Skip to main content

 

 

ลูกสิ้นใจท่ามกลางวงล้อมของเหล่าผู้ที่รักและเมตตาลูก โดยเฉพาะหลวงพ่อซึ่งนั่งสมาธิสงบนิ่งตลอดเวลา ตั้งแต่ลูกมีอาการใกล้จะดับ จนผ่านนาทีแห่งการพลัดพรากนิรันดร์ไปแล้ว ท่านก็ยังนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่อย่างนั้น อีกหลายนาที

\\/--break--\>

แม่กับพ่อร้องไห้ วนเวียนกอดลูบร่างลูก ด้วยความรักความผูกพันที่รัดรึงจิตของเราไว้อย่างแน่นหนา แม่รู้สึกเหมือนใจจะขาด ยามนี้มีเพียงอ้อมกอดพ่อเท่านั้นที่เป็นที่มั่นให้พึ่งพิง เราทั้งคู่กอดกันแล้วร่ำไห้ ไม่ต่างจากลุงเปี๊ยก ป้าเฒ่า หรือใครๆ ที่นั่งนิ่งปาดป้ายน้ำตาที่ยากจะกลั้น

 

เพียงไม่นาน ทุกอย่างก็คลายจาง แม่ต้องตั้งสติอีกหน เพราะต้องจัดการกับสิ่งที่รออยู่ นั่นคืองานศพของลูก

 

หลวงพ่อท่านบอกว่า ในเมื่อเขาไปดีแล้ว เราก็ทำงานบุญให้เขาอย่างเรียบง่ายก็แล้วกัน ทางวัดจะเป็นเจ้าภาพให้ พรุ่งนี้เช้าทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ตอนบ่ายก็เผาเลย เพราะไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะยืดเวลาออกไป ในเมื่อร่างของลูกคือสิ่งที่ต้องแตกสลายอยู่แล้ว จะช้าจะเร็วไม่สำคัญ เจ้าของร่างได้ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างหมดจดแล้ว

 

ลูกแม่ คนที่น่าสงสารอีกคนคือพี่ปุ้ยของลูก พี่ปุ้ยมาถึงที่กุฏิหลังจากลูกจากไปไม่นาน เขามาจากมุกดาหารกับน้าๆหลายคน แต่ไม่มีใครบอกพี่ปุ้ยเลยว่าลูกเสียแล้ว ขณะที่เดินขึ้นภูมาอย่างเหนื่อยล้าอ่อนกำลัง เมื่อมาถึงสิ่งที่พี่เขาเห็นคือร่างลูกที่นอนทอดยาวอยู่บนเตียง ไร้ความรู้สึกใดๆแล้ว พี่เขาผวาเข้าไปกอดลูกแล้วร้องไห้

 

คืนแห่งความเศร้าโศกของเราเริ่มทุเลาเบาบางลงบ้าง เพราะมีหลวงพ่อที่คอยให้สติ ท่านบอกว่าทุกอย่างก็ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่ไม่เกิดไม่ดับ แต่เราจะเข้าถึง เข้าใจ จนระงับความทุกขเวทนาได้หรือไม่เท่านั้นเอง

 

รุ่งเช้า วันที่ 22 สิงหาคม

 

 

 

สายฝนทิ้งรอยไว้ให้เมื่อย่ำรุ่ง ความหนาวเย็นคลี่ห่มทั่วภูผา ในหุบเขามองจากระเบียงกุฎิ มีหมอกหนาหนักซุกนิ่งอยู่เต็มหุบ แม่เหม่อมองด้วยใจหม่น นึกถึงลูกที่เคยตื่นแต่เช้าแล้วนั่งดูหมอกขาวโพลนนั้นด้วยกัน

ครั้นแสงอาทิตย์สาดผ่านมาบางๆ ทุกอย่างเริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้ง เหมือนที่ละไอหมอกค่อยๆจางหายไปในที่สุด

 

พิธีกรรมยามเช้า เป็นไปตามปกติของชาววัด เสร็จจากนั้น เราจึงนำหีบศพของลูกมาไว้ที่ศาลาใหญ่ เพื่อที่ญาติมิตรจะได้มาคารวะศพอย่างสะดวก ศาลาใหญ่หลังนี้เป็นอาคารสองชั้น อยู่ด้านหน้าของวัด เป็นที่รับรองแขกคณะใหญ่ๆอยู่แล้ว

 

วันนั้น คนที่รู้ข่าวเดินทางมาร่วมงานศพลูกทั้งใกล้ทั้งไกล มากมายหลายร้อย แม้ว่าเป็นการจัดงานศพที่กระชับเวลาให้สั้นที่สุด หลายคนที่มางานศพลุงยุทธ มาจากภาคเหนือ ภาคใต้ เมื่อรู้ว่าลูกเสียแล้ว พวกเขาก็มาร่วมงานของลูก ในฐานะคนที่รู้จักมักคุ้นกับพ่อ และมีอยู่หนึ่งคณะ ที่เดินทางมาทำกิจกรรมเข้าค่ายที่ศูนย์อินแปงพอดี คือทีมอาจารย์ซาโตมิ กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคูคูคาอิน อาจารย์ท่านนี้ รู้จักกับลูกตั้งแต่เล็กๆ เพราะท่านจะพานักศึกษามาจัดกิจกกรมที่บ้านเราทุกปี จนรักพ่อเหมือนลูก และรักลูกเหมือนหลาน การมาค่ายครั้งนี้ กลายเป็นว่า ได้มาร่ำลาลูกเป็นครั้งสุดท้ายไปด้วย

 

งานศพลูก คงต้องขอบคุณใครๆมากมาย เพราะไม่ว่าจะเป็นอาหารที่เลี้ยงรับรองแขก ที่พ่ออยากให้เป็นมังสวิรัติ และการเตรียมสถานที่ที่จะเผา หรือเชิงตะกอน ที่ต้องหาไม้ฟืนมาให้มากพอเพียงและรวดเร็ว ทุกอย่างสำเร็จได้เพราะพี่น้องชาวบ้านละแวกใกล้ไกลทั้งหลาย ที่มาช่วยกัน

 

ราวๆบ่ายสามโมง ทุกคนเคลื่อนมาที่เชิงตะกอน ริมหน้าผา ทางทิศตะวันออกของกุฎิที่ลูกอยู่ หลวงพ่อกับคณะสงฆ์ได้ทำพิธีสวดและเป็นประธานฌาปณกิจ จากนั้นเปลวเพลิงก็ลุกโหมจนร้อนแรง ท่ามกลางอากาศที่มัวซัว เมฆหมอกยังห่มคลุมทั่วภู

 

ลูกคือร่างแรก ที่ทรุดลงแนบแผ่นดินบนภูสูงแห่งนี้ ด้วยเมตตาบารมีของหลวงพ่อท่านอย่างแท้จริง

 

 

 

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
ประมาณตีสาม เราค่อยๆไต่ขึ้นสู่เขตภูเขาสูง ฉันนึกเดาเอาว่าที่นี่น่าจะเป็นเขตรัฐสลังงอร์ เพราะว่าเผอิญสายตาปะทะกับป้ายที่เขียนว่า เกนติ้ง ไฮแลนด์ มีลูกศรชี้ไปทางซ้ายมือ แต่รถยังมุ่งหน้าตรงไป กระทั่งฉันเห็นเมืองเล็กๆมีไฟฟ้าสว่างไสว สาดจับที่รูปปั้นขององค์พระศิวะสีทองอร่ามความสูงร่วมร้อยเมตร ยืนตระหง่านตรงปากทางขึ้นถ้ำซึ่งมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ไม่น้อยไปกว่ากัน ฉันรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นถ้ำบาตู ฮินดูสถานที่สำคัญของคนมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย และถัดมาอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมง มีป้ายเขียนไว้ว่า พิพิธภัณฑ์โอรัง อัสลี…
เงาศิลป์
คุณเคยเดินทางไปในทิศทางที่ไม่คุ้นเคยบ่อยไหม ขณะนั้นหัวใจของคุณเต้นเป็นจังหวะอะไร มันระทึกตื่นเต้นโครมครามปานช้างป่าตกมันหรือเปล่า หรือว่าเรียบเรื่อยราวห่านหงส์กระดิกปลายเท้าแผ่วใต้สายน้ำนิ่ง แล้วเคลื่อนร่างไปข้างหน้าอย่างละมุน แม้แต่ผิวน้ำก็แทบจะไม่กระจาย
เงาศิลป์
กำแพงบางๆ ที่กั้นระหว่างความทุกข์กับความสุข คือความกระหายใคร่รู้ในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องหาคำตอบด้วยตนเอง จะเรียกสิ่งนั้นว่า ความท้าทาย การผจญภัย หรือความใฝ่รู้ ก็น่าจะได้ แต่บางทีมันกลับเป็นเครื่องจองจำบีบรัดหัวใจให้อึดอัดจนหายใจไม่ออก และฉันไม่ชอบอารมณ์นั้นเลย ฉันจึงต้องพยายามจะเป็นฝ่ายชนะมันด้วยการออกเดินทางเพื่อไปหาคำตอบ แม้จะอยู่สุดหล้าฟ้าเขียวก็ตาม  
เงาศิลป์
ป่าในสำนึก คือวิหารอันโอฬาร ที่เปลี่ยนแปลงรูปทรงทุกขณะที่เคลื่อนเข้าใกล้ มีพลังดึงดูด มีมนต์สะกด มีความยิ่งใหญ่ที่ข่มให้เราตัวเล็กลง ฉันจึงหลงรักการถูกครอบงำนี้ อย่างไม่อยากถอนใจ
เงาศิลป์
ฉันได้ตายลงแล้วจริงๆ เพราะเบื้องหน้าที่มองเห็นคือท่านท้าวพญายมราช "ทำไมเจ้าจึงเลือกประตูบานที่สาม"น้ำเสียงเข้มขรึมไม่ด้อยไปกว่าท่วงท่าอันน่าเกรงขามบนบัลลังค์ ฉันซึ่งนั่งคุกเข่าก้มหน้าหลบสายตา ยิ่งต้องทำตัวห่อลีบ ประหนึ่งหลบหลีกคมหอกดาบที่พุ่งมาพร้อมกับคำถามนั้น
เงาศิลป์
  ลูกรักของแม่ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้จักคำว่าสูญเสียได้อย่างลึกซึ้ง แม้แต่แม่เองก็ยังต้องครุ่นคิดย้อนหลังไปว่า ถ้าสามารถย้อนเวลาไปแก้ไขหรือป้องกันการจากพรากที่แสนจะรันทดนี้ได้ ในตอนไหนได้บ้าง แม่ก็จะทำ ถ้าแม่รู้ว่าลูกจะอยู่กับเราไม่นาน แม่จะไม่ส่งลูกไปอยู่กับคนอื่น แม้คนนั้นจะเป็นปู่กับย่าก็ตาม ถ้าแม่รู้ว่าลูกป่วยหนักและมีเวลาเหลืออีกไม่นานนัก แม่จะไม่เชื่อหมอที่วินิจฉัยในครั้งแรก ถ้ารักษาลูกได้ด้วยวิธีใดๆ เพื่อให้ลูกหายขาด แม่ก็จะทำ แต่ก็นั่นล่ะ พูดไปเมื่อสายเสียแล้ว จะมีประโยชน์อะไร ที่จะรำพัน ดังนั้น สิ่งที่พอจะทำได้ คือ แม่อยากบอกกับคนที่เป็นพ่อแม่ทุกคนว่า…
เงาศิลป์
รุ่งขึ้นอีกวัน หลังจากเก็บอัฐิของลูกแล้ว ความเศร้าโศกค่อยๆ ถอยห่างไปจากเรา ในตอนสาย พ่อได้ประกาศเจตนารมย์ให้แก่ญาติมิตรทั้งหลายทราบว่า พ่อจะตั้ง “กองบุญแม่ชีป่าน” ขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมด้านธรรมะ แก่เยาวชนตามเจตจำนงค์ของลูกที่เคยบอกกับใครๆไว้ว่า อยากทำงานสืบต่อพระพุทธศาสนา แม่เชื่อว่า ในขณะที่พ่อกล่าวคำขอบคุณทุกๆคนที่นั่งอยู่ในถ้ำ ตอนนั้น ลูกได้รับรู้ด้วยเป็นแน่แท้
เงาศิลป์
    ลูกสิ้นใจท่ามกลางวงล้อมของเหล่าผู้ที่รักและเมตตาลูก โดยเฉพาะหลวงพ่อซึ่งนั่งสมาธิสงบนิ่งตลอดเวลา ตั้งแต่ลูกมีอาการใกล้จะดับ จนผ่านนาทีแห่งการพลัดพรากนิรันดร์ไปแล้ว ท่านก็ยังนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่อย่างนั้น อีกหลายนาที
เงาศิลป์
แม่ไล่สายตามองหาคำว่ามะเร็ง ในหน้ากระดาษบันทึกของลูก ตั้งแต่หน้าแรกจนกระทั่งหน้าสุดท้าย ในจำนวนกว่า 300 หน้า ไม่มีสักคำเดียวที่ลูกจะเขียนถึงมัน  
เงาศิลป์
  อาจเป็นเพราะว่าแม่อยู่กับลูกตลอดเวลา จนกระทั่งคิดว่าความสงบนิ่งคืออาการปกติที่ลูกเป็นอยู่ แน่ล่ะ นิสัยของลูกไม่เหมือนเด็กอื่นๆมาตั้งแต่เล็กๆแล้ว ลูกเป็นเด็กที่มีสมาธิมาตั้งแต่ตัวน้อยๆ บางครั้งแม่เคยเห็นลูกนั่งเล่นตุ๊กตาบาร์บี้อยู่คนเดียว ทั้งแต่งตัวและหวีผมให้มันครั้งละนานๆ เป็นชั่วโมง สองชั่วโมง โดยไม่เบื่อหน่าย ก็นั่นคือกิจกรรมของเด็ก ภายในใจอาจมีจินตนาการมากมาย แต่ขณะที่เป็นคนป่วย การใช้เวลานิ่งเงียบอยู่กับตัวเองของลูก คือการเขียนบันทึกและอ่านหนังสือ ความนิ่งเงียบที่เกิดขึ้น ทำให้ลูกดูคล้ายผู้ใหญ่คนหนึ่ง ที่แม้กระทั่งพ่อกับแม่ก็ยังเกรงใจ ไม่กล้ารบกวน  
เงาศิลป์
  วันที่ 1 สิงหาคม 2551 เวลาประมาณ 18 .30 น. ลูกของแม่ได้กลายเป็นลูกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในนามนักบวชหญิง ผู้ถือศีล 8
เงาศิลป์
  ชีวิตในแต่ละวันเป็นไปอย่างสงบเงียบ เพราะกิจกรรมหลักของลูกคือกินยา กินอาหาร อ่านหนังสือ สลับเขียนบันทึก ส่วนพ่อกับแม่ นอกจากจะต้องทำอาหาร ตรวจอาหาร นวด พอกยา อาบน้ำให้ อุ้มลูกไปห้องน้ำ อุ้มมานอกห้อง ระยะหลังยังต้องอุ้มลงมาอาบแดดยามเช้าๆ ที่แคร่ไม้ไผ่หน้ากุฏิ และต้องผลัดเปลี่ยนกันลงไปข้างล่างเพื่อทำธุระส่วนตัว กับซื้อหาอาหาร