Skip to main content

"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง]

"...นอกจากจะปรากฏไว้ใน

ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี

งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก

ด้วย...

การที่ขอให้ฉันกลับเข้าเมืองไทยในโอ

กาสที่ฉันได้บรรลุนิติภาวะ ณ วันที่ ๕ ธันวา

คม ศกนี้นั้น ฉันขอขอบใจมาด้วย นอก

จากเวลาจะได้กะชั้นชิดจนเกินไปแล้ว ยังมี

เหตุผลอื่น ๆ ซึ่งฉนเข้าไปไม่ได้..."

พระราชหัตถเลขา ร.๙ ถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม [สะกดและจัดหน้ากระดาษตามต้นฉบับ]

โดยดู วิชัย ประสังสิต. (ว.ช.ประสังสิต ; นามแฝง). ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจล ในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : รัฐภักดี, หน้า ๒๔๗.

หนังสือ ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจล ในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ของ ว.ช.ประสังสิต (เป็นนามแฝงของ นายวิชัย ประสังสิต) เขียนด้วยวิธีการประวัติศาสตร์จากปากคำของผู้สร้างเหตุการณ์อันเป็นประวัติ ศาสตร์ ซึ่งได้รับการยอมรับกันว่า หนังสือดังกล่าวมีสถานะเป็น "หลักฐานชั้นปฐมภูมิ" (Primary sources) ในเรื่องนี้ เมื่อ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๖ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี ได้แสดงความเห็นปรากฏใน คำไว้อาลัย ดังนี้

"คุณวิชัย ประสังสิต หรือ "ว.ช.ประสังสิต" เป็นผู้ที่คนรักหนังสือ หรือนักอ่านหนังสือรู้จักดี รวมถึงผมคนหนึ่ง ซึ่งไม่เคยรู้จักตัวท่าน แต่ก็ได้อ่านข้อเขียนของท่านมามากหลาย จนคล้ายกับว่ารู้จักท่านดี

นี้เป็นนิทัศน์แก่เยาวชนผู้มาภายหลัง ว่าการเขียนหนังสือดี ๆ มาก ๆ นั้น นอกจากจะเป็นการทำบุญ คือบำรุงสติปัญญาความรู้ของประชาชนแล้วยังเป็นการทำชื่อไว้ให้คนทั้งหลายได้ รู้จัก เป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์สกุลด้วยอีก..."

ในเมื่อหนังสือ ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจล ในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ของ นายวิชัย ประสังสิต มีสถานะเป็น "หลักฐานชั้นต้น" จึงสมควรนำการอ้างอิงเอกสารของทางราชการที่ ถูกอ้างอิงทั้งฉบับไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าวมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาค้นคว้าต่อไป สำหรับเอกสารของทางราชการซึ่งนำมาเผยแพร่ในที่นี้ คือ "พระราชหัตเลขาแสดงพระปีติโสนัสด้วยการรัฐประหาร ถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐)

โดย ดาวน์โหลดเอกสารประวัติศาสตร์ : http://www.mediafire.com/?e9s35a14gtraad1

[ตราครุฑ]

โลซานน์

๒๕ พฤศจิกายน

ถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ฉันได้รับหนงสือลงวันที่ ๑๔ เดือน นี้ ทราบ

ความตลอดแล้ว 

เมื่อเหตุการณ์ได้บังเกิดขึ้นเช่นนี้ ก็มี

ความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้น

ไป ประชาชนพลเมืองไทยที่รักของฉัน ซึ่ง

ฉันได้เป็นห่วงใยความทุกข์สุกของเขาอยู่

เสมอตลอดมา คงจะได้บรรเทาและปลด

เปลื้องความลำบากยากแค้นต่าง ๆ ลงไป

จนหมดสิ้น และมีความสุขสบายตามสม

ควรของเขา

 

ฉันรู้สึกพอใจยิ่งนักที่ทราบว่าเหตุการณ์

ที่ได้บังเกิดขึ้นนี้มิได้เสียเลือดเนื้อ และชีวิต

ของคนไทยด้วยกันเลย อนึ่งที่ได้บอกมา

ว่าทุก ๆ คนที่ได้รวมปฏิบัติการครั้งนี้ ได้

ตกลงแน่วแน่ว่า ไม่ต้องการช่วงชิงอำนาจ

หาความดีใส่ตนเลย มีจุดประสงค์เพียง

แต่จะให้รัฐบาลใหม่ที่เข้มแข็งได้เข้ามาบริ

หารราชการ ทำนุบำรุงประเทศให้เจริญ

รุ่งเรืองและปลดเปลื้องความยุ่งยากที่บัง

เกิดขึ้นฉะเพาะหน้า ในบัดนี้ ให้บรรเทาเบา

บางลง ให้ประชาชนได้รับความสงบสุข

ร่มเย็นตามสมควรแก่สภาพ และให้ประ

เทศชาติได้รับการทำนุบำรุงให้เจริญ ฯลฯ

นั้นก็เป็นการแสดงให้เห็นในอุดมคติอันดียิ่ง

และเป็นความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติโดย

แท้จริง เมื่อได้ยึดถืออุดมคติอันดีดังกล่าว

นนำมาปฏิบัติ นอกจากจะปรากฏไว้ใน

ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี

งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก

ด้วย ขอให้ทุก ๆ ฝ่ายจงช่วยกันร่วมมือ

ประสานงานด้วยดี เพื่อนำมาซึ่งความ

เจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติที่รักของ

เราจะเป็นความพอใจสูงสุดของฉัน 

การที่ขอให้ฉันกลับเข้าเมืองไทยในโอ

กาสที่ฉันได้บรรลุนิติภาวะ ณ วันที่ ๕ ธันวา

คม ศกนี้นั้น ฉันขอขอบใจมาด้วย นอก

จากเวลาจะได้กะชั้นชิดจนเกินไปแล้ว ยังมี

เหตุผลอื่น ๆ ซึ่งฉนเข้าไปไม่ได้ ฉันได้

สั่งให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์ เพ็ญสิริ จักรพันธ์

ไปแจ้งให้เข้าใจโดยละเอียดแล้ว แต่อย่าง

ไรก็ดี ฉันมีความประสงค์ที่จะกลับเข้า

ไปกรุงเทพฯ ชั่วคราว เพื่อถวาอพระเพลิง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในมีนา

คมหน้านี้ ตามที่ได้กะกันไว้ในขณะที่อยู่

กรุงเทพฯ ชั่วคราวนี้ ฉันหวังว่าจะได้ช่วย

ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติบ้านเมือง ได้

บ้างไม่มากก็น้อย

(ลงชื่อ) ภูมิพลอดุลย์เดช

หวังว่าท่านทั้งหลายคงนำ "หลักฐานชั้นต้น" นี้จะเป็นประโยชน์ประกอบการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลังรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ (๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) ได้ตามสมควร.

_______________________________

เชิงอรรถ

เสทื้อน ศุภโสภณ, บรรณาธิการ. วิชยานุสรณ์, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมเพลิง นายวิชัย ประสังสิต วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๒๗. หน้า ๓๐.

สัญญา ธรรมศักดิ์. "คำไว้อาลัยของ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี" ใน เสทื้อน ศุภโสภณ, บรรณาธิการ. วิชยานุสรณ์, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมเพลิง นายวิชัย ประสังสิต วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๒๗. หน้า ๑.

วิชัย ประสังสิต. (ว.ช.ประสังสิต ; นามแฝง). ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจล ในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : รัฐภักดี, หน้า ๒๔๓ - ๒๔๘.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง