเขา

ภาพปก เสียงกระซิบจากคนตาย เล่ม 8

                เรียกว่าคงไม่มีการ์ตูนเรื่องใดที่ได้รับการพูดมากที่สุดในตอนนี้ในอินเตอร์เน็ตเท่ากับผลงานการ์ตูนสยองขวัญเรื่อง เสียงกระซิบจากคนตาย (Shibito no koe wo kiku ga yoi) ผลงานของ ซาชิโกะ ฮิโยโดริ ที่เคยวางจำหน่ายในบ้านเรามาแล้วกับสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ แต่ ก็ออกได้เพียงเล่มเดียวก่อนที่ทางสำนักพิมพ์จะมีปัญหาบางประการกับทางต้นสังกัดของการ์ตูนเรื่องนี้ และ ต้องยกเลิกการพิมพ์เล่มต่อไปในที่สุด  ทว่า หลังจากไม่มีค่ายใดในไทยนำมาแปลใหม่จึงทำให้มีเพจเฟสบุ๊คนำเรื่องนี้มาแปลไทยจนกลายเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากมาย เนื่องด้วยเนื้อเรื่องแนวสยองขวัญที่มีทั้ง ผี ฆาตกรโรคจิต มนุษย์ต่างดาว สัตว์ประหลาด ที่บ่อยครั้งก็ไม่มีคำอธิบาย ไม่การบอกเล่าความเป็นมาใด ๆ จน ทำให้หลายตอนชวนหัว หักมุม จนเกือบเป็นอาการเมากาวด้วยซ้ำ แต่ด้วยบุคลิกของตัวละครทั้งชายและหญิงที่มีเอกลักษณ์ความน่ารักและเอกลักษณ์ รวมทั้งบรรดาสิ่งสยองขวัญทั้งหลายก็ออกแบบมาได้ติดตาจึงไม่แปลกที่บรรดาแฟนการ์ตูนจะชื่นชอบเรื่องนี้มากจนมียอดแฟนเพจ เสียงจากคนตาย ถึง 20945 ไลท์ (ระหว่างเขียนบทความนี้) ในระยะเพียงไม่กี่เดือน นี่แสดงให้เห็นว่า เนื้อหาของเรื่องนี้มีความน่าสนใจของบรรดานักอ่านอย่างยิ่งจนมีการรอคอยตอนต่อกันแทบทุกวัน

(Yamiyo ni Asobu na Kodomotachi  , Freud Stein no Futago สองผลงานเก่าของ ซาชิโกะ ฮิโยโดริ)

                แน่นอนว่า ความสำเร็จนี้มาจากปลายปากกาของ ซาชิโกะ ฮิโยโดริ หรือ อีกนามปากกาว่า อุงุอิสึ โยโกะ นักเขียนการ์ตูนสาวที่เคยมีผลงานแนวสยองขวัญแบบสั้น ๆ อย่าง Yamiyo ni Asobu na Kodomotachi  , Freud Stein no Futago  และ เรื่อง เสียงกระซิบจากคนตาย เป็นผลงานเรื่องยาวแรกของเธอ (ที่ไม่โดนตัดจบก่อน) โดยมีโทนที่ต่างจากงานเก่า ๆ ที่คราวนี้จะเน้นไปที่หนุ่ม ๆ แทน เนื่องจากลงให้อ่านกันในนิตยสา แชมเปี้ยน RED ของสำนักพิมพ์อาคิตะ

            “บ.ก บอกว่า อยากให้ชื่อเรื่องหวาน ๆ มีสาว ๆ เยอะ ๆ ก็เลยวาดเรื่องที่มีพระเอกเป็นเด็กหนุ่มแล้วก็มีวิญญาณของเพื่อนสมัยเด็กแล้วก็มีผู้หญิงอีกเยอะแยะคอยตามกรี้ดกราดพระเอกนี่ละคะ แต่ก็อยากลองวาดเรื่องสยองขวัญด้วย แต่บ.ก. กลับบอกว่า มันหวานตรงไหน ?”

                เสน่ห์สำคัญของการ์ตูนเรื่องนี้ นอกจาก บรรดาตัวละครชายหนุ่มหญิงสาวที่มีเอกลักษณ์ความป่วยและผิดแปลกไปจากปกติแล้ว ตัวเรื่องราวยังได้รับอิทธิพลมาจากสื่อต่าง ๆ มากมาย อาทิ ภาพยนตร์สยองขวัญดัง ๆ เกมดัง ๆ ไปจนถึงการ์ตูนเรื่องอื่นถูกนำมาบิด Plot ใหม่จนมีความตลก ความชวนหัว หักมุมได้อย่างน่าสนใจ แม้ว่าหลายคนจะมองว่า เรื่องไม่มีที่มาที่ไปหน่อย ทว่า หลายคนก็บอกว่า นี่คือ ผลงานที่เป็นเหมือนมรดกของงานการ์ตูนสยองขวัญเรื่องเก่า ๆ อย่าง ผลงานของอาจารย์คาซูโอะ อูเมซุ , จุนจิ อิโต้ไปจนถึง โยสุเกะ ทาคาฮาชิ ที่มีพวกเขาล้วนแล้วมีส่วนคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะการหยิบเอาสิ่งที่เรียกว่า เรื่องใกล้ตัวมาใช้

                “ผมอาศัยไอเดียจากชีวิตประจำวัน บางครั้งก็เอามาจากวิทยุ ถ้าฟังดูน่าสนใจก็จะลองหยิบมามองแบบกลับหัวกลับหาง ผมพยายามไม่เค้นความสยอง หากคิดว่า อันไหนเข้าท่าก็ขยายเรื่องและเพิ่มส่วนที่สยองเข้าไปทีหลัง โดยวางแนวทางของเรื่องเอาไว้แล้วค่อยวางพล็อต”

(อ.จุนจิ อิโต้)

                จุนจิ อิโต้ นักเขียนการ์ตูนสยองขวัญในตำนานยอดฮิตที่บ้านเราคุ้นเคยกันดี เอ่ยถึงแนวคิดหลัก ๆ ของเขาก่อนจะเขียนงานขึ้นมา ซึ่ง เนื้อหาของเขาเองก็หยิบสิ่งที่ใกล้ ๆ ตัวเขามาทำใหม่ให้ดูน่าขนลุกและไม่มีที่มาที่ไป อาทิ Tomie ที่เล่าเรื่องเด็กสาวที่ถูกฆ่าตายแล้วกลับมาเรียนหนังสือปกติในวันต่อมา หรือ Gyo (ปลามรณะ) ที่เล่าเรื่อง ปลามีขาเหล็กที่ขึ้นมาจากทะเลแล้วเล่นงานภูเขาจนทั้งเมืองเหม็นไปทั่ว อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ก้นหอยมรณะ ที่อิโต้บิดเอาแนวคิดสยองขวัญนี้มาใช้เช่นกัน โดย เขาบอกว่า เขียนการ์ตูนเรื่องนี้ขึ้น เนื่องจากจ้องก้นหอยนาน ๆ แล้วเกิดรู้สึกว่า มันต้องมีอะไรแน่ ๆ ยิ่งจ้องยิ่งคิดยิ่งเลิดเทอญไปทุกที

                แนวคิดของอิโต้ก็คล้ายกับอาจารย์ของเขาอย่าง คาซูโอะ อูเมซุ นักเขียนการ์ตูนสยองขวัญในตำนานจากผลงานอย่าง ฝ่ามิตินรก ที่ได้รับความนิยมอย่างมากจนได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง รวมทั้งงานอื่น ๆ อาทิ Senrei ที่เล่าเรื่องน่าสยองขวัญของอาจารย์หนุ่มรูปหล่อที่ถูกเด็กสาวคนหนึ่งหลงใหลโดยไม่รู้ว่า ในร่างกายอันน่ารักนั้นมีอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ หรือ งานเรื่องสั้นของเขาอย่าง Hebi shoujo ก็เล่าเรื่องของงูผีที่วางแผนสังหารเด็กสาวชาวกรุงคนหนึ่งเพื่อจะสวมรอยเป็นเธอเข้าไปอาศัยอยู่ในเมืองแทน แนวคิดเหล่านี้มาจากการหยิบยกเรื่องธรรมดาใกล้ตัวมาใช้ แล้วบิดมันใหม่แบบที่อิโต้เป็นแล้วนำไปสู่เรื่องราวสยองที่ยากแก่การอธิบาย

(อ. คาสึโอะ อูเมซุ)

                ซึ่งอาจารย์ อูเมซุกล่าวถึงแนวคิดที่ทำให้งานสยองขวัญของเขาได้รับความนิยมและกลายเป็นพิมพ์เขียวของงานสยองขวัญเรื่องต่าง ๆ ยุคหลังว่า

(บรรดางานสยองขวัญ อ. อูเมซุ)

                “ผมขับเน้นความกลัวจากที่สิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็นในบรรยากาศทะมึนไม่สามารถไว้วางใจสิ่งใด ๆ ได้แม้แต่คนใกล้ตัว พ่อ แม่ ครู อาจารย์ แม้แต่คนรัก ขณะที่โครงสร้างของเรื่องจะซ่อนความหมายของความหมายบางประการอันจะนำไปสู่ บทจบแบบหักมุมและปลายเปิด”

                การเล่าแบบปลายเปิดนี้ได้รับความนิยมมากและส่งอิทธิพลมายังนักเขียนการ์ตูนรุ่นหลัง ๆ อาทิ Eko Eko Azarak (มนต์ดำมรณะ) ผลงานอาจารย์ซานิจิ โคกะ (ที่พึ่งเสียชีวิตไปไม่นานนี้) ที่เล่าเรื่องเด็กสาวแม่มดที่มีชื่อว่า คุโรอิ มิสะ ที่เป็นทายาทแม่มดแล้วเดินทางไปยังโรงเรียนต่าง ๆ แล้วบ่อยครั้งต้องเผชิญหน้ากับเรื่องราวลึกลับที่แฝงอยู่ รวมทั้งเผชิญหน้ากับจิตใจอันดำมืดของมนุษย์ไปด้วย ซึ่งเรื่องนี้โด่งดังมากจนมีฉบับรวมเล่มถึง 20 เล่มจบ และ ตัวของมิสะก็กลายเป็นต้นแบบของแนวสยองขวัญที่มี Theme ว่า ด้วยตัวเอกที่ย้ายโรงเรียนไปที่อื่น ๆ แล้วไปเจอเรื่องสยอง และจบในตอนนี้แบบนี้

                “ผมมองว่า เรื่องสยองขวัญมักสะท้อนจิตใจของมนุษย์เอง”

                อาจารย์ซานิจิ โคกะ เอ่ยสัมภาษณ์กับนิตยสารในวาระที่การ์ตูนเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์คนแสดง และ มองว่า คุโรอิ มิสะ เป็นเหมือนตัวแทนของคนดูที่เข้าไปเผชิญหน้ากับเรื่องราวสยองขวัญที่บ่อยครั้งเกิดจากตัวของมนุษย์ด้วยกันทำให้เกิดขึ้น

                “มิสะเป็นเด็กผู้หญิง ถึงเธอจะเป็นแม่มด ผมก็คิดว่า เธอเลือกก็อยากจะเป็นเด็กธรรมดา อยากมีเพื่อน ไปโรงเรียน มีคนรัก และ ไม่ต้องมายุ่งกับเรื่องราวแบบนี้ นี่คือสิ่งผมอยากให้คนดูได้เห็นจากเรื่องนี้

                เช่นเดียวกับเรื่องราวของยามางิชิ เด็กหนุ่มดวงซวยที่มักจะเจอเรื่องราวสยองขวัญตลอดเวลา ซึ่งบ่อยครั้งก็หาคำอธิบายใด ๆ ไม่ได้ อย่างตอนดัง ๆ ที่เขาถูกคนทั้งโรงเรียนไล่ฆ่าตามคำสั่งใครสักคนให้ฆ่ายามางิชิ เป็นต้น ซึ่งมาจากมังงะที่มีชื่อว่า ชั่วโมงเรียนพิศวง (Gakkō no Kaidan) (จำนวน 15 เล่มจบ)ของ โยสุเกะ ทากาฮาชิ

                “นี่เป็นเรื่องสยองขวัญที่ผมเขียนขึ้นมาจากการแต่งเอง ผมชอบเรื่องเล่าสยองขวัญ บ่อยครั้งฟังมันตอนแคมป์ไฟ มันน่ากลัวและบ่อยครั้งก็ไม่มีที่มา แค่น่ากลัวก็พอแล้ว ถ้ามีสิ่งที่อธิบายได้ มันก็ไม่น่ากลัว”

                โยสุเกะ ทาคาฮาชิกล่าวถึงเนื้อหาในช่วงแรกเป็นเรื่องสั้นสยองขวัญจบในตอนที่มีทั้งหักมุมบ้างจนคนดูตามไม่ทัน หรือ โรแมนติคและโศกเศร้า ผ่าน ตัวเอกอย่าง ยามางิชิที่มักซวยถูกฆ่าตายบ่อย ๆ จนได้รับความนิยมและได้มีเรื่องยาวต่อเนื่องตั้งแต่เล่ม 6 เป็นต้นมาที่มีการเพิ่มบทของคุณครูแม่มดผู้มีพลังอย่าง คุด้ง คุกิโกะมา ให้เนื้อหาซอฟลง แม้จะยังน่ากลัวอยู่ เนื่องจากอยากให้เด็ก ๆ อ่านได้ง่ายขึ้น จึงไม่แปลกที่ญี่ปุ่นจะมีหนังสือการ์ตูนแนวสยองขวัญตาหวานออกมาวางจำหน่ายมากมาย แต่ละเรื่องก็มักจะเล่าเรื่องของครอบครัว เด็ก โรงเรียน ผสมผสานไปกับความสยองขวัญนั้น โดยเรื่องที่ดัง ๆ นั้นก็ได้แก่ Zekkyo Gakkai (คลาสเรียนหวีดผวา) ของสำนักพิมพ์ บงกชคอมมิค ที่มีศูนย์กลางของเรื่องคือ วิญญาณเด็กสาวที่ชื่อว่า โยมิ ที่จะคอยมาเล่าเรื่องสยองขวัญในแต่ละตอน โดยมากมักเป็นเรื่องเขย่าขวัญที่หยิบเอาสิ่งที่เรารู้กันในสังคมญี่ปุ่น อย่าง การกลั่นแกล้งในโรงเรียน , การทำร้ายในครอบครัว , ความมืดมิดในใจของเด็กและตัวละครในเรื่อง แน่ละว่า แต่ละเรื่องมีบทสรุปในเชิงสั่งสอนศีลธรรม และ เพื่อให้ข้อคิดแก่เด็ก

                “เรื่องสยองขวัญมักมาจากผู้ใหญ่ที่เล่าเรื่องให้เด็กฟัง เรื่องเล่าพวกนี้เลยมีลักษณะใช้สั่งสอนให้เด็กไม่ทำ หรือ ทำตามที่ต้องการ ไม่เช่นนั้นจะเกิดเรื่อง การ์ตูนของฉันจะนำเรื่องพวกนี้มาเล่าและตั้งคำถามว่า เด็ก ๆ จะเอาตัวรอดจากสถานการณ์นี้ยังไงค่ะ บ่อยครั้งพวกเขาก็ตกลงสู่หลุมดำมืดของจิตใจและเอาตัวไม่รอด”

                เอมิ อิชิคาว่า ผู้เขียนมังงะเรื่องนี้เขียนถึงความคิดในการนำเรื่องราวเขย่าขวัญนี้มาเป็นการ์ตูน ซึ่งแน่นอนว่า เธอก็เป็นหนึ่งในนักเขียนสยองขวัญตาหวานชั้นนำที่เข้าใจดีว่า เรื่องรางสยองขวัญนั้นมีคุณค่าในเชิงสังคมมากเพียงใด เช่นเดียวกับอาจารย์ โช คามาคุระ ผู้แต่ง นูเบ มืออสูรล่าปีศาจ ที่หยิบเอาตำนานผี เรื่องเล่าต่าง ๆ มาตีความใหม่พร้อมกับใส่มุมมองในเชิงสายตาผู้ใหญ่ว่า เรื่องเล่าพวกนี้มีมานานแล้ว และถูกดัดแปลงไปตามกาลเวลา แต่จุดหมายของมันไม่เคยเปลี่ยนนั้นคือ การใช้เรื่องเล่าสะท้อนสังคมและสะท้อนถึงภัยรอบตัวที่มีต่อเด็ก ๆ ซึ่งนูเบเองก็เป็นหนึ่งในงานสยองขวัญที่มีอิทธิพลต่อหลายคนในยุค 90 และโด่งดังจนมีอนิเมชั่นและภาคต่อออกมาในตอนนี้ด้วย

                จึงไม่แปลกหากว่า เสียงกระซิบจากคนตายนี้จะเป็นเหมือนมรดกสำคัญของงานชั้นครูเหล่านี้และมันได้ต่อยอดพัฒนาขึ้นมาจนกลายเป็นงานสยองขวัญที่โดดเด่นมาก ๆ  และ ที่สำคัญมันเต็มไปด้วยการคารวะงานชั้นครูอื่น ๆ อาทิ การคารวะนอสเฟอราตู หนังแวมไพร์เรื่องแรกของโลก หรือ การคารวะงานของ HP Lovecraft ในตอนที่ 34 (โลกที่เปลี่ยนไป) หรือ ผีที่ล้อเอ็กโซซิสต์แบบเต็ม ๆ ,ครอบครัวประหลาดที่อธิบายไม่ได้ว่าเป็นตัวอะไรในตอนที่ 5  จึงไม่แปลกที่นอกจากเนื้อหาของเรื่องที่ต้องลุ้นว่า จะเล่นอะไรแล้ว ตัวเนื้อหายังทำให้เราสนุกกับการถ่ายทอดงานชั้นครูเหล่านี้ไปพร้อมกันว่าจะตีความหรือนำมาใช้ใหม่ได้อย่างไร

                แต่เหนือสิ่งอื่นใด ตัวมังงะสยองขวัญเรื่องนี้ก็มีแง่มุมในการสะท้อนจิตใจอันดำมืดของมนุษย์ ภาพความเลวร้าย สิ้นหวัง และ ความเจ็บปวดอันเกิดขึ้นความโศกเศร้า ผิดหวัง โกรธแค้น ที่บ่อยครั้งวิญญาณก็ไม่ได้ทำอะไรนอกจากลอยไปลอยมารอดูคนชิบหายกันไปแค่นั้น เพราะ สุดท้ายแล้วสิ่งที่น่ากลัวที่สุดไม่ใช่สิ่งที่มองไม่เห็นหรือสัตว์ประหลาด มนุษย์ต่างดาว พวกนั้น

                แต่เป็นจิตใจของมนุษย์เอง

                และเชื่อว่า หลายคนคงกำลังจดจ่อรอชมเรื่องราวของคิชิดะและฮายาคาวะต่อไปว่า พวกเขาจะเผชิญหน้ากับเรื่องเล่าเขย่าขวัญนี้เรื่องใดอีก

* ปัจจุบัน Shibito no koe wo kiku ga yoi ยังไม่มีสำนักพิมพ์ไทยใดนำมาจัดพิมพ์ใหม่จึงสามารถอ่านฉบับแปลไทยได้ที่เพจเสียงคนตาย ซึ่งปัจจุบันแปลไปถึงตอนที่ 38 แล้ว และ ขณะที่ต้นฉบับออกมาทั้งหมด 9 เล่ม และ เล่มที่ 10 กำลังจะวางจำหน่ายในเร็ว ๆ นี้

 

บล็อกของ Mister American

Mister American
              ช่วงสองเดือนที่ผ่านมาคนทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับการปรากฏตัวของม๊อบ กปปส ของอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อย่าง นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่พึ่งต่อยอดมาจากม๊อบต่อต้าน พรบ นิรโทษกรรมมาเป็นม๊อบขับไล่รัฐบาลอย่างเต็มตัว ด้วยการชูประเด็น สภาประชาชนและการปฏิรูปป
Mister American
              เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา คนทั่วโลกต้องได้รับข่าวเศร้าเมื่ออดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนแดล่า แห่งแอฟริกาใต้ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยวัย 95 ปี การเสียชีวิตของเนลสัน แมนเดล่าได้สร้างความเสียใจให้กับคนแอฟริกาและคนทั่วโลกเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะข
Mister American
            เมื่อช่วงเช้าของวันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมาแฟนภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดทั่วโลกต้องพบกับข่าวเศร้าที่หลายคนต่างไม่คาดคิดว่า จะเกิดขึ้นไวเช่นนี้ นั่นคือ การเสียชีวิตของดาราหนุ่มเจ้าของบท ไบรอัน โอ คอนเนอร์ จากหนังเรื่อง Fast And Furious ทั้ง 6 ภาค และกำลังถ่าย
Mister American
         ใกล้งานหนังสือฤดูหนาวอีกแล้วนะครับ
Mister American
            ถ้าพูดประธานาธิบดีที่คนอเมริกันรักที่สุด และ เนื้อหอมที่สุดในฮอลลีวู้ดตอนนี้คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกานาม อัมบราฮัม ลินคอล์น ผู้ซึ่งดำเนินการแผนเลิกทาสขึ้นครั้งใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจนก่อให้เกิดสิ่งที่
Mister American
          เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา วงการลูกทุ่งได้สูญเสียนักร้องผู้เป็นขวัญใจมหาชนและราชาแห่งเพลงลูกทุ่งอย่าง สายันต์ สัญญา ไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยโรคมะเร็งตับที่ได้พลัดพรากนำนักร้องเจ้าของฉายา แหบมหาเสน่ห์ ผู้นี้ไป ท่ามกลางความโศ
Mister American
         ในระหว่างที่ผมกำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้คงไม่มีหนังสยองขวัญเรื่องใดจะเป็นที่สนใจไปกว่าหนังสยองขวัญบ้านผีสิงอย่าง The Conjuring ที่กำลังลงโรงฉายสร้างความสยองขวัญให้กับเหล่านักดูหนังที่ต้องการท้าพิสูจน์คำร่ำลือจากหนังผีเรื่องนี้ว่า น่ากลัวที่สุดจนทำเงินขึ้นตารางทำเงิ
Mister American
         ณ เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งทางทิศใต้ของอเมริกา มันเป็นเมืองเล็กที่แสนสงบสุข ผู้คนอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ภายใต้การดูแลของนายอำเภอและทีมงานของเขา ทว่า ความสงบสุขกำลังถูกทำลายลงเมื่อผู้ร้ายห
Mister American
        แม่ เป็นบุคคลที่เราทุกคนไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่า คือ ผู้มีพระคุณของเเรา เธอชุบเลี้ยง และเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง แม่ จึงเป็นภาระที่ช่างใหญ่หลวงนักจนเรียกได้ว่า กว่าเราจะเกิดขึ้นมาได้นั้น คนที่เจ็บปวดที่สุดก็คือ แม่ของเรานั่นเอง และวินาทีเราเกิดมาน
Mister American
        สิ่งที่ควรพึงระลึกก่อนจะดูภาพยนตร์เรื่องนี้มีอยู่สองสามข้อ อย่างก็คือ จงพึงระลึกไว้ว่า นี่ไม่ใช่หนังเพื่อความบันเทิง ข้อที่สองสารในหนังเรื่องนี้ไม่มีความแปลกใหม่ มันถูกเล่าซ้ำ ๆ มานับครั้งไม่ถ้วนในโลกภาพยนตร์แห่งนี้ และ ข้อสุดท้ายก็คือ จงพึงระลึกไว้เสมอว่า โลกนี้ไม่มีค
Mister American
          ตอนเป็นเด็กเคยสงสัยกันไหมครับว่า ทำไมโลกใบนี้ถึงไม่มีอุลตร้าแมน ?