Skip to main content

องค์ บรรจุน



เราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน


ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า เป็นสิ่งสมมุติที่เกิดภายหลังความเป็นคน

“...
ความเป็นคนควรมาก่อนความเป็นมอญ ความเป็นเขมร หรือความเป็นไทยมาทีหลัง ...ประชาชาติในสุวรรณภูมิมีใครบ้างไม่ทราบ เป็นมอญหรือเปล่าก็ไม่ทราบ เป็นเขมรหรือเปล่าไม่รู้ แต่เป็นคนแหงๆ เพราะไม่มีชื่อชนชาติ อย่างกรณีโครงกระดูกที่พบที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (อายุประมาณ 3000 ปีมาแล้ว) บอกว่าเป็นโครงกระดูกคนไทยก็บ้า แต่ถ้าบอกว่าไม่ใช่ไทยก็ซังกะบ๊วย อย่างไรก็ตามนั่นล้วนเป็นบรรพชนของ South East Asia …

...
แม้แต่สำนึกความเป็นมอญ มันเพิ่งเกิดทีหลังคือในรุ่นรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งรัชกาลที่ 4 เขียนเท้าความถึงมอญ แต่ความเป็นมอญนี้ไม่เกี่ยวกับอยุธยาและไม่เกี่ยวเลยกับทวารวดี เพราะมอญช่วงนั้นก็กลืนกลายเป็นไทยไปนานแล้ว ส่วนปัจจุบัน ‘ความเป็นไทย’ มันก็กลืนหมดและบังคับให้คนเป็น ‘ไทย’ ถ้าไม่เป็นมึงตาย…”

ใครยืนยันได้ว่าคนสมัยก่อนไม่มีสำนึกเรื่องเชื้อชาติ หากไม่แล้วมันเกิดขึ้นมาเมื่อใด และเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ผู้เขียนเชื่อว่าสำนึกเรื่องเชื้อชาติพัฒนามาจากความเป็นพวกเดียวกัน เมื่อคนต่างพวกพบกัน ความต่างและความเป็นกลุ่มเดียวกันจึงสำแดงตน จะพบได้ว่าคนโบราณรู้กันดีอยู่แล้วว่าใครเป็นใคร สืบเชื้อสายมาจากไหน และ “มีอะไรแค่ไหน”
ดังปรากฏว่าในตำนานท้าวฮุ่งที่มีแม่เป็นมอญ จึงถือว่ามอญเป็นตระกูลสูง รวมทั้งจีนซึ่งมีอิทธิพลในภูมิภาค1 ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้โปรดเกล้าฯตั้งทินนามให้รัชกาลที่ 1 ว่า “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหิมา ทุกนคราระอาเดช นเรศวรราชสุริยวงศ์ฯ” ที่แสดงให้เห็นว่าอดีตและปัจจุบันเชื่อมโยงกัน ด้วยพระเจ้าตากสินมหาราชทราบว่าเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกนั้นเป็น “นเรศวรราชสุริยวงศ์”2 รวมทั้งการที่รัชกาลที่ 4 ทรงอธิบายให้เซอร์จอห์นเบาริ่ง ทราบว่า บรรพชนของพระองค์เป็นมอญมาจากหงสาวดีนั้นก็เช่นเดียวกัน เห็นได้ชัดว่าแต่ก่อนแต่ไรนั้นไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงอดีต (ที่ใครก็รู้) แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เกิดลัทธิอาณานิคมตะวันตก การอ้างถึงชาติตระกูลที่สืบเชื้อสายมายาวนานจึงจำเป็น และก็ควรตั้งข้อสังเกตุไว้ด้วยว่า “มอญ” ในความรับรู้ของคนสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น คงมีความน่าเชื่อในฐานะชาติอารยะเก่าก่อน เพราะหากสถานการณ์เป็นดังทุกวันนี้แล้วเชื่อได้ว่ารัชกาลที่ 4 น่าจะอ้างอิงว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจาก “จีน” จะดูมีน้ำหนักกว่า (ดังที่อดีตนายกทักษิณได้ไปเยี่ยมเยียนถิ่นเกิดของบรรพชนที่กวางโจว และการที่สมาพันธ์สมาคมตระกูลแซ่แห่งประเทศไทยเชิญท่านไปกล่าวเปิดงาน3)

อย่างไรก็ตาม เมื่อคนของวันนี้ได้เลือกสำแดงตนออกมาว่าหวงแหนเชื้อชาติของตน การย้อนนึกถึงสิ่งที่เนื่องด้วยบรรพชนก็น่าจะเป็นสิ่งดี จริงอยู่การเจริญเติบโตของเมืองในอดีตอาจเกิดขึ้นด้วยผลประโยชน์ทางการค้า ศาสนา และการเมือง มากกว่าจะเป็นการรวมตัวกันของคนเพียงเชื้อชาติเดียว เพื่อการ “สมประโยชน์” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนเหล่านั้นไม่มีสำนึกเรื่องเชื้อชาติร่วมกันเลย อย่างไรก็ดีสำนึกเรื่องเชื้อชาติดังกล่าวได้มีการส่งต่อนับเนื่องกันมายาวนาน แม้นักคิดส่วนใหญ่จะเชื่อว่าส่วนผสมของชาวสยามปัจจุบันเป็นคนทวารวดีที่สิ้นสำนึกแบบทวารวดีไปแล้ว รวมเข้ากับคนที่มาใหม่ ไต ลาว และจีน แต่ต้องไม่ลืมว่าชื่ออาณาจักรอยุธยานั้นคือ “กรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยา” หรือ “กรุงเทพทวารวดี” และต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 1 สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นก็ยังคงความหมายไว้ดังเดิม เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ฯ” ในภายหลัง

อาจารย์สุจิตต์ กล่าวว่าตนหลุดพ้นจากความ “ล้าหลังคลั่งชาติ” แต่ยังไม่วายแดกดันตัวเองด้วยการกล่าวถึงเชื้อสายของตนว่า “เจ๊กปนลาว” ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าทั้งสองชนชาติในสายเลือดของท่านนั้น มีผลต่อความคิดความรู้สึกเมื่อถูกพูดถึง สอดรับกับหนังสือ “พลังลาวชาวอีสาน” ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2550 คล้ายจะบอกให้สังคมรู้ว่า คนลาวอีสานก็มีดี อย่ามาดูถูกกัน ซึ่งผู้เขียนก็เชื่ออย่างนั้น


คนช่างคิดบางคนแสดงความเห็นว่า

...ถ้ายังหลงทางและงมงายกับสิ่งที่เรียกว่า "เชื้อชาติ" โดยไม่มองให้ทะลุแดดไปถึง "ความเป็นคน"...วันหนึ่งเมื่อมี "ประเทศมอญ" และมีกรณี "โชติศักดิ์มอญ" เกิดขึ้น ก็จะมี "คาราบาวมอญ" ไปถามหมอนั่นว่า "เ ป็ น ค น ม อ ญ รึ ป ล่ า ว...อ่าวๆๆๆๆ" พร้อมกับไล่กระทืบให้หมอนั่นออกนอกประเทศไทย สรุป: ความดักดานไม่เคยปรานีใคร!...”


การตั้งคำถามกับผู้อื่นว่าเป็นไทยหรือเปล่า เป็นมอญหรือเปล่า จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อคำตอบที่ได้รับนั้นไม่มีวันถูกใจผู้ถาม คำถามที่น่าจะถามต่อคนช่างคิดก็คือ “จิตของคุณเป็นอะไร มีโอกาสรักษาหายหรือเปล่า...?”


ทำไม...คนที่รักเชื้อชาติของตนต้องถูกเหมาเข่งว่า “ดักดาน” และถูกตีขลุมว่าจะต้องก้าวร้าวกับใครต่อใครไม่เลือกหน้า...?


หากผู้คนหลุดพ้น “ความล้าหลังคลั่งชาติ” ที่เข้าใจกันไปเองนั้นแล้ว คงไม่ได้ยินคำเขื่องที่ว่า
คนไทยมีน้ำใจ คนไทยยิ้มง่าย คนไทยเป็นมิตร”

คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก” หรือหักมุมไปเลย

คนไทยโง่เพราะกินข้าวมาก...”


คนกินข้าวหรือกินขนมปังเขาก็ยิ้มเป็น มีน้ำใจ และเป็นมิตรเหมือนกัน ผู้ที่คิดว่าตนหลุดพ้นและตำหนิผู้อื่นว่า “ดักดาน” พฤติกรรมนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นการสร้างความรู้ชุดใหม่ครอบงำผู้อื่น และน่าจะถือได้ว่าเป็นความดักดานประเภทหนึ่ง เมื่อคนกลุ่มน้อยในสังคมมีสำนึกเรื่องเชื้อชาติถูกมองว่าดักดาน ขณะที่คนอีกส่วนของสังคมยอมสิโรราบให้กับวิธีคิดและวิธีจูงคนให้คิดตามชาติมหาอำนาจตะวันตก อเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งใช้โอกาสทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการประชาสัมพันธ์กระทำต่อผู้ที่ด้อยกว่า


การให้สติแก่กันเรื่องชาตินิยมในกลุ่มคนที่ล้นทะลัก ผู้ให้สติควรตั้งสติ เอาอัตตาของตนวางไว้ ไม่เอาชาติ (การเกิดขึ้น) นิยมของตนไปกดทับคนอื่น และต้องไม่เหมายกเข่ง ในเมื่อเราต่างที่มา ต่างตำรา และต่างตีความ เพราะหากความรู้สึกหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมและเกียรติภูมิของบรรพชน ถูกตราหน้าว่าดักดานล้าหลังคลั่งชาติเสียแล้ว น่าห่วงว่าพฤติกรรมของคนในชาติต่อไปจะเป็นไปในรูปใด คงต้องรอวัฒนธรรมกระแสหลักจาก “ผู้จัดการรัฐไทย” โดยทอดทิ้งมรดกของบรรพชน (ไทย จีน ม้ง กะเหรี่ยง ลาว แขมร์ มอญ ยวน ฯลฯ) รอกินอาหารแช่แข็งรสชาติคงที่ของห้างค้าปลีกข้ามชาติ แต่งตัวตามวารสารและมิวสิควีดีโอจากเอเชียตะวันออก ส่งบรรณาการดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปยุโรปในรูปของภาษีนำเข้า ฯลฯ หากเป็นอย่างนั้นแล้วไซร้ เขาผู้นั้นก็สมควรได้รับการตราหน้าว่า “ลืมกำพืด” เฉกเช่นเดียวกัน

1 จิตร ภูมิศักดิ์. (2544). ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. หน้า 95.
2 คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2543). โครงกระดูกในตู้. หน้า 80.
3 ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก. (2545). คำกล่าวของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดสำนักงานแห่งใหม่ของสมาพันธ์สมาคมตระกูลแซ่แห่งประเทศไทย ถนนเจริญกรุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2545.


บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่