Skip to main content

เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ"

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ให้ตรา "รัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง" หลายท่านอาจเห็นว่า "ยุ่งยากซับซ้อน เพื่ออะไร?" ในข้อเขียนนี้จะชี้ประเด็นหนึ่งก่อนว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์ไม่เสนอให้ตราเป็น "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม" เล่า? อธิบายข้อสงสัยชั้นต้นดังกล่าว ได้ดังนี้

ตามกระบวนการทั่วไป เวลาคุณตรา "พระราชบัญญัติ" ต้องโหวตผ่านทีละสภา คือ ผ่านกึ่งหนึ่งของ สภาผู้แทนราษฎร (เกินกึ่งหนึ่งของ ๕๐๐คน คือ ๒๕๑ คน) เมื่อผ่านแล้วไปถึง วุฒิสภา ต้องโหวตผ่านอีกด่านหนึ่ง (ต้องเกินกึ่งหนึ่งของ ๑๕๐ คน คือ ๗๖ คน) เบ็ดเสร็จ ออกแรงเสียเวลา ๒ ครั้ง ( "ลุ้น ๒ รอบ" ตอนโหวตในแต่ละสภา ) นับรวมทั้งสองสภาใช้เสียงทั้งสิ้น ๓๒๗ เสียง (กว่าจะเสร็จในแต่ละสภาใช้เวลานาน) จึงจะได้พระราชบัญญัติออกมาฉบับหนึ่ง

แต่เวลาคุณตรา "รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม" คุณโหวตเพียงสภาเดียว คือ ยุบทั้งสองสภามาพิจารณาพร้อมกันเรียกเป็น "รัฐสภา" ใช้มติเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา (เกินกึ่งหนึ่งของ ๖๕๐ คน คือ ๓๒๖ คน) ใช้คะแนนเสียงออกแรงลุ้นสภาเดียว ใช้จำนวนคนน้อยกว่า ๑ เสียงด้วยซ้ำ ใช้สภาเดียว (รัฐสภา) เคาะผลรวดเดียวเสร็จ ออกมาเป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

นอกจากนี้ กรณีตรารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ก็ไม่ต้องถูกตรวจสอบว่าเกี่ยวกับการเงินหรือไม่ (การดึงเช็งในสภา), ไม่ต้องถูกตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ และกระบวนการของกรรมาธิการจุกจิกอีกมากมายที่ต้องผ่านในรูปแบบการตราพระราชบัญญัติธรรมดา

พูดง่ายๆก็คือ รัฐธรรมนูญไทย แก้ง่ายกว่า พระราชบัญญัติธรรมดา (ในแง่ของความรวดเร็ว กระบวนการ และคะแนนเสียงที่ใช้) เพียงแค่มีกระบวนการพิเศษ (ใช้รัฐสภารวดเดียวจบ,และจำนวนผู้มีสิทธิเสนอที่ต้องใช้มากกว่ากรณีเสนอตราพระราชบัญญัติธรรมดา) สำหรับแก้ไขเพิ่มเติมที่กำหนดเอาไว้แตกต่างไปจากการแก้ไขพระราชบัญญัติธรรมดาเท่านั้นเอง

เมื่อนำ "วิธีการ" (กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม) มาทาบกับ "วัตถุประสงค์" (ปล่อยตัวนักโทษการเมืองให้ไวที่สุด) การนิรโทษกรรมผ่านกฎหมายในรูปของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นข้อเสนอที่สมเหตุสมผลที่สุด (บนฐานของวัตถุประสงค์ดังกล่าว).

____________________________

ดู เว็บไซต์นิติราษฎร์, "ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง" ใน http://www.enlightened-jurists.com/blog/75

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"