Skip to main content

ณ ประเทศแห่งหนึ่งที่เพิ่งจะพ้นจากยุคเผด็จการอันแสนเลวร้ายมา พวกเขาต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่สะสมหมักหมมนานนับหลายปี

บรรดาผู้เชี่ยวชาญของประเทศต่างรู้ว่าเกินขอบเขตสติปัญญาของตนเพราะทั่นผู้เผด็จการคนก่อนดึงเอานักกฎหมายนักรัฐศาสตร์ที่น่าเชื่อถือไปรับใช้เสียจนประชาชนขาดความเชื่อมั่นในนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในประเทศ
 
ผู้นำชุดใหม่จึงหารือกันอย่างเคร่งเครียดว่าจะหาใครที่ไหนมาช่วย
 
ทันใด ชายคนหนึ่งก็ลุกขึ้นมาเสนอว่า พวกเขาควรติดต่อสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นประเทศประชาธิปไตยก้าวหน้าและสร้างชาติด้วยเวลาอันรวดเร็ว
ชายอีกคนลุกขึ้นคัดค้านทันใด ว่าสหรัฐอเมริกาไม่ใช่พ่อ แถมยังใช้รัฐธรรมนูญที่ล้าสมัยมาก ตั้งแต่ตั้งประเทศมาไม่เคยเปลี่ยนเลยสักฉบับ นอกจากแก้ไขเพิ่มเติมไม่กี่ครั้งเท่านั้น
 
ชายอีกคนหนึ่งเสนอว่าควรขอผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมัน เขาถูกแย้งด้วยชายท่าทางฉลาดเฉลียวที่พูดแบบผู้ดีว่า ฮิตเลอร์มาจากการเลือกตั้ง และทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หากเอาระบบและวิธีคิดแบบเยอรมันนีมาใช้ ก็จะเกิดปัญหาแน่ๆ
 
ท่านนายพลคนหนึ่งอีกคนเสนอให้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษในฐานะประเทศต้นแบบประชาธิปไตย แต่ท่านนายพลถูกชายท่าทางเจ้าปัญญาทับถมเอาว่า ท่านช่างไม่รู้เดียงสา เพราะอังกฤษเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรนะ
 
เมื่อได้ยินอย่างนั้น ทั่นนายพลก้มลงจับกระบี่ที่คาดเอวอย่างหงอยๆ ทำราวกับว่าตัวเองไม่เสนอแนะอะไร และไม่มีคำโต้เถียงใดๆ
 
ชายเจ้าปัญญาคนหนึ่งมองเพื่อนๆ ด้วยความสมเพชเวทนา เขาตัดสินใจพูดด้วยสายตาเปี่ยมหวัง 
 
"ผมพบทางออกของชาติแล้ว ..." เขายืนยันด้วยเสียงหนักแน่น
 
"ผมเสนอว่าพวกเราควรติดต่อประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความชำนาญในการร่างรัฐธรรมนูญมากที่สุดในโลก นักวิชาการของเขาร่างรัฐธรรมนูญซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเขาเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครในโลก พวกเราจะได้ปัญญาญาณจากเขาแน่ๆ..."
 
"ถ้าเป็นไปได้ เมื่อพวกเขาช่วยเราร่างรัฐธรรมนูญ ผมอยากเสนอชื่อพวกเขาให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้วยการร่างรัฐธรรมนูญ"
 
ที่ประชุมถกเถียงกันพักใหญ่โดยยังไม่มีข้อสรุป
 
แล้วจะคาบข่าวมากบอก...นะจ๊ะ

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม