Skip to main content

 

 

ลูกสิ้นใจท่ามกลางวงล้อมของเหล่าผู้ที่รักและเมตตาลูก โดยเฉพาะหลวงพ่อซึ่งนั่งสมาธิสงบนิ่งตลอดเวลา ตั้งแต่ลูกมีอาการใกล้จะดับ จนผ่านนาทีแห่งการพลัดพรากนิรันดร์ไปแล้ว ท่านก็ยังนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่อย่างนั้น อีกหลายนาที

\\/--break--\>

แม่กับพ่อร้องไห้ วนเวียนกอดลูบร่างลูก ด้วยความรักความผูกพันที่รัดรึงจิตของเราไว้อย่างแน่นหนา แม่รู้สึกเหมือนใจจะขาด ยามนี้มีเพียงอ้อมกอดพ่อเท่านั้นที่เป็นที่มั่นให้พึ่งพิง เราทั้งคู่กอดกันแล้วร่ำไห้ ไม่ต่างจากลุงเปี๊ยก ป้าเฒ่า หรือใครๆ ที่นั่งนิ่งปาดป้ายน้ำตาที่ยากจะกลั้น

 

เพียงไม่นาน ทุกอย่างก็คลายจาง แม่ต้องตั้งสติอีกหน เพราะต้องจัดการกับสิ่งที่รออยู่ นั่นคืองานศพของลูก

 

หลวงพ่อท่านบอกว่า ในเมื่อเขาไปดีแล้ว เราก็ทำงานบุญให้เขาอย่างเรียบง่ายก็แล้วกัน ทางวัดจะเป็นเจ้าภาพให้ พรุ่งนี้เช้าทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ตอนบ่ายก็เผาเลย เพราะไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะยืดเวลาออกไป ในเมื่อร่างของลูกคือสิ่งที่ต้องแตกสลายอยู่แล้ว จะช้าจะเร็วไม่สำคัญ เจ้าของร่างได้ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างหมดจดแล้ว

 

ลูกแม่ คนที่น่าสงสารอีกคนคือพี่ปุ้ยของลูก พี่ปุ้ยมาถึงที่กุฏิหลังจากลูกจากไปไม่นาน เขามาจากมุกดาหารกับน้าๆหลายคน แต่ไม่มีใครบอกพี่ปุ้ยเลยว่าลูกเสียแล้ว ขณะที่เดินขึ้นภูมาอย่างเหนื่อยล้าอ่อนกำลัง เมื่อมาถึงสิ่งที่พี่เขาเห็นคือร่างลูกที่นอนทอดยาวอยู่บนเตียง ไร้ความรู้สึกใดๆแล้ว พี่เขาผวาเข้าไปกอดลูกแล้วร้องไห้

 

คืนแห่งความเศร้าโศกของเราเริ่มทุเลาเบาบางลงบ้าง เพราะมีหลวงพ่อที่คอยให้สติ ท่านบอกว่าทุกอย่างก็ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่ไม่เกิดไม่ดับ แต่เราจะเข้าถึง เข้าใจ จนระงับความทุกขเวทนาได้หรือไม่เท่านั้นเอง

 

รุ่งเช้า วันที่ 22 สิงหาคม

 

 

 

สายฝนทิ้งรอยไว้ให้เมื่อย่ำรุ่ง ความหนาวเย็นคลี่ห่มทั่วภูผา ในหุบเขามองจากระเบียงกุฎิ มีหมอกหนาหนักซุกนิ่งอยู่เต็มหุบ แม่เหม่อมองด้วยใจหม่น นึกถึงลูกที่เคยตื่นแต่เช้าแล้วนั่งดูหมอกขาวโพลนนั้นด้วยกัน

ครั้นแสงอาทิตย์สาดผ่านมาบางๆ ทุกอย่างเริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้ง เหมือนที่ละไอหมอกค่อยๆจางหายไปในที่สุด

 

พิธีกรรมยามเช้า เป็นไปตามปกติของชาววัด เสร็จจากนั้น เราจึงนำหีบศพของลูกมาไว้ที่ศาลาใหญ่ เพื่อที่ญาติมิตรจะได้มาคารวะศพอย่างสะดวก ศาลาใหญ่หลังนี้เป็นอาคารสองชั้น อยู่ด้านหน้าของวัด เป็นที่รับรองแขกคณะใหญ่ๆอยู่แล้ว

 

วันนั้น คนที่รู้ข่าวเดินทางมาร่วมงานศพลูกทั้งใกล้ทั้งไกล มากมายหลายร้อย แม้ว่าเป็นการจัดงานศพที่กระชับเวลาให้สั้นที่สุด หลายคนที่มางานศพลุงยุทธ มาจากภาคเหนือ ภาคใต้ เมื่อรู้ว่าลูกเสียแล้ว พวกเขาก็มาร่วมงานของลูก ในฐานะคนที่รู้จักมักคุ้นกับพ่อ และมีอยู่หนึ่งคณะ ที่เดินทางมาทำกิจกรรมเข้าค่ายที่ศูนย์อินแปงพอดี คือทีมอาจารย์ซาโตมิ กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคูคูคาอิน อาจารย์ท่านนี้ รู้จักกับลูกตั้งแต่เล็กๆ เพราะท่านจะพานักศึกษามาจัดกิจกกรมที่บ้านเราทุกปี จนรักพ่อเหมือนลูก และรักลูกเหมือนหลาน การมาค่ายครั้งนี้ กลายเป็นว่า ได้มาร่ำลาลูกเป็นครั้งสุดท้ายไปด้วย

 

งานศพลูก คงต้องขอบคุณใครๆมากมาย เพราะไม่ว่าจะเป็นอาหารที่เลี้ยงรับรองแขก ที่พ่ออยากให้เป็นมังสวิรัติ และการเตรียมสถานที่ที่จะเผา หรือเชิงตะกอน ที่ต้องหาไม้ฟืนมาให้มากพอเพียงและรวดเร็ว ทุกอย่างสำเร็จได้เพราะพี่น้องชาวบ้านละแวกใกล้ไกลทั้งหลาย ที่มาช่วยกัน

 

ราวๆบ่ายสามโมง ทุกคนเคลื่อนมาที่เชิงตะกอน ริมหน้าผา ทางทิศตะวันออกของกุฎิที่ลูกอยู่ หลวงพ่อกับคณะสงฆ์ได้ทำพิธีสวดและเป็นประธานฌาปณกิจ จากนั้นเปลวเพลิงก็ลุกโหมจนร้อนแรง ท่ามกลางอากาศที่มัวซัว เมฆหมอกยังห่มคลุมทั่วภู

 

ลูกคือร่างแรก ที่ทรุดลงแนบแผ่นดินบนภูสูงแห่งนี้ ด้วยเมตตาบารมีของหลวงพ่อท่านอย่างแท้จริง

 

 

 

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
  พักหลังๆนี้ลูกอ่านหนังสือเยอะมาก บางครั้งไม่มีหนังสือใหม่มาให้อ่าน ลูกจะเฝ้ารอคนที่รับปากว่าจะเอาหนังสือมาให้ หรือว่าเมื่อพ่อไปในเมือง ลูกก็รอว่าน่าจะมีหนังสือมาให้บ้าง
เงาศิลป์
 
เงาศิลป์
กระปุก หมาเพื่อนรักของลูกต้องกลับไปบ้านบัว เพราะพ่อพามันมาเยี่ยมลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น วันที่มันกลับไปกับพ่อ ลูกมองตามอย่างอาลัย แต่คงเข้าใจในความจำเป็น แม้จะรักมันมากแต่ลูกก็รู้ว่ามันต้องกลับไป เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของมัน
เงาศิลป์
ในราวกลางเดือนมิถุนายน ลูกยังลุกขึ้นนั่งได้เองบ้าง และบันทึกประจำวัน นอกจากจะเป็นเรื่องการกินยา อาหาร ที่คล้ายๆกันในแต่ละวัน จะแตกต่างไปบ้างเมื่ออาหารบางอย่างที่ตรวจต่อมไทมัสแล้วกินไม่ได้ ทั้งที่วันก่อนๆเคยกินได้ เช่น บันทึกของวันที่ 19 มิถุนายน ลูกเขียนว่า กินแกงอ่อมไม่ได้
เงาศิลป์
ลูกทำสมาธิด้วยการภาวนาพุทโธตั้งแต่ครั้งแรกที่หลวงพ่อมาสอนให้ ลูกจะนอนหลับตานิ่งๆภาวนา เมื่อวานนี้ แม่ชีคนสวยของลูก มาแนะนำว่า เวลาบริหารร่างกาย ด้วยการยกแขน ยกขา คู้เหยียด จากที่เคยนับจำนวนครั้ง ให้เปลี่ยนมาเป็นท่อง พุท-โธ ยามที่หดขาเข้า พร้อมกับหายใจเข้า ท่องว่าพุท ยามที่เหยียดขาออก พร้อมทั้งหายใจออก ลูกก็ท่องว่า โธ ลูกก็ทำตามนั้น
เงาศิลป์
วันที่ 13 มิถุนายน พ่อต้องไปบรรยายเรื่องเครือข่ายอินแปงกับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมรอบเทือกภูพานที่สกลนคร ลูกตื่นแต่เช้าตรู่ พร้อมพ่อ ในเวลา 03.55 น. พ่อออกไปแล้วลูกนอนต่อ จนตื่นราวๆเจ็ดโมงเช้า เปิดเสียงเทศน์ของหลวงพ่อที่ลูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์ฟังวันนี้สดชื่นมาก พ่อบอกว่าหน้าตาแจ่มใส ฉี่ ถ่ายเหลืองเป็นก้อนปกติ(เยอะ) ชงยาญี่ปุ่นกิน แล้วอ่านคำภาวนาอุทิศบุญและคำอธิษฐานบารมีหลวงพ่อกับแม่ชีมาเยี่ยม หลวงพ่อเทศน์สอน ทำสมาธิ แม่ชีคนใหม่สวย จบ doctor บอกว่าจะเอาอาหารเสริมถั่วเหลืงผสมงาดำมาให้ หลวงพ่อกับแม่ชีกลับกินฟักทองแม่ชีเอาอาหารเสริมมาให้ ตรวจแล้วกินไม่ได้
เงาศิลป์
หนึ่งอาทิตย์ที่มาอยู่วัด ในบันทึกของลูกยังเขียนถึงเรื่องอาหารการกินที่เป็นของชอบส่วนตัว เช่น ขนมขาไก่ ทองม้วน ยังมีเรื่องบันเทิงเริงรมย์แทรกเป็นระยะ คือ ดู CD การ์ตูน อ่านหนังสือนิยายที่เป็นบทย่อจากละครโทรทัศน์ ลูกยังมีความรู้สึกนึกคิดแบบเด็กๆยังอยากได้กระเป๋าสตังค์คิดตี้ ยังมีอารมณ์หิวที่เกิดขึ้นรุนแรงจนร้องไห้งอแงยามดึก
เงาศิลป์
เราสามคน พ่อแม่ลูก กลายเป็นคนวัดไปแล้ว อ้อ บางวันมีน้านีมาจากสกลฯ ช่วยทำกับข้าวด้วย และยังผู้รู้เรื่องธรรมชาติบำบัดอีกหลายคน ที่มาช่วยแนะนำสิ่งที่ดีๆให้ แต่แม่ยังต้องเดินไปทำอาหารที่โรงครัวของวัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักของเรานัก ที่นั่นสะอาดและกว้างโล่ง มีน้ำประปาภูเขาให้ใช้อย่างสะดวกสบายเหลือเฟือ อันที่จริงก็ใช้กันทุกมุมวัดอยู่แล้ว เพราะว่าน้ำประปาที่ว่านี้ คือน้ำที่ผุดขึ้นมาเป็นน้ำพุเล็กๆ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภู ความสูงของพื้นที่ซึ่งสูงกว่าที่วัด หลวงพ่อจึงสร้างประปาภูเขาขึ้นมาอย่างง่ายดาย มีถังน้ำพักน้ำ ณ จุดที่มีน้ำพุหนึ่งลูก แล้วใส่ท่อให้มันวิ่งมาตามท่อน้ำ…
เงาศิลป์
แม่กับพ่อเริ่มทำสวนผักข้างๆ กุฏิ ผักที่ปลูกง่ายที่สุดคือต้นอ่อมแซ่บ พืชตระกูลล้มลุก กลีบดอกบอบบางสีม่วงอมชมพู สีของมันสวยหวานสดใส คนทั่วไปเรียกว่า บุษบาริมทาง แต่คนอีสานมองเห็นเป็นของกินได้ จึงเรียกอ่อมแซ่บ คงมาจากการแกงอ่อมแล้วอร่อยกระมัง ลูกแม่ต้องกินทุกวัน เป็นเมนูผักลวก
เงาศิลป์
เช้าวันที่ 6 มิถุนายน ลูกตื่นเต้นมาก แม่รู้ เมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางมาอยู่วัดกับหลวงพ่อ วันนั้นลูกตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ เตรียมเก็บเข้าของเครื่องใช้ส่วนตัวใส่กระเป๋าคิดตี้ใบเล็กสีชมพูหวานแหววของลูก แต่เพราะลูกยังมีอาการตัวร้อนเป็นไข้รุมๆ ทำให้แม่กับพ่อเป็นห่วง เราจึงวางแผนเดินทางในตอนเย็น วันนั้นลูกร่าเริงมาก และเขียนบันทึกว่า วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 วันแห่งความสุขและความสงบวันนี้ตื่นขึ้นมายิ้มรับวันใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน มีความสุขในสมุดบันทึกสุขภาพอีกเล่ม ลูกเขียนไว้ว่า
เงาศิลป์
ตอนที่ 5 บันทึกของลูก  รูปรอยต่างๆของลูก ยังคงอยู่เหมือนที่เคยมีลูก แม้แต่ภายในห้องนอน ทุกอย่างยังถูกจัดวางเหมือนเดิม บ้านไม้หลังเล็กๆใต้ถุนสูงแบบโบราณ ซุกตัวอยู่ใต้ร่มเงาไม้น้อยใหญ่หลังนี้ มีห้องนอนสองห้อง ห้องหนึ่งเป็นของลูก ที่เตียงนอนยังมีหนังสือเล่มโปรดวางไว้ที่หัวเตียง อาจมีแปลกออกไปบ้างคือสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ 4 เล่ม ที่ลูกเขียนทุกวันเกือบทุกเวลา เพราะลูกตั้งใจบันทึกกิจกรรมการดูแลตัวเองและบทธรรมะเอาไว้ ตลอดเวลาสี่เดือนของความป่วยไข้ แม้กระทั่งวันสุดท้าย โดยที่ไม่มีใครร้องขอให้ทำ
เงาศิลป์
การที่คนป่วยคนหนึ่ง ได้เลือกหนทางรักษาตัวเองด้วยตัวเอง น่าจะมีองค์ประกอบอยู่สองอย่างที่สำคัญ นั่นคือ หนึ่ง ความรู้ที่มีพร้อมในเรื่องวิธีการรักษาที่ตัวเองเลือก สอง ความไม่รู้ในวิธีการใดๆ แต่ต้องตัดสินใจเลือกในสิ่งที่คิดว่าสะดวกทั้งต่อตนเองและคนดูแล