Skip to main content

เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ"

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ให้ตรา "รัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง" หลายท่านอาจเห็นว่า "ยุ่งยากซับซ้อน เพื่ออะไร?" ในข้อเขียนนี้จะชี้ประเด็นหนึ่งก่อนว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์ไม่เสนอให้ตราเป็น "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม" เล่า? อธิบายข้อสงสัยชั้นต้นดังกล่าว ได้ดังนี้

ตามกระบวนการทั่วไป เวลาคุณตรา "พระราชบัญญัติ" ต้องโหวตผ่านทีละสภา คือ ผ่านกึ่งหนึ่งของ สภาผู้แทนราษฎร (เกินกึ่งหนึ่งของ ๕๐๐คน คือ ๒๕๑ คน) เมื่อผ่านแล้วไปถึง วุฒิสภา ต้องโหวตผ่านอีกด่านหนึ่ง (ต้องเกินกึ่งหนึ่งของ ๑๕๐ คน คือ ๗๖ คน) เบ็ดเสร็จ ออกแรงเสียเวลา ๒ ครั้ง ( "ลุ้น ๒ รอบ" ตอนโหวตในแต่ละสภา ) นับรวมทั้งสองสภาใช้เสียงทั้งสิ้น ๓๒๗ เสียง (กว่าจะเสร็จในแต่ละสภาใช้เวลานาน) จึงจะได้พระราชบัญญัติออกมาฉบับหนึ่ง

แต่เวลาคุณตรา "รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม" คุณโหวตเพียงสภาเดียว คือ ยุบทั้งสองสภามาพิจารณาพร้อมกันเรียกเป็น "รัฐสภา" ใช้มติเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา (เกินกึ่งหนึ่งของ ๖๕๐ คน คือ ๓๒๖ คน) ใช้คะแนนเสียงออกแรงลุ้นสภาเดียว ใช้จำนวนคนน้อยกว่า ๑ เสียงด้วยซ้ำ ใช้สภาเดียว (รัฐสภา) เคาะผลรวดเดียวเสร็จ ออกมาเป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

นอกจากนี้ กรณีตรารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ก็ไม่ต้องถูกตรวจสอบว่าเกี่ยวกับการเงินหรือไม่ (การดึงเช็งในสภา), ไม่ต้องถูกตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ และกระบวนการของกรรมาธิการจุกจิกอีกมากมายที่ต้องผ่านในรูปแบบการตราพระราชบัญญัติธรรมดา

พูดง่ายๆก็คือ รัฐธรรมนูญไทย แก้ง่ายกว่า พระราชบัญญัติธรรมดา (ในแง่ของความรวดเร็ว กระบวนการ และคะแนนเสียงที่ใช้) เพียงแค่มีกระบวนการพิเศษ (ใช้รัฐสภารวดเดียวจบ,และจำนวนผู้มีสิทธิเสนอที่ต้องใช้มากกว่ากรณีเสนอตราพระราชบัญญัติธรรมดา) สำหรับแก้ไขเพิ่มเติมที่กำหนดเอาไว้แตกต่างไปจากการแก้ไขพระราชบัญญัติธรรมดาเท่านั้นเอง

เมื่อนำ "วิธีการ" (กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม) มาทาบกับ "วัตถุประสงค์" (ปล่อยตัวนักโทษการเมืองให้ไวที่สุด) การนิรโทษกรรมผ่านกฎหมายในรูปของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นข้อเสนอที่สมเหตุสมผลที่สุด (บนฐานของวัตถุประสงค์ดังกล่าว).

____________________________

ดู เว็บไซต์นิติราษฎร์, "ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง" ใน http://www.enlightened-jurists.com/blog/75

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง