Skip to main content

มีนา

ถึง พันธกุมภา

อายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่า

คุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/ความชั่ว เท่านั้น

“ธรรม” แห่งพระพุทธองค์ไม่ได้เลือกว่า คนๆ นั้นจะสนใจอะไรในการทำความดี คำว่า “กระแส” สำหรับพี่จึงเท่ากับ “ฮิต” อย่างเช่น กระแสสังคมที่มองว่าวัยรุ่น “เปราะบาง” ป้อนสิ่งใดเข้าไปก็รับง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องไม่ดี  ที่ทำให้ผู้ใหญ่ตกใจและตื่นเต้นมากมาย สิ่งเหล่านี้เห็นอยู่ในหน้าข่าวบ่อยๆ

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ข่าวดีของเด็กมักไม่เป็นที่สนใจและกล่าวถึง ทั้งๆ ที่มีข่าวดีๆ อยู่มาก อย่างเช่น การสอบเข้าเรียนต่อ การได้รับทุนการศึกษา เด็กที่ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงาน ฯลฯ แต่ข่าวที่ได้รับความสนใจกลับเป็นเรื่องเด็กวัยรุ่นกระทำความรุนแรง หรือตกเป็นเหยื่อของการถูกกระทำความรุนแรง กลับได้รับความสนใจอย่างมากมาย เช่น เด็กติดเกม เด็กตบตีกันแล้วถ่ายเป็นคลิปมือถือ...แล้วคนรุ่นก่อนหน้านี้ ไม่เคยกระทำความรุนแรงต่อกันเลยหรืออย่างไร ทำไมจึงกล่าวร้ายเฉพาะเด็กวัยรุ่นสมัยนี้เท่านั้น

ในสมัยพุทธกาลก็ยังมีคนที่ทำสงคราม เป็นทหาร เป็นอันธพาล ทั้งๆ ที่มีพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นครูที่ดี สามารถล่วงรู้ถึงการบรรลุธรรมและช่วยชี้แนะให้คนๆ นั้นสามารถเข้าถึงทางธรรมในรูปแบบต่างๆ ได้ ดังเช่น ท่านองคุลีมาร แม้มีบุญมากแต่ก็มีกรรมหนักเช่นกัน พระพุทธองค์ต้องตัดสินใจที่จะช่วยท่านก่อนที่ท่านจะทำกรรมหนักด้วย อีกด้านหนึ่งบุญเก่าที่ท่าองคุลีมารสร้างก็น่าจะถึงเวลาแห่งการบรรลุธรรมแล้ว พระพุทธองค์เพียงกล่าวธรรมที่สะกิดใจท่านว่า “เราหยุดแล้ว...ท่านต่างหากที่ยังไม่หยุด...” หากท่านองคุลีมารไม่มีปัญญา (ปัญญาญาณ) แล้วคงไม่สามารถเข้าถึงธรรมแห่งพระพุทธองค์และเดินทางสายนิพพานได้ถึงที่สุด

ถึงแม้ท่านจะเลือกแล้วว่าจะเลือกเดินทางสายนิพพาน แต่ในระหว่างทางที่ท่านดำเนินเพื่อให้ถึงพระนิพพาน ท่านเองก็ต้องใช้กรรมเก่าที่ท่านได้ทำไว้ เนื่องจากท่านฆ่าคนมากมาย ท่านต้องอดทนกับความเกลียด ความกลัว ความไม่เชื่อถือท่านในฐานะพระอริยบุคคลจากชาวบ้าน ญาติพี่น้องของคนที่ท่านฆ่าตั้งแต่สมัยก่อนบวช

โดยตัวของท่านเอง ท่านก็ต้องปฏิบัติธรรมและเจริญธรรมไม่ต่างกับศิษย์ท่านอื่นๆ ของพระพุทธองค์ เมื่อท่านบิณฑบาตรท่านก็ต้องเผชิญหน้ากับญาติ พี่ น้อง ของคนที่ท่านเคยฆ่า แม้จะเป็นการฆ่าด้วยความหลงผิด ความไม่รู้ ท่านก็ต้องรับในสิ่งที่ตนทำ ซึ่งความน่านับถือท่านองคุลีมารอยู่ตรงที่ ท่านเป็นผู้มีขันติธรรมสูงมาก เมื่อท่านตัดสินใจว่าท่านจะเดินทางธรรม ท่านต้องปล่อยวางจากความโกรธ ลด ละ ความรุนแรง ที่แม้มีคนกระทำกับท่าน หากท่านยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท่านกระทำกับเขาก่อน หากก็ไม่ได้ทำให้ถึงแก่ชีวิต ทางธรรมที่ท่านเลือกนี้ ท่านต้องรักษาสันติ (peace) เอาไว้ ไม่เพียงแต่ท่านต้องรักษาความสงบภายในใจแล้ว ท่านยังต้องรักษาความสงบสันติที่ท่านจะพึงตอบผู้ที่กระทำกับท่านหรือไม่ด้วย ท่านองคุลีมารน่าจะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์จากการปฏิบัติไม่น้อย แต่ท่านก็ไม่เคยตอบโต้คนที่กลับมาทำร้ายท่านเลย ไม่ว่าศิษย์แห่งพระพุทธองค์คนใดก็ไม่เคยใช้ฤทธิ์เดชในทางที่ไม่สร้างสรรค์ หรือทำให้ผู้อื่นต้องเดือนร้อน

ธรรมข้อนี้ต่างหากที่พุทธศาสนิกชนมักนำไปใช้แต่เข้าไม่ถึง การต่อสู้กับสิ่งใดๆ ด้วยความสงบสันติ ไม่ใช่เพียงแค่เราบอกคนอื่นว่า เราสู้ด้วย “สันติวิธี” หากแต่ตัวเราต้องสู้กับใจตนเองด้วยความสงบ สันติ และไม่กดอารมณ์ จนกระทั่งระเบิดเช่นเดียวกัน ดังที่ท่านองคุลีมารไม่เคยใช้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือร่างกายตอบโต้คนอื่น หลังจากที่ท่านเลือกเดินทางธรรมอีกเลย

อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธเจ้าจะมีพระสงฆ์ ศิษย์แห่งพระองค์มากมายนับไม่ถ้วน หากก็ยังมีคนอีกมากที่ไม่สามารถเข้าถึงพระธรรมหรือความรู้แห่งพุทธศาสนา ท่านก็ไม่ได้ทำให้ทุกคนเข้าถึงพระธรรมได้อย่างแท้จริง หลายสังคมที่รับเอาพระพุทธศาสนาไปต่างก็นำกลับไปปรับเพื่อปฏิบัติเพื่อเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของตนเอง และเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ อีกมากมาย

การที่นนท์และพันธกุมภา “ฮิตธรรมะ” ก็อาจจะเป็นกระแสใหม่ๆ สำหรับวัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ใช่วัยรุ่นทุกกลุ่ม เท่าที่เห็นยังมีหนุ่มสาวอีกมากมายที่ตามกระแสอื่นๆ โดยเฉพาะช่วงสอนเอ็นทรานซ์เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย คำติดปากสำหรับทุกคนก็ต้องถามว่า “เรียนที่ไหน...” หากได้คณะและสถาบันที่ตนเองต้องการก็ไม่เครียด ไม่กลุ้มมากนัก แต่ถ้าไม่ได้...ก็ต้องทำใจ ไม่ว่าจะ “สมหวัง” หรือ “ผิดหวัง” ก็ตาม น่าจะเป็นสิ่งที่สอนธรรมให้แก่เรา อย่างน้อยก็สอนให้เรา ปล่อย สอนให้เรา วาง ในสิ่งนั้นๆ ไม่แน่ว่าสิ่งที่เราสมหวังในวันนี้ อาจจะก่อให้เกิดความผิดหวังในอนาคตก็ได้

สมัยที่พี่เรียนในระดับมหาวิทยาลัย ตอนสอบเข้าได้พี่จำได้ว่าเพื่อนๆ ที่มีที่เรียนเป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาล มีความสุขมาก ยิ่งบางคนได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้นไปอีก สำหรับพี่ ตอนนั้นรู้แต่ว่า เราไม่ต้องเหนื่อยลุ้นอีกแล้ว เรามีที่เรียนแล้ว แต่ใครหลายคนที่ไม่มีที่เรียนก็คงจะทุกข์และเริ่มหาทางใหม่ๆ เพื่อนๆ หลายคนมีความอดทนและต้องคิดค่อนข้างมาก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่มีฐานะดี หลายคนต้องดิ้นรน พ่อแม่ต้องขายบางอย่างเพื่อให้ลูกได้เรียน เพื่อนบางคนพ่อแม่สามารถส่งให้เรียนมหาวิทยาลัยเอกชน พอมีฐานะนิดหน่อยและจัดการกับเรื่องการเรียนได้

เรื่องเรียนเหล่านี้สอนอะไรให้กับพี่?

อาจไม่ต่างกับเด็กสมัยนี้ตรงที่ พี่เรียนรู้ว่าสอบเข้าได้ เพื่อนเรียนรู้ว่าสอบไม่ได้ พี่เรียนรู้ว่าเราน่าจะเห็นอกเห็นใจเพื่อนที่สอบไม่ได้ และเรียนรู้ที่จะรอรับความผิดหวังบางอย่างที่ยังมาไม่ถึง เพื่อนๆ หลายคนที่ไปเรียนมหาวิทยาลัยเปิดหรือมหาวิทยาลัยเอกชนมักคิดว่า เขาเก่งน้อยกว่าเราและเรียนรู้ที่จะมีความอดทนมากกว่าเรา เลือกได้น้อยกว่าเรา แต่พี่บอกได้เลยว่า...วันนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่า “ประสบความสำเร็จ”

คนทุกคนต่างอยากประสบความสำเร็จ แต่จะมีสักกี่คนที่อยากบอกว่า เราอยากมีความสุขใจ เราเรียนรู้ที่จะมีความสุขได้อย่างไร

การเข้าเรียนของเพื่อนอาจผิดหวังว่าไม่ได้เรียนในสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากสังคม แต่อาจจะสมหวังที่มีครอบครัวที่ดี คอยให้กำลังใจและการสนับสนุนไม่ได้ขาดตกบกพร่อง คนที่เข้ามหาวิทยาลัยรัฐได้ อาจจะผิดหวังกับสิ่งที่เลือกแต่ต้องจำใจเรียน หรือพบเพื่อนที่แย่ ครอบครัวต้องขายทรัพย์สินเพื่อมาจุนเจือ

ชีวิตของคนเรามีทั้งสมหวัง ผิดหวัง อยู่ตลอดเวลา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น หากมนุษย์ปราศจากความหวังแล้วก็อาจจะไม่มีการต่อสู้ ดิ้นรนเพื่อให้ได้อะไร ทำไมเราไม่ลองถามตัวเองดูว่า เมื่อคาดหวังแล้วปล่อยวางมันได้ไหม หรืออย่างน้อยรู้เท่าทันตัวเองว่า “อ้อ! นี่มันเป็นความคาดหวังของเรา” ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องทำ ก็อาจจะพอช่วยได้บ้าง ไม่ใช่ว่าชีวิตต้องสมหวัง-ผิดหวัง ตลอดเวลา

ธรรมเริ่มได้ทุกที่ ทุกเวลา เราจะรู้ว่าธรรมง่ายกว่าที่คิด    

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อได้ยิน...... “ทำไมคุณโง่แบบนี้” “งานชุ่ยๆ แบบนี้เหรอที่ทำเต็มที่แล้ว” “มีหัวไว้ใส่หมวกเปล่าๆ” สารพัดมากมาย คำด่าทอที่เรามักไม่ชอบ – ในที่นี้ก็มีผมอยู่ด้วยแหละครับ เวลาที่มีใครมาต่อว่า มานินทาในทางร้ายๆ แล้วมักจะต้องเดือดร้อนเป็นฝืนเป็นไฟอยู่เสมอ อืม...คิดในใจ นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราไม่ใช่คนอย่างที่เขาว่านะ..... ขณะที่คำชม อาทิ “คุณทำงานเก่งจัง” “ทำได้แค่นี้ สุดยอดเลยทีเดียว ยอดเยี่ยมมากๆ๐ “คิดได้แค่นี้ ก็เจ๋งเลย” คำพูดชื่นชม เยินยอในทางบวกเหล่านี้ หลายคนไม่ปฏิเสธ หรือไม่ได้มีท่าทีต่อต้านเหมือนคำพูดร้ายๆ หรือลบๆ แต่กลับมองว่าใช่ๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง... ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา จดหมายฉบับก่อน พี่เล่าเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนหนึ่ง และยังติดใจในสาส์นของท่านดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ชาวธิเบตอยู่ ... เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ่ง พี่อยากจะให้น้องและเพื่อน คนรู้จักหลายๆ คนได้อ่านมันอย่างพิจารณาหลายๆ ครั้ง หลายข้อของสาส์นฉบับนี้ เป็นความรักที่มีต่อตนเอง รักตนเอง แบบที่ไม่ได้ตามใจตนเอง ไม่ตามใจในสิ่งที่บำรุงบำเรอให้ตนเองให้ได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ โดยเฉพาะข้อแรกเป็นสิ่งที่ท่านลามะผู้ยิ่งใหญ่ได้ตักเตือนคนสมัยใหม่ได้อย่างเฉียบคม (ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอันมหาศาลดุจกัน)…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ได้รับจดหมายที่ส่งต่อๆ กันมา (Forward mail) ฉบับด้านล่างนี้ เป็นครั้งที่เท่าไรไม่รู้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (เพราะนี่เข้าเดือนที่ 6ของปีแล้ว...)“สาส์นจากท่าน Dalai Lama ที่ได้กล่าวไว้สำหรับปี 2008 นี้ แล้ว…คุณจะได้พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่คุณจะยินดีมากข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ชอบจดหมายรักฉบับนี้มาก เมื่ออ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความรักที่สดใส และความเป็นคน “ธรรมดา” ของน้องที่ผ่านมา พี่ออกจะห่วงใยอยู่ลึกๆ ว่าน้องจะรีบโตมากไปหรือเปล่า รีบที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต รีบมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากไปไหม...จนอาจจะทำให้พลาดความสดใส ความรัก หรือสิ่งต่างๆ ที่เราน่าจะได้เรียนรู้ และเดินผ่านมันมาด้วยความสง่างาม หรือเจ็บปวดไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้พี่ก็ผ่านช่วงเวลา “หวาน” “ขมๆ” ของชีวิตมาบ้าง เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป ที่มักจะมีความรักที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป พี่มักเลือกที่จะจดจำสิ่งที่ดี …
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่าเพิ่งตกใจนะครับพี่ที่ผมจะขอระบายเรื่องรัก ให้พี่รับรู้.....
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาอายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่าคุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรุ่นพี่คนหนึ่งมาหาผมที่บ้าน เราสองคนไม่ได้เจอกันมานานหลายปี พอมาเจอกันอีกหนจึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้พบเจอกัน รุ่นพี่คนนี้ชื่อ “นนท์” พี่นนท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยสอนผมเต้นเชียลีดเดอร์ เมื่อตอนเรียนมัธยมต้น อายุของพี่นนท์ห่างจากผม 2 ปี พี่นนท์เป็นคนต่างหมู่บ้าน แต่เราอยู่ในตำบลเดียวกัน ผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่นนท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการพูด ท่าที การแสดงออก จากเมื่อก่อนที่ค่อนข้างกรี๊ดกร๊าด พูดไม่หยุด และชอบนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ มาคราวนี้พี่นนท์ไม่เหมือนเดิม คือ นิ่งขึ้น ท่าทีสุขุมเยือกเย็น ไม่ทำท่ารุกรี้รุกรนตอนคุยกันเหมือนเมื่อก่อน…
พันธกุมภา
มีนาถึง...ลูกปัดไข่มุกและพันธกุมภาความระลึกถึงวัยเยาว์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กสาวสดใสอย่างลูกปัดไข่มุก อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้องช่างมี “ทาง” ที่ดีเสียจริง น้องได้เติบโตจากครอบครัวที่หล่อหลอมสิ่งที่ดีงามให้ ทั้งการทำบุญ ทาน และเสริมให้สร้างบารมี ต้องขอบคุณแม่และพ่อที่ปูทางที่ดีให้กับลูก หากมีธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กสาวและคนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตอย่างมีรากเหง้า รู้คิด เพราะกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ใช่แค่ได้ “ความรู้” หากยังได้ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งความรู้สมัยใหม่ไม่มีความลึกซึ้งพอเมื่อเราปฏิบัติหรือยังไม่ปฏิบัติก็ตาม เรามักยึดติดกับตัวตน (Ego) และเราไม่ได้พยายามลดมัน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาผมได้อ่านเรื่องราวของ “ลูกปัดไข่มุก” แล้ว ขออนุโมทนากับน้องอย่างยิ่ง และยังรู้สึกยินดีกับสิ่งที่น้องได้กระทำลงไป และได้พบการหนทางที่จะนำพาความสุข สงบมาให้กับตนเอง เป็นการเรียนรู้จากตัวเอง มากกว่าการเรียนรู้จากคนอื่นๆ ที่เล่าให้ฟังสู่กันมาการได้ทำสมาธินั้นได้ช่วยให้น้องได้พบกับจิตที่สงบ และเป็นจิตที่นิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้จิตใจเริ่มปรับความละเอียดเพิ่มขึ้น สู่การเจริญสติในระดับต่างๆ ต่อไป....จะว่าไปแล้ว เดี๋ยวนี้ วัยรุ่นรุ่นเดียวกับเราๆ ก็หันมาสนใจเรื่องทางธรรมเยอะเหมือนกันนะ, ช่วงหนึ่งก็มีคนมาถามผมว่า วัยรุ่นสนใจธรรมะเพิ่มขึ้น เป็นกระแสที่ดีแบบนี้ คิดยังไง?…
พันธกุมภา
ลูกปัดไข่มุก ถึง พี่พันธกุมภา และ พี่มีนา....   “เส้นทางที่เรากำลังพยายามจะมุ่งไปอยู่นี้ มันคือหนทางแห่งความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงของเราจริงๆหรอ” ....นั่นคือความคิดที่ฉันคิดมาตลอด ฉันโชคดีที่ได้เกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในวันว่างๆ เรามักจะได้ไปวัดแทนการไปเที่ยวเสมอๆ ซึ่งด้วยความเป็นเด็ก ฉันจึงไม่คิดว่ามันดีนัก.....จะว่าไปฉันทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ เพราะถูกสั่งสอนมาให้ทำแบบนั้น ว่าถ้าทำบุญเยอะๆ จะได้ไปสวรรค์ ถ้าทำบาปก็จะตกนรก รวมถึงนิทานต่างๆที่แม่ได้เล่าให้ฟังมาตลอด ฉันจึงพูดได้เต็มปากว่า ฉันเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาจุดหมายปลายทาง การเดินทางธรรมของเธอครั้งนี้อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ที่...ซึ่งฉันไม่เคยไป หากหลายคนอยากไป ก็คงไม่ได้คิดถึงเรื่องการเดินทาง หากมักนึกถึงปลายทาง และในที่สุด...แม้รู้ว่าเธออาจจะเดินทางถึงวัดป่าสุคะโตแน่นอน เธอก็น่าจะเรียนรู้ระหว่างทางดังที่เธอเล่าให้เราฟังฉันเคยพูดถึงเรื่องความกลัวระหว่างการเดินทาง “ในความกลัว” มาก่อนแล้ว ด้านหนึ่งฉันนึกเสมอว่า คนธรรมดาทั่วไปอย่างฉัน ร่ำเรียนมาด้วยวิธีคิดแบบมีเป้าหมาย โดยไม่สนใจระหว่างทาง หรือกระบวนการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “ระหว่างทาง” เป็นสิ่งสำคัญมาก…