Skip to main content

ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น

ในคราวออกเสียงลงประชามติรับร่าง/ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ๕๐ นะครับ ใช้คะแนนเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติ (มาตรา ๓๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๔๙) นั่นคือ คิดจากฐานของ "คนที่ไปคูหา" ลงประชามติ (คนที่ไม่ไปคูหา ก็จะไม่ถูกนับรวม/ไม่ส่งผลกระทบต่อ "ผลประชามติ")
แต่ถ้าจะลงประชามติคราวนี้ ตามรัฐธรรมนูญ ๕๐ นั้น ต้องใช้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ (มาตรา ๑๖๕ วรรคสาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย) นั่นคือ คิดจากฐานของ "คนที่ไปคูหาและไม่ไปคูหา" (การไม่ไปคูหา มีค่าเท่ากับ การปฏิเสธประชามติ ซึ่ง "ส่งผลกระทบต่อประชามติ")

ให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ สมมติ คนมีสิทธิลงประชามติ ๑๐๐ คน

ตอนปี ๔๙ โหวตชนะด้วยคะแนน ครึ่งนึงของ "คนที่ไป" ลงประชามติ = เช่น มีคนไปลงประชามติ ๑๐ คน (ทั้ง ๆ ที่ผู้มีสิทธิลงประชามติมีทั้งสิ้น ๑๐๐ คน) โหวตชนะด้วยครึ่งหนึ่งของคนที่ไป คือต้องได้ ๖ คะแนนเป็นอย่างต่ำก็ชนะแล้ว

แต่ทว่าปี ๕๐ โหวตชนะด้วยคะแนน ครึ่งนึงของ "คนที่มีสิทธิ" = คนมีสิทธิลงประชามติ ๑๐๐ คน จะต้องมี "คนไป" มากกว่า ๕๐ คน และต้องโหวตผ่าน "มากกว่า ๕๐ คน" ด้วย เช่นนี้ประชามติจึงจะผ่าน เช่น มีคนไปลงประชามติ ๑๐ คน (ทั้ง ๆ ที่ผู้มีสิทธิลงประชามติมีทั้งสิ้น ๑๐๐ คน) ผลคือ เท่ากับประชามติไม่ผ่านความเห็นชอบ (การอยู่บ้านเฉยๆ มีค่าเท่ากับไปกาไม่เห็นด้วย)

เท่ากับว่า การลงประชามติรับรัฐธรรรมนูญตอนปี ๕๐ นั้น โหวต "รับร่างรัฐธรรมนูญ" ง่ายกว่าประชามติโยนรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ทิ้งถังขยะ ครับ

๒. ปัญหาเรื่องผลโหวตชนะประชามติหรือไม่?

ถึงแม้จะโหวตประชามติชนะ ก็จะมีปัญหาอีกล่ะครับ : คือ รัฐบาลก็โง่เอง ที่ตนมีอำนาจในการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ดันไปให้ลงประชามติก่อนที่จะได้ "ร่าง" ออกมา ซึ่งจะเกิดปัญหามองไปข้างหน้าว่า เมื่อผลการลงประชามติออกมาแล้ว เดี๋ยวก็จะมีการส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความอีกว่า คะแนนเสียงประชามติเป็นไปตามเสียงข้างมากธรรมดา ตามฐานของมาตรา ๑๖๕ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญฯ หรือไม่ และถึงแม้จะได้เสียงข้างมากออกมาแล้วศาลรัฐธรรมนูญมองว่า "ไม่ผ่าน" เช่นนี้ประชามติก็เจ๊ากันไป ถือว่าไม่เคยมีประชามติเกิดขึ้น

เรื่องราวมันก็จะกวนตีนกันไปแบบนี้น่ะครับ

๓. ยุบพรรคเพื่อไทยเพราะทำประชามติ?

ในท้ายที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญก็จะยุบพรรคเพื่อไทย ตามมาตราว่าด้วยการทำประชามติ (มาตรา ๑๖๕ วรรคสี่) ประกอบกับมาตรา ๖๘ ก็คือ เขาก็จะบอกว่า รัฐบาลจัดประชามติในเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะคุณทำประชามติในเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยธรรมชาติของการแก้รัฐธรรมนูญย่อมเป็นการขัดรัฐธรรมนูญอยู่แล้วโดยสภาพ (ไม่ได้ทำให้รัฐธรรมนูญมีเนื้อหาเหมือนเดิม) ฉะนั้นจึงเป็นการประชามติที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และพรรคเพื่อไทยดำเนินการให้มีการใช้สิทธิเสรีภาพที่ขัดรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ต้องยุบพรรคตามมาตรา ๖๘ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

คือ น่าสมเพชมากๆ ปนกับความน่าสมน้ำหน้ารัฐบาลที่กลัวจัด ไปเดินตามคำแนะนำมั่ว ๆ ก็จะเจอ "เรื่องมั่ว ๆ" ไปเป็นทอด ๆ อย่างสนุกสนาน คือ คุณขว้างงูไม่พ้นคอหรอกครับ ถ้ามันจะ "เล่น" จริงๆ น่ะ

๔. บทส่งท้าย

หากว่า "รัฐธรรมนูญฉบับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ถูกห้ามแก้ไขหรือถูกตั้งเงื่อนไขจนไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระบบปกติ สภาวะของ "สิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปตามโลก" ถูกหยุดยั้งจนถึงขีดสุดของการฝืนกฎธรรมชาติของสังคม ย่อมจะนำไปสู่ "การเปลี่ยนแปลงโดยวิถีทางนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญฉบับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" นั่นหมายความว่า eternity clause (บทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้ามแก้ไขโดยตรงหรือโดยปริยาย) ก็จะไม่เป็นกรอบบังคับในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั่นเอง และอาจจะนำไปสู่การวางหลักมูลฐานของประเทศเป็น "หลักมูลใหม่" ไปในที่สุด - ธรรมชาติของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากมาก ๆ หรือห้ามแก้ไขเลย ก็คือแบบที่กล่าวมานี้ครับผม

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"