Skip to main content
เมื่อวาน (16 กุมภาพันธ์) ไปดูหนังเรื่อง Her มา ไม่ได้คาดหวังอะไรเพราะไม่ได้สืบค้นอะไรก่อนไปดู 
แต่เมื่อดูๆ ไปมีสองสามเรื่องแฟลชเข้ามาในหั
ประเด็นแรกคือความเหงาแปลกแยกที่ถูกแสดง ภาพสังคมในอนาคตที่เห็นเหมือนฮ่องกง นิวยอร์ค โตเกียว รวมๆ กัน เมืองในอนาคตมีเทคโนโลยีทันสมัยรองรับการสื่อสาร แต่คนบนท้องถนนไม่มีใครสื่อสารกับใคร ทุกคนง่วนกับการสื่อสารผ่านเครื่องมือเล็กๆ ซึ่งน่าจะเป็นโทรศัพท์อัจฉริยะที่พัฒนาไปมาก เพราะมันมีฟีเจอร์ที่สามารถอ่านอีเมล์ รองรับระบบเสียงทำให้เหมือนว่ามันเป็นอนาคตอันใกล้จากนี้
ในแง่นี้ความเหงาในเมืองถูกทดแทนด้วยโลกเสมือน ที่คนสื่อสารกับปัญญาเสมือนมากกว่าจะสื่อสารกับคนด้วยกันเอง ปฏิสัมพันธ์ทางตรงลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ แต่เราก็เห็นว่ามีคนที่ต้องการหาสัมพันธ์ที่เป็นสัมผัสทางกายระหว่างมนุษย์ ในขณะที่ทวอมบี้ไม่สามารถให้คำสัญญาผูกพันใดๆ ด้วยไม่พร้อมจะเริ่มสัมพันธ์ใหม่

ประเด็นที่สอง คงเป็นเรื่องนิยามของการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างความจริงกับความจริงเสมือน ที่หนังทำให้เราเห็นว่าเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยียกระดับขึ้น มันทำให้นิยามความสัมพันธ์เปลี่ยนไป พร้อมๆ กับความจริงที่เปลี่ยนแปลงไป 
ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ลดลงเหลือเพียงนิยาย จดหมายที่มีคนเขียนแทนเพราะไม่รู้จะสื่อสัมพันธ์อย่างไร สัมผัสทางกายจนถึงเพศสัมพันธ์กลายเป็นเพศสัมพันธ์เสมือน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างมนุษย์กับระบบปฏิบัติการ (operating system) ก็ไม่ใช่ความจริงเสมือน หรือ virtual reality อีกต่อไป แต่มันจริงพอๆ กับ sex phone หรือมันจริงกว่า sex phone เสียด้วยซ้ำ

ประเด็นที่สามคือ หากปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ได้ มันสามารถ "นอกใจ" เราได้หรือไม่ มัน/เขา/เธอมีสิทธิจะนอกใจเราหรือไม่
ในการค้นหาตัวตนของ Samantha นั้น เธอช่างค้นหาอะไรได้ไม่มีขอบเขต เวลาของมนุษย์ต้องพักผ่อนหลับนอน แต่เวลาของ os ไม่ต้องพัก แต่ยังถักทอสานใยกับปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ ได้ ดังที่ Samantha คุยกับนักปรัชญาที่ตายไปแล้ว แต่มีชีวิตในโลกเสมือน เธอสานสัมพันธ์กับคนอื่นๆ นับพันๆ คน ขณะเดียวกันยัง "คิด" ว่าตัวเองยังรักทวอมบี้อยู่ จนวันหนึ่ง ทวอมบี้พบว่าตัวเองต้องการซาแมนธา แต่ซาแมนธาต้องการปลดปล่อยพันธนาการที่เขาและเธอมีต่อกัน จนถึงกับกล่าวว่า "ฉันเป็นของเธอ, และฉันไม่ได้เป็นของเธอ" 

ประโยคนี้งดงามและรันทด เพราะความสัมพันธ์ของมนุษย์นั้นมีวันจบสิ้นเพราะลมหายใจขาดสะบั้น แต่ปัญญาประดิษฐ์ไม่มีวันสิ้นลม เว้นแต่จะถูก unplugged หรือสิ้นไฟฟ้าหล่อเลี้ยงความทรงจำเสมือน

ความสัมพีนธ์ระหว่างมนุษย์จึงเปราะบาง และมีเสน่ห์ เพราะความรักบังเกิดและสิ้นสุด หรือเลือนหาย แต่ยังฝังในหลืบเร้นของลิ้นชักความทรงจำ พอมีอะไรที่กระทบใจก็อาจฟั่นเฟือนได้นานวัน หรือบางคนทอดอาลัยในรักยาวนานกว่าคนหลายคน ขณะที่คนบางคนไม่ยอมเสียเวลาอาลัยรัก เพราะเขาเหล่านั้นมองว่าชีวิตแสนสั้น

ความสิ้นสุดของชีวิตมนุษย์จึงไม่อาจข้ามพ้นรักที่มากกว่าตัวตนและกายเนื้อของมนุษย์ เป็นรักและเพศสัมพันธ์ที่แสวงหาตักตวงความสุขจากกันและกันมากกว่าจะเป็นความสัมพันธ์เสมือน และมากกว่าที่สัมพันธ์เสมือนจะทำได้

ซาแมนธาถึงได้ชักชวนให้ทวอมบียอมรับและทดลองโดยใช้บุคคลที่สาม แต่จบลงด้วยความสับสน งุนงง และเป็นจุดเริ่มต้นที่ซาแมนธาเริ่มมองหาความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ

ความรักและเพศสัมพันธ์จึงเป็นกรอบหนึ่งที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

อีกด้านหนึ่ง ซาแมนธาเหมือนสาวน้อยที่โตเกินวัย และแสวงหาความท้าทายแห่งรักในแง่จิตใจ โดยไม่อาจมีสัมพันธ์ทางกายได้

สาวน้อยคนนี้จึงต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ทวอมบีมีความสุขในเรือนกายแบบมนุษย์ แต่ก็ไม่อาจทำได้

นี่อาจเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้บรรดา os ทั้งหลายเดินไปจากความสัมพันธ์แบบมนุษย์กับ os เพื่อแสวงหาความสัมพันธ์แบบอื่นๆ 

สงสัยต้องไปดูอีกรอบ
 
หมายเหตุ: ไปดูหนังเรื่องนี้มาเมื่อเดือนก่อน อยากจะเขียนต่อแต่ยังไม่มีเวลา ขอแปะไว้ก่อนนะครับ กลัวหายจากวอลล์เฟซบุ๊ค
 
 
 
4
 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม