ฝนยังตกพรำๆ ลมพัดเอื่อยในคืนนี้ ชายคนนั้นนอนหลับอยู่หน้าร้านนาฬิกาที่มีราคาแพงที่สุดยี่ห้อหนึ่ง หน้าท้องของเขาเหมือนจะมีแผลสดเปิดออกมาให้เห็น แม้แสงไฟจะมืด แต่รอยแผลนั้นปรากฏให้เห็นเด่นชัดเกินจะลืมได้
ผมเห็นคนตายข้างถนนมาแล้วหลายปีก่อน เมื่อคราวเดินทางด้วยรถไฟไปสุรินทร์ เช้าวันนั้นอากาศเย็น ตนไร้บ้าน คนสัญจรต่างอาศัยชานและร่มเงงาของสถานีหัวลำโพงพักเอาแรง เมื่อผมเดินย้อนคนกลับมาพบว่าคนที่นอนรอบชายคนหนึ่งแตกตื่น เพราะเขาเสียชีวิตในเช้าวันนั้น เช้าที่อากาศเย็นสบาย แต่น่าสลดที่เขาตายใจกลางกรุง
บทสนทนาคืนนี้ ส่วนหนึ่งจึงอยู่ที่ว่าผมไม่เคยพบเห็นบรรยากาศแบบนี้มาก่อนในชีวิต ไม่เคยมีปีไหนที่ถนนข้าวสารจะเงียบเชียบอย่างนี้ ถึงจะเปิดกิจการแต่ก็ดูเหมือนป่าช้า ส่วนคนค้าขายที่เคยคึกคักถึงเช้าก็หายไปหมด
มิไยที่ตอนเราเดินผ่านร่างของชายไร้บ้านที่เอ่ยถึงตอนต้น ว่าเขาต้องการอะไรบ้างหนอ เขาต้องการความช่วยเหลือไหม เขาเข้าถึงโรงพยาบาลและยารักษาอาการไหม ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ มีคนสัญญาว่าบ้านเมืองจะดีในไม่ช้า แต่ถึงเวลาเข้าปีที่แปด ตอนนี้คงเหลือเพียงพลเอก เปรมที่อยู่ในอำนาจนานกว่าเขาและพวก (เปรมอยู่ในอำนาจ 2523-2531 ขณะที่ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ อยู่ในอำนาจหลังฉาก 2500-2502 และ 2502-2506 ขณะที่ถนอม กิติขจร เป็นนายกฯ เผด็จการ 2506-2512 จนมีรัฐธรรมนูญ 2511 และการเลือกตั้งในปี 2512)
ผ่านมาถึงวันนี้ พวกเขายังลอยหน้าลอยตา สั่งสอนประชาชน พร้อมกับคนจำนวนหนึ่งที่เห็นดีเห็นงาม ยอมให้คนพวกนี้เถลิงอำนาจ
เพื่อนๆ ผม บางคนบอกว่า ใครมาเป็นนายกฯ เขาก็ทำงานหนักเหมือนเดิม และเขารังเกียจนักการเมืองอย่างถึงที่สุด
แต่เขาทนกับสภาพเช่นว่านี้ได้โดยไม่ปริปาก
ผมไม่รู้ว่าชายที่นอนขดอยู่หน้าร้านค้านั้นจะมีชีวิตได้อีกกี่วัน เขาจะทรมานไปกว่านี้กี่มากน้อย
ไม่ว่าใครมาเป็นนายกฯ เขาก็ยังลำบากอย่างนั้นหรือ
ผมอยากฟังคำตอบจากเขา มากกว่าลมปากจากเพื่อน
บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.